ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่อ้อย | อ่านแล้ว 26629 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

วิธีป้องกันโรค ใบขาวอ้อย-หนอนกออ้อย

ปัญหาการระบาดของโรคใบขาวอ้อย เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา ทำให้ผลผลิตลดลงถึงร้อยละ 50

data-ad-format="autorelaxed">

โรคใบขาวอ้อย โรคหนอนกออ้อย

นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ปัญหาการระบาดของโรคใบขาวอ้อย ซึ่งเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมาที่มีแมลงปากดูดเป็นพาหะแพร่กระจายโรค ทำให้ผลผลิตลดลงถึงร้อยละ 50 จากข้อมูลของสมาคมชาวไร่อ้อย พบว่า ในปีการผลิต 2554/2555 มีพื้นที่การระบาดของโรคใบขาวและกอตะไคร้อ้อยจำนวน 170,277 ไร่ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาระบาดระยะยาวคือ การใช้ท่อนพันธุ์อ้อยที่สะอาดสมบูรณ์ ตรงตามพันธุ์ ปราศจากโรค

โรคหนอนกอ หนอกออ้อย


ทั้งนี้เทคโนโลยีการบริหารจัดการป้องกันโรคใบขาวและกอตะไคร้อ้อยระดับชุมชน ที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ ประกอบด้วย การผลิตท่อนพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาว โดยการใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การทำแปลงขยายอ้อยปลอดโรค การผลิตขยายศัตรูธรรมชาติควบคุมแมลงศัตรูอ้อย โดยใช้แปลงใน ต.เขือน้ำ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เป็นศูนย์ทดลองนำร่อง

“จากการตรวจสอบโรคใบขาวและการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยของแปลงพันธุ์อ้อยสะอาด 25 ไร่ หลังปลูก 45 วัน พบแปลงพันธุ์อ้อยสะอาด 3 แปลง มีจำนวนต้นอ้อย 47,580 ต้น พบการระบาดโรคใบขาว 57 ต้น คิดเป็นร้อยละ 0.20 ถือว่าการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยมีความรุนแรงน้อยกว่าค่าระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจ”

ส่วนการตรวจสอบโรคใบขาวและการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยของแปลงพันธุ์อ้อย 13 ไร่ หลังปลูก 3 เดือน ในแปลงเปรียบเทียบการปลูกอ้อยที่ใช้ท่อนพันธุ์จากแปลงพันธุ์หลักของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเกษตร จ.อุดรธานี (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ที่ผ่านการตรวจสอบโรคใบขาวด้วยวิธี Nested PCR ปี 2555 กับการใช้ท่อนพันธุ์จากแปลงปลูกของเกษตรกร พบการใช้ท่อนพันธุ์จากแปลงพันธุ์ของศูนย์ส่งเสริมฯ มีจำนวนหน่อที่แสดงอาการโรคใบขาวน้อยกว่า หรือไม่มีโรคใบขาว 1.77 หน่อ (13 แปลงปลูก) และค่าเฉลี่ยการเกิดโรคใบขาวทั้ง 13 แหล่งปลูก มีหนอนกอเข้าทำลายน้อยกว่าการใช้ท่อนพันธุ์อ้อยจากแปลงของเกษตรกร 6 แหล่งปลูก แต่ค่าเฉลี่ยการเข้าทำลายของหนอนกอ มีค่าเท่ากับ 59.314 หน่อ ซึ่งน้อยกว่า ของแปลงเพาะปลูกที่ใช้ท่อนพันธุ์จากแปลงของเกษตรกร ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 72.77 หน่อ

เมื่อได้ผลการศึกษาวิจัยจากโครงการบริหารจัดการศัตรูพืชอ้อยครั้งนี้แล้ว กรมส่งเสริมการเกษตรได้นำเสนอผ่านกระบวนการเรียนรู้ในเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของชุมชน ปรากฏว่าได้รับความสนใจตอบรับเป็นอย่างดี ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายนักวิจัยชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ.

