ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: Agri live update | อ่านแล้ว 17080 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ค่าแรง 300 บาทดันเศรษฐกิจไทย

ได้เฮ! กันเสียที ...สำหรับบรรดาแรงงานทั้งไทยและต่างด้าวที่จะได้รับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ..

data-ad-format="autorelaxed">

ค่าแรง 300 บาท

ค่าแรง 300 บาทดันเศรษฐกิจไทย
ได้เฮ! กันเสียที ...สำหรับบรรดาแรงงานทั้งไทยและต่างด้าวที่จะได้รับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 56 นี้เป็นต้นไป

แม้นโยบายนี้ทำให้แรงงานได้รับอานิสงส์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะแรงงานที่เพิ่งเข้าสู่ระบบ แรงงานไร้ฝีมือ หรือแม้แต่แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านทั้ง พม่า ลาว เขมร และเวียดนาม รวมไปถึงแรงงานที่อยู่ในระบบอยู่แล้วที่มีกระแสข่าวว่านายจ้างหลายแห่งเตรียมปรับฐานค่าจ้างให้อีก 10-20% เพื่อหนีห่างแรงงานป้ายแดง เรียกได้ว่านโยบายของรัฐบาล “ปูกรรเชียง” ครั้งนี้ทำให้แรงงานถูกหวยอย่างจังเพราะมีรายได้เพิ่มขึ้นซึ่งในความเป็นจริงแล้วรายได้ที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย

53 จ.รายได้พุ่ง 70-80%

ทั้งนี้จะมีแรงงานใน 53 จังหวัดที่มีรายได้เพิ่มขึ้นสูงถึง 70-80% เช่นที่จังหวัดพะเยา จากเดิมที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำวันละ 159 บาทแต่เมื่อปรับเพิ่มเป็น 300 บาท ทำให้เพิ่มขึ้นทันที 88.7% จังหวัดศรีสะเกษ จาก 160 บาท มีรายได้เพิ่ม 87.5% จังหวัดน่าน เดิม 161 บาทเพิ่มเป็น 86.3% จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดตาก เดิม 162 บาท เพิ่ม 85.2% หรือจังหวัดพิจิตร, แพร่, อุตรดิตถ์, แม่ฮ่องสอน, พิษณุโลก, มหาสารคามและอำนาจเจริญ เดิมได้ 163 บาท ก็เท่ากับมีรายได้เพิ่ม 84%

ส่วนที่จังหวัดนครพนม เดิม 164 บาท มีรายได้เพิ่ม 82.9%, จังหวัดสุโขทัย, มุกดาหาร, หนองบัวลำภู, ลำปาง, ชัยภูมิ เดิม 165 บาท มีรายได้เพิ่ม 81.8% ขณะที่จังหวัดสกลนคร, ยโสธร, ร้อยเอ็ด, บุรีรัมย์, เชียงราย, เพชรบูรณ์, นครสวรรค์ เดิม 166 บาท มีรายได้เพิ่ม 80.7% ส่วนขอนแก่น, กาฬสินธุ์, สุพรรณบุรี, ชัยนาท เดิมได้ 167 บาท มีรายได้เพิ่ม 79.6% หรือที่กำแพงเพชร และอุทัยธานี เดิมได้ 168 บาท มีรายได้เพิ่ม 78.6% เช่นเดียวกับจังหวัดหนองคาย, ลำพูนและ ตราด เดิม 169 บาท มีรายได้เพิ่ม 77.5%

สำหรับจังหวัดปัตตานี, นครนายก เดิม 170 บาท มีรายได้เพิ่ม 76.5% จังหวัดอุดรธานี, อุบลราชธานี, นราธิวาส เดิม 171 บาท มีรายได้เพิ่ม 75.4% เป็นต้น

จับตาผลกระทบค่าจ้าง

อย่างไรก็ตามจากนี้ไปคงต้องติดตามว่านโยบายประชานิยมขนาดนี้เมื่อเต็มรูปแบบแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย!

