ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: Agri live update | อ่านแล้ว 5424 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ปิดตำนานตลาดเอเฟท ก้าวสู่ ทีเฟกซ์ ไม่เวิร์กจริงหรือ?

ปิดตำนานตลาดเอเฟท ก้าวสู่ ทีเฟกซ์ ไม่เวิร์กจริงหรือ?

ทีเฟกซ์ - ปัญหาการควบรวม 2 ตลาดล่วงหน้า ระหว่างตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า AFET กับบริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า TFEX

data-ad-format="autorelaxed">

ทีเฟกซ์ 

กำลังเป็นกระแส “ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์” สำหรับปัญหาการควบรวม 2 ตลาดล่วงหน้า ระหว่างตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือAFET (เอเฟท) กับบริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TFEX (ทีเฟกต์)ให้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งหากเปรียบกับสุภาษิตไทย ๆ คงเข้ากับคำว่า “ก้นหม้อข้าวยังไม่ทันดำ” เพราะแค่ทดลองควบรวมก็มีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย และอาจจะกลายเป็นมหากาพย์อีกเรื่องหนึ่ง ที่ยังไม่รู้ตอนจบ

 

พลิกปูมก่อนควบรวม

ย้อนไปเมื่อปลายปี 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายรวมศูนย์การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าของประเทศไทย ขณะนั้นมี 2 ตลาด คือ ตลาดเอเฟทซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และตลาดทีเฟ็กซ์ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในสินค้าทั่วไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยทั้ง 2 ตลาดมีขั้นตอนการซื้อขายที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงเห็นสมควรให้มีการซื้อขายล่วงหน้าภายใต้กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพียงตลาดเดียว อันจะเกิดผลดีต่อประเทศในด้านการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) และเป็นการให้ความสะดวกแก่ผู้ซื้อ-ผู้ขายที่สามารถทำธุรกรรมได้ในตลาดเดียว อันจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าในประเทศไทยให้เกิดความสามารถเชิงแข่งขัน กับตลาดซื้อขายล่วงหน้าอื่นในภูมิภาคได้

 

จากนโยบายของผู้นำประเทศข้างต้น หน่วยงานต่าง ๆ ได้เดินหน้าปฏิบัติตามนโยบาย โดยฝ่ายกระทรวงการคลัง และตลาดหลักทรัพย์ฯได้ดำเนินการเปิดรับบริษัทนายหน้า (โบรกเกอร์) เดิมในตลาดเอเฟท เข้าเป็นสมาชิกทีเฟ็กซ์ รวมถึงแก้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องตามนโยบาย ส่วนกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลตลาดเอเฟทมาตั้งแต่ปี 2542 รวมระยะเวลา 16 ปีเศษ ก็ไม่ขัดข้องกับการควบรวมในครั้งนี้ แต่กล่าวย้ำเพียงว่า การซื้อขายสินค้าเกษตรในตลาดทีเฟ็กซ์ จะต้องดำรงเจตนารมณ์ของการจัดตั้งเอเฟท คือเป็นศูนย์กลางการซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรของไทย เป็นกลไกในการลดความเสี่ยง ความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรต่อไป และในส่วนของผู้ประกอบการที่ดูเหมือนในตอนแรกจะเห็นคล้อยตามกับการควบรวมจะเกิดผลดีต่อภาพรวมและเป็นการยกระดับตลาดยางพาราล่วงหน้าของไทยเทียบเท่าสิงคโปร์และญี่ปุ่น แต่ปรากฏว่าทุกอย่างไม่เป็นดังฝัน

 

