data-ad-format="autorelaxed">
โรคใบขาวอ้อย โรคหนอนกออ้อย
นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ปัญหาการระบาดของโรคใบขาวอ้อย ซึ่งเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมาที่มีแมลงปากดูดเป็นพาหะแพร่กระจายโรค ทำให้ผลผลิตลดลงถึงร้อยละ 50 จากข้อมูลของสมาคมชาวไร่อ้อย พบว่า ในปีการผลิต 2554/2555 มีพื้นที่การระบาดของโรคใบขาวและกอตะไคร้อ้อยจำนวน 170,277 ไร่ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาระบาดระยะยาวคือ การใช้ท่อนพันธุ์อ้อยที่สะอาดสมบูรณ์ ตรงตามพันธุ์ ปราศจากโรค
ทั้งนี้เทคโนโลยีการบริหารจัดการป้องกันโรคใบขาวและกอตะไคร้อ้อยระดับชุมชน ที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ ประกอบด้วย การผลิตท่อนพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาว โดยการใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การทำแปลงขยายอ้อยปลอดโรค การผลิตขยายศัตรูธรรมชาติควบคุมแมลงศัตรูอ้อย โดยใช้แปลงใน ต.เขือน้ำ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เป็นศูนย์ทดลองนำร่อง
“จากการตรวจสอบโรคใบขาวและการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยของแปลงพันธุ์อ้อยสะอาด 25 ไร่ หลังปลูก 45 วัน พบแปลงพันธุ์อ้อยสะอาด 3 แปลง มีจำนวนต้นอ้อย 47,580 ต้น พบการระบาดโรคใบขาว 57 ต้น คิดเป็นร้อยละ 0.20 ถือว่าการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยมีความรุนแรงน้อยกว่าค่าระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจ”
ส่วนการตรวจสอบโรคใบขาวและการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยของแปลงพันธุ์อ้อย 13 ไร่ หลังปลูก 3 เดือน ในแปลงเปรียบเทียบการปลูกอ้อยที่ใช้ท่อนพันธุ์จากแปลงพันธุ์หลักของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเกษตร จ.อุดรธานี (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ที่ผ่านการตรวจสอบโรคใบขาวด้วยวิธี Nested PCR ปี 2555 กับการใช้ท่อนพันธุ์จากแปลงปลูกของเกษตรกร พบการใช้ท่อนพันธุ์จากแปลงพันธุ์ของศูนย์ส่งเสริมฯ มีจำนวนหน่อที่แสดงอาการโรคใบขาวน้อยกว่า หรือไม่มีโรคใบขาว 1.77 หน่อ (13 แปลงปลูก) และค่าเฉลี่ยการเกิดโรคใบขาวทั้ง 13 แหล่งปลูก มีหนอนกอเข้าทำลายน้อยกว่าการใช้ท่อนพันธุ์อ้อยจากแปลงของเกษตรกร 6 แหล่งปลูก แต่ค่าเฉลี่ยการเข้าทำลายของหนอนกอ มีค่าเท่ากับ 59.314 หน่อ ซึ่งน้อยกว่า ของแปลงเพาะปลูกที่ใช้ท่อนพันธุ์จากแปลงของเกษตรกร ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 72.77 หน่อ
เมื่อได้ผลการศึกษาวิจัยจากโครงการบริหารจัดการศัตรูพืชอ้อยครั้งนี้แล้ว กรมส่งเสริมการเกษตรได้นำเสนอผ่านกระบวนการเรียนรู้ในเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของชุมชน ปรากฏว่าได้รับความสนใจตอบรับเป็นอย่างดี ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายนักวิจัยชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ.