ประเด็นแรก...หนีไม่พ้นเรื่องความเป็นอยู่ของแรงงานว่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามที่รัฐบาลโฆษณาหรือไม่ หรือกลายเป็นว่าแรงงานต้องตกงานเพราะถูกเลิกจ้างประเด็นที่สอง...ต้องติดตามว่านายจ้างบางรายจะมีการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันหรือไม่ ประเด็นที่สาม...ต้องติดตามผลกระทบต่อบรรดาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทั้งการปิดกิจการรวมถึงมาตรการของรัฐบาลสามารถบรรเทาภาระต้นทุนได้หรือไม่ประเด็นสุดท้าย...ต้องจับตาผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนจากราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้น

ต่างด้าวกลัวไม่ได้ 300 บาท

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ทำให้บรรดาแรงงานเริ่มกังวลโดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวที่กังวลว่านายจ้างไทยจะซิกแซ็กไม่ให้ค่าจ้างแรงงานพม่า 300 บาท เหมือนกับแรงงานคนไทย เพราะตอนนี้แรงงานพม่ามองว่าค่าครองชีพในไทยเพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้รายได้ที่เคยได้รับต่ำกว่ารายจ่าย หากนายจ้างไม่ขึ้นค่าจ้างให้ก็เตรียมกลับประเทศ หากเป็นเช่นนั้นจริง..รับรองได้ว่า อุตสาหกรรมไทยหลายเจ้าต้องกระอักแน่ เพราะขณะนี้สถานการณ์แรงงานอยู่ในภาวะตึงตัวมาก ขณะที่เมื่อดูตามกฎหมายแล้วแรงงานต้องได้รับค่าจ้างเท่ากันหมดไม่ว่าแรงงานไทยหรือต่างด้าว จึงไม่น่ากังวล ยกเว้นแรงงานผิดกฎหมายที่อาจถูกกดค่าแรงได้

เอสเอ็มอีเสี่ยงปิดกิจการ

ขณะที่จากนี้ไปคงต้องจับตาดูบรรดาเอสเอ็มอี ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป จะต้องปิดกิจการมากถึง 800,000-1 ล้านราย จากเอสเอ็มอีทั่วประเทศ 2.9 ล้านราย ที่ได้มีการคาดการณ์กันก่อนหน้านี้หรือไม่ หากรัฐบาลไม่ยอมเฉือนงบประมาณมาเยียวยา แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลจะมีมาตรการออกมาช่วยเหลือโดยเฉพาะเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ แต่ช่วยอะไรได้ไม่มากนักและอาจเกิดผลร้ายตามมา หากศักยภาพการแข่งขันของเอสเอ็มอีไทยลดลงเพราะรังแต่จะทำให้เป็นหนี้เพิ่มขึ้นจนสุดท้ายกลับมาทำลายธุรกิจลง ก็เป็นได้พูดง่าย ๆ เมื่อความสามารถแข่งขันไม่มีผู้ประกอบการก็ต้องปิดกิจการ สุดท้ายหนี้ที่กู้มาก็ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายได้ ในที่สุดต้องถูกฟ้องร้องถูกเช็กบิลไล่ยึดหลักทรัพย์ที่นำไปค้ำประกันไว้ ซึ่งมีการคาดการณ์กันด้วยว่าหากรัฐบาลไม่มีมาตรการเด็ดเอสเอ็มอีไทยคงมีหนี้เน่าเป็นหลักแสนล้านบาททีเดียว

ทั้งนี้มาตรการที่เอกชนเรียกร้องมากที่สุด คงหนีไม่พ้นเรื่องขอให้รัฐจัดสรรงบประมาณในการช่วยจ่ายเงินสมทบในส่วนที่เพิ่มของค่าจ้างเป็นเวลา 3 ปี ซึ่งจะช่วยรับภาระต้นทุนของเอสเอ็มอีได้ถึง 4-5% ทีเดียว ซึ่งในปี 56 รัฐบาลช่วยสมทบทุนให้ 75% นายจ้างจ่ายเพิ่ม 25% ในปี 57 รัฐบาลสมทบ 50% นายจ้างช่วยจ่าย 50% และ ในปี 58 รัฐบาลช่วยสมทบทุน 25% และนายจ้างเพิ่ม 75% และในปีต่อไป นายจ้างรับภาระทั้งหมด ซึ่งหากรายใดรับภาระไม่ได้ก็ถือว่าไม่ควรทำกิจการดังกล่าวต่อไปแล้ว

ทั้งนี้จากผลการสำรวจของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์พบว่าผู้ประกอบการ 62.3% ต้องการให้รัฐอุดหนุนค่าจ้างที่เป็นส่วนต่าง ซึ่งหากได้มาตรการนี้แล้ว รับรองว่ามาตรการอื่น ๆ ไม่มีก็ไม่เสียใจเป็นอันขาด เพราะการช่วยสมทบเงินจะช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้ 80% เลย

