พะยูน เมืองไทย วิกฤติหนัก
พะยูน เป็นสัตว์สงวนชนิดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เป็นสัตว์ป่าสงวน ช่วยกันอนุรักษ์...
data-ad-format="autorelaxed">
จับตา พะยูน เมืองไทย วิกฤติหนัก...อนุรักษ์อย่าให้สูญพันธุ์!! พะยูน เป็นสัตว์สงวนชนิดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น
พะยูน มีรูปร่างคล้ายแมวน้ำขนาดใหญ่ที่อ้วนกลมเทอะทะ ครีบมีลักษณะคล้ายใบพาย ซึ่งวิวัฒนาการมาจากขาหน้าใช้สำหรับพยุงตัวและขุดหาอาหาร ไม่มีครีบหลัง ไม่มีใบหู ตามีขนาดเล็ก ริมฝีปากมีเส้นขนอยู่โดยรอบ ตัวผู้บางตัวเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมีฟันคู่หนึ่งงอกออกจากปากคล้ายงาช้าง ใช้สำหรับต่อสู้เพื่อแย่งคู่กับใช้ขุดหาอาหาร ในตัวเมียมีนมอยู่ 2 เต้า ขนาดเท่านิ้วก้อย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ถัดลงมาจากขาคู่หน้า สำหรับเลี้ยงลูกอ่อน มีลำตัวและหางคล้ายโลมา สีสันของลำตัวด้านหลังเป็นสีเทาดำ หายใจทางปอด จึงต้องหายใจบริเวณผิวน้ำ 1-2 นาที อายุ 9-10 ปี สามารถสืบพันธุ์ได้ เวลาท้อง 9-14 เดือน ปกติมีลูกได้ 1 ตัว ไม่เกิน 2 ตัว แรกเกิดยาว 1 เมตร หนัก 15-20 กิโลกรัม ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 1 ปี กินนมและหญ้าทะเลประมาณ 2-3 สัปดาห์ หย่านมประมาณ 8 เดือน อายุประมาณ 70 ปี โดยแม่ พะยูน จะดูแลลูกไปจนโต ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ถึง 3 เมตร น้ำหนักเต็มที่ได้ถึง 300 กิโลกรัม อาหารของ พะยูน ได้แก่ หญ้าทะเล ที่ขึ้นตามแถบชายฝั่งและน้ำตื้น โดย พะยูน มักจะหากินในเวลากลางวัน พฤติกรรมการหากินจะคล้ายกับหมู โดยจะใช้ครีบอกและปากดุนพื้นทรายไถไปเรื่อย ๆ จนบางครั้ง จะเห็นทางยาวตามชายหาด จากพฤติกรรมเช่นนี้ พะยูน จึงได้ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “หมูน้ำ” หรือ “หมูดุด” ในบางตัวที่เชื่องมนุษย์ อาจเกาะกินตะไคร่บริเวณใต้ท้องเรือได้
นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผยว่า ในช่วงปลายเดือนเมษายน 2555 ได้ไปสำรวจประชากร พะยูน บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง โดยร่วมสำรวจทางเรือและส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นบินด้วยเครื่องพารามอเตอร์บินสำรวจบริเวณทะเลภายในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง พบว่ามี พะยูน จำนวนมากกว่า 22 ตัว โดยมีแนวโน้มที่ดีซึ่งพบลูกวัย 1-2 ปี จำนวน 6 ตัว แนวโน้ม พะยูน จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมาจะพบ พะยูน ตายไปบ้างในรอบปีที่ผ่านมา จากสาเหตุการติดอวนลอยของชาวประมงบางกลุ่ม การสำรวจล่าสุดพบ พะยูน อาศัยอยู่บริเวณทะเลรอบหมู่เกาะลิบง จำนวนมากกว่า 150 ตัว เพราะมีแหล่งหญ้าทะเลที่เป็นพืชอาหารของ พะยูน อยู่จำนวนมาก
ดร.ก้องเกียรติ์ กิติวัฒนาวงศ์ นักวิชาการประมงชำนาญการ กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน จังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า จากการบินสำรวจกลุ่ม พะยูน ทะเลในจังหวัดตรัง จำนวน 9 เที่ยวนั้น ซึ่งผลสำรวจปริมาณของ พะยูน และแนวเขตพื้นที่หญ้าทะเล บริเวณหมู่เกาะมุกต์ เกาะลิบง อ่าวตะเสะ เกาะบัน เกาะหลาวเหลียง เกาะเภตรา และเกาะกล้วย ในพื้นที่จังหวัดตรัง นอกจากนี้ยังได้ทำการบินสำรวจบริเวณเกาะศรีบอยา เกาะจำ และเกาะปู จ.กระบี่ อีกด้วย โดยพบจำนวนฝูง พะยูน ว่ายน้ำหากิน ประมาณ 20-50 ตัว และพื้นที่พบเห็น พะยูน มากที่สุด คือ บริเวณเกาะตะลิบง หน้าแหลมจุโหย จ.ตรัง ซึ่งพบเห็น พะยูน ลดลงกว่าปีที่แล้ว ที่ปกติโดยเฉลี่ยจะพบเที่ยวบินละประมาณ 60-80 ตัว โดยเฉพาะเมื่อปี 2554 พบเห็นมากถึงประมาณ 150 ตัว ส่วนการคำนวณค่าความหนาแน่นของ พะยูน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์จึงจะทราบตัวเลขที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม จากการบินสำรวจ พะยูน ในพื้นที่หญ้าทะเล บริเวณหมู่เกาะศรีบอยา เกาะจำ และเกาะปู ใน จ.กระบี่ พบว่า จำนวน พะยูน ที่พบเห็นมีถึง 51 ตัว จากเดิมที่พบเพียง 36 ตัว เพิ่มขึ้น 15 ตัว ซึ่งจำนวน พะยูน ที่พบนี้ จะต้องหาข้อสรุปด้วยเช่นกันว่า เป็น พะยูน ที่อพยพไปจากทะเลตรังหรือไม่ และปริมาณของ พะยูน ที่หายไปจากทะเลตรังนั้นมีกี่ตัว นอกจากนี้ยังต้องศึกษาว่าตัวเลข พะยูน ที่พบเพิ่มขึ้นนี้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของแนวหญ้าทะเล ที่จังหวัดกระบี่หรือไม่
