ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่อ้อย | อ่านแล้ว 24517 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

อ้อยแปรรูปเพิ่มค่าผลิตภัณฑ์

เปโย ขนมพื้นเมืองชาวไทยใหญ่ ผลผลิตจากอ้อยอินทรีย์ ฝีมือสมาชิกกลุ่มชาวบ้าน นับเป็นอีกผลิตภัณฑ์เด่นของ จ.แม่ฮ่องสอน..

data-ad-format="autorelaxed">

อ้อยแปรรูปเพิ่มค่าผลิตภัณฑ์

แปรรูปอ้อยเพิ่มค่าผลิตภัณฑ์ 'เปโย' ขนมพื้นเมืองเลื่องชื่อชาวไทยใหญ่ ไม่เพียงขึ้นชื่อในเรื่องการทอผ้าจากธรรมชาติที่รู้จักในนาม "ผ้าทอกะเหรี่ยง (ต่ากี๊ย่ะ)" ซึ่งสันนิษฐานกันว่าการทอผ้าเข้ามาสู่บ้านป่าปุ๊ ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน โดยชาวกะเหรี่ยงชุดแรกๆ ที่อพยพเข้ามาทำมาหากินแถบนี้สมัยเมื่อราว 50-60 ปีที่แล้ว แต่ทว่ายังมีผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่ออีกอย่างที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค ฝีมือของกลุ่มชาวบ้านชาวไทยใหญ่ที่ได้รับมรดกตกทอดมาหลายชั่วอายุคน นั่นก็คือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอ้อย หรือที่ชาวไทยใหญ่เรียกว่า "ขนมเปโย"

บุญยืน สุปัญโญ เกษตรกรชาวไทยใหญ่ วัย 57 ปี แห่งบ้านป่าปุ๊ เลขที่ 74 หมู่ 2 ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งยึดอาชีพการทำ "ขนมเปโย" มาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยใช้วัตถุดิบจากอ้อยที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้านบนเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่เศษ ซึ่งในอดีตนั้นจะทำไว้รับประทานกันเองในบ้านและขายเพื่อให้มีรายได้เล็กๆ น้อยๆ เป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือน แต่หลังจากโครงการพระราชดำริลุ่มน้ำปายเกิดขึ้น ทำให้หน่วยงานราชการหลายแห่งเข้ามาส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการแนะนำการจัดตั้งกลุ่ม อบรมให้ความรู้เพิ่มเติม ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยเพื่อจะได้ผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ด้วย

"ทำมา 3 ชั่วอายุคนแล้ว ตั้งแต่ปู่มาพ่อและผม เพราะที่บ้านปลูกอ้อยเป็นอาชีพหลัก เมื่อก่อนจะปลูกอ้อยพันธุ์พื้นเมือง แต่หลังมีโครงการพระราชดำริเข้ามา ทางราชการเขามาส่งเสริมพันธุ์ใหม่ๆ ที่บ้านปลูกอ้อยประมาณ 4 ไร่กว่า บางคนก็ 7 ไร่บ้าง 5 ไร่บ้าง ที่บ้านป่าปุ๊ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะปลูกอ้อยกันแทบทุกครัวเรือน จากนั้นก็ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มก็เลยจัดตั้งกลุ่มขึ้นมีชื่อว่า กลุ่มผลิตและแปรรูปอ้อยบ้านป่าปุ๊ โดยตัวผมเป็นประธานกลุ่ม ปัจจุบันมีสมาชิก 11 คน"

ประธานกลุ่มผลิตและแปรรูปอ้อยบ้านป่าปุ๊อธิบายขั้นตอนการแปรรูปว่าเริ่มจากตัดอ้อยในตอนเช้าจากนั้นเอามาล้างให้สะอาดแล้วนำมาเข้าเครื่องหนีบ ก่อนนำมาเคี่ยวจนแห้งได้ที่ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงแล้วก็ใส่ถั่วและงาลงไป คนให้เข้ากัน เมื่อแห้งได้ที่แล้วก็นำมาวางบนไม้กระดานที่เตรียมไว้เพื่อตักเป็นแผ่น ก่อนนำไปแพ็กใส่ถุงเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อจำหน่ายต่อไป

"เคี่ยวแต่ละครั้งจะใช้น้ำอ้อย 3 ปีบ หรือประมาณ 50 กิโล ใช้เวลาเคี่ยวประมาณ 3 ชั่วโมง เมื่อเคี่ยวจนแห้งเหนียวได้ที่แล้วจะเหลือน้ำหนัก 8-9 กิโล เราใช้น้ำอ้อยล้วนๆ ไม่ผสมอะไรเลยเป็นน้ำอ้อยสดนำมาจากอ้อยอินทรีย์ การปลูกอ้อยที่นี่จะเป็นอ้อยอินทรีย์ 100% วันหนึ่งๆ จะทำได้ประมาณ 4 หม้อต้ม หรือ 12 ปีบ"

