ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 15223 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง-เกษตรน่ารู้

กล้วยน้ำว้าเป็นพืชล้มลุกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 2-5 เมตร ชอบอากาศร้อนชื้นและอบอุ่น อุณหภูมิที่เหมาะคือช่วง 15-35 องศาเซลเซี..

data-ad-format="autorelaxed">

สวนกล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง-เกษตรน่ารู้ กล้วยน้ำว้าเป็นพืชล้มลุกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 2-5 เมตร ชอบอากาศร้อนชื้นและอบอุ่น อุณหภูมิที่เหมาะคือช่วง 15-35 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 200-220 มม.ต่อเดือน ดินมีความสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี และการหมุนเวียนอากาศดี มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4.5-7 แต่ที่ดีควรอยู่ในระดับ 6 ซึ่งจะพบทั่ว ๆ ไป ในพื้นที่แถบเอเชีย

กล้วยน้ำว้าระยะเวลาการปลูกถึงเก็บเกี่ยวผลใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี ให้ผลผลิตจำนวน 10 หวี/เครือ ตั้งแต่ปลูกจนถึงแทงปลีใช้ระยะเวลา 250-260 วัน แทงปลีถึงระยะเก็บเกี่ยว 110-120 วัน

ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 ซม. ผสมดินปุ๋ยคอกเล็กน้อย วางหน่อกล้วย ลงในหลุม และกลบดินที่เหลือลงในหลุม กดดินบริเวณโคนหน่อกล้วยให้แน่น ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมโยก หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้งรดน้ำให้ชุ่ม

ระยะปลูก 2.5 x 3 เมตร, 2.5 x 2.5 เมตร จำนวนต้นเฉลี่ย 200 ต้น/ไร่ หรือ 250 ต้น/ไร่ ปริมาณของน้ำ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ความชุ่มชื้นของดิน ปริมาณลม ที่พัดผ่านจะทำให้การคายน้ำมากไม่ควรปล่อยให้ผิวหน้าดินแห้งติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากราก จะหาอาหารอยู่บริเวณผิวดินจะทำให้หยุดชะงักการเจริญเติบโต

ตัดหน่ออย่างต่อเนื่องจนกว่าจะเริ่มออกปลี เก็บไว้เพียง 1-2 หน่อโดยหน่อที่ 1 และ ที่ 2 ควรมีอายุห่างกันประมาณ 4 เดือน โดยเลือกหน่อที่อยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้ามกัน ตัดแต่งใบช่วงที่ต้นเริ่มโตจนถึงเก็บเกี่ยว โดยเลือกใบแก่และใบที่เป็นโรคออก ตัดให้เหลือประมาณ 7-12 ใบ เพื่อป้องกันต้นกล้วยโค่นช่วงออกปลี และเพิ่มความเจริญเติบโตของผลกล้วย ส่วนโรคใบจุดหากเกิดขึ้นในแปลงปลูก ต้องตัดใบแล้วนำไปเผาทิ้ง

หลังจากปลูกประมาณ 3-4 เดือน จะมีหน่อขึ้นมารอบ ๆ โคน ตัดไปเรื่อยจนกว่าจะเริ่มออกปลี หรือหลังปลูกแล้วประมาณ 7-8 เดือน ควรมีการไว้หน่อทดแทน 1-2 หน่อ โดยหน่อที่ 1 และที่ 2 ควรมีอายุห่างกัน 4 เดือน เพื่อให้ผลกล้วยมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเลือกหน่อที่อยู่ตรงกันข้ามขยายพันธุ์โดยแยกหน่อ, ขยายพันธุ์ด้วยเหง้า, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

สำหรับกล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่องมีลักษณะพิเศษคือมีลำต้นสูง 3.5 เมตร เส้น ผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร ก้านลำต้น ด้านนอกสีเขียวอ่อน มีประดำเล็กน้อย ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับ รูปไข่ค่อนข้างป้อมม้วนงอขึ้น ปลายม้วน ด้านบนมีสีแดงอมม่วง สีนวล ด้านล่าง สีแดงเข้ม ผลเครือหนึ่งมี 7-10 หวี หวีหนึ่ง มี 10-16 ผล ผลมีเหลี่ยมเล็กน้อย ถ้าแก่จัดค่อนข้างกลม ผลกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 11-13 เซนติเมตร เปลือกบาง มีสีเหลืองนวล เนื้อขาว ไส้กลางมีสีขาว เนื้อนุ่ม มี รสหวานจัด ไม่มีเมล็ดเกษตรกรที่สนใจในการปลูกกล้วยชนิดนี้ต้องการศึกษาข้อมูลวิธีการเพาะปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวพร้อมการขยายพันธุ์เข้าศึกษาเรียนรู้และดูงานได้ที่ โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.กาญจนบุรี ที่นี่มีให้บริการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ.

อ้างอิง:www.dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 15223 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9891
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7927
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7983
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 8350
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 7302
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8585
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7771
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>