ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ผล ไม้ยืนต้น | อ่านแล้ว 8893 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ลิ้นจี่อัมพวา ปรับกลยุทธ์ ให้ชม ชิม ช็อป ถึงสวน

ปีนี้ ลิ้นจี่อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ให้ผลผลิตน้อย เนื่องจากสภาพอากาศไม่เป็นใจ บางสวนออกผลเพียงไม่กี่ต้น บางสวนได้ผลผลิต..

data-ad-format="autorelaxed">


ปีนี้ลิ้นจี่อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ให้ผลผลิตน้อย เนื่องจากสภาพอากาศไม่เป็นใจ บางสวนออกผลเพียงไม่กี่ต้น บางสวนได้ผลผลิตประมาณ 10% ไม่เพียงพอนำไปจัดงานเทศกาลประจำปีของจังหวัด หลายสวนจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม ชิม ช็อป ถึงสวน และราคาลิ้นจี่ปีนี้ก็สูงถึงกิโลกรัมละ 120-200 บาท

ลิ้นจี่อัมพวา

ลิ้นจี่ค่อมต้นนี้ให้ผลมากที่สุด ประมาณ 100 กิโลกรัม แต่ยังน้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งติดผลดกเต็มต้น นายชวน มีสกุล เจ้าของสวนใน อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม บอกว่า สภาพอากาศปีนี้ไม่เป็นใจ หนาวเป็นระยะสั้นๆ ไม่ครบช่วงเวลา ซึ่งลิ้นจี่ต้องการอากาศเย็นอุณหภูมิ 17 องศาฯ ต่อเนื่องกัน 100 ชั่วโมงขึ้นไป ทำให้สวนลิ้นจี่ส่วนใหญ่ในอัมพวามีผลผลิตน้อยมาก ไม่เพียงพอนำไปจัดงานเทศกาลประจำปีของจังหวัด บางสวนติดผลเพียงไม่กี่ต้น โดยที่นี่ได้ผลผลิตประมาณ 10% หรือราว 800 กิโลกรัม

ลิ้นจี่อัมพวา

สวนนี้มีพื้นที่ 8 ไร่ ปลูกลิ้นจี่ 13 สายพันธุ์ เน้นพันธุ์เศรษฐกิจที่ตลาดต้องการ โดยเฉพาะพันธุ์ค่อม กะโหลก และจีน แซมด้วยลิ้นจี่ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ ชื่อว่า พันธุ์กรอบแก้ว ซึ่งผลใหญ่กว่า เนื้อแห้ง หอมหวาน รวมทั้งลิ้นจี่เบญจพรรณดั้งเดิม ทั้งพันธุ์สาแหรกทอง ช่อระกำ และแดงพยอม ช่วยให้การผสมเกสรมีความหลากหลาย และยังอาศัยผึ้งจิ๋วชันโรงบินผสมเกสร ทำให้ต้นลิ้นจี่ติดดอกออกผลได้มากขึ้น พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามา ชม ชิม ช็อปถึงในสวน

หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตทั้งหมดของปีนี้แล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการปรับปรุงบำรุงต้น เริ่มจากตัดแต่งซ่อมแซมทรงพุ่มลิ้นจี่ แล้วสาดเลน โดยการขุดลอกคลองท้องร่อง นำโคลนเลนซึ่งเป็นอนินทรียวัตถุที่มีแร่ธาตุสูง ขึ้นมากลบร่องสวนและโคนต้นเป็นปุ๋ยธรรมชาติชั้นดี เสริมด้วยปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนเร่งให้ต้นสมบูรณ์ สามารถแตกใบอ่อนได้อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี ซึ่งจะได้ผลผลิตเต็มที่ แม้อากาศหนาวไม่ถึง 100 ชั่วโมง/เนื่อง ก็ออกผลได้ในปีหน้า

จาก สำนักข่าวไทย

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 8893 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ผล ไม้ยืนต้น]:
ฟักข้าวใบไหม้ ฟักข้าวใบแห้ง ฟักข้าวใบเหลือง โรคเชื้อรา ที่เกิดขึ้นกับฟักข้าว
อาการใบเหลือง ฟักข้าวใบเหลือง ต่างจากอาการใบไหม้ สาเหตุต่างกัน วิธีป้องกันและรักษาก็ต่างกัน
อ่านแล้ว: 6632
หนอนเงาะ หนอนเจาะเงาะ หนอนเจาะขั้วผลเงาะ รีบแก้ไข ก่อนผลผลิตตกต่ำ
หนอนกเจาะดอกเงาะจะกัดกินดอก และยังทำลายใบอ่อนเงาะ และยอดอ่อน จะสังเกตุเห็นทางเดินเป็ยใย
อ่านแล้ว: 7313
หนอนฝรั่ง หนอนเจาะผลฝรั่ง ฝรั่งมีหนอน แมลงวันผลไม้ กำจัดด้วย ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
หนอนเป็นศัตรูพืช ที่เข้าทำลายฝรั่งให้เกิดความเสียหาย และนอกจากนั้น ยังมีเพลี้ย ที่ต้องป้องกันและกำจัด
อ่านแล้ว: 6789
อินทผาลัมใบแห้ง อินทผาลัมใบไหม้ อินทผาลัมยอดเน่า มีสองสาเหตุหลัก แก้ได้
อาจจะแห้งบริเวณเนื้อใน หรือแห้งจากขอบใบเข้ามาก็ได้ จริงแล้วคล้ายอาการใบจุด แต่แผลที่เกิดจากอาการ ใบไหม้ จะมีขนาดแผล..
อ่านแล้ว: 8084
หนอนมะม่วง หนอนเจาะมะม่วง หนอนเจาะต้นมะม่วง แก้ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัย
ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ด้วงนี้จะวางไข่ในผลอ่อน ตัว หนอนมะม่วง จะโตอยู่ในเมล็ด พอตัวหนอนแก่ จะ..
อ่านแล้ว: 7299
หนอนมะม่วง มะม่วงเป็นหนอน หนอนแมลงวัน ใช้ ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
วางใข่กลางคืน ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวจะกินชอนไช ตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงโทรม ยืนต้นตาย ใบแห้ง
อ่านแล้ว: 6200
มะม่วงใบแห้ง มะม่วงแห้งตาย มะม่วงไม่ติดผล ใบจุด มะม่วงดอกร่วง แอนแทรคโนส เป็นเหตุ
โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดในมะม่วงนี้ ทำความเสียหายกับมะม่วงเป็นอย่างมาก ทั้งด้านผลผลิตที่น้อยลง และคุณภาพของมะม่วงก็จะแย่
อ่านแล้ว: 6663
หมวด ไม้ผล ไม้ยืนต้น ทั้งหมด >>