ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 35537 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

สรุปสถานการณ์สินค้าเกษตรเดือนมิถุนายน และแนวโน้มเดือนกรกฎาคม 2551

ภาวะตลาดสินค้าเกษตรในช่วงเดือนมิถุนายน ข้าวนาปรังคาดว่าในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณร้อยละ 30

data-ad-format="autorelaxed">

สรุปสถานการณ์สินค้าเกษตรเดือนมิถุนายน
และแนวโน้มเดือนกรกฎาคม 2551

1. ภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบัน

ภาวะตลาดสินค้าเกษตรในช่วงเดือนมิถุนายน ข้าวนาปรังคาดว่าในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณร้อยละ 30 ของผลผลิต หรือประมาณ 2.0 - 2.2 ล้านตันข้าวเปลือก ขณะที่ความต้องการใช้ภายในประเทศและความต้องการนำเข้าของตลาดต่างประเทศชะลอตัว ราคาอ่อนตัวลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง พืชน้ำมันและวัตถุดิบอาหารสัตว์ มันสำปะหลัง เกษตรกรมีหัวมันสดเหลือที่จะขุดออกจำหน่ายได้ น้อยกว่าร้อยละ 10 หรือคิดเป็นหัวมันสดประมาณ 2.5 - 3 ล้านตัน ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ปลาป่น อยู่ในช่วงมรสุมปริมาณปลาเป็ดที่ใช้เป็นวัตถุดิบมีน้อยและความต้องการใช้ในอาหารสัตว์มีไม่มากนัก ราคาเคลื่อนไหวไม่มากนัก ปาล์มน้ำมันและมะพร้าวผล แม้ว่าจะอยู่ในช่วงผลผลิตมากแต่ปริมาณที่ออกสู่ตลาดลดลง ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี ปศุสัตว์และประมง สุกร ไก่เนื้อ ความต้องการบริโภคชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ผู้บริโภคหันไปบริโภคอาหารโปรตีนอื่นๆ ที่มีราคาต่ำทดแทน ราคาอ่อนตัวลง ไข่ไก่ มีการระบายไข่ไก่ที่เก็บสต็อกไว้ออกสู่ตลาดทำให้ราคาอ่อนตัวลง กุ้ง ผลผลิตกุ้งขาวฯ ออกสู่ตลาดมาก ราคาอ่อนตัวลง ผลไม้ สับปะรด ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ราคาปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา เงาะ ทุเรียน มังคุด ผลไม้ภาคตะวันออกออกสู่ตลาดแล้วมากกว่าร้อยละ 80 ราคาเคลื่อนไหวไม่มากนัก

ภาวะการผลิตสินค้าเกษตรของโลก จากการคาดการณ์ของกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) ในเดือน มิถุนายน 2551 การผลิตพืชน้ำมันในปีการผลิต 2551/52 มีผลผลิตรวม 401.69 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 30.71 ล้านตัน (+8.28%) พืชน้ำมันที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ถั่วเหลือง 240.67 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 21.87 ล้านตัน(+10%) เมล็ดทานตะวัน 31.48 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 4.46 ล้านตัน(+16.49%) เมล็ดเรปซีด 51.22 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3.38 ล้านตัน (+8.22%) และถั่วลิสง 33.23 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.98 ล้านตัน(+3.04%) ส่วนเมล็ดฝ้าย 45.08 ล้านตัน ลดลง 0.49 ล้านตัน (-1.07%) สำหรับ เนื้อมะพร้าวแห้ง เมล็ดในปาล์ม และ น้ำมันปาล์ม มีผลผลิต 5.94 , 11.69 และ 42.90 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 0.24 , 0.64 และ 1.78 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 4.40 , 5.79 และ 4.33 ตามลำดับ สำหรับ ธัญพืช ข้าวสาลี คาดว่าจะมีผลผลิต 662.90 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 52.14 ล้านตัน (+8.54%) ธัญพืชเมล็ดหยาบ ผลผลิตรวม 1,067.56 ล้านตัน น้อยกว่าปีที่ผ่านมา 8.13 ล้านตัน (-0.76%) ธัญพืชที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิต 775.26 ล้านตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 14.55 ล้านตัน (-1.84%) ข้าวโอ๊ต ผลผลิต 25.10 ล้านตัน ลดลง 0.54 ล้านตัน (-2.11%) ข้าวฟ่าง ผลผลิต 61.89 ล้านตัน ลดลง 2.26 ล้านตัน (-3.52%) ธัญพืชที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวบาเล่ย์ ผลผลิต 142.04 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 8.19 ล้านตัน (+6.12%) และข้าวไรน์ ผลผลิต 16.02 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.64 ล้านตัน (+11.39%)

