ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 15761 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

มะพร้าว การปลูกมะพร้าว

มะพร้าวเป็นส่วนหนึ่งของยาแพทย์แผนไทยมานมนาน มีคุณภาพในการช่วยให้อาการไข้ตัวร้อนทุเลาลงแก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อย

data-ad-format="autorelaxed">

มะพร้าว

มะพร้าว - เกษตรน่ารู้ มะพร้าว เป็นส่วนหนึ่งของยาแพทย์แผนไทยมานมนาน มีคุณภาพในการช่วยให้อาการไข้ตัวร้อนทุเลาลงแก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเพิ่มพลังแทรกซึมของตัวยานวด แก้ปวดเมื่อย ช้ำบวม อักเสบรักษาแผลเรื้อรัง โดยเอากะลา มะพร้าว ถูตะไบ ได้ผงละเอียด ผสมกับน้ำมัน มะพร้าว ผสมพิมเสน ทาแผลเรื้อรัง แก้จุกเสียด แน่นท้อง ด้วยการเอากะลา มะพร้าว เผาไฟให้เป็นถ่าน บดเป็นผงละเอียด ละลายน้ำอุ่น ดื่มแก้จุดเสียดแน่นท้องได้ คนโบราณใช้รักษาอาการแก้ปวดฟัน โดยเอากะลา มะพร้าว ที่แก่จัด มีรู ขูดเอาเนื้อออกใหม่ ๆ ใส่ถ่านไฟแดงลงไป รองน้ำมัน มะพร้าว ที่ไหลออกมา ใช้สำลีพันปลายไม้ชุบน้ำมัน มะพร้าว อุดรูฟันที่ปวด แก้คลื่นไส้อาเจียน ด้วยการเอามะนาว 1 ซีก บีบผสมน้ำ มะพร้าว อ่อน เอามาดื่มลดอาการคลื่นไส้ได้

นอกจากนี้ยังมีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการรักษาแก้โรคบิด บำรุงผิวพรรณ แก้ปัสสาวะขัด แก้พิษเบื่อเมา แก้เมาเหล้า แก้ไอ แก้ชันนะตุพุพอง แก้รังแค รักษาน้ำกัดเท้า แก้ผื่นคัน รักษาฝ่ามือแห้งแตกและเล็บขบ แก้เบาหวาน แก้ปากเปื่อย ปากเป็นแผล รักษาแผลไฟไหม้ แก้ไข้ทับระดู รักษาลำไส้อักเสบ แก้อีสุกอีใส รักษาอาการ เคืองตา.

ขั้นตอนการปลูก มะพร้าว

1.เพื่อให้ได้ต้น มะพร้าว ที่มีลักษณะดีตามที่ต้องการ จำเป็นจะต้องคัดเลือกที่จะนำไปเพาะ และเมื่อเพาะงอกเป็นหน่อแล้ว ก็จะต้องคัดเลือกหน่อพันธุ์ด้วย โดยมีขั้นตอนการคัดเลือกดังนี้
สวนพันธุ์
ต้นพันธุ์
ผลพันธุ์
หน่อพันธุ์

2.การเลือกสวนพันธุ์
เป็นสวนที่ปลูก มะพร้าว พันธุ์เดียวกัน
ขนาดสวนไม่น้อยกว่า 10 ไร่
อยู่ในแหล่งที่มีการปลูก มะพร้าว เป็นอาชีพ
ต้น มะพร้าว มีขนาดอายุไล่เลี่ยกัน และควรจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี
เป็นสวนที่มีการดูแลปานกลาง และมีต้นที่มีผลดกอยู่เป็นส่วนมาก
ไม่มีโรคหรือแมลงระบาด
ในกรณีที่อยู่ไกลแหล่งปลูก มะพร้าว เป็นอาชีพ ไม่มีสวนขนาดใหญ่อาจคัดเลือกเพียงบาง หลักการเท่าที่จะทำได้ หรือคัดเลือกเป็นต้น ๆ ก็ได้

