ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่อ้อย | อ่านแล้ว 28418 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การป้องกันกำจัดหนอนกออ้อย

วันนี้ครับ ฟาร์มเกษตรได้นำเอาความรู้การป้องกันกำจัดหนอนกออ้อย หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีขาว และหนอนกอสีชมพู อื่นๆ มาฝาก.

data-ad-format="autorelaxed">

หนอนกอลายจุดเล็ก
หนอนกอสีขาว

การป้องกันกำจัดหนอนกออ้อย- การเข้าทำลาย
หนอนกออ้อย
มี 5 ชนิด พบหนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีขาว และหนอนกอสีชมพู อยู่คละกันและเข้าทำลายอ้อยในระยะแตกกอ สำหรับหนอนกอลายจุดใหญ่ พบระบาดรุนแรงมากในระยะอ้อยเป็นลำ ส่วนหนอนกอลายใหญ่ พบปริมาณน้อยในทุกระยะการเจริญเติบโตของอ้อย ในแหล่งที่มีการระบาดของหนอนกออ้อยอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกรต้องสำรวจการทำลายของแมลงชนิดนี้อย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก

การเตรียมท่อนพันธุ์

1. หลีกเลี่ยงการใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีการระบาดของหนอนกอลายจุดใหญ่
2. หากจำเป็นต้องใช้ท่อนพันธุ์ในข้อ 1 ให้เกษตรกร ปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
- แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำปูนขาว อัตรา 500 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 7 ชั่วโมง
- แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำธรรมดา นาน 25 ชั่วโมง
- แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำอุ่นอุณหภูมิ 52 องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมง
โดยต้องแช่ท่อนพันธุ์อ้อยให้จมอยู่ใต้น้ำ

ระยะอ้อยแตกกอ (อ้อยอายุ 1-4 เดือน) ในสภาพแห้งแล้ง จะพบหนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีขาว และหนอนกอสีชมพู ระบาดทำลายทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอเป็นจำนวนมาก ซึ่งในระยะนี้ หนอนกอลายจุดใหญ่จะพักตัวอยู่ภายในโคนต้นอ้อยใต้ดิน

ถ้าสำรวจพบหน่ออ้อยแสดงอาการยอดเหี่ยวเนื่องจากการทำลาย จำนวน 1-2 ยอดต่อไร่ หรือพบกลุ่มไข่ 1-2 กลุ่มต่อไร่ แนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติดังนี้

ปล่อยแตนเบียนไข่ทริโคแกรมมา อัตรา 20,000 ตัวต่อไร่ต่อสัปดาห์ ติดต่อกัน 8 ครั้ง
ตัดหน่ออ้อยที่แสดงอาการยอดเหี่ยวให้ถึงโคนต้น แล้วรวบรวมเผาทำลาย
พ่นเชื้อแบคทีเรียบีที ในเวลาเย็น อัตรา 100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อทำลายหนอนวัย 1-3 (ความยาวหนอน 0.3-0.8 เซนติเมตร) ก่อนที่หนอนจะเจาะเข้าทำลายหน่ออ้อย

ระยะอ้อยเป็นลำ (อ้อยอายุ 5-12 เดือน) เป็นระยะที่อันตรายมากที่สุด เพราะหนอนกอลายจุดใหญ่จะออกจากระยะพักตัว กินอาหาร เข้าดักแด้ ออกเป็นผีเสื้อ และวางไข่บนต้นอ้อยเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป

ถ้าสำรวจพบต้นอ้อยถูกทำลาย โดยสังเกตจากมูลหนอนที่มีสีขาว หรือสีน้ำตาล บริเวณอ้อยปล้องที่ 2-3 จากยอด หรือขอบใบอ้อยเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติดังนี้
ตัดยอดอ้อยต่ำกว่าบริเวณที่พบมูลหนอน รวบรวมทำลายโดยนำไปแช่น้ำธรรมดา นาน 25 ชั่วโมง
ปล่อยแตนเบียนไข่ทริโคแกรมมา อัตรา 20,000 ตัวต่อไร่ต่อสัปดาห์ ติดต่อกันก่อนตัด อ้อย 1 สัปดาห์
ปล่อยแตนเบียนหนอนโคทีเซีย อัตรา 500-1,000 ตัวต่อไร่ต่อสัปดาห์ ตลอดฤดูปลูก
พ่นเชื้อแบคทีเรียบีที ในเวลาเย็น อัตรา 100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อทำลายหนอนที่เพิ่ง ฟักออกจากไข่