ส่วน ข้าวสาร USDA คาดการณ์ผลผลิตข้าวของโลกปีการผลิต 2551/52 มีประมาณ 431.406 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 3.751 ล้านตัน (0.88%) เนื่องจากราคาในช่วงที่ผ่านมาจูงใจให้มีการขยายการเพาะปลูก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความต้องการบริโภคจะเพิ่มขึ้นด้วย (จาก 425.777 ล้านตัน ในปี 2550/51 เป็น 427.463 ล้านตัน ในปี 2551/52) แต่ยังน้อยกว่าปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สต็อกปลายปีจะเพิ่มขึ้นเป็น 81.506 ล้านตัน สำหรับราคาข้าวไทย 100% ชั้น 2 (100B f.o.b.) ในตลาดโลกตามประกาศของสมาคมผู้ส่งออกข้าวต่างประเทศ (ณ 18 มิ.ย.51) อ่อนตัวลงมาอยู่ที่ ตันละ 872 เหรียญ สรอ. เนื่องจากผู้นำเข้าชะลอการสั่งซื้อเพื่อติดตามสถานการณ์การผลิตข้าวของเวียดนามที่คาดว่าจะมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นและรัฐบาลได้ยกเลิกมาตรการห้ามการส่งออกข้าวของภาคเอกชนแล้ว ทั้งนี้ USDA ได้รายงานปริมาณการค้าข้าวของโลกในปี 2550/51 (เบื้องต้น) ว่ามีทั้งสิ้น 28.443 ล้านตัน โดยเป็นการส่งออกของไทย 10 ล้านตัน เวียดนาม 4.5 ล้านตัน อินเดีย 2.5 ล้านตัน จีน 1 ล้านตัน และได้คาดการณ์ปริมาณการค้าข้าวในปี 2551/52 ว่าจะมีประมาณ 27.050 ล้านตัน ต่ำกว่าปี 2550/51 ประมาณ 1.393 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 4.90 โดยเป็นการส่งออกของไทยประมาณ 9 ล้านตัน เวียดนาม 4.5 ล้านตัน อินเดีย 2.0 ล้านตัน จีน 1.1 ล้านตัน ส่วนราคาข้าวสารในสหรัฐฯ ชนิดเมล็ดยาว #2/4 ก็อ่อนตัวลงเหลือตันละ 941 เหรียญ สรอ.

2. แนวโน้มสถานการณ์เดือน กรกฎาคม 2551

แนวโน้มสถานการณ์สินค้าเกษตรสำคัญในเดือนกรกฎาคม 2551 ข้าวนาปรัง ยังอยู่ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก แนวโน้มราคาจะอ่อนตัวลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีเนื่องจากตลาดต่างประเทศชะลอตัวและมีฝนตกในแหล่งผลิตทำให้ข้าวมีความชื้น ในขณะที่รัฐบาลก็ได้เปิดรับจำนำเพื่อพยุงราคาข้าวในตลาดแล้ว พืชน้ำมันและวัตถุดิบอาหารสัตว์ มันสำปะหลัง และ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นช่วงปลายฤดูและอยู่ในช่วงเพาะปลูกผลผลิตฤดูใหม่ ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี ปลาป่น คาดว่าการผลิตจะมีไม่มากนักเนื่องจากอยู่ในช่วงมรสุมและราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นมาก ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงแต่ยังมีปริมาณมาก ราคายังอยู่ในเกณฑ์ดี มะพร้าวผล ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ราคาอ่อนตัวลง ปศุสัตว์และประมง สุกร ไก่เนื้อ ผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง สำหรับสุกรมีการเร่งระบายทั้งสุกรขนาดใหญ่และขนาดเล็กกว่าที่ซื้อขายปกติ (100 กก.) ส่วนไก่เนื้อก็มีน้ำหนักมากกว่า 2 กก./ตัว ราคาซื้อขายอ่อนตัวลงตามภาวะการค้าที่ชะลอตัว ไข่ไก่ ผู้ผลิตได้ระบายไข่ในสต็อกที่เก็บไว้ก่อนหน้านี้ออกสู่ตลาด ราคาอ่อนตัวลง กุ้ง กุ้งขาวฯ ออกสู่ตลาดมากขึ้น ราคาอ่อนตัวลง ผลไม้ สับปะรด ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง แนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น เงาะ ทุเรียน มังคุด เป็นช่วงปลายฤดูผลผลิตภาคตะวันออก และผลผลิตภาคใต้เริ่มทยอยออกสู่ตลาด

