ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 24105 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

มะละกอ - เกษตรน่ารู้

มะละกอ เป็นพืชยืนต้น สูงประมาณ 3-4 เมตร ลำต้นตั้งตรง เนื้อลำต้นอ่อน ผลมีรูปร่างทั้งกลมและยาวรี มะละกอดิบเปลือกนอกมีสี...

data-ad-format="autorelaxed">

มะละกอ

มะละกอ - เกษตรน่ารู้ มะละกอ เป็นพืชยืนต้น สูงประมาณ 3-4 เมตร ลำต้นตั้งตรง เนื้อลำต้นอ่อน ผลมีรูปร่างทั้งกลมและยาวรี มะละกอ ดิบเปลือกนอกมีสีเขียวผลสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองออกส้ม เป็นพืชที่ไม่ชอบให้มีน้ำท่วมขังนิยมปลูกในบริเวณรั้วบ้าน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนของต้น โดยใบและยอดปรุงอาหารได้ ลำต้นภายในเป็นเนื้อสีขาวครีมอ่อนนุ่มคล้ายกับหัวผักกาดจีนปรุงเป็นอาหารได้ หรือดองเค็มหรือตากแห้งเก็บไว้กินก็ได้ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารที่สำคัญหลายอย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ธาตุเหล็ก และแคลเซียม

ยางสีขาวข้นจากผล มะละกอ ใช้หมักเนื้อทำให้เนื้อนุ่มและเร่งให้เปื่อยเร็วเมื่อต้ม สกัดเป็นเอนไซม์ปาเปอีน ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยในการขับปัสสาวะ ทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร “ชา มะละกอ ” ที่มีสรรพคุณในการล้างลำไส้จากคราบไขมันที่เกาะติดอยู่ที่เกิดจากการกินอาหารที่ผัดด้วยน้ำมัน ผล มะละกอ สุกช่วยบำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหารเป็นยาระบายอ่อน ๆ ทำให้ระบบขับถ่ายดีไม่มีอาการท้องผูก ทำน้ำ มะละกอ ได้อีกเอนไซม์ปาเปอีน ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น มีสารอาหารที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เบต้าแคโรทีนที่มีคุณสมบัติช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอย.

มะละกอ

เทคนิค การปลูกมะละกอ

การเตรียมต้นกล้า

มะละกอ ไม่เหมาะที่จะหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง เนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาในขั้นแรกมาก เพราะพื้นที่กว้างขวางและต้นกล้าที่งอกใหม่ๆ ต้องการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้น การเตรียมต้นกล้า มะละกอ ให้แข็งแรงก่อนแล้วจึงย้ายปลูกลงแปลงปลูก จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าการหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง การเตรียมต้นกล้า มะละกอ อาจใช้วิธีต่าง ๆ แต่เทคนิคที่ได้ผลดี ทำให้เมล็ดพันธุ์เจริญเติบโตพร้อมเพรียงกัน ใช้สำหรับเพาะปริมาณมาก ๆ  มีขั้นตอน ดังนี้คือ

1. เตรียมดินผสมที่จะใช้เพาะเมล็ดให้ร่วนโปร่ง โดยผสมดิน 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน และ อินทรียวัตถุ(ขุยมะพร้าว) 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน หากใช้ปุ๋ยคอกนั้นควรเป็นปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว และไม่ร้อน ส่วนอินทรียวัตถุอาจใช้เศษหญ้าสับ แกลบหรือถ่านหรือเปลือกถั่วแทนก็ได แล้วแต่จะหาอะไรได้ในท้องถิ่น

2. นำดินที่ผสมแล้วใส่ถุงขนาด 5 x 8 นิ้ว ที่เจาะรูระบายน้ำ เรียบร้อยแล้วประมาณ 4 รู ตามจำนวนหลุมปลูกในพื้นที่ซึ่งเราคำนวณ

