data-ad-format="autorelaxed">
อุตสาหกรรมยางพารา เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมายาวนาน มีบทบาทสำคัญต่อเกษตรกรชาวสวนยางกว่า 1 ล้านครอบครัว มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้นกว่า 16.89 ล้านไร่ และยังถือว่ายางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ และทุกส่วนของต้นยางพารา สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่างๆ จำนวนมากที่เกี่ยวข้องและจำเป็นกับชีวิตประจำวัน เช่น ยางรถยนต์ อุปกรณ์ที่ใช้ทางการแพทย์ อุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง ฯลฯ
ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพการผลิตยางพาราของไทยว่า ปัจจุบันแม้ไทยจะเป็นประเทศผู้ผลิตยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมีปริมาณการผลิตถึง 3.25 ล้านตัน แต่ส่วนใหญ่ยังคงส่งออกในรูปของยางแปรรูปขั้นต้น อาทิ น้ำยางดิบ และยางแผ่นรมควันเท่านั้น ซึ่งหากเพิ่มการใช้ยางธรรมชาติมาผลิตเป็นนผลิตภัณฑ์ยางขั้นกลางและ ขั้นปลายมากขึ้น จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก
“กรณีการส่งออกยางรถยนต์ หากเปรียบเทียบกับมูลค่าการส่งออกวัตถุดิบยาง จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ 10 เท่า หรือ การส่งออกในรูปแบบของสายยางยืดจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ถึง 20 เท่า เป็นต้น ขณะที่ความต้องการยางในตลาดโลกทั้งที่เกี่ยวกับธุรกิจการแพทย์ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร และบริการ ล้วนมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เป็นโอกาสของอุตสาหกรรมยางของไทย โดยอาศัยความได้เปรียบในฐานะประเทศผู้ผลิตวัตถุดิบ”
ส่วนความคืบหน้าในการจัดตั้งสถาบันพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “ขณะนี้ ทางกระทรวงฯ เตรียมเสนอของบประมาณเบื้องต้น 10 ล้านบาท เพื่อดำเนินการจัดตั้งสถาบันฯ เพื่อใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมยางและ ผลิตภัณฑ์ยางของไทย ให้เกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราอย่าง ‘ครบวงจร’ ตั้งแต่วิธีการกรีดยาง ไปจนถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม และกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางสำเร็จรูป
สถาบันพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา ถือเป็นอีกความพยายามหนึ่งของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องการเห็นประเทศ ไทยในฐานะผู้ผลิตและส่งออกยางพาราที่ใหญ่ที่สุดของโลก สามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางและเป็นผู้กำหนดราคายางในตลาดโลกได้ เอง แต่เรื่องดังกล่าวต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันยางทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างครบ วงจรต่อไป
การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางนั้น มีด้วยกัน 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การให้ความสำคัญกับทักษะฝีมือแรงงาน อีกส่วนคือ การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น โครงการพัฒนาเตาอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นอีกโครงการหนึ่งที่กระทรวงอุตสาหกรรมให้การสนับสนุน เพื่อจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ยางแผ่นรมควันได้มากขึ้น โดย
โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือกับโครงการ iTAP สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
เบื้องต้นได้ดำเนินการนำร่องในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (สุราษฏร์ธานี,ชุมพร,นครศรีธรรมราช และพัทลุง ) ตั้งแต่ปี 2551 ต่อมาในปีงบประมาณ 2553-2555 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณอีกกว่า 11 ล้านบาท เพื่อดำเนินการขยายผลในการสร้างเตาอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัด พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม จำนวน 32 เตา ภายในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เตาที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้สามารถลดต้นทุนไม้ฟืนลงได้มากกว่า 40% , ระยะเวลาในการอบยางสั้นลงจาก 4 วันเหลือ 3 วัน , ปริมาณยางเสียลดลง 100% ที่สำคัญ ยังรักษาสิ่งแวดล้อม โดยสามารถดึงควันกลับเข้าไปใช้ได้อีก ทำให้ยางมีคุณภาพ ส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น
ดังนั้น ในการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพาราเบื้องต้น คือ โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตั้งแต่การจัดฝึกอบรม เพื่อพัฒนาด้านทักษะเกี่ยวกับยางและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยการฝึกอบรมในช่วงเริ่มต้นจะเน้นให้ความรู้แก่เกษตรกรและผู้ ประกอบการได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มขึ้น โดยการเข้าไปให้ความรู้ในเรื่องของการพัฒนาเตาอบยางแผ่นรมควันฯ เป็นอันดับต้นๆ
ในส่วนของการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางนั้น ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “ขณะนี้กระทรวงฯเตรียมดึงผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางจากต่างประเทศ เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทย โดยทางคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ กำลังดำเนินการอยู่ แต่ทั้งนี้เชื่อว่า นโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการปรับเพิ่มอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาทนั้น จะไม่เป็นอุปสรรค์ต่อการเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ยางสำเร็จ รูปในประเทศ เพราะไทยมีพื้นที่เพาะปลูกยางพาราอยู่เกือบทุกภาค จึงไม่มีปัญหาเรื่องของวัตถุดิบที่จะป้อนให้กับโรงงาน”
ดร.วิฑูรย์ ยอมรับว่า ต่อไปไทยคงไม่สามารถยึดแรงงานราคาถูกมาเป็นข้อได้เปรียบในการแข่ง ขัน แต่การปรับควรพิจารณาในเชิงพื้นที่และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ฉะนั้น หากแรงงานมีทักษะการทำงานที่มีประสิทธิภาพก็จะส่งผลให้การผลิตมี คุณภาพเพิ่มขึ้น เรื่องของค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้นจึงไม่น่ามีปัญหา ดังนั้น ทางกระทรวงฯ จะต้องเน้นเรื่องกิจกรรมการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะให้กับแรงงานมาก ขึ้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะดำเนินการภายใต้สถาบันการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางและ ไม้ยางพาราเป็นหลัก
“ทุกวันนี้ ประเทศอื่นมีการพัฒนากันไปมาก ประเทศไทยเองต้องเร่งปรับตัวและพัฒนากระบวนการผลิตจากวิธีการเดิมๆ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลในการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างครบวงจร สิ่งเหล่านี้ถือเป็นหัวใจที่ผู้ประกอบการไทยต้องให้ความสำคัญ เพื่อก้าวสู่ระดับสากลต่อไป ” ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวทิ้งท้าย
อ้างอิง :
http://board.bungkan.com/data/10/0051-1.html
http://www.econ.mju.ac.th/econroom/?p=1646