ยกเลิกผลิต-นำเข้าสารกำจัดศัตรูพืช 4 ชนิด
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก-กลุ่มผู้บริโภค จี้กรมวิชาการเกษตร ยกเลิกการผลิต นำเข้า และจำหน่ายสารเคมีกำจัดศัตรูพืช..
data-ad-format="autorelaxed">
จี้กรมวิชาการเกษตร ยกเลิกผลิต-นำเข้าสารกำจัดศัตรูพืช 4 ชนิด เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก-กลุ่มผู้บริโภค จี้กรมวิชาการเกษตร ยกเลิกการผลิต นำเข้า และจำหน่ายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรง 4 ชนิด คือคาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และอีพีเอ็นโดยทันที คุ้มครองสุขภาพเกษตรกรได้รับพิษจากสารเคมี...
เมื่อวันที่ 14 ส.ค. จากการที่เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ประเทศไทย และกลุ่มผู้บริโภค ได้ตรวจสอบผักที่เป็นที่นิยมสำหรับการบริโภคของประชาชนจำนวน 7 ชนิด ว่ามีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานถึง 40% ไม่ว่าจะเป็นผักที่ขายอยู่ในห้างขนาดใหญ่ ตลาดสดทั่วไป ตลอดจนรถเร่ โดยในจำนวนนั้นเป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชร้ายแรง 4 ชนิด ที่หลายประเทศทั่วโลกห้ามใช้แล้วรวมอยู่ด้วยนั้น ล่าสุด เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ประเทศไทย และกลุ่มผู้บริโภคได้เรียกร้องให้กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการเพื่อมิให้มีการผลิต นำเข้า และจำหน่ายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรง 4 ชนิด คือคาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และอีพีเอ็นโดยทันที
นายนพดล มั่นศักดิ์ ตัวแทนเครือข่ายโรงเรียนชาวนาจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า ทางบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายสารเคมี 4 ชนิดดังกล่าว และกรมวิชาการเกษตรพยายามออกมาแก้ต่างว่าการที่มีการตกค้างปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักที่เรากินกันทุกวัน อย่างที่ตรวจพบล่าสุดนั้นว่า เป็นเพราะเกษตรกรใช้ผิดวิธี เป็นการปัดความรับผิดชอบอย่างน่าละอาย ขณะที่หน่วยงานที่รับผิดชอบปล่อยให้มีการขายสารเคมีอันตรายอย่างไม่มีการควบคุม บริษัทก็ส่งเสริมการขายแบบครึกโครมไม่มีข้อจำกัดใดๆ พอมีเรื่องขึ้นมาก็มาโทษเกษตรกรแต่เพียงผู้เดียว ทั้งที่การจะควบคุมสารเคมีอันตรายในอาหารที่ได้ผลที่สุดคือการควบคุมที่ต้นทาง ตัวไหนเป็นอันตรายร้ายแรงมากๆ มีการใช้อย่างกว้างขวาง ควรยกเลิกหรือห้ามไม่ให้มีการใช้
นายอุบล อยู่หว้า ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน กล่าวว่า ผู้บริหารบางคนในกระทรวงเกษตรฯ และบรรษัทสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ร่ำรวยจากการค้าสารพิษโยนบาปให้แก่เกษตรกรว่าเป็นจำเลยของปัญหานี้ แต่กลุ่มคนเหล่านี้กลับไม่เคยแสดงความรับผิดชอบอย่างที่ควรจะเป็น ทางเครือข่ายจะจับตา และติดตามกระบวนการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชครั้งนี้อย่างใกล้ชิด หากกรมวิชาการเกษตรยังคงยืนยันให้มีการขึ้นทะเบียน หรือมิได้มีการดำเนินการให้มีการประกาศห้ามใช้สารพิษ 4 ชนิดข้างต้น เครือข่ายผู้บริโภคและเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกทั่วประเทศจะเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ เพื่อเปิดโปงให้สาธารณชนรับทราบความจริง และดำเนินการยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบทรัพย์สิน และการทุจริตของข้าราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกประเทศไทย ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อกรมวิชาการเกษตร โดยมีข้อความในหนังสือดังกล่าวว่า เครือข่ายผู้บริโภค และเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกซึ่งมีตัวแทนมาจากทุกภาคของประเทศ ขอเรียกร้องให้กรมวิชาการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อการรับขึ้นทะเบียน และเป็นผู้รับผิดชอบหลักต่อการนำเสนอต่อคณะกรรมการวัตถุอันตรายให้ห้ามผลิต นำเข้า และจำหน่ายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายร้ายแรง ดำเนินการเพื่อมิให้มีการผลิต นำเข้า และจำหน่ายสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 4 ชนิด คือ คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และอีพีเอ็นโดยทันที เพื่อคุ้มครองสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคที่ได้รับพิษภัยจากสารเคมีดังกล่าว
"ขณะนี้สถานการณ์ปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยอยู่ในขั้นเลวร้ายเกินจะยอมรับได้แล้ว ดังผลการตรวจสอบผักของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่พบว่าผักซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับการบริโภคของประชาชนจำนวน 7 ชนิด มีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานถึง 40% ไม่ว่าจะเป็นผักที่ขายอยู่ในห้างขนาดใหญ่ ตลาดสดทั่วไป ตลอดจนรถเร่ โดยในจำนวนนั้นเป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชร้ายแรง 4 ชนิด ที่หลายประเทศทั่วโลกห้ามใช้แล้วรวมอยู่ด้วย นี่แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคทุกกลุ่มกำลังตายผ่อนส่งจากปัญหาการควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเกษตรกรทั่วประเทศ ซึ่งผู้ผลิตก็มีชะตากรรมไม่แตกต่างกัน เพราะผลการตรวจเลือดของกระทรวงสาธารณสุขล่าสุดเผยให้เห็นว่าเกษตรกรไทย ประมาณ 40% มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือดในระดับที่เสี่ยงและไม่ปลอดภัย นี่คือมูลเหตุสำคัญของคนที่ญาติพี่น้องและเพื่อนรอบข้างของเราต้องตายและทุกข์ทรมานด้วยโรคมะเร็ง โดยไม่นับโรคและปัญหาอื่นๆ ที่เกิดจากสารพิษเหล่านี้" นายอุบล กล่าว
ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรฯ อีสาน กล่าวอีกว่า ผู้บริหารบางคนในกระทรวงเกษตรฯ และบรรษัทสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ร่ำรวยจากการค้าสารพิษโยนบาปให้แก่เกษตรกรว่าเป็นจำเลยของปัญหานี้ แต่กลุ่มคนเหล่านี้กลับไม่เคยแสดงความรับผิดชอบอย่างที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออำนาจตัดสินใจในการยื่นขอทะเบียนอนุมัติให้มีการขึ้นทะเบียน และกำหนดให้ยกเลิกการใช้อยู่ในมือของตน หาใช่เกษตรกรและผู้บริโภคไม่มีเหตุผลใดๆ ที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะประธานคณะทำงานการขึ้นทะเบียน และผู้รับผิดชอบหลักในการเสนอให้มีการห้ามใช้สารพิษอันตรายร้ายแรงยังคง อนุญาตให้มีการแพร่กระจายสารพิษร้ายแรง 4 ชนิดดังกล่าวในประเทศไทย
ทั้งนี้ ไดโครโตฟอส และอีพีเอ็น ถูกห้ามใช้แล้วในหลายประเทศทั่วโลก เมโทมิลของบริษัทดูปองท์ถูกห้ามใช้แล้วในยุโรปหลายประเทศ รวมทั้งคาร์โบฟูรานของบริษัทเอฟเอ็มซีที่ถูกห้ามใช้ในสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ แล้ว เพราะเป็นอันตรายเกินกว่าจะยอมรับได้ หากกรมวิชาการเกษตรยังคงยืนยันให้มีการขึ้นทะเบียน หรือมิได้มีการดำเนินการให้มีการประกาศห้ามใช้สารพิษ 4 ชนิดข้างต้น เครือข่ายผู้บริโภคและเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกทั่วประเทศจะเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ เพื่อเปิดโปงให้สาธารณชนรับทราบความจริง ดำเนินการฟ้องร้องต่อศาล ตรวจสอบบุคคลที่เกี่ยวข้องในกรณีที่มีการกระทำส่อไปในทางทุจริต รวมถึงการรณรงค์สาธารณะเพื่อต่อต้านสินค้าของบริษัทที่แสวงหาผลประโยชน์จากชีวิตของประชาชนอย่างปราศจากจริยธรรมต่อไป.
อ้างอิง:www.thairath.co.th
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 9970 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,