แต่ทั้งหมดทั้งปวงรัฐบาลก็กำลังคิดหนักเหมือนกันกับการนำเงินภาษีมาอุดหนุนส่วนต่าง เพราะใช้เงิน 50,000 ล้านบาทในช่วง 3 ปี และที่สำคัญไม่รู้ว่ารัฐบาลจะหาเงินมาจากไหนเหมือนกันในปริมาณที่มากขนาดนี้ เพราะแค่คืนภาษีรถยนต์คันแรกคงต้องใช้เงินเฉียดแสนล้านบาทเข้าไปแล้ว

เรื่องนี้คงต้องวัดใจรัฐบาลว่าในวันที่ 8 ม.ค.นี้ บรรดาครม.จะกล้าอนุมัติงบประมาณเพื่ออุดหนุนตามที่เอกชนขอมาได้หรือไม่ หากไฟเขียวก็เชื่อว่าเอสเอ็มอีทั่วประเทศคงได้เฮ! และยังมีเอสเอ็มอีวิ่งเข้ามาอยู่ในระบบอีกจำนวนมากแน่นอน ดังนั้นจึงมีการประเมินกันว่า ถ้ารัฐบาลใจกล้าจริง ผลที่ออกมาจะมีในระบบเศรษฐกิจมากกว่าการใช้เงินสุรุ่ยสุร่ายกับการคืนภาษีรถยนต์คันแรกหลายเท่าตัว

มาตรการอื่นแค่พื้น ๆ

ส่วนมาตรการอื่น ที่รัฐนำมาช่วยเหลือเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ประเมินว่าเป็นเรื่องพื้น ๆ ทั้งเรื่องการลดเงินประกันสังคมในส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง ที่มีผู้ประกอบการกดไลค์เพียง 13.8% , มาตรการปรับปรุงอัตราการเก็บเงินสมทบสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม 10.4% การนำส่วนต่างค่าจ้างมาหักค่าใช้จ่ายก่อนเสียภาษี 9%

ขณะที่มาตรการการลดภาษีนิติบุคคล พบว่าผู้ประกอบการเห็นด้วย เพียง 3.2% เท่านั้นซึ่งดูแล้วเรื่องนี้เอสเอ็มอีไม่ค่อยสนเพราะส่วนใหญ่กำไรแทบไม่มี แต่รายใหญ่หรือบริษัททุนข้ามชาติยอมไม่ได้เพราะรับอานิสงส์เต็ม ๆ เนื่องจากเดิมกลุ่มนี้ให้ค่าจ้างเกิน 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว

ด้านมาตรการอื่น ไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจสักเท่าไหร่ เช่น มาตรการในการนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานตาม พ.ร.บ.พัฒนาฝีมือแรงงาน มาหักภาษีได้, มาตรการกู้ยืมเงินจากกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำที่ 0.1%, มาตรการสินเชื่อเพื่อการส่งเสริมการจ้างงาน สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน และเสริมสภาพคล่องกิจการ, มาตรการสินเชื่อเพื่อพัฒนาผลิตภาพด้านการผลิต, มาตรการค้ำประกันสินเชื่อรวม, มาตรการยกเว้นภาษีนิติบุคคล กรณีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นต้น

เพิ่มค่าจ้างกันซบรายใหญ่

อีกประเด็นหนึ่งที่เอกชนกังวลคือแรงงานฝีมือที่มีอยู่และแรงงานคนเก่าคนแก่ที่ทำงานมานาน เพราะกลุ่มนี้มีความสำคัญมากกว่าแรงงานใหม่ในการขับเคลื่อนการทำงานของโรงงาน ซึ่งมีอยู่นับล้านคนเช่นกัน

เบื้องต้น...บางโรงงานได้ปรับฐานค่าจ้าง 15-20% แก่แรงงานระดับหัวหน้างาน ช่างฝีมือ และกลุ่มทำงานมานาน เพื่อให้ฐานรายได้ของกลุ่มนี้ห่างจากแรงงานระดับล่าง หลังจากที่นโยบายปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ

หากไม่ปรับค่าจ้างกลุ่มนี้ก็ทำให้แรงงานไร้ฝีมือ และเด็กใหม่มีค่าจ้างใกล้เคียงกับแรงงานฝีมือหรือคนที่ทำงานมานานแล้ว สุดท้ายจะเกิดความปั่นป่วนในองค์กร และในที่สุดเชื่อว่าแรงงานที่เก่ง ๆ คงย้ายไปซบกับอุตสาหกรรมที่ให้ค่าจ้างสูง ๆ โดยเฉพาะบริษัททุนข้ามชาติ อย่างบรรดาค่ายรถยนต์ที่ให้ค่าจ้างสูงแถมยังแจกโบนัสบานฤทัย

