ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 20898 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

คาร์โบฟูแรน อันตรายสำหรับชาวนา ชาวไร่

ชาวนาใช้ คาร์โบฟูแรน กำจัดแมลงบั่ว ในนาข้าวหลังการหว่านข้าว หรือหลังปักดำ ขณะที่ชาวสวน-ชาวไร่ ใช้คาร์โบฟูแรน กำจัดหนอน

data-ad-format="autorelaxed">

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร

 

คาร์โบฟูแรน (Carbofuran)

เป็นยาฆ่าแมลง ซึ่งใช้กันแพร่หลายทั่วไป แต่อาจจะไม่รู้จัก แต่ถ้าพูดถึง คูราแทร์ 3% จี หรือฟูราดาน แล้วทุกคนจะต้องร้องอ๋อทันที โดยเฉพาะชาวนาน ชาวสวน ชาวไร่ เนื่องจากชื่อดังกล่าวเป็นชื่อทางการค้าของคาร์โบพูแรน

 

ชาวนาใช้คาร์โบฟูแรนกำจัดแมลงบั่วในนาข้าวหลังการหว่านข้าว หรือหลังการปักดำ ขณะที่ชาวสวน-ชาวไร่ ใช้คาร์โบฟูแรนกำจัดพวกหนอนและด้วงหลายชนิดที่ทำลายพืชไร่ของพวกเขา เช่น หนอนกระทู้ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนเจาะยอดข้าวฟ่าง หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วเหลืองและถั่วฝักยาว ด้วงงวงมันเทศ ด้วงหลอดยาวมันสำปะหลัง เป็นต้น

 

วิธีการใช้ส่วนมากจะใช้หยอดหลุม หรือโรยตามร่องตอนปลูก ที่สำคัญต้องพยายามอย่าทำให้ผงเกิดการฟุ้งกระจาย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มีขายอาจผสมคาร์โบฟูแรนอยู่ในตัวทำละลาย ที่อาจไวไฟได้

 

อย่างไรก็เมื่อเกิดไฟไหม้ตัวมันเองจะให้ควันพิษ รวมทั้งไนโตรเจนออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซพิษตัวหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ร่างการโดยการสูดดม หรือกลืนกินเข้าไป จะเกิดอาการวิงเวียน เหงื่อแตก อาเจียน กล้ามเนื้อเกร็ง น้ำลายฟูมปาก และอาจหมดสติได้ ดังนั้นเวลาใช้คาร์โบฟูแรนจึงควรระมัดระวัง อย่าสูดเข้าไป อย่ากินอาหารหรือดื่มน้ำและเครื่องดื่มต่าง ๆ ระหว่างการใช้สารตัวนี้ ต้องล้างมือก่อนกินหรือหยิบอะไรใส่ปาก อีกประการหนึ่งในการขนส่งจะต้องไม่ขนส่งไปพร้อมกับอาหารและของกินได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากอาจเกิดอุบัติเหตุปนเปื้อนได้...

 

หมายเหตุ
คาร์โบฟูแรน
เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมวิชาการเกษตร

 

กระบวนการ แบนคาร์โบฟูราน ในอเมริกา: การต่อสู้เพื่อปกป้องสุขภาวะของสังคม

 

โดย.... ฝ่ายข้อมูล มูลนิธิชีววิถี

 

ความสำเร็จของการแบนคาร์โบฟูราน ในอเมริกาเป็นอุทาหรณ์สำหรับการต่อสู้เพื่อระงับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยในช่วงปี 2554 และให้บทเรียนถึงความยากลำบากในการท้าทายอำนาจบรรษัทเคมีเกษตรระดับโลก ที่แม้แต่ EPA (Environmental Protection Agency) หน่วยงานรัฐซึ่งมีข้อมูลการวิจัยถึงความอันตรายร้ายแรงของสารเคมีชนิดนี้กว่า 10 ปี ต้องผ่านการต่อสู้ทางกฎหมายหลายครั้งจนได้รับชัยชนะในศาลฎีกาเมื่อพฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา

 