โรคใบขาวอ้อย
เชื้อสาเหตุโรคใบขาวอ้อย เชื้อไฟโตพลาสมา (Phytoplasma)
อาการของโรค
โรคใบขาวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกระยะการเจริญเติบโต
ของอ้อย โดยอาการจะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนในระยะกล้า อ้อยแตกกอฝอยมีหน่อเล็ก ใบมีสีขาว หรือ ใบขาวปลายยอด หน่อไม่เจริญเป็นลำ หากอาการโรครุนแรงอ้อยจะแห้งตาย บางครั้งอาการของโรคจะมีลักษณะแฝง พบในอ้อยปลูกปีแรก โดยอ้อยเป็นโรคเจริญเติบโตเป็นลำ มีใบสีเขียวคล้ายอ้อยปกติ มีเพียงบางหน่อใบจะมีขาว ที่โคนกอ แต่อาการโรคจะให้เห็นได้ชัดเจนในอ้อยตอ ซึ่งเมื่อนำอ้อยที่มีอาการแฝงคล้ายอ้อยปกติไปปลูกต่อ ก็จะทำให้โรคระบาดอาการของโรคปรากฎทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ
แมลงพาหะ มีเพลี้ยจั๊กจันหลังขาวและเพลี้ยจั๊กจันปีกลายเป็นพาหะ โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรค
การระบาดโรคใบขาวอ้อย
มีเพลี้ยจั๊กจันเป็นพาหะเป็นพาหะ มี 2 ชนิด คือ เพลี้ยจั๊กจันปีกลายและเพลี้ยจั๊กจันหลังขาว
โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงต้นที่เป็นโรคไปแพร่ในต้นที่ไม่เป็นโรค
ติดไปกับท่อนพันธุ์ สังเกตจากอ้อยปลูกกออ้อยจะมีใบขาวติดกันหลายๆ กอ
การป้องกันโรคใบขาวอ้อย
กำจัดแหล่งเชื้อ
- ต้นอ้อยที่เป็นโรคในแปลง โดยการขุดทิ้งหรือถ้าอาการรุนแรง
ควรแดพ่นด้วยสารเคมีไกลโฟเฟตส1%
- กำจัดวัชพืชและรอบ ๆ แปลงเพื่อทำลายแหล่งอาศัยของแมลงพาหะของโรค
การบำรุงดิน เพื่อทำให้พืชมีความแข็งแรง โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยเคมี
- ปลูกพืชบำรุงดิน เช่น ถั่วพร้า โสนอัฟริกัน ถั่วมะแฮะ ครามขน หรือพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ คั่น เช่น
ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวโพด เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค
ใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาด
- ใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่ไม่มีการระบาด
- การแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำอุ่น 50 CC นาน 2 ชม. หรือ 52 CC นาน 30 นาที ควรแช่ท่อนพันธุ์ 2 รอบโดยแช่รอบที่ 1 ในน้ำอุ่น 52 CC นาน 30 นาที ทิ้งไว้ 12 ชม. และแช่รอบที่ 2 50 CC นาน 2 ชม.
การตัดวงจรชีวิตแมลงที่เป็นพาหะ โรคใบขาวอ้อย
- การกำจัดแมลงโดยใช้สารเคมี
- การเปลี่ยนช่วงฤดูการปลูกอ้อยโดยเลี่ยงการปลูกอ้อยในฤดูฝนเพื่อลดการติดเชื้อจากแมลงพาหะที่ระบาดในฤดูฝน
- การปลูกพืชหมุนเวียน
หลักการผลิตอ้อยปลอดโรคใบขาว
ตัดชิ้นส่วนของอ้อยบริเวณยอดอ่อนให้มีขนาดเล็กประมาณ 0.3-0.5 มม.
นำไปทำความสะอาดตรวจหาเชื้อสาเหตุของโรค
นำไปเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ
สุ่มตรวจหาเชื้อสาเหตุ
นำไปอนุบาลเพื่อขยายพันธุ์
การผลิตท่อนพันธุ์ปลอดโรคใบขาว
ควรปลูกในฤดูแล้ง เพื่อลดปัญหาแมลงพาหะ
พื้นที่ปลูก เป็นพื้นที่ที่ไม่มีการระบาด
การควบคุมวัชพืชในช่วงอ้อยเล็ก
การให้น้ำสม่ำเสมอ
การบำรุงให้ปฏิบัติเหมือนการปลูกอ้อยด้วยท่อนพันธุ์
ความเป็นไปได้ในการใช้พันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การทดลองปลูกอ้อยในดินนาที่ อ. เขาสวนกวาง อ้อยปลูกตอ1- ตอ2 ไม่พบการเป็นโรคส่วนอ้อยตอ 3 และตอ 4 พบเป็นโรคเล็ก
การปลูกอ้อยด้วยพันธุ์ปลอดโรคต้นทุนสูงประมาณ 10-15 บาท/ต้น การลดต้นทุนทำได้โดย
- ควรแยกหน่ออ้อยที่ปลอดโรคปลูกเมื่ออ้อยมีอายุได้ 2 เดือน และควรแยกเพียงครั้งเดียว
- การชำข้อ
พันธุ์ปลอดโรคไม่เหมาะที่จะเป็นอ้อยตัดส่งโรงงานเพราะต้นทุนสูงไม่คุ้มค่าคำถาม/ข้อสงสัย
ปูนขาวหรือโดโลไมล์ น้ำส้มควันไม้ แก้โรคใบขาวได้หรือไม
ตอบ อาจเป็นไปได้หรือไม่ได้ก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและสภาพแวดล้อมในแปลงปลูก
ฟิลเตอร์เค้ก ทำให้เกิดโรคใบขาวหรือไม
ตอบ ฟิลเตอร์เค้กทำให้เกิดโรคใบขาวได้ การใส่ฟิลเตอร์เค็กจะไปเพิ่มฟอสฟอรัสทำให้ฟอสฟอรัสในดินมากไปอาจไปขัดขวางการทำงานของสังกะสีและแมกนีเซียมให้ลดลงทำให้อ้อยอ่อนแอจึงมีโอกาสเกิดโรคมากขึ้น
อ้างอิง
โสมฉาย จุ่นหัวโทน ตำแหน่ง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
dailynews.co.th
gotoknow.org