ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 25631 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เกษตรชัยนาทแนะวิธีแก้ปัญหาโรคใบด่างในมะเขือ

ด้วยเกิดการระบาดของโรคใบด่างในสวนมะเขือ สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเพื่อการค้า ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้รับ...

data-ad-format="autorelaxed">

เกษตรชัยนาทแนะวิธีแก้ปัญหาโรคใบด่างในมะเขือ

เกษตรชัยนาทแนะวิธีแก้ปัญหาโรคใบด่างในมะเขือ เกษตรชัยนาทแนะวิธีแก้ปัญหาโรคใบด่างในมะเขือ ด้วยเกิดการระบาดของโรคใบด่างในสวนมะเขือ สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเพื่อการค้า ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้รับลดลง เนื่องจากมะเขือที่เกิดโรคใบด่างจะแคระแกรนให้ผลผลิตน้อย แต่ถ้าเป็นต้นที่ยังเล็กจะไม่ให้ผลผลิตเลย เพื่อการป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดติดต่อกันในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ในเบื้องต้นเกษตรกรจะต้องตัดหรือถอนต้นมะเขือที่เป็นโรคทิ้งออกจากแปลง และเผาทิ้งทันที

นายสมศักดิ์ วรรณะ เกษตรจังหวัดชัยนาท กล่าวว่า ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์เกษตรกรในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ที่ฟื้นจากน้ำท่วมเกษตรกร จำนวน 290 ครัวเรือน ได้ปลูกมะเขือเพื่อการค้าประมาณ 416 ไร่ ส่วนใหญ่จะเป็นมะเขือยาว จำนวน 278 ไร่ มะเขือเปราะ จำนวน 148 ไร่ มะเขือส่วนหนึ่งในสวนได้เกิดโรคใบด่างอย่างทั่วถึง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้สร้างความเสียหายอย่างสิ้นเชิง แต่ก็สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเป็นจำนวนมาก ทั้งผลผลิตที่ลดลง และค่าสารเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ซึ่งโรคใบด่างเกิดจากเชื้อไวรัส มีแมลงปากดูดเป็นพาหะ อาการที่เกิดขึ้นคือ ใบของมะเขือ จะด่างลายมีสีเหลืองสลับเขียว เส้นใบขยายบวมโต ด่างลาย หดย่น หรือแผลเป็นวงซ้อนกัน สีเหลือง และอาการที่พบในส่วนอื่น ๆ ของพืช เช่น ผลผลิตบิดเบี้ยว ขนาดเล็กกว่าปกติ แต่ถ้าเกิดกับมะเขือที่ยังเล็กและไม่สมบูรณ์จะไม่ให้ผลผลิตเลย ด้านการป้องกันกำจัด ยังไม่มีคำแนะนำในเรื่องการใช้สารเคมี แต่มีแนวทางป้องกันโดยกำจัดต้นที่เป็นโรคทิ้งไป ด้วยการถอนหรือตัดชิดดินขนออกจากแปลง แล้วเผาทิ้งทันที และพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงปากดูด เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของโรคนี้
นายสมศักดิ์ วรรณะ กล่าวถึงการป้องกันเสริมอีกว่า ขอให้เกษตรกรใช้วิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน เช่นใช้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่เป็นโรค และจัดหาพืชพันธุ์ต้านทานมาปลูกทดแทน ทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ก่อนหรือหลังปลูก อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ตัวห้ำ เช่น ด้วงเต่า แมลงวันดอกไม้ และแตนเบียน ซึ่งเป็นศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของแมลงปากดูด ปลูกพืชที่เจริญเติบโตเร็วและสุขภาพดีแทนพืชตระกูลมะเขือ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคและแมลงหลายชนิด เพลี้ยอ่อนมักระบาดเมื่อพืชสุขภาพไม่ดี เช่น หลังการปลูกหรือเมื่อได้รับปุ๋ยน้อยและโครงสร้างดินไม่ดี ทำให้พืชไม่แข็งแรง เป็นต้น อีกทั้งป้องกันโดยการเขตกรรม เศษซากพืชที่เหลืออยู่ในแปลงหลังการเก็บเกี่ยวมักเป็นแหล่งสะสมไข่หรือตัวแก่ของแมลงปากดูดโดยเฉพาะเพลี้ยอ่อน ดังนั้นการกำจัดเศษซากเหล่านั้นจะเป็นการป้องกันไม่ให้เพลี้ยอ่อนคงอยู่และระบาดในฤดูต่อไป โดยการฝังกลบลงดิน เก็บไปทำกองปุ๋ยหมัก ตากให้แห้งหรือเผาทำลาย การเก็บเศษซากพืชออกมีความจำเป็นมากในการป้องกันโรค

ทั้งนี้สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรจำตำบล เกษตรอำเภอ หรือเกษตรจังหวัดใกล้บ้านท่าน

 


อ้างอิง:http://thainews.prd.go.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 25631 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9891
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7927
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7983
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 8350
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 7302
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8585
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7771
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>