3. แนวโน้มสถานการณ์รายกลุ่มสินค้า

3.1 กลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออก สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่

ข้าว เป็นช่วงผลผลิตข้าวนาปรังออกสู่ตลาด ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ คาดว่าในปี 2551 จะมีผลผลิตประมาณ 6.793 ล้านตันข้าวเปลือก โดยในช่วงเดือน มิถุนายน - กันยายน จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ ร้อยละ 30 หรือประมาณ 2.0 – 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก อย่างไรก็ตาม ผลจากการที่มีฝนตกในแหล่งผลิต ทำให้ข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้มีความชื้นราคาซื้อขายอ่อนตัวลง ขณะที่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศชะลอตัวเพื่อรอดูสถานการณ์การผลิตฤดูใหม่ โดยเฉพาะเวียดนามที่คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นและรัฐบาลได้ยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวของภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม เพื่อรักษาระดับราคาข้าวเปลือกนาปรังที่กำลังออกสู่ตลาดในขณะนี้ นายกรัฐมนตรี (นายสมัคร สุนทรเวช) ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังดำเนินการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังจากเกษตรกรโดยกำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกที่ความชื้นไม่เกิน 15% ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 14,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,000 บาท ซึ่งคาดว่าจะช่วยชะลอการอ่อนตัวลงของราคาข้าวเปลือกในท้องตลาดได้ระดับหนึ่ง

ผลการรับจำนำ ในช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 – 29 กุมภาพันธ์ 2551 ภาครัฐได้รับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรไปแล้วจำนวน 239,481 ตัน จำแนกเป็นข้าวเปลือกเจ้า 59,211 ตัน ข้าวหอมมะลิ 114,104 ตัน ข้าวเปลือกหอมจังหวัด 1,843 ตัน ข้าวเปลือกปทุมธานี 1,956 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว 62,367 ตัน ส่วน ข้าวนาปรัง กระทรวงการคลังโดย ธ.ก.ส. ได้เริ่มรับจำนำแล้วตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2551 แต่ปริมาณยังไม่มากนัก

สำหรับราคาข้าวเปลือกนาปี อ่อนตัวลงเนื่องจากข้าวเปลือกมีความชื้นและผู้ประกอบการนำข้าวสารออกจำหน่ายมากขึ้น โดยราคาซื้อขายข้าวเปลือกในตลาดสำคัญ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551 เป็นดังนี้ ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ตันละ 12,000 - 13,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 14,800 – 15,100 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,000 – 9,500 บาท ภาวะการค้าข้าวสาร การซื้อขายยังคล่องตัวแม้ว่าตลาดต่างประเทศจะชะลอดูสถานการณ์ สำหรับราคาข้าวสาร ณ 20 มิถุนายน 2551 เป็นดังนี้ ข้าวขาว 100% ชั้น 2 กระสอบละ 2,250 – 2,2505 บาท ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2 กระสอบละ 2,710 – 2,720 บาท ข้าวเหนียว (กข.6) กระสอบละ 1,795 - 1,800 บาท ข้าวนึ่ง 100% กระสอบละ 2,400 - 2,405 บาท

ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้

การส่งออก ไทยตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าว ปี 2551 ไว้ที่ 8.75 ล้านตัน สำหรับปริมาณการส่งออกข้าว ตั้งแต่ มกราคม – 18 มิถุนายน ส่งออกได้แล้ว 5.58 ล้านตัน มากกว่าปริมาณส่งออกในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีปริมาณ 3.802 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.76

