ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: Agri live update | อ่านแล้ว 11230 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เพาะพันธุ์ ปลาใบมีดโกน ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

กรมประมง เพาะพันธุ์ ปลาใบมีดโกน ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศ นับเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจสวยงามชนิดใหม่ หวังเพิ่มความหลาก..

data-ad-format="autorelaxed">

ปลาใบมีดโกน

เพาะพันธุ์ “ปลาใบมีดโกน” ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก กรมประมง เพาะพันธุ์ “ปลาใบมีดโกน” ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศ นับเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจสวยงามชนิดใหม่ หวังเพิ่มความหลากหลายของปลาทะเลไทย เผยกำลังเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ที่คลั่งไคล้ตู้ปลาทะเลจำลองเป็นอย่างมาก ถูกจับมาใส่ตู้เลี้ยงจนตกในภาวะเสี่ยง นายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากการที่ปลาใบมีดโกนมีลักษณะการดำรงชีวิตที่แปลกตาน่าสนใจ จึงถูกจับจากธรรมชาติมาจัดแสดงในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำสาธารณะ และเลี้ยงในตู้ของนักนิยมสัตว์น้ำสวยงาม ซึ่งกำลังเป็นที่นิยม ส่งผลให้จำนวนประชากรปลาใบมีดโกนในธรรมชาติลดลงอย่างมากอาจตกในภาวะสุ่มเสี่ยง จากปัญหาที่พบกับปลาที่จับมาจากธรรมชาติมักจะบอบช้ำระหว่างการจับ ทำให้เมื่อถึงมือผู้ซื้อมีรูปร่างไม่สมบูรณ์และการเลี้ยงดูที่ไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมตามธรรมชาติที่ต้องการอาหารมีชีวิต จึงทำให้ปลาชนิดนี้ตายง่าย จากปัญหาดังกล่าวนี้ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร กรมประมง ได้ทำการศึกษาวิจัยเพาะขยายพันธุ์ปลาใบมีดโกนได้จนถึงระยะเหมือนตัวเต็มวัยได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

นายอาทร กล่าวว่าปลาใบมีดโกน นับเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจสวยงามชนิดใหม่ของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการที่กรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้ แน่นอนว่านอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและแนวปะการัง ยังถือเป็นการเพิ่มความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำให้กับตลาดปลาสวยงามทะเลได้อีกทางหนึ่งด้วย ปลาใบมีดโกน หรือ ปลาข้างใส มีชื่อภาษาอังกฤษว่า razorfish หรือ shrimpfish มีลักษณะเด่นที่รูปร่างและวิธีการว่ายน้ำ รูปร่างบางเฉียบ ปากเรียวแหลม และเกล็ดพัฒนาเหมือนเกราะบางใสหุ้มตัว ว่ายน้ำหัวทิ่มลงลำตัวตั้งฉากกับพื้นตลอดเวลา หางแหลมเหมือนมีกระดูกเล็กๆ ชี้ขึ้นข้างบน คล้ายๆ ส่วนหางของใบมีดโกนที่ช่างตัดผมสมัยโบราณใช้นิ้วเกี่ยวไว้เวลาใช้งาน ความยาวประมาณ 12 เซนติเมตร ปกคลุมด้วยแผ่นกระดูกใส ครีบหลังมี 2อันและอยู่ในแนวราบ หางกลมมน ปากเรียวแหลม บางชนิดลำตัวใส บางชนิดมีแถบคาดตามยาวสีดำ และด้วยร่างกายที่บอบบางของปลาชนิดนี้เองทำให้ไม่สามารถต่อสู้ป้องกันตัวได้ ปลาชนิดนี้จึงต้องอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง และอาศัยหนามของเม่นทะเลเป็นเกาะป้องกันตัว ด้วยเหตุนี้เองตามแนวปะการังที่มีเม่นทะเลจึงมักพบปลามีดโกนว่ายน้ำหันเอาหัวปักลงอยู่ระหว่างหนามของเม่นทะเล เพราะไม่มีปลาผู้ล่าที่ชอบเข้าไปใกล้หนามของเม่นทะเลนั่นเอง

ด้านน.ส.วารินทร์ ธนาสมหวัง ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กล่าวว่าทางศูนย์ฯ ได้ทำการศึกษาวิธีการเลี้ยงปลาใบมีดโกนให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในระบบน้ำหมุนเวียนด้วยวิธีการผลิตลูกปลาในโรงเพาะฟัก และการเลือกอาหารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สามารถเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้ โดยวิธีการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ของศูนย์ฯสามารถใช้เป็นแนวทางให้ผู้นิยมสัตว์น้ำสวยงามนำไปใช้เป็นแบบอย่างเพื่อลดการสูญเสียปลาที่เลี้ยงไว้เรียกได้ว่าปลาที่ได้มาจากการเพาะที่ศูนย์ฯ เลี้ยงง่าย แข็งแรง ที่สำคัญไม่ทำลายระบบนิเวศของท้องทะเล อีกด้วย