3. เพาะเมล็ด มะละกอ  ให้นำเมล็ดพันธุ์ มะละกอ ที่เตรียมไว้แช่ด้วยน้ำอุ่นประมาณ 40 องศาเซลเซียส  ทิ้งไว้ 1-2 วัน จนเมล็ดจมอยู่ในน้ำ แล้วแยกเมล็ดเสียที่ลอยน้ำทิ้ง นำเมล็ดพันธุ์ที่จมน้ำมาคลุกด้วยชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดรา ไตรโค-แม็ก อัตรา 200 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 ลิตร แล้วห่อด้วยผ้าสำลีหรือผ้าขาวม้าเปียก คลุมด้วยกระสอบป่าน หรือบ่มไว้ในถาดหรือภาชนะตามสะดวก เปิดกระสอบรดน้ำวันละครั้งให้พอชุ่ม(อย่าให้แฉะหรือน้ำขัง)หลังจากนั้นประมาณ 4-5 วัน(เมล็ดพันธุ์ที่ดีจะงอกเร็ว) รากจะเริ่มแทงออกจากเปลือก ให้คีบเมล็ดที่รากยาวประมาณ 1-3 มิลลิเมตร มาหยอดลงในถุงชำ โดยให้ฝังลงในดินให้ลึกประมาณครึ่งเซนติเมตร เกลี่ยดินปิด ถุงละ 5 เมล็ด ส่วนเมล็ดที่เหลือซึ่งรากยังไม่งอก ให้ห่มผ้าและรดน้ำเหมือนเดิม เปิดผ้าวันเว้นวัน หรือ ทุกวัน เพื่อคีบเมล็ดมาเพาะตามขั้นตอนด้านบน จนหมด

4. นำถุงชำที่หยอดเมล็ดตามขั้นตอนที่ 3 ไปตั้งในโรงเรือนกลางแจ้งที่เตรียมไว้ ตั้งเรียงไว้กลางแจ้งในบริเวณที่สามารถให้น้ำได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน รดน้ำให้ชุ่มทุกเช้าเย็น หลังปลูก

5. เมื่อต้น มะละกอ มีใบจริง 2-3 ใบ ให้เลือกกล้าต้นที่แข็งแรงเอาไว้ถอนต้นที่อ่อนแอออก เหลือเพียง 3 ต้น  หลังจากนั้น ให้ใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดรา ไตรโค-แม็ก ฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน สลับกับการใช้ชีวภัณฑ์ปองกันกำจัดแมลง เมทา-แม็ก ผสมยาจับใบ ฉีดพ่นทุก ๆ 5 วัน ครั้งแรกเมื่อตนกลาเริ่มงอกและหลังจากนั้น ช่วงระยะนี้ให้เพิ่มความแข็งแรงให้ต้นกล้าทำให้เจริญเติบโตได้เร็วขึ้นโดยให้ผสม ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ20 ลิตร  ฉีดพ่นหรือผสมน้ำรดทุก ๆ 5-7 วัน จนกว่าจะย้ายกล้าลงแปลงปลูก

6. ย้ายกล้าปลูกหลังต้นมีอายุได้ 30-45 วัน หรือมีใบแท้ประมาณ 6-8 ใบ

การเลือกพื้นที่ปลูก

มะละกอ เป็นไม้ผลที่ชอบดินร่วนปนดินทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุมาก ไม่ชอบน้ำขัง และควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอ ไม่ทนดินเกลือและไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง ถ้าหลีกเลี่ยงในการเลือกพื้นที่ที่มีลมแรงไม่ได้ควรทำแนวไม้กันลมโดยรอบด้วย  ระบบไร่ ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 3 x 3 เมตร หรือ 2.5 x 3 เมตร หรือ2.5x2.5 เมตรสำหรับระบบร่องน้ำ

การเตรียมแปลงปลูก

1. ไถพื้นที่ปราบวัชพืช 2 ครั้ง ๆ แรกด้วยไถ 3 ผาน หรือ 4 ผาน ครั้งที่ 2 ให้ย่อยดินให้เล็กด้วยผาน 7

