ภาคเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในระยะฝนทิ้งช่วง
- ระยะนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
- ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เช่น ลิ้นจี่และมะม่วง เป็นต้น เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นพื้นตัวได้เร็วและมีเวลาพักตัวได้นานขึ้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในระยะฝนทิ้งช่วงในระยะต่อไป
- เนื่องจากปริมาณฝนที่ไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินใบและยอดอ่อนทำให้พืชเสียหายผลผลิตด้อยคุณภาพ
- สำหรับเกษตรกรที่เตรียมดินสำหรับปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ เกษตรกรควรเตรียมดินให้มีการระบายน้ำที่ดี และหากเป็นไปได้ควรหันหัวแปลงปลูกไปตามทิศทางลม
ภาคกลาง
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- พื้นที่ซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วง
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ในช่วงที่อากาศร้อนควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน ส่วนในช่วงที่มีฝนเกษตรกรควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยว เช่น เงาะ ทุเรียน และลองกอง เป็นต้น เกษตรกรควรรวบรวมเปลือกผลไม้และผลที่เน่าเสียไปกำจัดโดยเผาหรือฝังให้ลึกไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น เชื้อราอาจแพร่จากเปลือกและผลที่เน่าเสียไปสู่ต้นพืชได้
- ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำ อย่าให้ตื้นเขินน้ำไหลได้สะดวก เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก เป็นสาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยว เช่น เงาะ ทุเรียน และลองกอง เป็นต้น เกษตรกรควรรวบรวมเปลือกผลไม้และผลที่เน่าเสียไปกำจัดโดยเผาหรือฝังให้ลึกไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น เชื้อราอาจแพร่จากเปลือกและผลที่เน่าเสียไปสู่ต้นพืชได้
- ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำ อย่าให้ตื้นเขินน้ำไหลได้สะดวก เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก เป็นสาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 14-17 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
- ระยะนี้ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งขุดลอกคูคลองอย่าให้ตื้นเขิน น้ำไหลได้สะดวก
- เนื่องจากระยะที่ผ่านมามีฝนตกทำให้วัชพืชเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชภายในแปลงปลูก เพื่อมิให้แย่งน้ำและอาหารจากพืชที่ปลูก และไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนและพักตัวของโรคและศัตรูพืชบางชนิด
- สำหรับชาวสวนยางพาราในช่วงที่ฝนตกติดต่อกัน โดยเฉพาะทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ข้อมูลจาก
กรมอุตุนิยมวิทยา
tmd.go.th