การประเมินความเสี่ยงของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในอเมริกามีขึ้นทุก 10 ปี[1]เพื่อปรับค่าการตกค้างสูงสุดของสารเคมีในอาหารหรือ MRL (Maximum Residue Limit) ให้เหมาะสมกับการพัฒนาทางเลือกเพื่อควบคุมศัตรูพืชที่ปลอดภัยกว่า สำหรับคาร์โบฟูราน การประเมินได้เริ่มต้นขึ้นกลางค.ศ. 2005 และในปีถัดมา EPA มีข้อสรุปว่าการตกค้างของคาร์โบฟูรานในอาหารมีความเสี่ยงร้ายแรงเกินกว่าจะยอมรับได้[2] แต่การวิจัยยังคงดำเนินต่อไปเพื่อยืนยันผลการศึกษาดังกล่าว พร้อมกับมีการประเมินข้อมูลความปลอดภัยเพิ่มเติมจากบริษัท FMC Corporation ซึ่งเป็นเจ้าของทะเบียนการค้าคาร์โบฟูรานเพียงแห่งเดียวในอเมริกา

 

จนกระทั่งปี 2008 EPA ได้ข้อสรุปว่าผลการวิจัยทั้งหมดชี้ชัดถึงความอันตรายของสารคาร์โบฟูรานที่ตกค้างในอาหารไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตาม (โดยเฉพาะเมื่อผู้บริโภคไม่ได้รับประทานอาหารที่มีสารเคมีตกค้างเพียงมื้อเดียว) จึงได้ยื่นเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเพื่อแบนคาร์โบฟูรานเมื่อ 31 กรกฎาคม 2008[3] ต่อมา EPA มีมติยกเลิกค่า MRL ของคาร์โบฟูรานในผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมด (ซึ่งเทียบเท่ากับการห้ามใช้สารเคมีชนิดนี้) ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2009 (กฎเกณฑ์มีผลบังคับใช้เมื่อ 31 ธันวาคม 2009)[4] พร้อมกับสนับสนุนให้เกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าหรือวิธีการอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม



อย่างไรก็ตาม บริษัท FMC Corporation ได้แสดงข้อคิดเห็นต่อมติดังกล่าวซึ่งมีการโต้ตอบจาก EPA ดังต่อไปนี้

1. FMC ยื่นผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง (risk analysis) เพิ่มเติมที่ระบุว่าการบริโภคอาหารที่มีคาร์โบฟูรานตกค้างหลายๆมื้อมีความปลอดภัยสำหรับเด็ก แต่ไม่ได้แนบข้อมูลและรายละเอียดของการประเมิน และ EPA ไม่สามารถทำการวิเคราะห์ที่มีผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันได้ จึงนับว่าผลวิเคราะห์ไม่มีความสมบูรณ์และไม่สามารถเชื่อถือได้

2. การวิเคราะห์ความเสี่ยงของทางบริษัทเคมีเกษตรยังมีข้อบกพร่องสำคัญในการสันนิษฐานว่าในสภาวะปกติ ผลลัพธ์ต่างๆมีความแน่นอนและจะเกิดขึ้นตามสมมุติฐาน เช่น การตอบสนองต่อสารเคมีสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ใกล้เคียงกัน หรือผลกระทบทางสุขภาพของคาร์โบฟูรานสามารถแก้ไขได้ง่าย เป็นต้น แต่ในความเป็นจริง ข้อมูลและการสันนิษฐานเหล่านี้ไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยของผู้บริโภคโดยเฉพาะเด็กได้

3.ความเสี่ยงเฉียบพลันต่อเด็กเป็นความกังวลสำคัญของ EPA การพิจารณาปริมาณสารเคมีที่สามารถตกค้างได้ในอาหารจึงเป็นเรื่องที่ต้องการการวิเคราะห์ที่ละเอียด รอบคอบ และสามารถสร้างความมั่นใจได้ในสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อคาร์โบฟูรานมีความเป็นพิษสูง หลักปฏิบัติที่ยึดในการระมัดระวังไว้ก่อนจึงเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจแบนคาร์โบฟูราน



นอกเหนือจากข้อคิดเห็นดังกล่าว FMC พร้อมด้วย 3 สมาคม (สมาคมผู้ปลูกข้าวโพด ทานตะวัน และมันฝรั่ง) ได้ยื่นคัดค้านมติการแบนคาร์โบฟูรานและขอให้มีการไต่สวน (administrative hearing) การวิจัยของ EPA ในประเด็น