2. วัดระยะแปลงปลูกตามความต้องการ ควรปักหลักเล็ก ๆ ห่างจากหลักหลุมปลูกอีก 2 หลัก โดยปักให้ห่างข้างละ 50 เซนติเมตร

3. ขุดหลุมปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ขอบหลุมห่างจากหลักกลางประมาณ 25 ซม. และขุดลึก 50 ซม. เอาดินขึ้นไว้บนปากหลุมอย่าให้โดนหลักเล็กทั้ง 2 ซึ่งจะเป็นหลักบังคับระยะปลูก


การให้ปุ๋ย

ปุ๋ย มะละกอ ที่เตรียมไว้สำหรับรองก้นหลุมนั้น เพียงพอสำหรับในช่วงแรก แต่หลังจากลงกล้าปลูกประมาณ 21-30 วัน จึงเริ่มให้ปุ๋ยเสริมเพิ่มขึ้น เพื่อให้ มะละกอ มีการเจริญเติบโตเต็มที่ มีลำต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง โดยแบ่งใส่ปุ๋ยดังนี้



ทางดิน

1. ระยะต้นเล็ก ใส่ปุ๋ย จะใส่หลังจากปลูกแล้ว 2-3 อาทิตย์ โดยแบ่งใส่ ครั้งละ 1-2 กำมือ(150-300 กรัม) ต่อต้น ทุก ๆ 20-30 วัน จะทำให้ มะละกอ เจริญเติบโตได้ดี  ให้ผลผลิตเร็วและให้ผลผลิตได้นานกว่า

2. เมื่อเริ่มให้ผลผลิต เมื่อ มะละกอ ติดผลแล้วใช้ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 หรือ  13-13-21 ในอัตรา 100-150 กรัม(1 กำมือ) ต่อต้น ร่วมกับ ปุ๋ยอินทรีย์  ครั้งละประมาณ 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น  ทุก ๆ 20-30 วัน จะทำให้ผลผลิตน้ำหนักดีและรสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาด

ทางใบ

1. หลังจากลงย้ายปลูก ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)  ฉีดพ่นในอัตรา  50  ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร  ทุก ๆ 7-10 วัน ทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี  ใบเขียวทน  แข็งแรง ทนต่อโรคและป้องกันแมลง(ช่วยลดปัญหาเรื่องเพลี้ยอ่อนได้) และศัตรูพืชต่าง ๆ เข้าทำลาย

2. เมื่อ มะละกอ เริ่มให้ผลผลิต(ตั้งแต่เริ่มติดดอกจนถึงเก็บเกี่ยวทุกรุ่น) ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ฉีดพ่นช่วงตั้งแต่ มะละกอ เริ่มแทงช่อดอก อัตรา  30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 5 วัน จนติดผล  จะทำให้ มะละกอ ติดดอกและผลมาก ขั้วเหนียว ให้ผลผลิตได้ปริมาณมากและมีคุณภาพดี  เมื่อติดผลแล้ว ให้สลับใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรเร่งขนาดผล) อัตรรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพเนื้อแน่น ผลใหญ่ ได้น้ำหนัก

3. เมื่อ มะละกอ ติดดอกและมีลูกคาบเกี่ยวอยู่ในช่วงเดียวกัน ให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)และ(สูตรเร่งขนาดผล)  ฉีดพ่นสลับกัน ทุก ๆ 7-10 วัน อัตราการใช้ตามข้อ 2  จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ต้นไม่โทรม เก็บเกี่ยวได้นานหลาย

 
รอบ

 

การออกดอกติดผล

มะละกอ เป็นพืชที่มีดอก 3 ชนิดอยู่คนละต้น คือ

1. ต้นตัวผู้ จะมีดอกตัวผู้ล้วนเป็นจำนวนมากอยู่บนก้านช่อยาวที่แตกแขนง ถ้าพบควรตัดทิ้งเพราะไม่ให้ผล หรือให้ผลได้ก็ไม่สามารถจำหน่ายได้คุ้มค่าเท่าต้นตัวเมีย หรือต้นสมบูรณ์เพศ