3.การเลือกต้นพันธุ์
ควรเป็นต้นที่อยู่ในบริเวณกลาง ๆ สวน ให้ผลดกไม่น้อยกว่า 60 ผล/ต้น/ปี
ควรมีการจดบันทึกการให้ผลของต้นที่คิดว่าจะใช้เป็นต้นพันธุ์ก่อนสัก 3-4 ปี เพื่อให้แน่ใจว่า ให้ผลดกจริง โดยทาสีไว้ที่ต้นเป็นที่สังเกตหรืออาจทำเครื่องหมายอย่างอื่นก็ได้
เป็นต้นที่ไม่อยู่ใกล้บ้าน คอกสัตว์หรือในที่ทีดีกว่าต้นอื่น
ลำต้นตรง แข็งแรง อวบ ปล้องถี่ พุ่มใบเป็นรูปวงกลม หรือครึ่งวงกลม มีจำนวนทาง (ใบ) มาก โคนทางสั้นและใหญ่ มีจั่นอย่างน้อย 10 จั่น กระจายอยู่รอบต้น และทุกจั่นมีผลขนาดต่าง ๆ กันติดอยู่ ทะลายควรนั่งทางก้านทะลายสั้นและใหญ่
เป็นต้นที่มีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ให้ผลมีลักษณะกลมขนาดใหญ่ เส้นรอบของกะลาไม่ต่ำกว่า 45 ซม. เนื้อหนา เปลือกไม่หนาหรือบางเกินไป

4.การเลือกผลพันธุ์
ผล มะพร้าว แม้จะเก็บจากต้นแม่พันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วก็ตาม อาจมีบางผลที่มีลักษณะ ไม่เหมาะจะนำไปเพาะทำพันธุ์ เช่น ผลแตกระหว่างเก็บเกี่ยว มีโรคแมลงทำลาย จึงควรคัดเลือกผลก่อนนำไปเพาะ ซึ่งมีลักษณะการพิจารณาดังนี้
เป็นผลที่ได้รับความกระทบกระเทือนน้อย จึงควรเก็บโดยใช้เชือกโยงลงมา หรือโยนลงน้ำ
ผลโตได้ขนาด รูปผลค่อนข้างกลม หรือมีลักษณะตรงตามพันธุ์
ผลแก่จัด เปลือกมีสีก้ามปู หรือสีน้ำตาล มีลักษณะคลอนน้ำ
ไม่มีโรคแมลงทำลาย

5.การเตรียมผลพันธุ์ก่อนเพาะ
ปาดเปลือกทางด้านหัวออกขนาดประมาณเท่าผลส้มเขียวหวานเพื่อให้น้ำซึมเข้าได้สะดวกใน ระหว่างเพาะ และช่วยให้หน่องอกแทงออกมาได้ง่าย
ถ้าเป็นผลที่ยังไม่แก่จัด เปลือกมีสีเขียวปนเหลือง ให้นำไปผึ่งไว้ในที่ร่มโดยวางเรียงให้ รอยปาดอยู่ด้านบน ผึ่งไว้ประมาณ 15-30 วัน จนเปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
เตรียมผลพันธุ์ไว้ประมาณ 2 เท่าของจำนวนหน่อที่ต้องการเพราะในขณะเพาะจะมีพันธุ์ที่ไม่ งอกและเมื่องอกแล้วก็ต้องคัดหน่อที่ไม่แข็งแรงออก


6.การเตรียมแปลงเพาะ
แปลงเพาะควรอยู่กลางแจ้ง ใกล้แหล่งน้ำ และมีการระบายน้ำดี
ไม่เป็นแหล่งที่เคยมีโรคและแมลงระบาดมาก่อน
พื้นแปลงควรเป็นทรายหยาบ เพื่อสะดวกในการเพาะและย้ายกล้า
ปราบวัชพืชออกให้หมด ถ้าพื้นดินเป็นดินแข็งควรไถดินลึก 15-20 ซม.
ถ้าแปลงกว้างมาก ควรแบ่งเป็นแปลงย่อย ขนาดกว้างประมาณ 2.50 เมตร ยาวตามความต้องการ เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50 ซม.
ในแต่ละแปลงย่อยขุดเป็นร่องลึกประมาณ 10 ซม. กว้างเท่าขนาดของผล มะพร้าว ยาวตลอด พื้นที่ แต่ละแปลงจะเพาะ มะพร้าว ได้ 10 แถว