3 ตัวบ่งชี้ความล้มเหลว

แหล่งข่าวจากโบรกเกอร์รายใหญ่ในตลาดเอเฟท ให้สัมภาษณ์กับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า นับตั้งแต่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้มีการเปิดซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดทีเฟ็กซ์ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นมาควบคู่กับการซื้อขายแบบคู่ขนานกับตลาดเอเฟท ที่ผ่านมาทางโบรกเกอร์ตลาดเอเฟทไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เพราะมีผลทำให้ต้นทุนการบริหารจัดการสูงขึ้น การแข่งขันกับนายหน้าเดิมในตลาดทีเฟ็กซ์ ที่มีผู้ประกอบการจำนวน 42 รายเป็นไปได้ยากเนื่องจากขนาดของธุรกิจต่างกันมาก ที่สำคัญช่วงที่มีสัญญาคงค้างมากกว่า 2 พันสัญญาได้เสนอการย้ายสถานะถือคงค้างจากเอเฟทข้ามไปทำการซื้อขายต่อโดยอัตโนมัติที่ทีเฟ็กซ์เลย แต่ ก.ล.ต.ไม่เห็นด้วยและไม่ยินยอมกับวิธีดังกล่าว จึงทำให้ขาดความต่อเนื่อง นับว่าเป็นความล้มเหลวในการควบรวม ซึ่งมี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1. ไม่มีการซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดทีเฟ็กซ์เลย 2.ผู้ประกอบการนักลงทุนไม่เข้ามาการทำการซื้อขาย และ 3.บริษัทสมาชิกเดิมในตลาดเอเฟทเหลือเพียง 2 บริษัท และมีอีก 1 บริษัทที่รอการทดสอบระบบอยู่ ผ่านมา 6 เดือนแล้วไม่แน่ใจว่าบริษัทนี้จะเข้ามาหรือไม่

 

“จุดเริ่มต้นของปัญหา ต้องมองที่ความแตกต่างหรือวัตถุประสงค์การก่อตั้ง ตลาดของเอเฟท เกิดขึ้นจากแนวความคิดเพื่อให้มีศูนย์กลางการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เป็นกลไกในการประกันความเสี่ยงของผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยมิได้ยึดถือเรื่องกำไรขาดทุนขององค์กรเป็นหลัก จะเห็นได้จากการที่สินค้าบางรายการจะไม่มีการซื้อขายเนื่องจากมีการแทรกแซงราคาในตลาดจริงของภาครัฐ แต่เอเฟทก็ยังคงต้องจัดให้มีสินค้าเหล่านั้นอยู่บนกระดานซื้อขาย อย่างน้อยก็เป็นกลไกให้เกษตรกรมีราคาอ้างอิง ลดการถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง เห็นได้จากที่ผ่านมารัฐบาลต้องใช้งบประมาณปีละ 150-200 ล้านบาทมาโดยตลอด ผ่านกระทรวงพาณิชย์ในการกำกับดูแลเอเฟท”

 

ขณะที่ทีเฟ็กซ์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะมีความแตกต่างด้วยความที่เป็นบริษัทจำกัด จึงต้องคำนึงถึงเรื่องกำไรขาดทุนในการดำเนินงานเป็นสำคัญ การพิจารณาเลือกสินค้าเข้ามาทำการซื้อขายจึงยึดโยงอยู่กับสินค้ากระแสที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นหลัก อาทิ ทองคำหรือน้ำมันดิบ เป็นต้น จะเห็นว่าสินค้าเหล่านี้มีความผันผวนราคาค่อนข้างสูง รวมถึงมีราคาอ้างอิงในตลาดโลกอยู่แล้ว ทำให้นักลงทุนสามารถเข้ามาเก็งกำไรจากความผันผวนของราคาที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นทั้ง 2 ตลาดจึงมีแนวคิดที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และมองอนาคตหากในตลาดทีเฟ็กซ์ไม่มีการซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 ในที่สุดจะถูกถอดออกจากกระดานซื้อขายในอนาคตในเร็วนี้อย่างแน่นอนเป็นไปตามกฎกติกาของ ก.ล.ต.

