ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: Agri live update | อ่านแล้ว 16021 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

หนอนหัวดำ ตัวการทำลายมะพร้าว

หนอนหัวดำ...แมลงศัตรูมะพร้าวระบาดและสร้างความเสียหายรุนแรงให้กับแหล่งปลูกมะพร้าวมากที่สุดเมื่อเทียบกับศัตรูมะพร้าวชนิด..

data-ad-format="autorelaxed">

หนอนหัวดำ

''หนอนหัวดำ''ตัวการทำลายมะพร้าว...แมลงศัตรูมะพร้าวระบาดและสร้างความเสียหายรุนแรงให้กับแหล่งปลูกมะพร้าวมากที่สุดเมื่อเทียบกับศัตรูมะพร้าวชนิดอื่น เนื่องจากหนอนหัวดำสามารถเข้าทำลายจนมะพร้าวยืนต้นตายได้ ซึ่งจะกระทบต่อผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร ซึ่งปัจจุบันหนอนหัวดำมีการแพร่ระบาดครอบคลุมพื้นที่ 12 จังหวัด รวมกว่า 90,000 ไร่ โดยเฉพาะ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตมะพร้าวแหล่งใหญ่ของประเทศ ดังนั้นจำเป็นต้องควบคุมพื้นที่ระบาดอย่างเร่งด่วน ก่อนลุกลามจนเอาไม่อยู่

นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า หนอนหัวดำมะพร้าวเป็นแมลงศัตรูพืชต่างถิ่น เริ่มเข้ามาระบาดในประเทศไทยเมื่อปี 2551 โดยมีรายงานการระบาดครั้งแรกในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว คือ สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้งที่มีอุณหภูมิสูง หนอนหัวดำจะสามารถขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การระบาดรุนแรง ขณะที่สภาพแวดล้อมในช่วงฤดูฝนไม่เหมาะกับการขยายพันธุ์ของหนอนหัวดำทำให้การระบาดมีแนวโน้มลดลง

นอกจากนั้นหนอนหัวดำยังสามารถแพร่กระจายไปกับผลมะพร้าวหรือต้นพันธุ์มะพร้าว รวมทั้งพืชตระกูลปาล์ม ทำให้การระบาดขยายวงกว้างขึ้นได้ ระยะตัวหนอนของหนอนหัวดำจะกัดแทะกินผิวใบแก่มะพร้าวทำให้ใบแห้งกรอบเป็นสีน้ำตาล กระทบต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต สำหรับสวนมะพร้าวที่ขาดการดูแลรักษาต้นมะพร้าวจะอ่อนแอง่ายต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืช ดังนั้นหากมีการสำรวจติดตามสถานการณ์ระบาดอย่างต่อเนื่อง จะทำให้พบการเข้าทำลายแต่เนิ่น ๆ

