ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบน และด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- ในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค.จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร อย่างไรก็ตามฝนที่ตกยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชผัก เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นในดิน
- ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงได้ โต ผลผลิตด้อยคุณภาพ รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นในดิน - ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงได้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- ในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค.จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร ฝนที่ตกจะเป็นผลดีต่อพืชไร่และพืชผักที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต รวมทั้งช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด แต่ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนที่จะกัดกินทำให้ผลผลิตเสียหาย
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกเกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกันป้องกันน้ำแยกชั้นกันระหว่างน้ำในระดับบนและน้ำในระดับล่าง และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันตกของภาค ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- ในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค.จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร ส่วนบริเวณที่มีฝนตกน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ และคำนึงถึงการประหยัดน้ำ โดยให้น้ำเฉพาะบริเวณทรงพุ่ม หรือใช้วิธีน้ำหยด รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นในดิน
- ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงได้
- บางพื้นที่มีอากาศร้อน โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งจัดหาน้ำให้สัตว์กินอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียดทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
ในในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 3-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร
- ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก หากน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนานจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้
- สำหรับสวนผลไม้ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง และใส่ปุ๋ยบำรุงดิน เพื่อให้ต้นพื้นตัวได้เร็ว
- อนึ่ง บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรงคลื่นสูงประมาณ 2 - 4 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็ก ควรงดออกจากฝั่งตลอดช่วง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วงโดยในช่วงวันที่8-10 และ 13-14 ก.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
- ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรขุดลอกทางระบายน้ำอย่าให้ตื้นเขินน้ำไหลได้สะดวก
- ส่วนทางฝั่งตะวันออกบริเวณที่มีฝนตกเป็นผลดีต่อพืชไร่พืชผักที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
- สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน โดยเฉพาะทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8-14 ก.ค.บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงดังกล่าว
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 8-10 และ 13-14 ก.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร
- ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรขุดลอกทางระบายน้ำอย่าให้ตื้นเขินน้ำไหลได้สะดวก
- ส่วนทางฝั่งตะวันออกบริเวณที่มีฝนตกเป็นผลดีต่อพืชไร่พืชผักที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
- สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน โดยเฉพาะทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8-14 ก.ค.บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงดังกล่าว
ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา