data-ad-format="autorelaxed">
สินค้าเกษตร อินทรีย์ (Organic) หรือสินค้าเกษตรที่เพาะปลูก/เพาะเลี้ยงแบบไร้สารพิษได้รับความนิยมเพิ่มมาก ขึ้นในตลาดยุโรป ควบคู่กับการกระแสความนิยมการดูแลรักษาสุขภาพ การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthiness) และการทำการเกษตรแบบยั่งยืน (Sustainability) ยุโรปถือเป็นตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งของโลก ควบคู่กับตลาดสหรัฐฯ และญี่ปุ่น สินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยไม่ว่าจะเป็นข้าว สินค้าประมง (โดยเฉพาะกุ้ง) หรือผักและผลไม้ล้วนเป็นสินค้าที่มีศักยภาพและมีช่องทางและโอกาสที่ดีในตลาด ยุโรป
ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในสหภาพยุโรป
ตลาด สินค้าเกษตรอินทรีย์ในสหภาพยุโรปเป็นตลาดใหม่ และเป็น ‘niche market’ ที่ยังมีส่วนแบ่งตลาดน้อย (เมื่อเทียบกับตลาดสินค้าเกษตรทั้งหมดในสหภาพยุโรป) กล่าวคือ ในปี 2004 ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ใน EU-25 มีมูลค่าประมาณ 11 พันล้านยูโร ซึ่งคิดเป็นเพียงร้อยละ 1 ของตลาดสินค้าเกษตรทั้งหมด โดยมีเยอรมนีเป็นประเทศสมาชิกที่มีการค้าสินค้าอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุด คิดเป็น 3.5 พันล้านยูโร หรือร้อยละ 30 ของตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งหมดในยุโรป ตามมาด้วยสหราชอาณาจักร (1.6 พันล้านยูโร) อิตาลี (1.4 พันล้านยูโร) และฝรั่งเศส (1.3 พันล้านยูโร)แม้ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในยุโรปยังมีส่วนแบ่งตลาดที่น้อย
แต่ นักวิเคราะห์คาดว่าเป็นตลาดที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวและเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากแสความนิยมการรักษาสุขภาพและการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพในหมู่ ผู้บริโภคยุโรปเป็นกระแสที่มาแรง และผู้บริโภคยุโรปมีกำลังซื้อสูงจึงสามารถซื้อหาสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มี ราคาสูงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไปได้ ประกอบกับปัจจุบันสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ให้ความสำคัญของการส่ง เสริมการค้าเกษตรอินทรีย์และการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคเพื่อขยายตลาดเพิ่ม ขึ้น โดยสหภาพยุโรปใช้งบประมาณจำนวนมาก (80 ล้านยูโรต่อปี) สำหรับการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาสินค้าและหาช่องทางตลาดใหม่ของเกษตรอินทรีย์
ความต้องการของผู้บริโภค
หาก พิจารณาความต้องการของผู้บริโภค เดนมาร์กเป็นประเทศที่มีผู้บริโภคจับจ่าย/ซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์มากที่สุด คิดเป็นจำนวน 60 ยูโรต่อหัว ตามมาด้วย สวีเดน (45 ยูโร) ออสเตรีย (41 ยูโร) และเยอรมนี (40 ยูโร) ในขณะที่ผู้บริโภคในประเทศยุโรปอีกหลายประเทศ ได้แก่ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และอิตาลี จับจ่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์อยู่ที่ประมาณ 20-25 ยูโรต่อหัวในภาพรวม ประเทศยุโรปตะวันตกและยุโรปเหนือเป็นตลาดสำคัญในยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนการค้าสินค้าอินทรีย์อยู่ที่ประมาณร้อยละ 1-2 ตั้งแต่ปี 1997 และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยมีเดนมาร์ก ออสเตรีย และเยอรมนี เป็นตลาดหลัก แต่ประเทศยุโรปใต้และยุโรปตะวันออกยังเป็นตลาดที่เล็กมาก อาทิ สเปน กรีซ โปรตุเกส ฮังการี และเช็กยังมีความต้องการสินค้าอินทรีย์น้อยมาก กล่าวคือเพียงร้อยละ 0.1