7.วิธีการเพาะ
วางผล มะพร้าว ตามแนวนอนลงในร่องที่เตรียมไว้ หันด้านที่ปาดขึ้นข้างบนเรียงไปตามทิศ ทางเดียวกัน ให้แต่ละผลติดกันหรือห่างกันไม่เกิน 5 ซม.
กลบทรายหรือดินให้ส่วนของผล มะพร้าว โผล่พ้นผิวดินประมาณ 1/3 ของผล
ถ้าฝนไม่ตก รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ โดยสังเกตจากความชื้นตรงบริเวณรอยปาด
คอยดูแลกำจัดวัชพืช โรค-แมลงต่าง ๆ
หลังจากเพาะแล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์หน่อจะเริ่มงอก ในระยะแรก ๆ จะงอกน้อย เมื่อเลย 4 สัปดาห์ไปแล้วหน่อจะงอกมากขึ้น มะพร้าว ที่ไม่งอกภายใน 10 สัปดาห์ หรือ 70 วัน ควรคัดทิ้ง หรือนำไปทำ มะพร้าว แห้ง เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้งอกก็จะได้หน่อที่ไม่ดี ตามปกติ มะพร้าว จะงอกประมาณร้อยละ 60 ภายใน 10 สัปดาห์ เมื่อหน่อยาวประมาณ 1-3 นิ้ว ควรย้ายลงแปลงชำ ในการค้าจะไม่ย้ายลงแปลงชำทีละน้อย แต่จะรอย้ายพร้อมกันในคราวเดียว
ในกรณีที่ทำการเพาะ มะพร้าว เป็นจำนวนไม่มากนักอาจทำการเพาะโดยไม่ต้องนำลงแปลงชำ ก็ได้ แต่ในการเพาะจะต้องขยายระยะให้กว้างขึ้น โดยวางผลห่างกันประมาณ 45-50 ซม. เพื่อให้หน่อเจริญได้ดี จะได้หน่อที่อ้วนและแข็งแรง เมื่อหน่อมีใบประมาณ 4-6 ใบ ก็คัดไป ปลูกได้

8.วิธีการชำ
เตรียมแปลงชำเช่นเดียวกับแปลงเพาะ
แปลงชำควรอยู่ใหล้กับแปลงเพาะ เพื่อสะดวกในการขนย้ายหน่อ ถ้าดินไม่ดีให้ใส่ปุ๋ยคอกไร่ละ 24 ปี๊บ (240 กก.) หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถกลบ
ขุดหลุมขนาดเท่าผล มะพร้าว ระยะระหว่างหลุม 60 ซม. อาจวางผังการทำแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า หรือแบบสี่เหลี่ยมจตุรัสก็ได้
ย้ายหน่อ มะพร้าว จากแปลงเพาะลงชำในหลุมให้หน่อตั้งตรง กลบดินหนาประมาณ 2/3ของผล เพื่อไม่ให้ดินทับส่วนคอของหน่อพันธุ์
ใช้ทาง มะพร้าว หรือหญ้าแห้งคลุมแปลง (อาจใช้วัสดุอื่นก็ได้) เพื่อรักษาความชุมชื้น
ถ้าฝนไม่ตก รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ
ป้องกันกำจัดวัชพืช โรค-แมลง
เมื่อ มะพร้าว มีอายุระหว่าง 6-8 เดือน( อยู่ในแปลงชำ 4-6 เดือน) หรือมีใบประมาณ 4-6 ใบ (ทาง) ก็คัดเลือกหน่อที่สมบูรณ์ไปปลูกได้

9.ลักษญะหน่อพันธุ์ที่ดี
หน่อมีอายุ 6-8 เดือน หรือมีใบ 4-6 ใบ
หน่อมีลักษณะอวบ โคนหน่อโต ใบกว้างสีเขียวเข้ม ก้านทางสั้นใหญ่
ไม่มีโรคและแมลงทำลาย

อ้างอิง:
www.dailynews.co.th
http://sakuntra.wordpress.com


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 15761 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9891
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7927
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7983
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 8350
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 7302
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8585
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7773
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>