2. ต้นตัวเมีย จะมีแต่ดอกเพศเมียเท่านั้น ดอกจะออกจากส่วนมุมด้านใบติดลำต้นเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ รังไข่มีรูปร่างป้อม ให้ผลค่อนข้างกลม ช่องว่างในผลมีมากจึงไม่ค่อยนิยมเช่นกัน

3. ต้นสมบูรณ์เพศ จะมีช่อดอกติดกันเป็นกลุ่ม ต้นสมบูรณ์เพศจะมีดอกสมบูรณ์เพศและดอกตัวผู้อยู่ในช่อดอกเดียวกัน และดอกสมบูรณ์เพศจะมี 3 ชนิดตามตำแหน่งของเกสรตัวผู้ ดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา (Elongata) ทำให้ผลมีรูปร่างทรงกระบอกสวย เป็นที่นิยมของตลาด ผลที่เกิดจากดอกสมบูรณ์เพศที่ดอกตัวผู้ติดอยู่กับรังไข่ (Intermediate) ทำให้ผลบิดเบี้ยว และดอกสมบูรณ์เพศที่ทำให้ผลเป็นพลูลึก (Pantandria) ผลจากดอกสมบูรณ์เพศสองชนิดหลังนี้ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดเกษตรกรผู้ปลูก ต้องหมั่นคอยตรวจดูและปลิดออกตั้งแต่ผลยังเล็กๆ นอกจากนั้นแม้ว่ามีดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา แต่ถ้าช่อดอกแตกแขนงและติดผลดก ผลจะเบียดกันมาก ทำให้ผลเล็กได้ จึงขอแนะนำให้เด็ดผลเล็กที่อยู่ที่แขนงข้างออก ให้เอาไว้แต่ผลที่ปลายช่อดอกจึงจะได้ผลใหญ่สม่ำเสมอกันทั้งต้น ถ้าทำทั้งสวนจะทำให้มีขนาดผลเกินมาตรฐาน จะสามารถขายง่ายและป้องกันการโค่นล้มได้อีกด้วย

 

เทคนิคการสังเกตและตัดแต่งต้น

จากขั้นตอนการเพาะชำนั้น จะเหลือต้น มะละกอ 3 ต้นต่อถุง หรือ ต่อหลุมปลูก  เราสามารถเริ่มตัดต้นทิ้งให้เหลือแต่ต้นสมบูรณ์เพศ(กะเทย) ได้โดยให้สังเกตเมื่อ มะละกอ เริ่มออกดอก ตัดเหลือต้นสมบูรณ์เพศ(กะเทย)ไว้เพียงต้นเดียวจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี และได้ราคา

การป้องกันศัตรู มะละกอ

เพลี้ยไฟ  เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กมาก มี 6 ขา มีลำตัวแคบยาว สีเหลืองซีด เมื่อโตเต็มที่มีปีกยาวบนหลังจึงบินได้และปลิวไปตามลม มักพบระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูแล้ง อาการที่พบใต้ผิวใบจะแห้งเหี่ยว โดยเฉพาะเส้นกลางใบหรือขอบใบแห้งเป็นสีน้ำตาลถ้าเป็นกับผลทำให้ผลกร่านเป็นสีน้ำตาล ในฤดูฝนจะไม่ค่อยพบ และหากใช้ไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำก็จะพบได้น้อย  ถ้าพบอาจใช้น้ำฉีดพ่นแรง ๆ ให้หล่นไป หรือหากมีการระบาดมากในช่วงที่อากาศแล้งจัดใช้ ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก ฉีดพ่น 2-3 ครั้งทุก 5-7 วัน