ระยะตัดอ้อยเข้าโรงงาน

แนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติดังนี้

1. ห้ามเผาใบอ้อยก่อนและหลังตัดอ้อยเข้าโรงงาน
เพราะ
- เป็นการทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแตนเบียนไข่ทริโคแกรมมา และแตนเบียนหนอนโคทีเซีย ที่ปล่อยไป
- เป็นสาเหตุการระบาดของหนอนกอลายจุดเล็ก ในฤดูปลูกต่อไป
- เป็นการทำลายความชื้นและความอุดมสมบูรณ์ของดิน

2. ถ้าปลูกอ้อยใหม่
- ไถตากดินไว้ 1-2 สัปดาห์
- เก็บรวบรวมกออ้อยที่ถูกทำลายเผาทิ้ง
- เตรียมท่อนพันธุ์อ้อยตามคำแนะนำ
- ควรปลูกอ้อยพันธุ์ที่มีความทนทานต่อการทำลาย เช่น เอฟ 156 อู่ทอง 1 เค 84-200 เป็นต้น

3. ถ้าไว้ตออ้อย
- เมื่อสำรวจพบรอยทำลายของหนอนกอลายจุดใหญ่ที่ตออ้อย ประมาณ 10% ของลำ ให้ปล่อยแตนเบียนหนอนโคทีเซีย อัตรา 500-1,000 ตัวต่อไร่ต่อสัปดาห์
- ถ้าพบตออ้อยถูกทำลายมากกว่า 50% ของลำ แนะนำให้ปลูกอ้อยใหม่ และรวบรวมตออ้อยที่ถูกทำลายเผาทิ้ง

การป้องกันกำจัด
1. หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีขาว และหนอนกอสีชมพู ใช้สารฆ่าแมลง ดังนี้

- เดลทาเมนทริน 3% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน หรือเมื่ออ้อยแสดงอาการยอดเหี่ยว 10% พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ใช้ในกรณีเกิดภาวะแห้งแล้งความชื้นในดินไม่พอหรือมีหน่ออ้อยแตกใหม่หลังเก็บเกี่ยว

- คาร์โบฟูราน 3% G อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ (สารฆ่าแมลงชนิดมีพิษร้ายแรงหรือร้ายแรงยิ่ง) โรยสารฆ่าแมลงบนท่อนพันธ์อ้อยก่อนกลบดินหรือตอนแต่งตอ สำหรับอ้อยตอให้โรยข้างกออ้อยทั้งสองด้าน และใส่ซ้ำในอัตราเดิม หลังปลูกหรือแต่งตอแล้ว 45 วัน

2. หนอนกอลายจุดใหญ่ ใช้สารฆ่าแมลง ดังนี้

- ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 83.9% EC อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้นอ้อยเมื่อพบไข่ 0.2-1.0 กลุ่ม/ต้น หรือ เดลทาเมทริน 3% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบตัวเต็มวัย 1-5 ตัว/กอ ใช้ในระยะอ้อยเป็นลำและพ่นตอนเย็น

- เบตาไซฟลูทริน/ คลอร์ไพริฟอส 1.25%/25% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบการะบาดของหนอนกอลายจุดใหญ่ 10% พ่นตออ้อย หลังจากตัดอ้อยแล้วไม่เกิน 10 วัน เพื่อป้องกันหนอนเข้าพักตัวในตออ้อย


อ้างอิง :http://forecast.doae.go.th

สินค้าเกษตร ไบโอเอ็น ปลอดสารพิษ จากฟาร์มเกษตร
อจุลินทรีย์ตริงไนโตรเจนเสริมอ้อยโตเพิ่มผลผลิตอ้อยด้วยจุลินทรีย์พิเศษ ที่สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศ มาเปลี่ยนเป็นไนโตรเจนในรูปแบบที่อ้อยนำไปใช้ได้
ไบโอเอ็นตรานกอินทรีคู่
คุณสมบัติของไบโอเอ็น จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน
- เพิ่มการตรึงไนโตรเจนโดยชีววิธีให้กับอ้อย (Biological Nitrogen Fixation; BNF)
- เพิ่มการย่อยสลาย การปลดปล่อยและการเปลี่ยนรูปธาตุอาหารในดิน
- ป้องกันการเกิดโรคทางดิน ได้แก่ โรคแส้ดำ โรคลำต้นเน่าแดง โรคกลิ่นสับปะรด โรคเหี่ยวเน่า โรครากเน่า
- ปรับปรุง และปรับสภาพโครงสร้างดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน

