data-ad-format="autorelaxed">
ราคาน้ำมันเบนซินที่ลดลงตามมาตรการของรัฐบาล สร้างความวิตกกังวลให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง เกรงว่าผลผลิตจะราคาตกลง เพราะโรงงานผลิตเอทานอลและไบโอดีเซล
เกษตรกรหมู่บ้านโป่งแมลงวัน หมู่ที่ 5 ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา ซึ่งเดิมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก เนื้อที่กว่า 4,000 ไร่ จากเกษตรกรทั้งหมดกว่า 100 ราย แต่หลังรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทน เพื่อนำไปผลิตเป็นส่วนผสมเชื้อเพลิง เช่น เอทานอล รวมไปถึงไบโอดีเซล ส่งผลให้สำปะหลังภายในประเทศราคาขยับขึ้นกว่ากิโลกรัมละ 3 บาท จากเดิมที่อยู่ที่กิโลกรัมละ 1.50 - 2 บาท ทำให้ชาวบ้านโป่งแมลงวันกว่าครึ่งตัดสินใจหันมาปลูกมันสำปะหลัง
เกษตรกรรายหนึ่ง บอกว่า ตัดสินใจเลิกปลูกข้าวโพด มาปลูกมันสำปะหลังเป็นปีแรก เนื่องจากได้ราคาดีและมีบางช่วงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 4 บาท แต่หลังรัฐบาลประกาศลดราคาน้ำมันเบนซินลง ทำให้ราคาลดลงมาใกล้เคียงกับแก๊สโซฮอลล์ ที่เป็นผลผลิตจากมันสำปะหลัง ส่งผลถึงยอดจำหน่ายแก๊สโซฮอลล์ลดลงอย่างรวดเร็ว พวกเขาจึงเริ่มกังวลว่า โรงงานที่จะรับซื้อมันสำปะหลัง ไปผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์ อาจเลิกกิจการหรือลดการสั่งซื้อผลผลิตจากเกษตรกรไปด้วย
เกษตรกรไร่มันสำปะหลัง ยังบอกด้วยว่า อยากเห็นนโยบายด้านการส่งเสริมพืชพลังงานทดแทนของรัฐบาล ออกมาเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะมาตรการแทรกแซงราคามันสำปะหลัง ไม่ว่าจะเป็นโครงการรับจำนำหรือการประกันราคา โดยอยากให้ราคา ตรึงอยู่ที่กิโลกรัมละ 3 บาทให้ได้ สำหรับจังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีการปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดของประเทศ มีพื้นที่การเพาะปลูก มากกว่า 2 ล้านไร่ และจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากกว่า 7 ล้านตันต่อปี
โดยผลผลิตดังกล่าวเดิมที จะถูกนำไปผลิตเป็นมันเส้นและแป้งมันสำปะหลัง เพื่อใช้ในการส่งออกและใช้ภายในประเทศทั้งหมด แต่หลังมีการส่งเสริมการใช้พืชพลังงานทดแทน มาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ผลผลิตมันสำปะหลังจึงมีส่วนแบ่งทางการตลาด เพื่อนำไปใช้ผลผลิตเป็นเอทาน่อล ซึ่งเป็นส่วนผสมของแก๊สโซฮอลล์ รวมถึงการผลิตไปโอดีเซลมากถึงร้อยละ 10 และกำลังมีแนวโน้มว่า ส่วนแบ่งการตลาดจะสูงขึ้นเรื่อย
อ้างอิง : http://www.springnewstv.tv/th/news/4-9094.html