นายสุทธิชัย ฤทธิธรรม ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร กรมประมง กล่าวถึงขั้นตอนการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ว่า ทีมนักวิจัยของศูนย์ฯ เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในระบบน้ำหมุนเวียน ประกอบด้วยถังไฟเบอร์ทรงกลม ขนาด 2 ลูกบาศก์เมตร ถังกรองชีวภาพ และโปรตีนสกิมเมอร์ ให้อาหารวันละครั้งด้วยเคยฝูง เสริมด้วยอาร์ทีเมียตัวเต็มวัยมีชีวิต ความเค็มน้ำ 30 ส่วนในพันส่วน ปลาวัยเจริญพันธุ์นั้นจะมีขนาดเฉลี่ย 11.68เซนติเมตร มักวางไข่เป็นฝูงช่วงเวลา 18.00–22.00 น. การรวบรวมไข่ปลาใบมีดโกนนั้นจะใช้กระชังผ้าโอล่อนแก้วกรองน้ำที่ทางน้ำล้น แยกไข่ปลาออกแล้วนำมาฟักในตู้กระจก ไข่มีลักษณะกลมใส ครึ่งจมครึ่งลอย ใช้ระยะเวลาในการฟักออกเป็นตัว 1 วัน ซึ่งปริมาณไข่ที่วางในแต่ละครั้งไม่เท่ากัน โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 460 ฟอง การฟักของไข่ที่ได้รับการผสมเฉลี่ยอยู่ที่89.13 เปอร์เซ็นต์ ลูกปลาแรกฟักมีขนาดเฉลี่ย 2.51 มิลลิเมตร สำหรับการอนุบาลลูกปลานั้นจะอนุบาลลูกปลาในถังไฟเบอร์ทรงกลม ขนาด 2 ลูกบาศก์เมตร ให้อาหารวันละครั้งด้วยแพลงตอนพืช โรติเฟอร์ โคพีพอด และอาร์ทีเมียแรกฟัก ที่ความเค็มน้ำ 28+2 ส่วนในพันส่วน และมีการควบคุมคุณภาพน้ำให้มีค่าอัลคาไลน์อยู่ระหว่าง130–150 มิลลิกรัมต่อลิตร ลูกปลาเริ่มกินโคพีพอดได้เมื่ออายุ 1 วัน กินอาร์ทีเมียแรกฟักร่วมกับโคพีพอตได้เมื่ออายุ10 วัน ลูกปลาอายุ 15 วัน เริ่มมีพฤติกรรมการรวมฝูง ลูกปลาพัฒนารูปร่างเหมือนปลาตัวเต็มวัยในระยะเวลา 25 วัน

อ้างอิง:www.dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 11230 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [Agri live update]:
คาราวานส้มสีทอง GI น่าน สู่ห้างสรรพสินค้า TOP Supermarket
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก) ร่วมกับ หน่วยงานภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดแถลงข่าวส้มสีทอง GI น่าน..
อ่านแล้ว: 6511
เปิดปฏิบัติการ แผนแก้จน คลังผนึกพาณิชย์-แรงงาน-เอกชน ระดมกำลังสร้างอาชีพ-เพิ่มรายได้
คนจนหมดประเทศ! กลายเป็นวลีที่ถูกค้นหา และพูดถึงกันมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะคำนี้ถูกตีความมาจากคำกล่าวของ..
อ่านแล้ว: 6569
อึ้ง! พบสารเคมีตกค้าง เกินมาตรฐานในผัก-ผลไม้
อึ้ง!! พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน 64% ถั่วฝักยาว คะน้า ใบบัวบก กะเพรา พริกแดง องุ่น แก้วมังกร
อ่านแล้ว: 6531
ค้านทำเหมืองหินชัยภูมิ ยื่นศูนย์ดำรงธรรมช่วย
คัดค้านขอใช้ประโยชน์พื้นที่ทำเหมืองแร่หินก่อสร้าง ของบริษัท พารุ่งฯ หลังคณะกรรมการตรวจสอบไฟเขียว ส่งให้กรมป่าไม้พิจารณา
อ่านแล้ว: 7783
ครม.ไฟเขียว งบปลูกพืชแทนข้าว 2 โครงการ 488ล.
ครม.อนุมัติ 488 ล้าน หนุนลดพื้นที่ปลูกข้าว 2 โครงการ หันไปปลูกพืชหลากหลาย ปลูกพืชปุ๋ยสด
อ่านแล้ว: 6176
พบ หนอนตัวแบนนิวกินี ทุกภาคทั่วไทย แนะควรทำลายป้องกันการระบาด
นักวิชาการเผยพบ หนอนตัวแบนนิวกินี ในพื้นที่ทุกภาคทั่วประเทศแล้ว แนะควรทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการระบาด
อ่านแล้ว: 6332
ส.ป.ก. เตรียมแจกที่ดินยึดคืน แก่เกษตรกรเพิ่มอีก 5จ. กว่าหมื่นไร่

อ่านแล้ว: 5612
หมวด Agri live update ทั้งหมด >>