โดย ทั่วไปราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดจะสูงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไปอยู่มาก เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประมาณร้อยละ 30-40 (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักธุรกิจไทยและผู้นำเข้ายุโรปในงาน European Seafood Exposition 2007) อย่างไรก็ดี ราคาและส่วนต่างของราคาระหว่างสินค้าเกษตรทั่วไป-สินค้าเกษตรอินทรีย์จะแตก ต่างกันไปตามรายสินค้า นอกจากนั้น อาจยังอาจสังเกตได้ว่า ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศยุโรปใต้นั้นสูงกว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ใน ประเทศยุโรปอื่นๆ มากในปี 2003 มีผู้นำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองในสหภาพยุโรป (EU-15) ทั้งหมด 1400 ราย ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 160 เทียบกับจำนวนผู้นำเข้าสินค้าดังกล่าวในปี 1998 ซึ่งแสดงถึงการเติบโตและการขยายตัวของตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในยุโรป ในประเทศเบลเยียม เยอรมัน กรีซ ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก ไอร์แลนด์ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และสเปน ตลาดเป็นลักษณะเป็นการขายตรงผ่านร้านที่ขายสินค้าอินทรีย์โดยเฉพาะ (Specialist Retailers)
ส่วน ในประเทศเดนมาร์ก ฟินแลนด์ สวีเดน สหราชอาณาจักร ฮังการี และเช็ก สินค้าอินทรีย์กว่าร้อยละ 60 ขายผ่านซุปเปอร์มาร์เก็ต และวางขายในร้านขายของทั่วๆ ไป ซึ่งนักวิเคราะห์ให้ข้อสังเกตว่า ในประเทศที่ขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ผ่านซุปเปอร์มาร์เก็ตจะมีอัตราการเจริญ เติบโตและการขยายตัวของตลาดสูงกว่าในขณะที่เกษตรกรและผู้ผลิตยุโรปเองก็ผลิต สินค้าเกษตรอินทรีย์อยู่มาก (โดยยุโรปมีพื้นที่ทำการเกษตรแบบอินทรีย์คิดเป็นร้อยละ 23 ของการทำเกษตรอินทรีย์ทั้งหมดทั่วโลก และส่วนใหญ่ผลิตสินค้าเนื้อวัว นม ธัญพืช ผักและผลไม้เมืองหนาว) แต่สินค้าส่วนใหญ่ไม่ใช่ประเภทสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทย สินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยจึงน่าจะยังมีโอกาสที่ดีในตลาดยุโรปอีกมาก
กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กฎ ระเบียบสหภาพยุโรปที่เกี่ยวข้องกับการทำการเกษตรอินทรีย์ในสหภาพยุโรป ได้แก่ 1) Regulation EEC N° 2092/91 ปรับใช้ตั้งแต่ปี 1992 และ 2) Regulation EC N° 1804/1999 http://ec.europa.eu/agriculture/qual/organic/reg/index_en.htm ซึ่งเป็นกรอบที่ครอบคลุมการเพาะเลี้ยง การผลิต การติดฉลาก และการตลาดสำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์เฉพาะในภาคปศุสัตว์และพืช (livestock and crops) เท่านั้น แต่ไม่รวมสัตว์น้ำ ซึ่งปัจจุบันสหภาพยุโรปยังไม่มีมาตรฐานร่วมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อินทรีย์ ทำให้ต้องใช้มาตรฐานภาคเอกชนในแต่ละประเทศสมาชิกอยู่ล่าสุด สำนักงานที่ปรึกษาด้านการเกษตรต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2548 กรรมาธิการยุโรปด้านการเกษตร ได้เปิดเผยถึงการเตรียมการเสนอการปฏิรูปกฎระเบียบการผลิตสินค้าเกษตร อินทรีย์ใหม่ ซึ่งจะรองรับแผนปฏิบัติงานเกษตรอินทรีย์ของคณะกรรมาธิการยุโรปภายใต้ชื่อ “European Action Plan for Organic Food and Farming” โดยแผนการปฏิรูปดัวกล่าวได้กำหนดวัตถุประสงค์และหลักการของเกษตรอินทรีย์ กฎระเบียบการติดฉลากที่ชัดเจน และกฎระเบียบการนำเข้า เพื่อทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งเกษตรกรสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบใหม่ได้ดีขึ้น ทั้งนี้ หากกฎระเบียบใหม่ผ่านความเห็นชอบ คาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป
กฎระเบียบใหม่ดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับผู้ส่งออกไทยสนใจส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์มายังสหภาพยุโรป อาทิ
- การวางมาตรการต่างๆ เพื่อทำให้วัตถุประสงค์และหลักการของเกษตรอินทรีย์ มีการปรับใช้อย่างเท่าเทียมกันในทุกขั้นตอนและในทุกภาคของการผลิตสินค้า เกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่สินค้าที่ทำจากสัตว์และพืช การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สินค้าอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ และรวมถึงในภาคการผลิตสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์
