ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ผล ไม้ยืนต้น | อ่านแล้ว 4310 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ปลูกกาแฟ พืชความหวังของคนบนดอย พัฒนาสายพันธุ์พื้นที่สูง

ปลูกกาแฟ จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากการเสด็จฯ ทอดพระเนตรแปลงกาแฟที่ขุนวาง เมื่อปี พ.ศ. 2525 ทรง..

data-ad-format="autorelaxed">

ปลูกกาแฟ

 

ปลูกกาแฟ

 

จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากการเสด็จฯ ทอดพระเนตรแปลงกาแฟที่ขุนวาง เมื่อปี พ.ศ. 2525 ทรงให้กรมวิชาการเกษตรพัฒนาสายพันธุ์กาแฟที่เหมาะสมกับพื้นที่สูงของประเทศไทย เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น ได้ศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง

 

จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากการเสด็จฯ ทอดพระเนตรแปลงกาแฟที่ขุนวาง เมื่อปี พ.ศ. 2525 ทรงให้กรมวิชาการเกษตรพัฒนาสายพันธุ์กาแฟที่เหมาะสมกับพื้นที่สูงของประเทศไทย เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาได้ศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง

 

โดยในปี พ.ศ. 2526 ได้มีการวิจัยและพัฒนากาแฟอาราบิก้าที่ต้านทานโรคราสนิม ได้นำพันธุ์กาแฟอาราบิก้าคาติมอร์ จากศูนย์วิจัยโรคราสนิมกาแฟ ประเทศโปรตุเกส  จำนวน 3 สายพันธุ์ คือ CIFC 7958 7962 และ 7963 โดยนำไปปลูกไว้ที่สถานีวิจัยกาแฟอาราบิก้า มูลนิธิโครงการหลวงแม่หลอด สถานีทดลองเกษตรหลวงขุนวาง จังหวัดเชียงใหม่ สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี จังหวัดเชียงราย สถานีทดลองเกษตรที่สูงเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และสถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ จังหวัดตาก ทำการศึกษาวิจัยกาแฟอาราบิก้าที่ต้านทานโรคราสนิมสายพันธุ์คาติมอร์ CIFC 7963-13-28 จน     ได้พันธุ์กาแฟคาติมอร์ “เชียงใหม่ 80” ในปี พ.ศ. 2550 ที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายใน  ปัจจุบัน

 

นายอุทัย นพ คุณวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา การเกษตร เขตที่ 1 กล่าวว่า กาแฟอาราบิก้าพันธุ์เชียงใหม่ 80 ได้คัดเลือกจากการผสมพันธุ์ H.W. 26/5 กับพันธุ์ SL28 โดยศูนย์วิจัยโรคราสนิมกาแฟ ได้ลูกผสมชั่ว    ที่ 1 ในปี พ.ศ. 2503 และได้ส่งไปปลูกคัดเลือกในประเทศต่าง ๆ ในแต่ละชั่ว และได้ดำเนินการคัดเลือกในประเทศไทยในลูกผสมชั่วที่ 6 และ 7 ในปี พ.ศ. 2527 จนถึงปี พ.ศ. 2544 ได้สายพันธุ์ดีเด่นและนำไปปลูกทดสอบ      ในพื้นที่ปลูกกาแฟทางภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน และเพชรบูรณ์

 

จนกระทั่งได้รับพิจารณาเป็นพันธุ์รับรองของกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 50 และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548-2553 ได้ผลิตต้นกล้ากาแฟอาราบิก้าสายพันธุ์ดังกล่าว เพื่อแจกจ่ายให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ มูลนิธิโครงการหลวง โครงการพระราชดำริ กลุ่มเกษตรกร หน่วยงานราชการ และเอกชน จำนวน 2,258,212 ต้น ได้ใช้เวลานานนับ 10 ปี ในการวิจัยและพัฒนากาแฟ ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ จนได้ผลผลิตกาแฟเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟดอยคำ ดอยตุง และโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้มีพระราชเสาวนีย์ให้มีการปลูกตามดอย

 

นอกจากนี้ยังมีแหล่งปลูกและผลิต     ที่สำคัญ ได้แก่ ดอยช้าง ปางขอน สันเจริญ และห้วยฮ่อม ซึ่งในปัจจุบันกาแฟดอยช้างและ   ดอยตุงก็เป็นที่ยอมรับในเรื่องคุณภาพและเอกลักษณ์เฉพาะในระดับโลก และได้รับการยกระดับเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) และมีการขยายผลการดำเนินงานไปสู่โครงการพระราชดำริต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ที่มั่นคง