ขณะที่ นายประจวบ โมฆรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 จ.ตรัง กล่าวว่า ขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดตรังพบวิกฤติ พะยูน มีการตายอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ในช่วงเพียง 2 เดือนมีการพบ พะยูน ตายไปแล้ว จำนวน 4 ตัว โดยตัวแรกพบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 55 เป็น พะยูน เพศเมีย ชั่งน้ำหนัก 304.5 กิโลกรัม ความยาว 2.56 เมตร อายุประมาณกว่า 30 ปี ซึ่งพบลอยตายอยู่ในท้องทะเล อ.สิเกา จ.ตรัง โดยทางทีมสัตวแพย์สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน จ.ภูเก็ต ระบุว่า จากการตรวจสอบสภาพร่างกายของ พะยูน ตัวดังกล่าว มีสภาพแข็งแรงไม่พบโรค และระบุสาเหตุการตายของ พะยูน ตัวดังกล่าวว่าน่าจะมาจากอาการตายเฉียบพลัน เนื่องจากภัยคุกคามจากภายนอกต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมาจากการติดเครื่องมือประมง การได้รับอุบัติเหตุ หรือการเกยแห้ง
ต่อมาตัวที่สองพบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 55 ซึ่งเป็นลูก พะยูน เพศผู้ ชั่งน้ำหนักได้ 35 กก. วัดความยาวได้ 130 เซนติเมตร และขนาดรอบลำตัว 90 เซนติเมตร ซึ่งพบลอยตายอยู่บริเวณเขตรอยต่อระหว่างเขาน้อย-หาดหยงหลิง หมู่ที่ 6 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง โดยทางทีมสัตวแพทย์สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน จ.ภูเก็ต ระบุว่ามีอายุเพียงปีเศษ ซึ่งยังไม่หย่านม และยังต้องอาศัยอยู่กับแม่ พะยูน และจากการตรวจสอบมีลักษณะการตายเช่นเดียวกับพะยูน เพศเมียตัวแรก ส่วน พะยูน ตัวที่สาม พบเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 55 บริเวณหัวแหลมหญ้า หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นแหล่งหญ้าทะเลขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัดตรัง โดย พะยูน ที่พบเป็น พะยูน เพศผู้ อายุประมาณ 20 ปี น้ำหนักประมาณกว่า 200 กก. วัดความยาวได้ 2 เมตร ไม่พบบาดแผลตามร่างกาย สาเหตุการตายของ พะยูน ตัวดังกล่าว ว่าน่าจะมาจากการตายเฉียบพลันเช่นกัน และ พะยูน ตัวที่สี่นั้น พบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 55 บริเวณริมคลองปอ หมู่ 5 บ้านฉางหลาง ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เป็นเพศผู้ ความยาวประมาณ 2 เมตร น้ำหนักประมาณ 150-180 กิโลกรัม ส่วนสาเหตุการตายที่แท้จริงไม่สามารถระบุแน่ชัดได้ เนื่องจากสภาพ เน่าเปื่อยมากแล้ว แต่จากการตรวจสอบในกระเพาะอาหารพบอาหารอยู่เต็มในทางเดินอาหาร คาดว่า พะยูน ตัวนี้มีสภาพร่างกายที่ปกติและแข็งแรงและมีการดำเนินชีวิตตามปกติประจำวัน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างประมวลผล
รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวทิ้งท้ายว่า ขณะนี้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ร่วมกับนายอับดุลลอหิม ขุ่นรักษา กำนันตำบลเกาะลิบง จ.ตรัง และผู้นำชุมชนในพื้นที่มาหารือร่วมกันเพื่อวางแนวทางการอนุรักษ์ พะยูน ที่หากินรอบหมู่เกาะลิบง มีการออกประชาสัมพันธ์เพื่อการอนุรักษ์ พะยูน ในพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลรอบเกาะ ซึ่งปัจจุบันนี้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ มาเที่ยวชม พะยูน โดยการมาพักในหมู่บ้าน แล้วล่องเรือหรือปีนเขาเพื่อชม พะยูน ที่อาศัยและหากินหญ้าในบริเวณนั้น ดังนั้นทางกรมอุทยานฯ จึงต้องขอให้ชาวบ้านร่วมกันดูแลและระมัดระวังในการทำประมงและแล่นเรือในพื้นที่ที่ พะยูน อาศัยอยู่ รวมถึงการป้องกันคนมาลักลอบจับ พะยูน ด้วย ซึ่งยังเป็นช่วงที่ต้องได้รับการจับตาดูเป็นพิเศษสำหรับ พะยูน ในประเทศ
ขอให้ช่วยกันอนุรักษ์ พะยูน เพื่อเพิ่มปริมาณให้อยู่คู่ท้องทะเลไทย ตลอดไป อย่าให้ต้องกลายมาใช้คำว่า “ฝูงสุดท้าย” เลย.
อ้างอิง:www.dailynews.co.th
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 11233 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,