วิธีการใช้งาน อัตตราส่วนผสม และช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการใช้งาน

- ใช้ฉีดพ่นให้นำทางใบกับอ้อย ในเดือนที่ 2 เดือนที่ 3 และเดือนที่ 4 ใช้ได้ทั้งอ้อยปลูก และอ้อยตอ
- หากใช้ถัง 20 ลิตร หรือ 18 ลิตร ใช้ผสมกับไบโอเอ็น 100 ซีซี (ประมาณหนึ่งขวดเอ็มร้อย หรือขวดลิโพ)
- กรณีใช้ถัง 200 ลิตร ผสมกับไบโอเอ็นจำนวน 1000 ซีซี (1000 ซีซี เท่ากับ 1 ลิตร)
- ใน 1 ไร่ ฉีดน้ำ ที่ผสมกับ ไบโอเอ็นแล้ว 80 ลิตร หรือ ฉีดพ่นอ้อย ในอัตรา 70-80 ลิตร ต่อ 1 ไร่

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 28418 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ชุมพร ถาวร
[email protected]
ขอบคุณมากที่ส่งข้อมูลกำจัดหนอนกออ้อยมาให้ เมื่อมีโออาสคงได้ออกไปช่วยเหลือผู้มีปัญหาในอนาคด ที่จริงไม่ต้องการให้เกิดเลยเสียดีกว่า ตัวทำลายเช่นนี้
29 ม.ค. 2555 , 11:49 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่อ้อย]:
อ้อยแคระ แกร็น อ้อยโตช้า อ้อยไม่ย่างปล้อง อ้อยปล้องสั้น อ้อยใบเหลือง อ้อยใบไหม้
พืชจะไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร เราก็ใส่ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีแล้ว แต่ทำไมพืชยังไม่โตเท่าที่ควร ทั้งๆที่เราใส่ปุ๋ย
อ่านแล้ว: 7265
อ้อยยอดเหลือง แต่กอยังเขียว เพราะ หนอนกออ้อย เข้าทำลายต้นอ้อย ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ไอกี้-บีที
อ้อยกำลังงาม อยู่ๆก็ยอดเหลือง ทั้งๆที่กออ้อยยังเขียวอยู่ นั่นท่านอาจเจอกับปัญหาหนอนกอ ป้องกันกำจัด ก่อนจะลุกลาม
อ่านแล้ว: 7123
อ้อยใบเหลือง อ้อยใบซีด เหลืองซีดเป็นหย่อมๆ ลักษณะนี้เป็นอาการของ อ้อยขาดธาตุอาหาร
หากพืชมีความอ่อนแอ ความรุนแรงของโรคก็จะมาก การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ก็เข้าทำลายได้มากเช่นกัน บวกกับสภาพแวดล้อม..
อ่านแล้ว: 9744
อ้อยเป็นหนอน หรือเห็น อ้อยยอดแห้งตาย นั่นเพราะหนอนกอสีขาวเข้าทำลาย
หน่ออ้อยที่ยังเล็กอยู่ หากโดน หนอนกอสีขาว เข้าทำลาย หน่ออ้อยมักจะตาย อ้อยที่เป็นลำจะชะงักโต ผลผลิตลด คุณภาพลด
อ่านแล้ว: 8114
ผลผลิตอ้อยลด ค่าความหวานลด อ้อยชะงักโตเพราะ แมลงหวี่ขาวอ้อย ต้องแก้
แมลงหวีขาว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบอ้อย ในระยะตัวอ่อนนั้น จะสร้างความเสียหายให้กับอ้อย
อ่านแล้ว: 8598
อ้อยมีราดำ มีแป้งสีขาวใต้ใบ ใบเหลืองซีด เพราะเพลี้ยสำลี ปล่อยไป อ้อยแห้งตาย
เพลี้ยสำลี หากมีการระบาดในไร้อ้อยแล้ว จะทำให้อ้อยในไร่ชะงักการเติบโต หรืออาจจะทำให้อ้อยแห้งกรอบทั้งใบ
อ่านแล้ว: 8767
อ้อยเหลือง แห้งตายทั้งกอ เป็นเพราะ แมลงนูนหลวง กัดกินรากอ้อย กำจัดอย่างไร
มักระบาดในสภาพดินทรายที่มี pH 6-6.5 และสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุ 0.56-0.84% การเข้าทำลายอ้อยมักปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่..
อ่านแล้ว: 7567
หมวด ไร่อ้อย ทั้งหมด >>