ไรแดง  เป็นสัตว์ขนาดเล็กมี 8 ขา จะทำให้ผิวใบจะไม่เขียวปกติเกิดเป็นฝ้าด่าง ถ้าดูใกล้ ๆ จะพบตัวไรสีคล้ำ ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก เดินกระจายไม่ว่องไว หรืออาจเห็นคราบไรสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป แมลงศัตรูธรรมชาติ คือ ด้วงเต่าเล็ก ตัวดำลำตัวรี  ตัวอ่อนด้วงเต่าก็กินไรได้ดี  หากใช้ไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำ จะป้องกันการระบาดของไรได้ดี หากช่วงใดมีอากาศร้อน อบอ้าว จะพบว่ามีไรระบาดมากให้ใช้ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก ฉีดพ่น 2-3 ครั้งทุก 5-7 วัน ในอัตรา 100 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อตัดวงจรของการระบาด

แมลงวันทอง  แมลงวันทองเป็นแมลงที่ทำลายผลไม้หลายชนิด โดยจะวางไข่ที่ผลขณะแก ทำให้หนอนที่ฟักเป็นตัว ทำลายเนื้อของผลเสียหาย เมื่ออยู่บนต้นหรือในขณะบ่มผล  แมลงวันทองจะระบาดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินชื้นตัวเต็มวัยจะขึ้นจากดินมาผสมพันธุ์กัน ช่วงที่ทำความเสียหายให้กับเกษตรกรมากที่สุดคือ ระยะที่เป็นตัวหนอน การป้องกัน  คือ เก็บผลมีสีเหลืองที่ผิว 5% ของพื้นที่ผิวผล ไม่ปล่อยให้สุกคาต้น  ควรป้องกันก่อนเข้าทำลายโดยใช้ไบโอเฟอร์ทิล เป็นประจำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จะช่วยขับไล่ป้องกันการเข้าทำลายได้ดี และหากมีการระบาดเป็นประจำทุก ๆ ปีให้ใช้เหยื่อโปรตีนผสม เมทา-แม็ก  คลุกเหยื่อล่อ วางไว้เป็นจุด ๆ รอบบริเวณที่มีการระบาด เพื่อล่อให้แมลงมาตอม และสัมผัส เมทา-แม็ก แมลงที่มาสัมผัส จะติดโรค หยุดการเข้าทำลายผลผลิต เคลื่อนที่ช้าลงและตายภายใน 2-3 วัน  และให้ป้องกันผลด้วยการห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือเก็บผลที่เน่าเสีย เนื่องจากแมลงและโรคออกจากแปลงปลูกฝังดินลึก ๆ หรือเผาไฟ



แมลงวันผลไม้(แมลงวันทอง)ตายโดย เชื้อ "เมทา-แม็ก"

เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงดูดที่สำคัญชนิดหนึ่งใน มะละกอ สันนิษฐานกันว่าเป็นตัวถ่ายทอดโรคใบด่างเหลืองที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งโรคนี้พบวากำลังเป็นกับ มะละกอ ในแหล่งผลิตทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง  ควรป้องกันก่อนเข้าทำลายโดยใช้ไบโอเฟอร์ทิล เป็นประจำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด  และหากมีการระบาดมากให้ใช้ยากำจัด จำพวก ปิโตรเลียมสเปรย์ออล์ย ผสมกับ ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก  ฉีดพ่น

โรคใบด่างของ มะละกอ (ใบจุดวงแหวน)  อาการที่เกิดกับต้นกล้า มะละกอ จะแสดงอาการใบด่างผิดปกติ ใบมีขนาดเล็กลง สีซีดต่อมาใบร่วงและทำให้ต้นตาย  สำหรับต้นที่โตแล้ว จะแสดงอาการโดยใบยอดเหลืองซีด ใบมีขนาดเล็กลง ก้านใบสั้น ใบด่างสีเหลืองสลับเขียว ส่วนต้น หรือ ก้านใบจะพบจุดหรือขีดสีเข้ม  มะละกอ จะให้ผลผลิตน้อยหรือไม่ได้ผลเลย  สาเหตุเกิดจากเชื้อ ปาปายาริงสปอทไวรัส  ซึ่งเชื้อนี้บางครั้งมีการแฝงอยู่ใน มะละกอ ตั้งแต่เริ่มเพาะปลูก และจะแสดงอาการรุนแรงเมื่อต้น มะละกอ อ่อนแอ

