ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: การปลูกพืช | อ่านแล้ว 13322 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เรามาเพาะ ถั่วงอก ในขวดน้ำดื่มกันเถอะ

เพาะถั่วงอก ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป แค่เรามีขวดน้ำพลาสติกใบเดียว ก็เพาะถั่วงอกปลอดสารพิษไว้ทานเองได้อย่างสุขใจ..

data-ad-format="autorelaxed">

 เพาะถั่วงอก ในขวดน้ำดื่ม


การเพาะถั่วงอกไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป เพียงแค่มีขวดน้ำพลาสติกใบเดียวก็ใช้เป็นอุปกรณ์เพาะถั่วงอกไว้กินได้แล้ว ซึ่งหลายคนที่ติดตามกระแสปลูกผักในเมือง อาจจะเพาะถั่วงอกด้วยวิธีนี้จนเชี่ยวชาญแล้ว แต่เราจะมารีวิวกันอีกรอบ

 

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมสำหรับการเพาะถั่วงอก คือ ขวดน้ำดื่มพลาสติก คัตเตอร์ หัวแร้งไฟฟ้า ตะแกรงไนลอนหรือตะแกรงเกล็ดปลา และน้ำสะอาด เมื่อได้อุปกรณ์ทั้งหมดแล้วนำมาเจาะรูด้วยหัวแร้งไฟฟ้าเพื่อเป็นรูระบายน้ำ โดยเจาะที่ด้านข้างเพียงด้านเดียวของขวด 2 แถวๆ ละ 5 รู (เว้นระยะจากก้นขวดประมาณ 2 นิ้ว เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับแช่เมล็ดถั่ว) และเจาะที่ฝาปิดขวดอีก 3 รู จากนั้นใช้ตัตเตอร์ตัดขวดด้านตรงข้ามที่เจาะรู เพื่อเป็นช่องสำหรับรดน้ำ

 

เมื่อได้อุปกรณ์พร้อมแล้วก็มาถึงขั้นตอนเตรียมความพร้อมเมล็ดถั่วเขียว โดยเติมเมล็ดถั่วเขียวลงในขวดที่เตรียมไว้ประมาณ 1 ใน 4 ของความสูงของขวด (ไม่ให้เกินระดับที่ตัดเปิดช่องรดน้ำและรูระบายน้ำที่เจาะไว้) จากนั้นเติมน้ำอุ่นซึ่งผสมน้ำร้อน 1 ส่วน ต่อน้ำธรรมดา 3 ส่วน แล้วแช่เมล็ดถั่วทิ้งไว้ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้เมล็ดถั่วพองตัว

 

หลังจากแช่เมล็ดถั่วแล้ว นำไปล้างน้ำ 1-2 ครั้ง จากนั้นกระจายเมล็ดถั่วให้ทั่วขวดและวางในแนวนอน แล้วใช้ตะแกรงไนลอน หรือตะแกรงเกล็ดปลา หรืออุปกรณ์ชวยพรางแสงอื่นๆ หุ้มขวด จากนั้นรดน้ำทุกๆ 6 ชั่วโมง จนผ่านไป 60 ชั่วโมงก็จะได้ถั่วงอกไว้รับประทาน

 

การเพาะถั่วงอกในขวดน้ำพลาสติกนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในงานถนนสายวิทยาศาสตร์รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2557 ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่าง 9-11 ม.ค.57 โดยเป็นกิจกรรมร่วมฉลองปีสากลแห่งเกษตรกรรมแบบครอบครัว (International Year for Family Farming) ในปี 2557 ที่กำหนดขึ้นโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่งเยาวชนที่เข้าร่วมในกิจกรรมจะได้รับอุปกรณ์เพาะถั่วงอกพร้อมเมล็ดถั่วกลับบ้าน

 

ทั้งนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เยาวชนได้ร่วมสนุกอีกกว่า 50 สถานี สำหรับเยาวชน และโรงเรียนที่สนใจสามารถมาเที่ยวชมงานถนนสายวิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ถนนพระรามที่ 6 ได้ตั้งแต่วันที่ 9-11 ม.ค.57 เปิดให้เที่ยวชมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ 9.00-17.00 น.โดยสามารถเดินทางได้ทั้งรถโดยสารประจำทางสาย 8, 44, 67, 97, ปอ.44, ปอ.157, ปอ.171, ปอ.509, ปอ.538 ตลอดจนรถไฟฟ้าบีทีเอส

 

หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โทร. 0 2577 9999

 

เพาะถั่วงอก ในขวด

 

เพาะถั่วงอก ในขวดพลาสติก

 

เพาะถั่วงอก ในขวดน้ำ

 

เพาะถั่วงอก ในขวดน้ำดื่ม

 

เพาะถั่วงอก ในขวดน้ำดื่ม

 


จาก manager.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 13322 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [การปลูกพืช]:
หนอน หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้น ทุกหนอน แก้ด้วยไอกี้-บีที
เกลือเป็นหนอน ต้องแก้ปัญหาขององค์กร แต่พืชเป็นหนอน กำจัดง่าย ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
อ่านแล้ว: 6477
พืชใบเหลือง ต้นไม้ใบเหลือง ใบไม้เหลือง อย่าตกใจ บางครั้งแค่ขาดไนโตรเจน
ในบางกรณี ที่เราให้ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เขียว หรือพืชดูคล้ายจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่เรา..
อ่านแล้ว: 6866
ชวนชมใบเหลือง ชวนชมใบร่วง ชวนชมใบจุด เป็นได้สองถึงสามสาเหตุ แต่หลักๆคือ ชวนชมไม่แข็งแรง
โรคและแมลงศัตรูพืช จะเข้าทำลายต้นชวมชมเมื่ออ่อนแอ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลชวนชมให้สมบูรณ์แข็งแรง โรคและแมลงก็ไม่มี
อ่านแล้ว: 8814
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี่ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แก้ด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยไฟ ที่ทำลายเมล่อน และผักต่างๆ ป้องกันและจำกัดเพลี้ยด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์
อ่านแล้ว: 7387
หนอนชอนใบ เมล่อน แตงโม แตงกวา แคนตาลูบ แตงโม ฟักทอง มะระจีน กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันหนอนชอนใบ มักจะพบตัวหนอนชอนไช อยู่บริเวณในใบ สังเกตุง่าย จะเห็นรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อยู่บนใบของพืช
อ่านแล้ว: 7334
ปุ๋ยอินทรีย์ เร่งโต สร้างภูมิต้านทางโรค คุณภาพดีจาก ฟาร์มเกษตร FarmKaset.ORG
ลดอาการคลายน้ำในพืช และช่วยให้พืชใบเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย บูตเตอร์สีเงิน มีธาตุเหล็ก และ..
อ่านแล้ว: 6696
พริกใบหงิก ดอกหลุดร่วง ใบเหลือง ออกผลน้อย นั้นเพราะ เพลี้ยไฟพริก ระบาดแล้ว
เพลี้ยไฟพริก จะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มไว ของ เพลี้ยไฟพริกนี้ จะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
อ่านแล้ว: 6850
หมวด การปลูกพืช ทั้งหมด >>