มันสำปะหลัง เป็นช่วงปลายฤดูผลผลิตออกสู่ตลาดเกือบหมดแล้วและมีปัญหาเรื่องคุณภาพเนื่องจาก มีฝนตกในแหล่งผลิต ขณะนี้เกษตรกรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเพาะปลูกมันฤดูใหม่ ราคาหัวมันสดที่เกษตรกรขายได้อ่อนตัวลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับราคาหัวมันสดเชื้อแป้ง 25% ที่เกษตรกรขายได้ ณ 20 มิถุนายน 2551 จังหวัดนครราชสีมา กก.ละ 1.80 – 1.90 บาท ต่ำกว่าเดือนที่ผ่านมาที่มีราคาเฉลี่ย กก.ละ 2.13 บาท แนวโน้มราคาหัวมันสดจะยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากผลผลิตมีน้อยขณะที่ภาวะการค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งในประเทศและส่งออกโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีตามความต้องการของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องที่เพิ่มสูงขึ้น

ราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้

ไก่เนื้อ ผลจากการแก้ไขปัญหาราคาไก่เนื้อในช่วงที่ผ่านมาโดยการควบคุมปริมาณผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดสามารถดำเนินการได้ผลดีระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ผู้เลี้ยงยังประสบปัญหาราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทำให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคอาหารโปรตีนอื่นที่มีราคาต่ำกว่า ส่งผลให้ราคาไก่มีชีวิต (หน้าโรงฆ่า ณ 20 มิ.ย.51) อ่อนตัวลงมาอยู่ที่ กก.ละ 36 - 37 บาท ต่ำกว่าราคาในเดือนพฤษภาคม ที่มีราคาเฉลี่ย กก.ละ 41.16 บาท

กุ้ง ผลผลิตกุ้งออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ภาวะการส่งออกยังชะลอตัวจากปัญหาการกีดกันทางการค้าที่ยังมีอยู่ ทั้งในส่วน AD และ C-bond รวมทั้งค่าเงินบาทที่แข็งค่าและปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่เป็นตลาดใหญ่ของไทย สำหรับราคาซื้อขายกุ้งขาวแวนนาไม ณ ตลาดกลางสมุทรสาคร ณ 20 มิถุนายน 2551 (ขนาด 60 ตัว/กก.) อ่อนตัวลงจากราคาเฉลี่ย เดือนพฤษภาคม กก.ละ 118 บาท เหลือเพียง กก.ละ 110 บาท

ราคากุ้งขาวแวนาไม

3.2 กลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อยู่ในช่วงเพาะปลูกข้าวโพดฤดูใหม่ (ปี 2551/52) ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 3.753 ล้านตัน มากกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.19 ขณะที่ความต้องการใช้มีประมาณ 3.975 ล้านตัน มากกว่าผลผลิต 0.222 ล้านตัน คาดว่าเกษตรกรจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ตลาดได้ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม เป็นต้นไป สำหรับราคาซื้อขายโดยทั่วไปยังอยู่ในเกณฑ์สูง โดยราคา ณ แหล่งผลิต (เพชรบูรณ์ นครราชสีมา) ณ 20 มิถุนายน 2551 อยู่ที่ กก. ละ 8.33 – 8.70 บาท อย่างไรก็ตาม การผลิตข้าวโพดของโลกในปีหน้านี้ USDA คาดว่าจะมีผลผลิตรวมประมาณ 775.26 ล้านตัน น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ประมาณ 14.55 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 1.84 โดยผลผลิตของสหรัฐซึ่งเป็นผู้ผลิตและผู้ค้ารายใหญ่ลดลงประมาณ 34.01 ล้านตัน (-10.24%) ส่วนประเทศอื่นๆ โดยรวมเพิ่มขึ้นประมาณ 19.46 ล้านตัน (+4.25%) แนวโน้มราคาข้าวโพดในฤดูหน้าจะยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากผลผลิตภายในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ประกอบกับผลผลิตของโลกลดลงในขณะที่ยังมีความต้องการใช้เพื่อผลิตเอทานอลเป็นพลังงานทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง

