data-ad-format="autorelaxed">
มันสำปะหลัง ปัจจุบันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยไปแล้ว ในอดีตมันสำปะหลัง ยังไม่ได้เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจมากเท่าปัจจุบันนี้ อาจเป็นเพราะด้วยเทคโนโลยี ที่ทำให้สามารถแปรรูป และใช้ประโยชน์จากมันสำปะหลังได้มากขึ้น ไม่ว่าจะทำเป็นมันอัดเม็ดเพื่อเป็นอาหารสัตว์ มันเส้นส่งออก ทำแป้งมันสำปะหลัง เป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมยา หรือโรงงานเอทานอลจากมันสำปะหลัง และอื่นๆอีกมากมาย ทั้งหมดนี้ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ และปัจจัยการผลิตด้วยกันทั้งนั้น ความต้องการมันสำปะหลังในตลาด จึงมีมากขึ้น และมีแนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อยๆ
ในมุมมองของผู้ปลูกมันสำปะหลัง มีทั้งเกษตรกรรายย่อย เกษตรกรรายใหญ่ นักลงทุน และปลูกในรูปแบบบริษัท คนที่ก้าวเข้ามาศึกษา และปลูกมันสำปะหลัง ก็มีเป้าหมายต่างกัน ส่วนมากปลูกไว้ขายเป็นหัวมันสด บางรายปลูกแล้วทำมันเส้นเพื่อได้จำหน่ายในราคาที่สูงกว่า โรงแป้งเองก็มีปลูกไว้ทำนวนมากเหมือนกัน เพื่อเป็นแปลงสาธิตให้เกษตรกร เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิต โรงแป้งเองจะได้ไม่ลำบากในการจัดซื้อมันสำปะหลังมาให้เพียงพอ เพื่อป้อนไลน์การผลิต ในส่วนของโรงแป้งนั้น หากมีมันสำปะหลังสด ไม่เพียงพอ การเดินเครื่องแต่ละครั้งก็ขาดทุน เพราะต้องใช้ไฟฟ้าและค่าบำรุงรักษาอื่นๆ ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงมาก หากมีมันสำปะหลังป้อนให้ไม่เพียงพอ ก็ไม่สามารถเดินไลน์การผลิตได้
เชื่อว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการปลูกมันสำปะหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว ผู้ปลูกรายใหม่ จะค้นคว้าคนหาวิธีการต่างๆ ที่จะลดต้นทุนการปลูกและดูแลมันสำปะหลัง และสามารถเพิ่มผลผลิตให้ได้สูงสุด ในต้นทุนที่ลดลง หรือเท่าเดิม หรือบางรายอาจจะยอมเพิ่มต้นทุน แต่ได้อัตราผลตอบแทนดีขึ้น อันนี้แล้วแต่วิธีการของแต่ละคน
เมื่อทุกท่านค้นคว้า ศึกษาวิธีปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตสูงสุดแล้ว สุดท้ายก็จะพบว่า 30% ที่จะช่วยให้ผลผลิตสูงขึ้นนั้นคือ ปุ๋ยที่ดี รวมไปถึง ยารักษาโรค และป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ดี เมื่อโดนรบกวนจาก โรคและแมลง ส่วนอีก 70% นั้น อยู่ที่การบริหารจัดการ การปลูกและดูแลมันสำปะหลัง ให้ได้ตามขั้นตอนที่ถูกต้อง และถูกช่วงเวลา ตามอายุวัฏจักรของมันสำปะหลัง
