ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 13035 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

กรมหมอดินศึกษาจุลินทรีย์ทนกรดป่าพรุ นราธิวาส

ศึกษาจุลินทรีย์ทนกรดในพื้นที่พรุ คัดเลือกจุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ และจุลินทรีย์สร้างสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช

data-ad-format="autorelaxed">


เพื่อประโยชน์ทางด้านการเกษตร

“…ควรทำเป็นการศึกษาจุลินทรีย์ในพื้นที่ดินพรุ ในพื้นที่ที่ยังไม่ถูกทำลาย เพื่อหาชนิดของจุลินทรีย์ชนิดใหม่ๆ...”

“…ให้นำจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้ไปทดลองในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดที่ยังไม่ถูกรบกวน เพื่อเปรียบเทียบผลการทดลองกับการดำเนินงานในพื้นที่แปลงทดลองของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ...”พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2554 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 


จากพระราชดำริดังกล่าว กรมพัฒนาที่ดินได้ทำการเก็บตัวอย่างดินจากพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ดินอินทรีย์บริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติศูนย์ฯ สิรินธร และดินอินทรีย์บริเวณใจกลางพรุโต๊ะแดง เพื่อศึกษาจุลินทรีย์ทนกรดในพื้นที่พรุ จ.นราธิวาส โดยดำเนินการแยก คัดเลือกจุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ และจุลินทรีย์สร้างสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช สรุปผลการศึกษาถวายรายงานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 4 ครั้ง เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 17 มกราคม พ.ศ. 2556 14 มกราคม พ.ศ. 2557 และ 25 กุมภาพันธ์ 2558



ดร.อภิชาต จงสกุล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า จากการศึกษา พบว่า พื้นที่พรุเส้นทางศึกษาธรรมชาติศูนย์ฯ สิรินธร และใจกลางพรุโต๊ะแดง พบปริมาณ ชนิด และความหลากหลายของจุลินทรีย์มากกว่าพื้นที่ศูนย์ศึกษาพิกุลทอง ทั้งกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยอินทรีย์สารและกลุ่มจุลินทรีย์สร้างสารเสริมการเจริญเติบโตพืช โดยเฉพาะแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน แบคทีเรียสร้างฮอร์โมนออกซิน และจิบเบอเรลลิน จะพบมากในดินบริเวณรากพืชสูงกว่าดินนอกอาณาเขตรากพืช นอกจากนั้นยังพบว่าจุลินทรีย์ดินบริเวณรากต้นมะฮังใบใหญ่ และต้นมะฮังใบเล็กซึ่งเป็นพืชเบิกนำมีปริมาณ และกิจกรรมสูงกว่าดินบริเวณรากต้นตังหนใบใหญ่ ซึ่งเป็นพืชที่พัฒนาภายหลัง อีกทั้ง พื้นที่แปลงทดลองของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ แปลงที่ใส่ปัจจัยต่างๆ ในการจัดการดิน เช่น การใส่หินปูนฝุ่นปรับความเป็นกรดเป็นด่างของดิน การใส่ปุ๋ยหมักเป็นแหล่งคาร์บอนและพลังงานให้กับจุลินทรีย์ และการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มธาตุอาหาร ส่งผลให้ปริมาณจุลินทรีย์ในดินเพิ่มขึ้นกว่าแปลงที่ไม่ได้ใส่ปัจจัย นอกจากนี้ จุลินทรีย์ย่อยอินทรีย์สารที่มีกิจกรรมสูงส่วนใหญ่เป็นเชื้อรา โดยที่เชื้อราย่อยเซลลูโลส ได้แก่ Trichoderma harzianum, Trichoderma asperellum, Gliocladium viride, Talaromyces sp. และPenicillium janthinellum เชื้อราย่อยอินทรีย์ฟอสฟอรัส ได้แก่ Aspergillus sp. และ Aspergillus fumigates ส่วนจุลินทรีย์ย่อยโปรตีนเป็นแบคทีเรีย ได้แก่ Bacillus subtilis และ Serratia marcescens



จุลินทรีย์ที่คัดเลือกได้จากพื้นที่กลางพรุโต๊ะแดง พบว่า เชื้อรามีประสิทธิภาพและโดดเด่นในการย่อยสลายเซลลูโลส และอินทรีย์ฟอสฟอรัส โดยเฉพาะการผลิตเอนไซม์คาร์บอกซีเมทธิลเซลลูเลส ซึ่งย่อยโครงสร้างเซลลูโลสที่ย่อยสลายง่ายมีกิจกรรมสูงกว่าเชื้อราที่คัดเลือกได้จากโครงการแกล้งดินในศูนย์ศึกษาพิกุลทองและพื้นที่พรุเส้นทางศึกษาธรรมชาติศูนย์ฯสิรินธร ส่วนการผลิตเอนไซม์ เซลลูเลสย่อยกระดาษกรอง ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยโครงสร้างที่ย่อยยากมีกิจกรรมไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วนจุลินทรีย์ย่อยโปรตีนเป็นแบคทีเรียผลิตเอนไซม์โปรตีนเอสสูง ใกล้เคียงกับพื้นที่พรุเส้นทางศึกษาธรรมชาติศูนย์ฯสิรินธร

นอกจากนี้ แบคทีเรียผลิตฮอร์โมนออกซินที่คัดเลือกได้จากศูนย์ศึกษาพิกุลทอง สามารถผลิตออกซินสูงกว่าที่คัดเลือกได้จากพื้นที่พรุเส้นทางศึกษาธรรมชาติศูนย์ฯสิรินธรและกลางพรุโต๊ะแดง ส่วนแบคทีเรียผลิตฮอร์โมนจิบเบอเรลลินสูงคัดเลือกได้จากพื้นที่กลางพรุโต๊ะแดง นอกจากนั้นยังพบว่าเฉพาะพื้นที่กลางพรุโต๊ะแดงเท่านั้นสามารถคัดเลือกแบคทีเรียที่ผลิตฮอร์โมนได้ทั้งออกซินและจิบเบอเรลลิน จำแนกได้เป็น Bacillus sp. ส่วนจุลินทรีย์ทนกรดที่คัดเลือกได้จะนำมาทดสอบประสิทธิภาพ
โรงเรือนกระจก และภาคสนาม ศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว การดูดใช้ธาตุอาหารของข้าว และการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน และพัฒนาเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดินเปรี้ยว เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตพืช

อย่างไรก็ตาม สำหรับเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์สายพันธุ์ต่างๆ ที่คัดแยกได้จากพื้นที่พรุ และข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะเก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะทางการเกษตรต่อไป

จาก naewna.com

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 13035 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9891
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7929
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7987
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 8353
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 7303
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8589
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7777
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>