ส่วนเรื่องการตลาด บุญยืนบอกว่าขณะนี้ไม่มีปัญหา มีเข้ามาตลอด ทั้งใน จ.แม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ ถ้าในจังหวัดลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะเป็นนักท่องเที่ยว ซึ่งจะขายดีมากในช่วงปลายปีถึงต้นปี เพราะเป็นฤดูท่องเที่ยวของแม่ฮ่องสอน ส่วนราคาจำหน่ายสนนราคาถุงละ 40 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับผลิตภัณฑ์อ้อยอัดก้อน แต่ถ้าขนมเปโย ซึ่งมีส่วนผสมของถั่ว มะพร้าวและงา จำหน่ายถุงละ 60 บาท ซึ่งแต่ละปีจะมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 3-4 หมื่นบาท สนใจผลิตภัณฑ์กลุ่มติดต่อศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอนโทร.0-5368-4377

ด้านสายเมือง วิริยะศิริ ประธานที่ปรึกษาศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวระหว่างนำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ของกลุ่มว่าบ้านป่าปุ๊ เป็น 1 ใน 13 หมู่บ้านที่ได้รับอานิสงส์จากโครงการบริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย (ท่าโป่งแดง) ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งมีการส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ชาวบ้านป่าปุ๊ในวันนี้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

"เปโย" ขนมพื้นเมืองชาวไทยใหญ่ ผลผลิตจากอ้อยอินทรีย์ ฝีมือสมาชิกกลุ่มชาวบ้าน "ป่าปุ๊" นับเป็นอีกผลิตภัณฑ์เด่นของ จ.แม่ฮ่องสอน ที่ได้รับอานิสงส์จากโครงการบริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย (ท่าโป่งแดง) ตามแนวพระราชดำรินั่นเอง


อ้างอิง:www.komchadluek.net


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 24517 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่อ้อย]:
อ้อยแคระ แกร็น อ้อยโตช้า อ้อยไม่ย่างปล้อง อ้อยปล้องสั้น อ้อยใบเหลือง อ้อยใบไหม้
พืชจะไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร เราก็ใส่ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีแล้ว แต่ทำไมพืชยังไม่โตเท่าที่ควร ทั้งๆที่เราใส่ปุ๋ย
อ่านแล้ว: 7265
อ้อยยอดเหลือง แต่กอยังเขียว เพราะ หนอนกออ้อย เข้าทำลายต้นอ้อย ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ไอกี้-บีที
อ้อยกำลังงาม อยู่ๆก็ยอดเหลือง ทั้งๆที่กออ้อยยังเขียวอยู่ นั่นท่านอาจเจอกับปัญหาหนอนกอ ป้องกันกำจัด ก่อนจะลุกลาม
อ่านแล้ว: 7122
อ้อยใบเหลือง อ้อยใบซีด เหลืองซีดเป็นหย่อมๆ ลักษณะนี้เป็นอาการของ อ้อยขาดธาตุอาหาร
หากพืชมีความอ่อนแอ ความรุนแรงของโรคก็จะมาก การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ก็เข้าทำลายได้มากเช่นกัน บวกกับสภาพแวดล้อม..
อ่านแล้ว: 9744
อ้อยเป็นหนอน หรือเห็น อ้อยยอดแห้งตาย นั่นเพราะหนอนกอสีขาวเข้าทำลาย
หน่ออ้อยที่ยังเล็กอยู่ หากโดน หนอนกอสีขาว เข้าทำลาย หน่ออ้อยมักจะตาย อ้อยที่เป็นลำจะชะงักโต ผลผลิตลด คุณภาพลด
อ่านแล้ว: 8114
ผลผลิตอ้อยลด ค่าความหวานลด อ้อยชะงักโตเพราะ แมลงหวี่ขาวอ้อย ต้องแก้
แมลงหวีขาว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบอ้อย ในระยะตัวอ่อนนั้น จะสร้างความเสียหายให้กับอ้อย
อ่านแล้ว: 8598
อ้อยมีราดำ มีแป้งสีขาวใต้ใบ ใบเหลืองซีด เพราะเพลี้ยสำลี ปล่อยไป อ้อยแห้งตาย
เพลี้ยสำลี หากมีการระบาดในไร้อ้อยแล้ว จะทำให้อ้อยในไร่ชะงักการเติบโต หรืออาจจะทำให้อ้อยแห้งกรอบทั้งใบ
อ่านแล้ว: 8767
อ้อยเหลือง แห้งตายทั้งกอ เป็นเพราะ แมลงนูนหลวง กัดกินรากอ้อย กำจัดอย่างไร
มักระบาดในสภาพดินทรายที่มี pH 6-6.5 และสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุ 0.56-0.84% การเข้าทำลายอ้อยมักปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่..
อ่านแล้ว: 7567
หมวด ไร่อ้อย ทั้งหมด >>