ปาล์มน้ำมัน เข้าสู่ช่วงที่ผลปาล์มออกสู่ตลาดลดลง โดยในช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม จะมีผลปาล์มเข้าโรงงานสกัดประมาณร้อยละ 15 หรือคิดเป็นผลปาล์มประมาณ 1.2 ล้านตัน (แปรสภาพเป็นน้ำมันปาล์มดิบได้ประมาณ 0.22 ล้านตัน) ขณะที่ภาวะการค้าน้ำมันพืชในตลาดโลกอยู่ในเกณฑ์ดีตามความต้องการของจีนและอินเดียที่มีเพิ่มขึ้น รวมทั้งความต้องการใช้น้ำมันพืชทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงซึ่งส่งผลดีต่อการค้าภายในประเทศ โดยระดับราคาผลปาล์มสด (17%) ที่เกษตรกรขายได้ ณ 20 มิถุนายน 2551 กก.ละ 6.00 – 6.40 บาท สูงกว่าราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยเดือนพฤษภาคม (4.42 บาท) ร้อยละ 40.27 แนวโน้มราคาจะยังอยู่ในเกณฑ์สูงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยลงในช่วงดังกล่าว

ราคาผลปาล์มและน้ำมันปาล์มดิบ

มะพร้าว ผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี ปัจจุบัน (20 มิ.ย.51) ราคาขายส่งมะพร้าวผล ตลาด กทม. (ทับสะแกผลใหญ่ปอกเปลือก) ผลละ 10.00 – 10.50 บาท อ่อนตัวลงจากเดือนที่ผ่านมาที่มีราคาเฉลี่ย ผลละ 11.83 บาท ส่วนเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% ปริมาณออกสู่ตลาดลดลง ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนพฤษภาคมที่มีราคาเฉลี่ย กก.ละ 18.22 บาท เป็น กก.ละ 20.00 – 20.30 บาท แนวโน้มราคามะพร้าวผลและผลิตภัณฑ์จะยังอย่ในเกณฑ์ดี

ไข่ไก่ ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตบางส่วนได้ทยอยระบายสต็อกไข่ไก่ที่เก็บไว้ในช่วงก่อนหน้านี้ออกสู่ตลาด ประกอบกับผู้เลี้ยงชะลอการปลดแม่ไก่แก่ที่มีอายุเกิน 70 สัปดาห์ออกไป ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว มีผลทำให้ราคาไข่ไก่อ่อนตัวลง ปัจจุบัน 20 มิถุนายน 2551 ราคาขายส่งไข่ไก่ เบอร์ 3 ฟองละ 2.30 - 2.40 บาท ต่ำกว่าราคาเดือนพฤษภาคม ที่มีราคาเฉลี่ยฟองละ 2.58 บาท

สุกรมีชีวิต มีผลผลิตออกสู่ตลาดตามปกติ แต่ขนาดสุกรที่นำออกจำหน่ายมีทั้งสุกรที่มีขนาดใหญ่น้ำหนักเกิน 100 กก. และน้ำหนักต่ำกว่า 100 กก. ซึ่งผู้เลี้ยงได้ระบายออกสู่ตลาดเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงและลดความเสี่ยงของราคาที่มีแนวโน้มอ่อนตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง มีผลทำให้ระดับราคาสุกรมีชีวิตและ เนื้อสุกรอ่อนตัวลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง โดยราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ ณ 20 มิถุนายน 2551 เฉลี่ย กก.ละ 53 - 54 บาท ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาที่มีราคา กก.ละ 54 - 56 บาท อนึ่ง กระทรวงพาณิชย์ได้ขยายเวลาการดำเนินมาตรการ “ หมูพาณิชย์ ” ไปถึงสิ้นเดือนมิถุนายน เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้ประชาชน แนวโน้มราคาอาจจะอ่อนตัวลงอีกเล็กน้อย ตามภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่สูงขึ้น

ราคาสุกร ~ ไก่มีชีวิตที่เกษตรกรขายได้

พืชผักและผลไม้

กระเทียม เป็นช่วงกระเทียมแห้งออกสู่ตลาด ราคาที่เกษตรกรขายได้ในพื้นที่ กระเทียมแห้งคละ กก.ละ 16 - 20 บาท อย่างไรก็ตาม เพื่อช่วยยกระดับราคากระเทียมในประเทศ กรมการค้าภายในได้เชื่อมโยงระบายผลผลิตออกสู่ตลาดผ่านระบบการค้าของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปราบปรามและเข้มงวดการนำเข้ากระเทียมจากต่างประเทศ และคณะกรรมการ คชก. ได้ (มติ 13 พ.ค.51) อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 300 ล้านบาท ให้ ธ.ก.ส. นำไปให้สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการค้ากระเทียมในจังหวัดแหล่งผลิตกู้ยืมปลอดดอกเบี้ยใช้รับซื้อกระเทียมจากเกษตรกรในราคานำตลาด

