ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ผล ไม้ยืนต้น | อ่านแล้ว 4884 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เตือนเกษตรกรชาวสวนลิ้นจี่ เฝ้าระวัง ไรกำมะหยี่ ระบาด

เตือนเกษตรกรชาวสวนลิ้นจี่ เฝ้าระวัง ไรกำมะหยี่ ระบาด

ระยะนี้อุณหภูมิสูงขึ้น และมีหมอกในตอนเช้ามืด ซึ่งเกษตรกรชาวสวนลิ้นจี่ควรเฝ้าระวังไรกำมะหยี่ลิ้นจี่

data-ad-format="autorelaxed">

กรมวิชาการเกษตร ประกาศแจ้งเตือนเกษตรกรชาวสวนลิ้นจี่ โดยระบุว่า ระยะนี้อุณหภูมิสูงขึ้น และมีหมอกในตอนเช้ามืด ซึ่งเกษตรกรชาวสวนลิ้นจี่ควรเฝ้าระวังไรกำมะหยี่ลิ้นจี่ เพราะเป็นไรศัตรูลิ้นจี่ที่มีความสำคัญมาก สามารถพบได้ในระยะใบเพสลาดและระยะเริ่มแตกใบอ่อนชุดที่สาม มักพบไรชนิดนี้ชอบดูดทำลายตาดอก ใบอ่อน ยอด และผลของลิ้นจี่ ทำให้ตาดอกไม่เจริญ ใบที่ถูกไรเข้าทำลายจะมีลักษณะอาการหงิกงอ และโป่งพองขึ้นเป็นกระเปาะ ผิวใบบริเวณที่ไรดูดกินจะสร้างขนสีน้ำตาลขึ้นและสานเป็นแผ่นติดต่อกัน ซึ่งไรจะใช้เป็นที่หลบซ่อนตัวอยู่ในขนที่สร้างขึ้นที่ผิวใบนี้ โดยจะมีลักษณะนุ่มหนาคล้ายพรม เมื่อเริ่มในระยะแรกจะมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อน และกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มในเวลาต่อมา จากนั้นไรจะเริ่มเคลื่อนย้ายหาใบใหม่เพื่อดูดทำลายต่อไป ใบและยอดที่ถูกทำลายจะแห้งและร่วง ต้นที่ถูกไรทำลายรุนแรง จะแคระแกร็น และไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร บางครั้งจะพบปื้นขนสีน้ำตาลเกิดขึ้นที่ช่อดอกและผลอ่อนด้วย

 

เกษตรกรควรหมั่นสำรวจส่องดูไรกำมะหยี่ลิ้นจี่ในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบมีการระบาดของไรรุนแรงจนมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมี ให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่งที่ใบและยอดถูกไรทำลายนำไปเผาทิ้งนอกแปลงปลูกก่อน แล้วจึงพ่นสารกำจัดไรในครั้งแรกด้วยสารอะมิทราซ 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งพบว่าสารกำจัดไรชนิดนี้ใช้ได้ผลดีในการกำจัดไร หรือพ่นด้วยกำมะถัน 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งหน้าใบและหลังใบ

 

นอกจากนี้ ในการพ่นสารกำจัดไรครั้งที่ 2 ให้เกษตรกรพ่นสารกำจัดไรเมื่อลิ้นจี่เริ่มแตกใบอ่อน จากนั้นให้พ่นซ้ำอีก 2 ครั้ง ห่างกัน 4 วัน สำหรับการปลูกต้นลิ้นจี่ในแปลงที่ปลูกใหม่ ให้เกษตรกรเลือกใช้ลิ้นจี่พันธุ์ต้านทาน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย มีความต้านทานต่อการทำลายของไรกำมะหยี่ได้ดีกว่าพันธุ์โอเฮียะ

 

source: naewna.com/local/305596


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 4884 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ผล ไม้ยืนต้น]:
ฟักข้าวใบไหม้ ฟักข้าวใบแห้ง ฟักข้าวใบเหลือง โรคเชื้อรา ที่เกิดขึ้นกับฟักข้าว
อาการใบเหลือง ฟักข้าวใบเหลือง ต่างจากอาการใบไหม้ สาเหตุต่างกัน วิธีป้องกันและรักษาก็ต่างกัน
อ่านแล้ว: 6633
หนอนเงาะ หนอนเจาะเงาะ หนอนเจาะขั้วผลเงาะ รีบแก้ไข ก่อนผลผลิตตกต่ำ
หนอนกเจาะดอกเงาะจะกัดกินดอก และยังทำลายใบอ่อนเงาะ และยอดอ่อน จะสังเกตุเห็นทางเดินเป็ยใย
อ่านแล้ว: 7318
หนอนฝรั่ง หนอนเจาะผลฝรั่ง ฝรั่งมีหนอน แมลงวันผลไม้ กำจัดด้วย ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
หนอนเป็นศัตรูพืช ที่เข้าทำลายฝรั่งให้เกิดความเสียหาย และนอกจากนั้น ยังมีเพลี้ย ที่ต้องป้องกันและกำจัด
อ่านแล้ว: 6796
อินทผาลัมใบแห้ง อินทผาลัมใบไหม้ อินทผาลัมยอดเน่า มีสองสาเหตุหลัก แก้ได้
อาจจะแห้งบริเวณเนื้อใน หรือแห้งจากขอบใบเข้ามาก็ได้ จริงแล้วคล้ายอาการใบจุด แต่แผลที่เกิดจากอาการ ใบไหม้ จะมีขนาดแผล..
อ่านแล้ว: 8092
หนอนมะม่วง หนอนเจาะมะม่วง หนอนเจาะต้นมะม่วง แก้ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัย
ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ด้วงนี้จะวางไข่ในผลอ่อน ตัว หนอนมะม่วง จะโตอยู่ในเมล็ด พอตัวหนอนแก่ จะ..
อ่านแล้ว: 7303
หนอนมะม่วง มะม่วงเป็นหนอน หนอนแมลงวัน ใช้ ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
วางใข่กลางคืน ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวจะกินชอนไช ตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงโทรม ยืนต้นตาย ใบแห้ง
อ่านแล้ว: 6206
มะม่วงใบแห้ง มะม่วงแห้งตาย มะม่วงไม่ติดผล ใบจุด มะม่วงดอกร่วง แอนแทรคโนส เป็นเหตุ
โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดในมะม่วงนี้ ทำความเสียหายกับมะม่วงเป็นอย่างมาก ทั้งด้านผลผลิตที่น้อยลง และคุณภาพของมะม่วงก็จะแย่
อ่านแล้ว: 6668
หมวด ไม้ผล ไม้ยืนต้น ทั้งหมด >>