ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: Agri live update | อ่านแล้ว 10735 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ฟื้นฟูสวนยางหลังน้ำท่วม

ฟื้นฟูสวนยางหลังน้ำท่วม เกษตรกรชาวสวนยางประสบอยู่เสมอ ได้แก่ภาวะน้ำท่วมแบบฉับพลันที่มีทั้งน้ำลดลงอย่างรวดเร้ว และน้ำขัง

data-ad-format="autorelaxed">

ฟื้นฟู สวนยาง

ฟื้นฟูสวนยางหลังน้ำท่วม ภาวะน้ำท่วมที่เกษตรกรชาวสวนยางประสบอยู่เสมอ ได้แก่ภาวะน้ำท่วมแบบฉับพลันที่มีทั้งน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว และมีทั้งน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน เหตุการณ์เหล่านี้ ก่อให้เกิดความเสียหายกับต้นยาง ความเสียหายดังกล่าวบางกรณีสามารถแก้ไขเพื่อให้ลดความเสียหายลงได้บ้าง ในบางกรณีเกิดความเสียหายระดับรุนแรงจนต้องโค่นต้นยางเพื่อปลูกใหม่ ซึ่งล้วนแต่ทำให้เกษตรกรได้รับความสูญเสียทั้งสิ้น หากพูดถึงระดับความเสียหายรุนแรงของน้ำท่วม จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้

อายุยางและความยาวนานของน้ำที่ท่วม โดยธรรมชาติของยางพาราเป็นพืชที่ทนต่อภาวะน้ำท่วมขังได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุยาง ระดับน้ำและความยาวนานของน้ำท่วม โดยทั่วไปพบว่าในสภาพน้ำท่วมขังทำให้ความเข้มข้นของแก๊สออกซิเจนในดินต่ำ ซึ่งมีผลต่อรากยางและจุลินทรีย์ในดินขาดก๊าชออกซิเจนที่จะถูกนำไปใช้ในการหายใจ และสมดุลของสารบางชนิดเปลี่ยนไป เช่น ธาตุเหล็ก อะลูมินัม เป็นต้น มีปริมาณมากขึ้นจนเป็นพิษต่อยางและบางครั้งสูญเสียธาตุอาหารพืชจากดิน ทำให้มีผลกระทบกับต้นยางโดยตรง ทำให้ลำต้นแคระแกร็น โคนต้นโต แตกพุ่มเตี้ยและมีใบเหลืองซีดคล้ายขาดธาตุไนโตรเจน บางครั้งพบปลายยอดแห้งตาย บางพื้นที่ยางอายุ 10 ปี ยังไม่สามารถเปิดกรีดได้เพราะต้นมีขนาดเล็กมาก ยางอ่อนอายุน้อยกว่า 4 ปี ทนภาวะน้ำท่วมขังได้ไม่เกิน 5–10 วัน ส่วนยางอายุมากกว่า 5 ปี จะทนภาวะน้ำท่วมขังได้ นานกว่า

นอกจากนั้น ยังพบต้นยางแสดงอาการใบเหลืองและรากเน่า โดยเฉพาะในส่วนของรากฝอยที่ทำหน้าที่ดูดน้ำและธาตุอาหารในดิน เชื้อราอาจเข้าทำลายส่วนของราก และโคนต้นหรือส่วนที่เป็นแผล ทำให้กระทบการเจริญเติบโตของต้นยาง หากอาการรุนแรงอาจทำให้ต้นยางตายได้

ระดับน้ำท่วมขังมีความสำคัญเช่นกันหากระดับน้ำสูง 0.5–1.0 เมตร ถึงแม้ว่าจะมีน้ำท่วมเพียงระยะเวลาสั้นแค่วันเดียวก็ตาม อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับต้นยางได้ และหากน้ำท่วมถึงบริเวณรอยกรีดยางจะทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย เพราะการกรีดยางเป็นการทำให้ต้นยางเกิดแผลทางหนึ่ง เชื้อราที่เข้าทำลายบริเวณหน้ากรีดยางทำให้เกิดโรคเส้นดำหรือหน้ากรีดยางเน่า ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวเกษตรกรควรหยุดกรีดยางและทาสารเคมีเมทาแลกซิลทุกสัปดาห์ติดต่อกันจนกว่าจะหาย ในภาวะที่ฝนตกติดต่อกันหลายวันหรือน้ำท่วมขัง ทำให้ดินอ่อนตัวลงโดยเฉพาะรอบ ๆ บริเวณโคนต้นทำให้ต้นยางโค่นล้มได้ หรือในกรณีที่สวนยางโดนลมรวมทั้งพายุฝนทำให้ส่วนของกิ่งก้านยางฉีกขาดจนต้นล้ม ซึ่งมีทั้งล้มเป็นบางต้นและล้มเป็นแถบเหมือนโดมิโน หากสวนยางของเกษตรกรอยู่ตรงบริเวณช่องลมพัดผ่านเข้าเป็นประจำทุก 5–10 ปี ควรหลีกเลี่ยงการปลูกยางและเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น เช่น พืชไร่ที่อายุสั้น หรือพืชที่ทนต่อลม แต่ถ้ายางล้มเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งไม่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน ให้ถือว่าเป็นภัยธรรมชาติยากที่จะหลีกเลี่ยงได้