มะนาว ผลผลิตมะนาวตามฤดูกาลทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น ราคาซื้อขายในแหล่งผลิต (20 มิ.ย.51) อ่อนตัวลง เหลือเฉลี่ยผลละ 0.30 – 1.00 บาท (ขนาดกลางถึงใหญ่) แนวโน้มราคาจะอ่อนตัวลงอีกตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น

สับปะรด กระทรวงเกษตรฯ ประมาณการผลผลิตสับปะรด (โรงงาน) ปี 2551 ว่าจะมีประมาณ 2.476 ล้านตัน มากกว่าปริมาณผลผลิตในปี 2550 ร้อยละ 7.41 โดยในช่วงเดือนมิถุนายน – สิงหาคม เป็นช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ในเบื้องต้นคาดว่าจะมีประมาณ 0.436 ล้านตัน แยกเป็นเดือนมิถุนายน 0.220 ล้านตัน เดือนกรกฎาคม 0.146 ล้านตัน และเดือนสิงหาคม 0.070 ล้านตัน สำหรับราคาสับปะรดที่โรงงานรับซื้อ (จ.ประจวบคีรีขันธ์) วันที่ 20 มิถุนายน 2551 กก.ละ 3.23 บาท ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาเฉลี่ยทั้งประเทศ เดือนพฤษภาคม ที่ กก.ละ 3.12 บาท ร้อยละ 3.53 ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยลง

ผลไม้ (เงาะ มังคุด ทุเรียน ) ในฤดูการผลิตปี 2551 กระทรวงเกษตรฯ ประมาณการผลผลิตเงาะจะมี 460,700 ตัน ทุเรียน 690,400 ตัน มังคุด 288,600 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.06 , 1.44 และ 2.76 โดยเป็นผลผลิตของภาคตะวันออกประมาณร้อยละ 60 , 55 และ 40 ตามลำดับ ผลจากการที่ภาครัฐได้ช่วยเชื่อมโยงและเร่งระบายผลผลิตออกจากแหล่งผลิตภาคตะวันออก ส่งผลให้ระดับราคาผลไม้ไม่อ่อนตัวลงอีก โดยระดับราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย ณ 20 มิถุนายน 2551 เงาะ กก.ละ 7.00 – 8.00 บาท ทุเรียน พันธุ์หมอนทอง กก.ละ 16.00 – 19.00 บาท และมังคุด กก.ละ 10.00 – 12.00 บาท แนวโน้มราคาจะเคลื่อนไหวไม่มากนัก เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูผลไม้ภาคตะวันออกและคุณภาพในช่วงนี้ด้อยกว่าช่วงที่ผ่านมา สำหรับผลไม้ภาคใต้จะเริ่มทยอยออกสู่ตลาดได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป

3.3 กลุ่มสินค้าที่ต้องนำเข้า

จากการประเมินสถานการณ์การผลิตเมล็ดถั่วเหลืองโลกของ USDA ในปี 2551/52 ผลผลิตมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 21.87 ล้านตัน คาดว่าจะมีผลทำให้ระดับราคาถั่วเหลืองในตลาดโลกอ่อนตัวลงแต่จะยังอยู่ในเกณฑ์สูง เนื่องจากความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการนำไปใช้ผลิตเพื่อทดแทนพลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง ขณะที่ปลาป่นได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้ง ทำให้ความต้องการชะลอตัวและมีการใช้กากถั่วเหลืองทดแทนในการผลิตอาหารสัตว์มากขึ้น สำหรับสถานการณ์สินค้าที่สำคัญมีดังนี้