การป้องกัน

1. เลือกเมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกจากแหล่งที่ไว้ใจได้ ไม่มีเชื้อปนเปื้อน

2. บำรุงต้นด้วย ไบโอเฟอร์ทิล และปุ๋ยตามคำแนะนำ จะทำให้ต้นแข็งแรง สามารถแบกผลผลิตได้มาก และมีความต้านทานโรคได้ดีขึ้น

3. ถ้าพบ ว่าเป็นโรคต้องโค่นทิ้งและไม่นำมีดที่มีเชื้อไปตัดต้นดีเพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปได้และ ฉีดพ่นยาป้องกันเพลี้ยอ่อนหรือเพลี้ยอื่นๆ บางชนิด เช่น เพลี้ยไก่ฟ้า ไม่ให้มาดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้น มะละกอ ที่ปกติ นอกจากนี้อาจใช้พันธุ์ต้านทานปลูกก็ได้

โรคราแป้ง  อาการปรากฏบนใบและบนผลที่มีสีเขียว เกิดคราบฝุ่นของเชื้อราเป็นขุยสีขาว ๆ คล้ายแป้งที่บนใบ ก้านใบ และผล ใบอ่อนที่ถูกทำลายจะร่วงหรือใบเสียรูป ยอดชะงักการเจริญเติบโต ผลอ่อนมากๆ ถ้าเป็นโรคผลจะร่วง แต่ถ้าเป็นกับผลโตผลจะไม่ร่วงยังเจริญเติบโตได้ แต่ผิวจะกร้าน และขรุขระไม่น่าดู ส่วนที่ก้านนั้นมีสีเทาจาง ๆ แผลจะมีขอบเขตไม่แน่นอน

สาเหตุของโรค  โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โดยเชื้อราจะสร้างสปอร์ปลิวไปตามลมแพร่ระบาดไปได้ไกล ๆ โรคนี้มักจะเกิดในปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาว

การป้องกันกำจัด ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรครา เช่น เมธาแล็กซิลหรือเบโนมีล หรือไดโนแคพ

โรคโคนเน่า  อาการของโรคพบทั้งที่ราก และโคนลำต้น อาการเน่าที่โคนต้นจะเน่าบริเวณระดับดิน แผลจะลุกลามมากขึ้น และจะปรากฏอาการที่ใบทำให้ใบเหี่ยวและเหลือง ยืนต้นตายหรือล้มได้ง่ายที่สุดเพราะเมื่อโคนลำต้นเน่า  ก็หมายถึงภายในเนื้อเยื่อจะเน่าเละหมด ไม่มีส่วนแข็งแรงที่จะทรงตัวอยู่ได้

สาเหตุของโรค โรคโคนเน่าเกิดจากเชื้อ Phytophthora plamivora พบเป็นมากในฤดูฝน เชื้อราเป็นพวกเชื้อราในดิน เมื่อ มะละกอ เจริญเติบโต เชื้อรานี้จะแพร่ระบาดได้รวดเร็ว เมื่อมีความชื้นสูงโดยสปอร์จะไหลไปกับน้ำเข้าทำลายต้นอื่น