เมื่อศึกษาจนได้เป็นองค์ความรู้การปลูกมันสำปะหลัง ที่ครบถ้วนกระบวนการแล้ว ผู้ปลูกรายย่อย หรือในระบบไร่ที่ไม่ใหญ่มาก มักจจะประสบผลนำเร็จ แต่ นักลงทุน หรือบริษัทต่างๆ ที่เข้ามาลงทุน ศึกษาและปลูกในปีแรก ถึงแม้จะศึกษามาอย่างดีแล้วก็ตาม มักจะพลาด และขาดทุนในปีแรก อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ ซึ่งโดยรวมแล้ว มักเกิดจากการบริหารจัดการ
ที่เราได้พบมานั้น ผู้บริหารที่สั่งการ โดยแต่งตั้งมือซ้าย มือขวาของตนเข้ามาจัดการบริหารไร่มันสำปะหลังขนาด 4,000-5,000 ไร่ มักจะมีที่ปรึกษา หรือคนที่มีประสบการณ์การปลูกมันสำปะหลังมากมาย หลายสิบปีคอยแนะนำอยู่ใกล้ๆ แต่ผู้บริหารส่วนมาก มักจะลืมไปว่า คนที่มีประสบการณ์เหล่านั้น ส่วนมากประสบผลสำเร็จกับการปลูกมาทุกๆปี เป็นไร่ของตัวเอง ก็อยู่ในช่วง 10-100 ไร่ แต่การจัดการไร่ขนาดใหญ่นั้นต่างกัน เราใช้วิธีการของเขาได้ แต่ใช้หลักการบริหารคนของเขาไม่ได้ จึงเชื่อเขาไม่ได้ทุกประเด็น
ปัญหาในไร่ขนาดใหญ่ มีบุคคลากรมาก มักจะเกิดปัญหาเรื่องคน จนไปกระทบเรื่องงาน ในที่ทำงาน มักจะแบ่งเป็น กลุ่มคนที่มีอำนาจเก่า กลุ่มคนที่มีประสบการณ์หลายปี กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มแนวคิดใหม่
กลุ่มคนมีอำนาจเก่า มักจะเชื่อถือไว้วางใจกลุ่มคนมีประสบการณ์ ด้วยสโลแกนของเขาว่า ปลูกมาหลายปี ตั้งแต่นักวิชาการ กับกลุ่มเด็กใหม่ยังไม่เกิด
กลุ่มมีประสบการณ์ พูดติดปากว่า ปลูกมามากกว่าสิบปี ตั้งแต่หลายคนยังไม่เคยเห็นมันสำปะหลังเลย
กลุ่มนักวิชาการ มักพูดว่า ศูนย์วิจัยทำมาแล้ว หลายปี อันนี้รับรองแล้วโดยกรมวิชาการเกษตร แบบนี้ยังไม่รับรอง ตามหลักต้องยกร่องแบบนี้ ทำนองนี้เป็นต้น
กลุ่มแนวคิดใหม่ ก็มีแนวว่า ผมไปดูงานมาแล้ว ศึกษาผู้ที่สำเร็จปีทีผ่านมา แบบนี้มันเก่าไปแล้ว วิธีการใหม่เป็นแบบนั้น แบบนี้ เป็นต้น
กลุ่มคนเหล่านี้ มักจะขัดแย้งกันในหลักการ แต่หากผู้บริหารสามารถวางคนให้ถูกับงานได้ จึงจะประสบผลสำเร็จ เพราะกลุ่มแนวคิดใหม่ มักจะมีองค์ความรู้ที่เป็นปัจจุบันกว่า และมีโอกาสถูกต้อง ซึ่งต้องใช้ข้อมูลจากนักวิชาการเป็นตัวยืนยัน แต่ให้ไปทำเอง ก็ทำได้ไม่ดีเท่ากลุ่มคนมีประสบการณ์ และทุกกลุ่ม ก็ไม่มีใครมีอำนาจสั่งการ และควบคุมบุคคลกรทั้งหมด ในภาพรวมได้ดีกว่า กลุ่มคนมีอำนาจเก่า
สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าอย่างไร ในปีแรก ผู้บริหารระดับสูง ยังคงต้องตัดสินใจในภาพรวม หากต้องการผลสำเร็จของการปลูกมันสำปะหลังในเวลาที่สั้นกว่า 3 ปี
บทความโดย FarmKaset.ORG