ทำให้สามารถควบคุมการระบาดได้ทันท่วงที การทำลายของหนอนหัวดำ แบ่งระดับความรุนแรงเป็น 3 ระดับ คือ 1. ระดับการทำลายน้อย ต้นมะพร้าวจะมีทางใบเขียวที่สมบูรณ์ไม่มีร่องรอยการทำลายตั้งแต่ 13 ทางใบขึ้นไป ซึ่งจะไม่กระทบต่อผลผลิตมะพร้าว 2. ระดับการทำลายปานกลาง มีทางใบเขียวที่สมบูรณ์ไม่มีร่องรอยการทำลาย 6-12 ทางใบ และ 3. ระดับการทำลายรุนแรง ต้นมะพร้าวมีทางใบเขียวที่สมบูรณ์ ไม่มีร่องรอยการทำลาย 0-5 ทางใบ โดยทั่วไปถ้ามะพร้าวมีทางใบเขียวที่สมบูรณ์เหลืออยู่บนต้น 3 ใบ ต้นมะพร้าวมีความเสี่ยงที่จะตายได้ การควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวในปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีที่สามารถควบคุมได้เบ็ดเสร็จ 100% ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกันในการป้องกันกำจัด ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนดมาตรการควบคุมการระบาดของหนอนหัวดำ โดยเบื้องต้นเกษตรกรต้องหมั่นสำรวจทางใบมะพร้าวในแปลงอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบการทำลายของหนอนหัวดำให้ตัดทางใบที่ถูกหนอนหัวดำทำลายมาเผาทิ้งทันที เพื่อกำจัดหนอนหัวดำระยะไข่ ตัวหนอนและระยะดักแด้ ภายหลังตัดทางใบที่ถูกทำลายมาเผาแล้ว ควรฉีดพ่นด้วยเชื้อ Bacillus thruringiensis หรือเชื้อบีที (Bt) เพื่อกำจัดหนอนหัวดำ โดยใช้เชื้อ Bt ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร อัตรา 80-100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมด้วยสารจับใบตามคำแนะนำในฉลาก ฉีดพ่นทางใบสีเขียวที่เหลือบนต้น จำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7-10 วัน ที่สำคัญการใช้บีทีจะมีประสิทธิภาพดีต้องพ่นช่วงเช้าก่อนแดดจัดและช่วงเย็น ห้ามฉีดพ่นขณะที่มีแสงแดดจัดเพราะจะทำให้เชื้อ Bt อ่อนแอ และประสิทธิภาพการกำจัดหนอนหัวดำลดลง จากนั้นควรปล่อย แตนเบียนไข่ Trichogramma sp. เพื่อช่วยควบคุมระยะไข่ของหนอนหัวดำ อัตราไร่ละ 10 แผ่นต่อไร่หรือประมาณ 20,000 ตัวต่อไร่ ปล่อยทุก 15 วัน ติดต่อกัน 12 ครั้ง โดยแขวนแผ่นแตนเบียนไข่ไว้กับต้นมะพร้าวหรือพืชอื่น ๆ ภายในสวนมะพร้าวกระจายทั่วทั้งแปลง โดยใช้จารบีหรือสารป้องกันมดไม่ให้มาทำลายแผ่นแตนเบียนและควรมีวัสดุกันแดดและฝนก่อนที่แตนเบียนจะฟักเป็นตัวเต็มวัย ขณะเดียวกันให้ปล่อยแตนเบียนหนอนบราคอน (Bracon hebetor) ควบคุมระยะหนอนของหนอนหัวดำ ปล่อยในอัตราไร่ละ 200 ตัว ปล่อยทุก 15 วัน ต่อเนื่องกัน 12 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม ในวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายนนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนดจัดงาน “ควบคุมและกำจัดหนอนหัวดำแบบครอบคลุมพื้นที่” ณ บ้านฟากนา หมู่ 7 ตำบลสามกระทาย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในงานจะมีการจัดแสดงนิทรรศการการควบคุมและกำจัดศัตรูมะพร้าว เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีการควบคุมกำจัดหนอนหัวดำ

...และให้เกษตรกรที่เข้าร่วมงานฯ นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการควบคุม ป้องกัน และกำจัดในแปลงของตนเองได้ ซึ่งจะช่วยยกระดับการผลิตมะพร้าวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น.


อ้างอิง:www.dailynews.co.th

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 16021 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [Agri live update]:
คาราวานส้มสีทอง GI น่าน สู่ห้างสรรพสินค้า TOP Supermarket
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก) ร่วมกับ หน่วยงานภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดแถลงข่าวส้มสีทอง GI น่าน..
อ่านแล้ว: 6513
เปิดปฏิบัติการ แผนแก้จน คลังผนึกพาณิชย์-แรงงาน-เอกชน ระดมกำลังสร้างอาชีพ-เพิ่มรายได้
คนจนหมดประเทศ! กลายเป็นวลีที่ถูกค้นหา และพูดถึงกันมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะคำนี้ถูกตีความมาจากคำกล่าวของ..
อ่านแล้ว: 6571
อึ้ง! พบสารเคมีตกค้าง เกินมาตรฐานในผัก-ผลไม้
อึ้ง!! พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน 64% ถั่วฝักยาว คะน้า ใบบัวบก กะเพรา พริกแดง องุ่น แก้วมังกร
อ่านแล้ว: 6532
ค้านทำเหมืองหินชัยภูมิ ยื่นศูนย์ดำรงธรรมช่วย
คัดค้านขอใช้ประโยชน์พื้นที่ทำเหมืองแร่หินก่อสร้าง ของบริษัท พารุ่งฯ หลังคณะกรรมการตรวจสอบไฟเขียว ส่งให้กรมป่าไม้พิจารณา
อ่านแล้ว: 7786
ครม.ไฟเขียว งบปลูกพืชแทนข้าว 2 โครงการ 488ล.
ครม.อนุมัติ 488 ล้าน หนุนลดพื้นที่ปลูกข้าว 2 โครงการ หันไปปลูกพืชหลากหลาย ปลูกพืชปุ๋ยสด
อ่านแล้ว: 6177
พบ หนอนตัวแบนนิวกินี ทุกภาคทั่วไทย แนะควรทำลายป้องกันการระบาด
นักวิชาการเผยพบ หนอนตัวแบนนิวกินี ในพื้นที่ทุกภาคทั่วประเทศแล้ว แนะควรทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการระบาด
อ่านแล้ว: 6334
ส.ป.ก. เตรียมแจกที่ดินยึดคืน แก่เกษตรกรเพิ่มอีก 5จ. กว่าหมื่นไร่

อ่านแล้ว: 5614
หมวด Agri live update ทั้งหมด >>