 

 เตรียมหารือว่าที่ปลัดพาณิชย์ใหม่

สำหรับผลกระทบประเทศไทยในฐานะเบอร์ 1 ผู้ส่งออกยางของโลก แต่กลับไม่มีราคาอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ ทำให้ต้องใช้ราคาอ้างอิงจากต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ซื้อยางพารา เช่น ตลาดโตคอม ประเทศญี่ปุ่น ตลาดเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน หรือ ตลาดไซคอม ประเทศสิงคโปร์ ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบในด้านการค้ากับประเทศอื่น ดังนั้นในวันที่ 9 กันยายนที่จะถึงนี้ ทางสมาชิกสมาคมนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าตลาดเอเฟทจะเดินทางไปแสดงความยินดีกับนางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน ว่าที่ปลัดกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ เพื่อปรึกษาถึงแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการในการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในระยะเปลี่ยนผ่าน หรือผ่อนปรนให้ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักลงทุนในตลาดเอเฟท 22 บริษัทหันกลับซื้อขายในตลาด ตลอดจนเพิ่มสินค้าใหม่ๆ เข้ามา เช่น สินค้าข้าว เป็นต้น ส่วนผลการเจรจาหลายฝ่ายไม่แน่ใจว่ากระทรวงพาณิชย์จะช่วยได้แค่ไหน เพราะตามกฎหมายตลาดเอเฟทได้มีการควบรวมและอยู่ภายใต้การบริหารของ ก.ล.ต. เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นต้องติดตามตอนต่อไปว่าจะจบลงอย่างไร

 

source: thansettakij.com/2016/09/08/94947


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5424 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [Agri live update]:
คาราวานส้มสีทอง GI น่าน สู่ห้างสรรพสินค้า TOP Supermarket
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก) ร่วมกับ หน่วยงานภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดแถลงข่าวส้มสีทอง GI น่าน..
อ่านแล้ว: 6512
เปิดปฏิบัติการ แผนแก้จน คลังผนึกพาณิชย์-แรงงาน-เอกชน ระดมกำลังสร้างอาชีพ-เพิ่มรายได้
คนจนหมดประเทศ! กลายเป็นวลีที่ถูกค้นหา และพูดถึงกันมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะคำนี้ถูกตีความมาจากคำกล่าวของ..
อ่านแล้ว: 6570
อึ้ง! พบสารเคมีตกค้าง เกินมาตรฐานในผัก-ผลไม้
อึ้ง!! พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน 64% ถั่วฝักยาว คะน้า ใบบัวบก กะเพรา พริกแดง องุ่น แก้วมังกร
อ่านแล้ว: 6532
ค้านทำเหมืองหินชัยภูมิ ยื่นศูนย์ดำรงธรรมช่วย
คัดค้านขอใช้ประโยชน์พื้นที่ทำเหมืองแร่หินก่อสร้าง ของบริษัท พารุ่งฯ หลังคณะกรรมการตรวจสอบไฟเขียว ส่งให้กรมป่าไม้พิจารณา
อ่านแล้ว: 7784
ครม.ไฟเขียว งบปลูกพืชแทนข้าว 2 โครงการ 488ล.
ครม.อนุมัติ 488 ล้าน หนุนลดพื้นที่ปลูกข้าว 2 โครงการ หันไปปลูกพืชหลากหลาย ปลูกพืชปุ๋ยสด
อ่านแล้ว: 6177
พบ หนอนตัวแบนนิวกินี ทุกภาคทั่วไทย แนะควรทำลายป้องกันการระบาด
นักวิชาการเผยพบ หนอนตัวแบนนิวกินี ในพื้นที่ทุกภาคทั่วประเทศแล้ว แนะควรทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการระบาด
อ่านแล้ว: 6333
ส.ป.ก. เตรียมแจกที่ดินยึดคืน แก่เกษตรกรเพิ่มอีก 5จ. กว่าหมื่นไร่

อ่านแล้ว: 5613
หมวด Agri live update ทั้งหมด >>