- การทำให้กฎระเบียบการปรับใช้เกี่ยวกับ GMO (การดัดแปรพันธุกรรม) มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของเกณฑ์ระดับการปนเปื้อน โดยเน้นถึง สินค้า GMO ไม่สามารถติดฉลากอินทรีย์ได้ และระดับการปนเปื้อนโดยไม่ได้ตั้งใจไม่เกินร้อยละ 0.9
- การบังคับใช้เครื่องหมาย (โลโก้) สำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์ หรือเลือกที่จะติดฉลากสิ่งชี้บ่งถึงเกษตรอินทรีย์ของ EU (EU-ORGANIC) โดยยังคงสามารถใช้เครื่องหมายหรือการติดฉลากของผู้ผลิตเองได้ต่อไป
ทั้ง นี้ สินค้าขั้นสุดท้ายจะต้องประกอบด้วยเกษตรอินทรีย์อย่างน้อย 95% และการกำหนดข้อบังคับอย่างเข้มงวดสำหรับติดฉลากและการโฆษณาเพื่อทำให้เกิด การส่งเสริม “แนวคิดร่วม” ของสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริง
- การเสริมความสำคัญในด้านพื้นฐานความเสี่ยงและการปรับปรุงคุณภาพการควบคุม โดยวางระบบการควบคุมไปยังระบบที่เป็นทางการของ EU ที่จะปรับใช้กับอาหารและอาหารสัตว์ทั้งหมด
- การปรับปรุงการจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น โดยการกำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดและการเสริมระบบการควบคุมอย่างยุติธรรม ซึ่งจะทำให้ระบบมาตรฐานเป็นที่รู้จักร่วมกันและลดปัญหาการควบคุมของกฎ ระเบียบเคร่งครัดที่แตกต่างกัน ในแต่ละประเทศสมาชิก
- การพัฒนากฎหมายการนำเข้าถาวร โดยใช้พื้นฐานของการนำเข้าโดยตรงสำหรับสินค้าที่มีการปรับใช้มาตรฐานอย่าง เต็มรูปแบบหรือจากพื้นฐานระบบความเท่าเทียม
การส่งเสริมของหน่วยงานราชการไทย
ปัจจุบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยกำลังเร่งดำเนินการเพื่อจัดตั้งหน่วยงานเพื่อ การตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยเพื่อการส่งออก เพื่อจะเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกและรองรับการขยายตัวสินค้าเกษตรอินทรีย์ ของไทยมายังสหภาพยุโรปได้
ล่า สุด เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2551 คณะผู้แทนไทย นำโดย นายมนตรี กฤษณีไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักรับรองมาตรฐานสินค้าและระบบคุณภาพ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้เข้าพบ Mr. Aldo LONGO ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการระหว่างประเทศ DG-Agriculture and Rural Development โดยได้ยื่นหนังสือขอสมัครขึ้นบัญชีรายชื่อประเทศที่สามที่สามารถส่งออก สินค้าเกษตรอินทรีย์ไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรป โดยไทยสามารถมีระบบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของตนเอง (และเป็นระบบตรวจสอบรับรองที่ EU ยอมรับว่าเท่าเทียมกับของ EU)
ภาย หลังการเข้าพบ ได้มีการประชุมกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในส่วนสินค้าเกษตรอินทรีย์ของ DG-Agriculture โดยไทยได้นำเสนอเกี่ยวกับระบบมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยในปัจจุบัน แจ้งให้ DG-Agriculture ทราบว่า สินค้าศักยภาพของไทยในปัจจุบัน ได้แก่ ข้าว ผักผลไม้ และกุ้ง ทั้งนี้ DG-Agriculture ได้ขอข้อมูลเพิ่มเติมจากประเทศไทย เพื่อใช้ในการประเมินระบบการรับรองของไทย ซึ่งอาจต้องมีการปรับปรุงแก้ไข และจะใช้เวลาประมาณ 2-4 ปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับไทยจะมีความพร้อมและความสมบูรณ์ของระบบของไทย ในปัจจุบัน ไทยสามารถส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์มายังตลาดสหภาพยุโรปได้ หากแต่ต้องมีการตกลงกับประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ เป็นรายสินค้า โดยแต่ละสินค้ามีระยะเวลาที่สามารถจำหน่ายได้ 1 ปี โดยสินค้าเกษตรอินทรีย์แต่ละชนิดต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่ประเทศ สมาชิกนั้นๆ ให้การยอมรับ
สุรีรัตน์ฟาร์ม จังหวัดจันทบุรี ฟาร์มกุ้งกุลาดำแบบอินทรีย์แห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้ร่วมดำเนินธุรกิจกับบริษัท Yuu n’ Mee ประเทศออสเตรีย เพื่อส่งออกกุ้งกุลาดำอินทรีย์คุณภาพของไทยสู่ตลาดสหภาพยุโรปเป็นเจ้าแรก และได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์จาก ‘Naturland’ ประเทศเยอรมนีเรียบร้อยแล้ว
ข้อมูลจาก thaieurope.net