1. การป้องกันและกำจัด  ถ้าหากมีน้ำท่วมขังชื้นแฉะจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้ได้ง่าย การจัดระบบปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็น ฉะนั้น เมื่อปรากฏอาการของโรคควรถอน ขุดทำลาย ถ้าตรวจพบว่าโรคนี้เริ่มเข้าทำลายก็ควรรดด้วยเมื่อเริ่มพบการระบาด ให้รีบใช้ ไตรโคแม็ก ผสมน้ำราดบริเวณโคนต้นตามอัตราที่ระบุ ฉีดพ่นทางใบทันที 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วัน

โรคแอนแทรคโนส  อาการที่ผลอ่อนจะเกิดจุดและเน่าเสียหาย ส่วนที่ผลแก่จะเกิดจุดแผลสีน้ำตาลลุกลามเป็นวงกลม เมื่อผลใกล้สุกมีความหวานมากขึ้น และเนื้อเริ่มนิ่มอาการของโรคจะยิ่งลุกลามรวดเร็วและเป็นรุนแรง ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดคือแผลกลมนุ่ม และเป็นวงซ้อน ๆ  กัน เป็นได้ทั้งบนต้นและในระหว่างบ่มตลอดจนในช่วงวางขายในตลาด

สาเหตุของโรค เกิดจาก เชื้อรา Colletotrichum gloeosporieides (Glomerella cingulata) เชื้อราชนิดนี้ ทำลายทั้งใบอ่อนและผล ความสำคัญและพบระบาดเสมออยู่ที่ผลสปอร์ของเชื้อราดังกล่าวจะแพร่ระบาดไปยังผล มะละกอ ในต้นเดียวกันและต้นอื่น ๆ ตลอดจนในภาชนะบรรจุผล มะละกอ ได้โดยง่าย โดยอาศัยอาการสัมผัสติดไปหรือลมเป็นพาหนะนำเชื้อโรคไป

การป้องกันและกำจัด

1. เมื่อใช้ไบโอเฟอร์ทิล ตามคำแนะนำเป็นประจำ เปอร์เซ็นต์การเข้าทำลายจะน้อยมาก จากข้อมูลที่เกษตรกรได้ใช้ พบว่าปัญหาของโรคลดลงไปมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิต ช่วยประหยัดต้นทุนสารเคมี

2. เมื่อเริ่มพบการระบาด ให้รีบใช้ ไตรโคแม็ก ผสมน้ำตามอัตราที่ระบุ ฉีดพ่นทางใบทันที 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วัน

3. แต่หากมีโรคระบาดในแปลงปลูกขั้นรุนแรงก็พ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อน้ำ  20 ลิตร แมนโคเซป หรือ แคปแทน

ข้อเปรียบเทียบหลังจากเกษตรกรใช้ผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ตามคำแนะนำเป็นประจำ           

1. มะละกอ ติดดอกง่าย ขั้วดอก,ผล เหนียว ต้นไม่โทรมแม้แบกผลผลิตมาก

2. แมลงศัตรูพืชที่เข้ามารบกวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะจำพวกผีเสื้อกลางคืนซึ่งเป็นตัวแม่ของหนอนชนิดต่าง ๆ รวมถึงแมลงวันทอง และด้วงกัดกินใบ  ทำให้ประหยัดต้นทุนยากำจัดศัตรูพืช และลดความเสียหายได้ดีกว่า  (ในพื้นที่ที่มีการระบาดมาก หากใช้ไบโอเฟอร์ทิล ฉีดร่วมกับยากำจัดศัตรูพืช ก็จะทำให้สามารถคุมและป้องกันการเข้าทำลาย ได้นานขึ้น)

3. อายุการให้ผลผลิตของต้นจะมากกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้อย่างเห็นได้ชัด

4. เนื้อแน่น สามารถลดการต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีจากเดิมลงได้ประมาณ 20-50%

5. สุขภาพผู้ปลูกดีขึ้น เนื่องจาก สัมผัสหรือจับต้องสารเคมีน้อยลง

6. โรคเชื้อราที่เข้าทำลายต้นลดลง


อ้างอิง: www.dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 24105 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9891
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7927
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7983
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 8350
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 7302
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8585
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7773
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>