โรคใบขาวอ้อย

เชื้อสาเหตุโรคใบขาวอ้อย เชื้อไฟโตพลาสมา (Phytoplasma)

อาการของโรค

โรคใบขาวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกระยะการเจริญเติบโต

ของอ้อย โดยอาการจะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนในระยะกล้า อ้อยแตกกอฝอยมีหน่อเล็ก ใบมีสีขาว หรือ ใบขาวปลายยอด หน่อไม่เจริญเป็นลำ หากอาการโรครุนแรงอ้อยจะแห้งตาย   บางครั้งอาการของโรคจะมีลักษณะแฝง พบในอ้อยปลูกปีแรก โดยอ้อยเป็นโรคเจริญเติบโตเป็นลำ มีใบสีเขียวคล้ายอ้อยปกติ มีเพียงบางหน่อใบจะมีขาว ที่โคนกอ แต่อาการโรคจะให้เห็นได้ชัดเจนในอ้อยตอ ซึ่งเมื่อนำอ้อยที่มีอาการแฝงคล้ายอ้อยปกติไปปลูกต่อ ก็จะทำให้โรคระบาดอาการของโรคปรากฎทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ

แมลงพาหะ  มีเพลี้ยจั๊กจันหลังขาวและเพลี้ยจั๊กจันปีกลายเป็นพาหะ  โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรค

การระบาดโรคใบขาวอ้อย

มีเพลี้ยจั๊กจันเป็นพาหะเป็นพาหะ มี 2 ชนิด คือ  เพลี้ยจั๊กจันปีกลายและเพลี้ยจั๊กจันหลังขาว

โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงต้นที่เป็นโรคไปแพร่ในต้นที่ไม่เป็นโรค

ติดไปกับท่อนพันธุ์  สังเกตจากอ้อยปลูกกออ้อยจะมีใบขาวติดกันหลายๆ กอ

การป้องกันโรคใบขาวอ้อย

กำจัดแหล่งเชื้อ

- ต้นอ้อยที่เป็นโรคในแปลง  โดยการขุดทิ้งหรือถ้าอาการรุนแรง

ควรแดพ่นด้วยสารเคมีไกลโฟเฟตส1%

- กำจัดวัชพืชและรอบ ๆ แปลงเพื่อทำลายแหล่งอาศัยของแมลงพาหะของโรค

การบำรุงดิน เพื่อทำให้พืชมีความแข็งแรง  โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยเคมี

- ปลูกพืชบำรุงดิน เช่น ถั่วพร้า โสนอัฟริกัน ถั่วมะแฮะ ครามขน หรือพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ คั่น เช่น 
ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวโพด เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค

ใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาด

- ใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่ไม่มีการระบาด

- การแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำอุ่น  50  CC นาน  2 ชม. หรือ 52   CC  นาน 30  นาที ควรแช่ท่อนพันธุ์ 2 รอบโดยแช่รอบที่ 1 ในน้ำอุ่น 52   CC  นาน 30  นาที ทิ้งไว้  12  ชม. และแช่รอบที่ 2 50  CC นาน  2 ชม.

การตัดวงจรชีวิตแมลงที่เป็นพาหะ โรคใบขาวอ้อย


- การกำจัดแมลงโดยใช้สารเคมี

- การเปลี่ยนช่วงฤดูการปลูกอ้อยโดยเลี่ยงการปลูกอ้อยในฤดูฝนเพื่อลดการติดเชื้อจากแมลงพาหะที่ระบาดในฤดูฝน

- การปลูกพืชหมุนเวียน

หลักการผลิตอ้อยปลอดโรคใบขาว

ตัดชิ้นส่วนของอ้อยบริเวณยอดอ่อนให้มีขนาดเล็กประมาณ 0.3-0.5  มม.

นำไปทำความสะอาดตรวจหาเชื้อสาเหตุของโรค

นำไปเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ

สุ่มตรวจหาเชื้อสาเหตุ

นำไปอนุบาลเพื่อขยายพันธุ์

การผลิตท่อนพันธุ์ปลอดโรคใบขาว

ควรปลูกในฤดูแล้ง เพื่อลดปัญหาแมลงพาหะ

พื้นที่ปลูก เป็นพื้นที่ที่ไม่มีการระบาด

การควบคุมวัชพืชในช่วงอ้อยเล็ก

การให้น้ำสม่ำเสมอ

การบำรุงให้ปฏิบัติเหมือนการปลูกอ้อยด้วยท่อนพันธุ์

ความเป็นไปได้ในการใช้พันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การทดลองปลูกอ้อยในดินนาที่ อ. เขาสวนกวาง อ้อยปลูกตอ1- ตอ2  ไม่พบการเป็นโรคส่วนอ้อยตอ 3 และตอ 4 พบเป็นโรคเล็ก

การปลูกอ้อยด้วยพันธุ์ปลอดโรคต้นทุนสูงประมาณ 10-15  บาท/ต้น การลดต้นทุนทำได้โดย

- ควรแยกหน่ออ้อยที่ปลอดโรคปลูกเมื่ออ้อยมีอายุได้ 2  เดือน และควรแยกเพียงครั้งเดียว

- การชำข้อ

พันธุ์ปลอดโรคไม่เหมาะที่จะเป็นอ้อยตัดส่งโรงงานเพราะต้นทุนสูงไม่คุ้มค่าคำถาม/ข้อสงสัย

ปูนขาวหรือโดโลไมล์ น้ำส้มควันไม้  แก้โรคใบขาวได้หรือไม

ตอบ  อาจเป็นไปได้หรือไม่ได้ก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและสภาพแวดล้อมในแปลงปลูก

ฟิลเตอร์เค้ก ทำให้เกิดโรคใบขาวหรือไม

ตอบ  ฟิลเตอร์เค้กทำให้เกิดโรคใบขาวได้ การใส่ฟิลเตอร์เค็กจะไปเพิ่มฟอสฟอรัสทำให้ฟอสฟอรัสในดินมากไปอาจไปขัดขวางการทำงานของสังกะสีและแมกนีเซียมให้ลดลงทำให้อ้อยอ่อนแอจึงมีโอกาสเกิดโรคมากขึ้น

 
อ้างอิง
โสมฉาย   จุ่นหัวโทน  ตำแหน่ง  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
dailynews.co.th
gotoknow.org


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 26629 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

คุณฟาร์มเกษตร Adm
[email protected]
อัพเดทข้อมูล การป้องกันโรคใบขาวอ้อยแล้วนะครับ
15 ก.ย. 2556 , 06:02 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

คุณเฉลิม พระสุรัตน์
[email protected]
มีวิธีไหนดูแลรักษา ใช้ยาอะไรครับ

12 ก.ย. 2556 , 10:18 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่อ้อย]:
อ้อยแคระ แกร็น อ้อยโตช้า อ้อยไม่ย่างปล้อง อ้อยปล้องสั้น อ้อยใบเหลือง อ้อยใบไหม้
พืชจะไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร เราก็ใส่ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีแล้ว แต่ทำไมพืชยังไม่โตเท่าที่ควร ทั้งๆที่เราใส่ปุ๋ย
อ่านแล้ว: 7265
อ้อยยอดเหลือง แต่กอยังเขียว เพราะ หนอนกออ้อย เข้าทำลายต้นอ้อย ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ไอกี้-บีที
อ้อยกำลังงาม อยู่ๆก็ยอดเหลือง ทั้งๆที่กออ้อยยังเขียวอยู่ นั่นท่านอาจเจอกับปัญหาหนอนกอ ป้องกันกำจัด ก่อนจะลุกลาม
อ่านแล้ว: 7122
อ้อยใบเหลือง อ้อยใบซีด เหลืองซีดเป็นหย่อมๆ ลักษณะนี้เป็นอาการของ อ้อยขาดธาตุอาหาร
หากพืชมีความอ่อนแอ ความรุนแรงของโรคก็จะมาก การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ก็เข้าทำลายได้มากเช่นกัน บวกกับสภาพแวดล้อม..
อ่านแล้ว: 9744
อ้อยเป็นหนอน หรือเห็น อ้อยยอดแห้งตาย นั่นเพราะหนอนกอสีขาวเข้าทำลาย
หน่ออ้อยที่ยังเล็กอยู่ หากโดน หนอนกอสีขาว เข้าทำลาย หน่ออ้อยมักจะตาย อ้อยที่เป็นลำจะชะงักโต ผลผลิตลด คุณภาพลด
อ่านแล้ว: 8114
ผลผลิตอ้อยลด ค่าความหวานลด อ้อยชะงักโตเพราะ แมลงหวี่ขาวอ้อย ต้องแก้
แมลงหวีขาว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบอ้อย ในระยะตัวอ่อนนั้น จะสร้างความเสียหายให้กับอ้อย
อ่านแล้ว: 8598
อ้อยมีราดำ มีแป้งสีขาวใต้ใบ ใบเหลืองซีด เพราะเพลี้ยสำลี ปล่อยไป อ้อยแห้งตาย
เพลี้ยสำลี หากมีการระบาดในไร้อ้อยแล้ว จะทำให้อ้อยในไร่ชะงักการเติบโต หรืออาจจะทำให้อ้อยแห้งกรอบทั้งใบ
อ่านแล้ว: 8767
อ้อยเหลือง แห้งตายทั้งกอ เป็นเพราะ แมลงนูนหลวง กัดกินรากอ้อย กำจัดอย่างไร
มักระบาดในสภาพดินทรายที่มี pH 6-6.5 และสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุ 0.56-0.84% การเข้าทำลายอ้อยมักปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่..
อ่านแล้ว: 7567
หมวด ไร่อ้อย ทั้งหมด >>