 

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ได้ดำเนินการส่งเสริมการปลูกกาแฟ การดูแลรักษา การผลิตและแปรรูปแบบครบวงจร ภายในสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงบ้านปางขอนและขยายผลสู่แปลงเกษตรกร ตั้ง    แต่ปี พ.ศ. 2545 สำหรับดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกาแฟอาราบิก้า โดยจัดเป็นแปลงต้นแบบการฟื้นฟูสภาพต้นกาแฟ   อาราบิก้าที่มีอายุมาก ส่งผลให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามลำดับ โดยพบว่าในปี พ.ศ. 2551 เกษตรกรบ้านปางขอนสามารถผลิตกาแฟได้ 103 ตัน และเพิ่มขึ้นเป็น 266 ตัน ในปี พ.ศ. 2557 คิดเป็นจำนวนเงินที่ขายสารกาแฟกว่า 30 ล้านบาท ทำให้มีรายได้เฉลี่ย 214,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ซึ่งแต่เดิมก่อนที่เกษตรกรจะเข้าร่วมโครงการมีรายได้จากการขายกาแฟเพียง 50,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี เท่านั้น

 

นับเป็นความสำเร็จของโครงการผลิตกาแฟอาราบิก้าโดยมีส่วนร่วมของเกษตรกรบ้านปางขอน ที่สามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ เพื่อลดการทำลายป่า ทำไร่เลื่อนลอย ใช้พื้นที่ทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามแนวพระราชดำริ คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน

 

จาก dailynews.co.th/agriculture/509887


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 4310 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ผล ไม้ยืนต้น]:
ฟักข้าวใบไหม้ ฟักข้าวใบแห้ง ฟักข้าวใบเหลือง โรคเชื้อรา ที่เกิดขึ้นกับฟักข้าว
อาการใบเหลือง ฟักข้าวใบเหลือง ต่างจากอาการใบไหม้ สาเหตุต่างกัน วิธีป้องกันและรักษาก็ต่างกัน
อ่านแล้ว: 6633
หนอนเงาะ หนอนเจาะเงาะ หนอนเจาะขั้วผลเงาะ รีบแก้ไข ก่อนผลผลิตตกต่ำ
หนอนกเจาะดอกเงาะจะกัดกินดอก และยังทำลายใบอ่อนเงาะ และยอดอ่อน จะสังเกตุเห็นทางเดินเป็ยใย
อ่านแล้ว: 7313
หนอนฝรั่ง หนอนเจาะผลฝรั่ง ฝรั่งมีหนอน แมลงวันผลไม้ กำจัดด้วย ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
หนอนเป็นศัตรูพืช ที่เข้าทำลายฝรั่งให้เกิดความเสียหาย และนอกจากนั้น ยังมีเพลี้ย ที่ต้องป้องกันและกำจัด
อ่านแล้ว: 6789
อินทผาลัมใบแห้ง อินทผาลัมใบไหม้ อินทผาลัมยอดเน่า มีสองสาเหตุหลัก แก้ได้
อาจจะแห้งบริเวณเนื้อใน หรือแห้งจากขอบใบเข้ามาก็ได้ จริงแล้วคล้ายอาการใบจุด แต่แผลที่เกิดจากอาการ ใบไหม้ จะมีขนาดแผล..
อ่านแล้ว: 8084
หนอนมะม่วง หนอนเจาะมะม่วง หนอนเจาะต้นมะม่วง แก้ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัย
ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ด้วงนี้จะวางไข่ในผลอ่อน ตัว หนอนมะม่วง จะโตอยู่ในเมล็ด พอตัวหนอนแก่ จะ..
อ่านแล้ว: 7299
หนอนมะม่วง มะม่วงเป็นหนอน หนอนแมลงวัน ใช้ ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
วางใข่กลางคืน ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวจะกินชอนไช ตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงโทรม ยืนต้นตาย ใบแห้ง
อ่านแล้ว: 6200
มะม่วงใบแห้ง มะม่วงแห้งตาย มะม่วงไม่ติดผล ใบจุด มะม่วงดอกร่วง แอนแทรคโนส เป็นเหตุ
โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดในมะม่วงนี้ ทำความเสียหายกับมะม่วงเป็นอย่างมาก ทั้งด้านผลผลิตที่น้อยลง และคุณภาพของมะม่วงก็จะแย่
อ่านแล้ว: 6663
หมวด ไม้ผล ไม้ยืนต้น ทั้งหมด >>