แนวทางแก้ไขต้นยางที่ได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วม เกษตรกรต้องเร่งสำรวจสภาพทั่วไปของสวนยาง หากต้นยางได้รับความเสียหายมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของสวน เช่น ปลูกต้นยางไร่ละ 76 ต้น หากเสียหาย 50 เปอร์เซ็นต์ จะมีต้นยางคงเหลืออยู่ 38 ต้นต่อไร่ หรือกรณีที่มีสวนยาง 10 ไร่ มีต้นยางคงเหลือเพียง 380 ต้น เกษตรกรต้องพิจารณาว่าต้นยางที่เหลือรอดอยู่นั้น อยู่ติดกันหรือกระจายตัวไปทั้งแปลงยาง ที่ต้องพิจารณาเช่นนี้ เนื่องจากมีผลต่อการปฏิบัติดูแลรักษา ไม่ว่าจะเป็นการกำจัดวัชพืช หรือการกรีดยางในอนาคต เพราะคนกรีดต้องเดินไกลกว่าจะได้กรีดยางต้นหนึ่ง นอกจากนั้น ต้นยางที่อยู่ระหว่างต้นที่ว่างอยู่มีโอกาสล้มได้ง่าย เพราะต้นยางที่ติดกับหลุมว่างจะมีทรงพุ่มขนาดใหญ่ หนา และหนักทำให้โค่นล้มได้ง่ายเพียงแต่ดินอ่อนตัวเนื่องจากฝนตกติดต่อกันหรือมีพายุเพียงเบา ๆ เพราะโดยทั่วไปแล้วต้นยางบริเวณใกล้เคียงจะช่วยเป็นแนวบังลมให้กันและกัน..

อ้างอิง : http://www.dailynews.co.th

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 10735 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [Agri live update]:
คาราวานส้มสีทอง GI น่าน สู่ห้างสรรพสินค้า TOP Supermarket
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก) ร่วมกับ หน่วยงานภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดแถลงข่าวส้มสีทอง GI น่าน..
อ่านแล้ว: 6512
เปิดปฏิบัติการ แผนแก้จน คลังผนึกพาณิชย์-แรงงาน-เอกชน ระดมกำลังสร้างอาชีพ-เพิ่มรายได้
คนจนหมดประเทศ! กลายเป็นวลีที่ถูกค้นหา และพูดถึงกันมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะคำนี้ถูกตีความมาจากคำกล่าวของ..
อ่านแล้ว: 6571
อึ้ง! พบสารเคมีตกค้าง เกินมาตรฐานในผัก-ผลไม้
อึ้ง!! พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน 64% ถั่วฝักยาว คะน้า ใบบัวบก กะเพรา พริกแดง องุ่น แก้วมังกร
อ่านแล้ว: 6532
ค้านทำเหมืองหินชัยภูมิ ยื่นศูนย์ดำรงธรรมช่วย
คัดค้านขอใช้ประโยชน์พื้นที่ทำเหมืองแร่หินก่อสร้าง ของบริษัท พารุ่งฯ หลังคณะกรรมการตรวจสอบไฟเขียว ส่งให้กรมป่าไม้พิจารณา
อ่านแล้ว: 7786
ครม.ไฟเขียว งบปลูกพืชแทนข้าว 2 โครงการ 488ล.
ครม.อนุมัติ 488 ล้าน หนุนลดพื้นที่ปลูกข้าว 2 โครงการ หันไปปลูกพืชหลากหลาย ปลูกพืชปุ๋ยสด
อ่านแล้ว: 6177
พบ หนอนตัวแบนนิวกินี ทุกภาคทั่วไทย แนะควรทำลายป้องกันการระบาด
นักวิชาการเผยพบ หนอนตัวแบนนิวกินี ในพื้นที่ทุกภาคทั่วประเทศแล้ว แนะควรทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการระบาด
อ่านแล้ว: 6334
ส.ป.ก. เตรียมแจกที่ดินยึดคืน แก่เกษตรกรเพิ่มอีก 5จ. กว่าหมื่นไร่

อ่านแล้ว: 5614
หมวด Agri live update ทั้งหมด >>