ถั่วเหลือง กระทรวงเกษตรฯ ประมาณการผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองปี 2551/52 มีปริมาณ 0.204 ล้านตัน แยกเป็นถั่วฤดูฝน 0.079 ล้านตัน ถั่วฤดูแล้ง 0.125 ล้านตัน สำหรับถั่วเหลืองฤดูฝนเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวและทยอยนำออกขายได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ผลผลิตส่วนใหญ่จะมีคุณภาพไม่ค่อยดีมีความชื้น แนวโน้มราคาจะอ่อนตัวลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามสถานการณ์การผลิตการค้าพืชน้ำมันและน้ำมันพืชในตลาดโลก สำหรับการผลิตถั่วเหลืองของโลกในปีนี้ USDA คาดว่ามีประมาณ 240.67 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 21.87 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10% ทั้งนี้ เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาจูงใจให้เกษตรกรหันกลับมาปลูกถั่วเหลืองแทนการปลูกข้าวโพด ปัจจุบัน (20 มิ.ย.51) ราคาถั่วเหลืองเกรดสกัดน้ำมัน ณ ตลาด กทม. กก.ละ 19.75 – 20.00 บาท สูงกว่าราคาเฉลี่ยของเดือนที่ผ่านมาที่มีราคา กก.ละ 18.28 บาท

กากถั่วเหลือง การผลิตกากถั่วเหลืองของโลกในปี 2551/52 จะมีปริมาณมากขึ้นตามปริมาณการผลิตเมล็ดถั่วที่เพิ่มขึ้น ซึ่ง USDA คาดว่าจะมีประมาณ 163.92 ล้านตัน มากกว่าปีที่ผ่านมา 2.55 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.58 ในขณะที่ความต้องการใช้และการค้ากากถั่วของโลกก็จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นด้วย แนวโน้มราคาในตลาดโลกจะอ่อนตัวแต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง สำหรับราคาขายส่งกากถั่วเหลืองที่ผลิตในประเทศ (เมล็ดนำเข้า) ปัจจุบัน (20 มิ.ย.51) ราคา กก.ละ 19.20 - 19.30 บาท ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาที่มีราคาเฉลี่ย กก.ละ 16.97 บาท แนวโน้มราคาจะอ่อนตัวลงตามภาวะการผลิตแต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง

ปลาป่น การผลิตปลาป่นในช่วงนี้มีน้อย เนื่องจากเข้าสู่ช่วงมรสุมและปัญหาน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาสูงทำให้วัตถุดิบในการผลิตมีน้อย ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการปรับตัวสูงขึ้นของราคาปลาป่นในตลาดโลกที่ประเทศต่างๆ มีความต้องการมากขึ้นด้วยโดยเฉพาะจีน ปัจจุบัน (20 มิ.ย.51) ราคาปลาป่นโปรตีน 60% ลงมา กลิ่นเบอร์ 2 กก.ละ 30.50 บาท ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนผ่านที่มีราคาเฉลี่ย กก.ละ 28.43 บาท แนวโน้มราคาปลาป่นจะเคลื่อนไหวไม่มากนักเนื่องจากระดับราคาในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมากแล้ว

 

4. มาตรการแก้ไขปัญหา / การช่วยเหลือผ่านกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

การให้ความช่วยเหลือด้านการตลาดสินค้าเกษตร (ด้านการตลาด)

ในปีงบประมาณ 2551 ในปีงบประมาณ 2551 คชก. ได้อนุมัติเงินกองทุนรวมฯ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือสินค้าเกษตรแล้ว (ณ 11 มิ.ย.51) 4 สินค้า ได้แก่ 1) ข้าว (โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2550/51 และ ค่าใช้จ่ายระบายข้าวภายใน AFET) รวม 2,657.90 ล้านบาท 2) มันสำปะหลัง 1,417.86 ล้านบาท 3) กระเทียม 300 ล้านบาท และ 4) ผลไม้ 91.80 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้อนุมัติวงเงินเพิ่มเติมสำหรับโครงการเดิมที่มีภาระค่าใช้จ่ายและยังไม่สามารถปิดบัญชีได้ เช่น ลำไย ปี 2546 อีก 33.72 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,501.28 ล้านบาท


ข้อมูลจาก
สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 35537 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

มุกดา
[email protected]
ควรจะมีข้อมูลเป็นปัจจุบัน

21 พ.ย. 2552 , 06:19 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

อ้อม
[email protected]
การส่งออกของไทยเจริญก่าวเมื่อก่อนเยอะเลย
09 พ.ย. 2552 , 05:19 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9891
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7927
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7983
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 8350
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 7302
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8585
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7771
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>