1. การเลือกปัจจัยด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมของเด็ก

2.การประเมินโอกาสการสัมผัสคาร์โบฟูรานที่ตกค้างในแหล่งน้ำดื่ม

3.การประเมินความเสี่ยงจากการบริโภคอาหาร และ4.อำนาจของ EPA ในการจำกัดข้อมูลสนับสนุนที่ถูกยกขึ้นในการคัดค้านและการแสดงความคิดเห็นของบริษัทในอดีต



เนื่องจากผลการศึกษาวิจัยที่มีอยู่มีหลักฐานเพียงพอและเชื่อถือได้ EPA จึงมีคำตัดสินไม่รับพิจารณาคำค้านและคำขอดังกล่าว และให้ความเห็นว่าประเด็นที่ทางบริษัทและสมาคมทั้ง 3 ค้านไม่เกี่ยวข้องกับการปกป้องความปลอดภัยของผู้บริโภคโดยเฉพาะเด็กและทารกแต่อย่างใด ในเวลาต่อมา FMC และสมาคมที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการทางกฎหมายและยื่นขออุทธรณ์คำสั่งแบนต่อศาล US Federal Court of Appeals โดยในกรกฎาคม 2010 มีคำตัดสินสนับสนุนการแบนคาร์โบฟูรานในผลผลิตทุกประเภท ยกเว้นสินค้าเกษตรนำเข้า 4 ชนิดได้แก่ ข้าว อ้อย กล้วย และกาแฟ



การอุทธรณ์ดำเนินต่อไปในศาล DC Circuit Court of Appeals จนกระทั่งมาถึงศาลฎีกาซึ่งมีคำตัดสินสุดท้ายไม่รับคำร้องเพื่อยกเลิกการแบนคาร์โบฟูรานในเดือนมีนาคม 2011 ซึ่งนับว่าเป็นชัยชนะของการปกป้องคุ้มครองพลเมืองอเมริกันจากสารเคมีที่มีความอันตรายและความเสี่ยงมากที่สุดชนิดหนึ่ง



สำหรับประเทศไทยซึ่งไม่มีการเฝ้าระวังและจัดการกับปัญหาสารเคมีตกค้างในอาหารและแหล่งน้ำที่เข้มงวดเพียงพอ แต่ในปี 2553 ยังมีการนำเข้าคาร์โบฟูรานมากถึง 5,301,161กิโลกรัม (มูลค่า 148,870,091 บาท) ซึ่งมากกว่าอเมริกาถึง 12 เท่า (การใช้ประมาณ 4.5 แสนกิโลกรัมต่อปี) และได้เพิ่มมากขึ้นเกือบเท่าตัวภายในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 จึงเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงผลกระทบอันร้ายแรงจากสารเคมีกำจัดแมลงชนิดนี้



ประสบการณ์จากอเมริกาชี้ให้เห็นว่า การแบนคาร์โบฟูรานมีความจำเป็นเพื่อปกป้องสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคเนื่องจากผลการศึกษาทั้งหมดที่ปราศจากอคติจากผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อนระบุอย่างชัดเจนถึงความอันตรายและความเสี่ยงจากคาร์โบฟูราน อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอีกหลายชนิดทั้งในและนอกบัญชีเฝ้าระวังของกรมวิชาการเกษตรที่ยังต้องการการพิจารณายกเลิกหรือควบคุมการใช้ ภาครัฐซึ่งมีอำนาจทางกฎหมายโดยตรงมีหน้าที่บรรเทาความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยการแบนสารเคมีที่หลายประเทศห้ามใช้ จำกัดการนำเข้าสารเคมีที่มีความอันตรายสูง เปิดเผยข้อมูลความปลอดภัยที่ครบถ้วนต่อสาธารณะ พร้อมกับสนับสนุนทางเลือกเพื่อการจัดการศัตรูพืชที่ปลอดภัยกว่า ที่สำคัญ ผู้ได้รับผลกระทบหรือเกษตรกรและผู้บริโภคมีหน้าที่ผลักดันให้การทำงานของภาครัฐดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส เพราะสารเคมีเป็นปัญหาเชิงระบบที่ต้องการความตระหนักและความร่วมมือจากทุกคนในสังคม

 

ข้อมูลจาก

chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=32

biothai.net/node/9962


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 20898 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9891
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7926
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7982
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 8349
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 7301
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8585
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7771
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>