โพลห่วงดันค่าครองชีพพุ่ง

ในเมื่อบรรดาเจ้าสัวต่างควักกระเป๋าเพิ่มในการจ่ายค่าจ้าง ซึ่งคาดว่าเงินที่จ่ายเพิ่มน่าจะเฉลี่ยปีละ 60,000-70,000 ล้านบาท หรือจะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าในภาพรวมเพิ่ม 5-10% ดังนั้นผลที่ตามมาคงหนีไม่พ้นผู้ผลิตสินค้าในบางประเภทจำเป็นต้องปรับราคาเพิ่มอีก 5-10% เช่นกัน ยกเว้นสินค้าที่มีการแข่งขันสูง เพราะหากมีการปรับราคาอาจทำให้เสียเปรียบคู่แข่งได้

ทั้งนี้การที่สินค้ามีการปรับราคาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าตามตลาดนัด สินค้าตามตลาดสด สินค้าตามตลาดริมถนน ยันสินค้าตามห้างสรรพสินค้า มีการประเมินว่าจะทำให้ค่าครองชีพของชาวบ้านเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอีกวันละ 15-20 บาทต่อวัน

เป็นการประเมินที่สอดคล้องกับผลสำรวจความรู้สึกของประชาชน ที่ “นิด้าโพล” ได้ระบุไว้ก่อนหน้านี้ว่าสิ่งที่ประชาชนกังวลมากที่สุดคือราคาสินค้าจะปรับเพิ่มขึ้นตามค่าแรง รวมไปถึงกังวลว่านายจ้างอาจเลิกจ้างแรงงานไทยและหันไปใช้แรงงานต่างด้าวแทน รวมทั้งกังวลว่าจะไม่ทำให้เกิดการออมเพิ่มขึ้น

คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำก้าวกระโดดของรัฐบาลจะทำให้เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศไทยไปในทิศทางใด หากไปโลดรับรองว่าเสียงชื่นชมดังกระหึ่มแน่ แต่หากเศรษฐกิจลงเหว และเอสเอ็มอีของคนไทยตายหมู่ ก็ต้องบอกว่ารัฐบาลก็คงรอดยากเช่นกัน!.

อ้างอิง:www.dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 17080 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [Agri live update]:
คาราวานส้มสีทอง GI น่าน สู่ห้างสรรพสินค้า TOP Supermarket
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก) ร่วมกับ หน่วยงานภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดแถลงข่าวส้มสีทอง GI น่าน..
อ่านแล้ว: 6512
เปิดปฏิบัติการ แผนแก้จน คลังผนึกพาณิชย์-แรงงาน-เอกชน ระดมกำลังสร้างอาชีพ-เพิ่มรายได้
คนจนหมดประเทศ! กลายเป็นวลีที่ถูกค้นหา และพูดถึงกันมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะคำนี้ถูกตีความมาจากคำกล่าวของ..
อ่านแล้ว: 6571
อึ้ง! พบสารเคมีตกค้าง เกินมาตรฐานในผัก-ผลไม้
อึ้ง!! พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน 64% ถั่วฝักยาว คะน้า ใบบัวบก กะเพรา พริกแดง องุ่น แก้วมังกร
อ่านแล้ว: 6532
ค้านทำเหมืองหินชัยภูมิ ยื่นศูนย์ดำรงธรรมช่วย
คัดค้านขอใช้ประโยชน์พื้นที่ทำเหมืองแร่หินก่อสร้าง ของบริษัท พารุ่งฯ หลังคณะกรรมการตรวจสอบไฟเขียว ส่งให้กรมป่าไม้พิจารณา
อ่านแล้ว: 7786
ครม.ไฟเขียว งบปลูกพืชแทนข้าว 2 โครงการ 488ล.
ครม.อนุมัติ 488 ล้าน หนุนลดพื้นที่ปลูกข้าว 2 โครงการ หันไปปลูกพืชหลากหลาย ปลูกพืชปุ๋ยสด
อ่านแล้ว: 6177
พบ หนอนตัวแบนนิวกินี ทุกภาคทั่วไทย แนะควรทำลายป้องกันการระบาด
นักวิชาการเผยพบ หนอนตัวแบนนิวกินี ในพื้นที่ทุกภาคทั่วประเทศแล้ว แนะควรทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการระบาด
อ่านแล้ว: 6334
ส.ป.ก. เตรียมแจกที่ดินยึดคืน แก่เกษตรกรเพิ่มอีก 5จ. กว่าหมื่นไร่

อ่านแล้ว: 5614
หมวด Agri live update ทั้งหมด >>