ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 12737 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ไทยกระชับความร่วมมือ อาเซียน-ญี่ปุ่น

ไทยกระชับความร่วมมือ ในโอกาสครบรอบ 40 ปี อาเซียน-ญี่ปุ่น สู่แนวทางความมั่นคงอาหารในกรอบอาเซียน

data-ad-format="autorelaxed">

ไทยกระชับความร่วมมือ ในโอกาสครบรอบ 40 ปี อาเซียน-ญี่ปุ่น สู่แนวทางความมั่นคงอาหารในกรอบอาเซียน
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จับมือ กรมชลประทาน ร่วมสัมมนาพิเศษในโอกาสครบรอบ 40ปี ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น ณ เมืองนิอิงาตะ ประเทศญี่ปุ่น สู่ความร่วมมือแก้ปัญหาด้านความมั่นคงอาหาร และบริหารจัดการน้ำทางการเกษตรอย่างยืนกับประเทศสมาชิกอาเซียนและญี่ปุ่นร่วมกัน โดยฝ่ายไทย ชูประเด็นการเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงอาหารของไทย ตามกรอบยุทธศาสตร์ของกระทรวงเกษตรฯ พร้อมแนวทางบริหารจัดการน้ำของประเทศอันเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของภาคเกษตรไทยต่อที่ประชุม

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการสัมมนาพิเศษในโอกาสครบรอบ 40 ปี ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น เกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหาร โดยมุ่งเน้นในประเด็นของการบริหารจัดการน้ำและการพัฒนาเกษตรที่ยั่งยืน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5–7กันยายนที่ผ่านมา ณ เมืองนิอิงาตะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง สศก. ได้เข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าวด้วย สำหรับการสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเป็นพิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปีความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น จัดโดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงแห่งประเทศญี่ปุ่น (MAFF) ภายใต้โครงการ ASEAN–JAPAN Project for Strengthening Capacity Building in Agriculture Sector in ASEAN Countries (CB Project) มีผู้แทนซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงผู้รับผิดชอบงานด้านความมั่นคงอาหารและการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรจากประเทศสมาชิกอาเซียน ญี่ปุ่น สำนักเลขาธิการอาเซียน และวิทยากรพิเศษที่ได้รับเชิญเข้าร่วมสัมมนา โดยได้มีการนำเสนอรายงานเป็นรายประเทศเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงอาหาร การบริหารจัดการน้ำ และการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน

ในส่วนของผู้แทนจากประเทศไทย นอกจากผู้แทนของ สศก. (ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รักษาการผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านนโยบายระบบเศรษฐกิจการเกษตร) แล้ว ยังร่วมด้วย ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน (ดร.ทองเปลว กองจันทร์)ที่ได้ร่วมนำเสนอข้อมูลสถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารและการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย โดยกล่าวถึงสถานภาพและความสำคัญของภาคเกษตรไทยที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากมีคนไทยที่อาศัยอยู่ในภาคการเกษตรสูงถึงร้อยละ 36 ของประชากรทั้งหมด และเป็นภาคการผลิตที่มีการสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศในสัดส่วนที่สูง อีกทั้งไทยยังเป็นแหล่งสร้างรายได้จากการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อการส่งออกที่มีมูลค่าสูงอยู่ในลำดับต้นๆ ของโลก อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังได้มีการเตรียมพร้อมในด้านความมั่นคงอาหารของชาติโดยการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านอาหาร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2556–2559) เพื่อให้คนไทยมีอาหารที่มีคุณภาพเพื่อบริโภคอย่างเพียงพอและยั่งยืน นอกจากนี้ เรื่องการบริหารจัดการน้ำซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการผลิตทางการเกษตรของไทย กรมชลประทานได้กำหนดแผนการบริหารน้ำบนพื้นฐานของแผนการจัดสรรน้ำตามความต้องการของผู้ใช้น้ำ โดยมีการติดตามอย่างใกล้ชิดจากคณะกรรมการซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน เพื่อให้มีการบริหารจัดการน้ำและการติดตามอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ในภาพรวมมากที่สุด

เลขาธิการ กล่าวทิ้งท้ายว่า การสัมมนาครั้งนี้ นับว่าได้รับความร่วมมือจากผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนและญี่ปุ่นอย่างมาก ที่ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนการนำเสนอรายงานรายประเทศและมีการนำเสนอข้อมูล สถานการณ์ความมั่นคงอาหาร แนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร และข้อเสนอแนะความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องร่วมกัน ซึ่งผลลัพธ์จากการสัมมนาและข้อเสนอแนะ (Recommendation) จะนำเสนอต่อที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรีด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียนบวกสามเพื่อทราบต่อไป โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน พร้อมกับการส่งเสริมให้มีการลงทุนด้านโครงสร้างและการบริหารจัดการระบบชลประทานเพื่อการเกษตรโดยให้เกษตรกรและองค์กรที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งสนับสนุนให้ MAFFญี่ปุ่นดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาบุคลากรภาคเกษตรให้แก่อาเซียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้ความสำเร็จในด้านการจัดการปัจจัยการผลิตทางการเกษตรร่วมกัน เพื่อพัฒนาการผลิตทางการเกษตรและยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรในอนาคต
 
ข่าว  :  ฝ่ายประชาสัมพันธ์
ข้อมูล : สำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 12737 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9891
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7929
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7987
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 8353
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 7303
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8589
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7777
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>