ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ผล ไม้ยืนต้น | อ่านแล้ว 6000 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การปลูกองุ่น ข้อมูลอย่างละเอียด

การปลูกองุ่น ได้รับความมนิยมเป็นอย่างมากในภาคตะวันออก ปัจจุบันมีปลูกทั้ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือ..

data-ad-format="autorelaxed">

การปลูกองุ่นในปรเทศไทยได้รับความมนิยมเป็นอย่างมากในภาคตะวันออก และด้วยองุ่นเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในหลายๆสภาพอาการจึงทำให้การปลูกขยายไปบางในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียบหนือ และภาคกลาง แต่ที่ทำให้การปลูกองุ่นไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรอาจเป็นเพราะองุ่นเป็นพืชที่ไม่ได้ทนต่อแมลง และโรคพืชได้เท่าใดนัก ถึงแม้ว่าจะมีราคาสูงก็ตามครับ

 

การปลูกองุ่น1

 

สภาพอากาศที่เหมาะแก่การปลูกองุ่น องุ่นเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000-4,000ฟุต แต่ก็มีบางพันธุ์ก็สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่สูงจากน้ำทะเล 6,000 ฟุตก็มีครับ ส่วนในประเทศไทยก็สามารถเจริญเติบโตได้ดีเช่นเดียวกัน แต่องุ่นที่ปลูกในประเทศไทยเหมาะที่จะปลูกเพื่อนทานผลมากกว่า การปลูกเพือทำเหล้าเหมือนกย่างในยุโรปครับ

 

สภาพดินที่เหมาะกับการปลูกองุ่น ต้องเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ถ้าจะให้ดีควรเป็นดินเหนียวปนดินร่วนตามที่ราบลุ่มแม่น้ำ สภาพความเป็นกรด-ด่าง(HP) อยู่ที่ 5.6-6.4 และมีปริมาณน้ำเพียงพอ แต่น้ำท่วมไม่ถึงเด็ดขาด

 

พันธุ์องุ่นที่นิยมปลูก

 

1. พันธุ์ไวท์มะละกา เป็นพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดในทุกวันนี้ เหมาะในการปลูกเพื่อทานผล มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์หลักๆ คือ ชนิดผลกลม และผลยาว ลักษณะทางสายพันธุ์มีช่อใหญ่ มีลูกเยอะ สีของผลเมือแก่พร้อมเก็บเกี่ยว มีสีเหลืองอมเขียว รสหวาน หนึ่งปีให้ผลผลิต 2 ครั้ง

 

2. พันธุ์คาร์ดินัล เป็นองุ่นที่ปลูกง่าย ดูแลง่ายให้ผลผลิตสูง ช่อผลใหญ่ ผลมีสีม่วนดำ รสหวาน กรอบ เปลือกบาง (ทำให้ผลแตกง่าย หากเก็บเกี่ยวไม่ทัน) ในเวลา 2 ปี เก็บผลผลิตได้ 5 ครั้ง แต่ราคาถูกกว่าพันธ์ไวท์มะละกา จึงไม่ค่อยนิยมปลูกเท่าที่ควร

 

วิธีการขยายพันธ์องุ่น องุ่นเป็นพืชที่สามารถขยายพันธุ์ได้ง่ายมากๆ ครับ สามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น การปักชำ การตอน การติดตา การเสียบยอด และการเสริมราก  แต่ไม่นิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดเพราะจะทำให้กลายพันธุ์ได้ และติดโรคพืชได้ง่ายครับ

 

การปลูกและการดูแลรักษา

 

1. การเตรียมพื้นที่ ขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกองุ่นในแต่ละพื้นที่ เช่น พื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมขังได้ง่าย จะปลูกด้วยการยกร่องให้สูง เพื่อป้องกันรางเน่าในองุ่นครับ

 

1.1 การปลูกแบบยกร่อง เตรียมพื้นที่โดยการยกร่องให้แปลงมีขนาดกว้าง 6 เมตร ความยาวร่องแล้วแต่ขนาดของพื้นที่ ส่วนความสูงของร่องให้สังเกตจากปริมาณน้ำที่เคยท่วมสูงสุดโดยให้อยู่สูงกว่าแนวระดับน้ำท่วม 50 เซนติเมตร ขนาดร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร ก้นร่องน้ำกว้าง 0.5-0.7 เมตร การปลูกควรปลูกแถวเดียวตรงกลางแปลง เว้นระยะระหว่างหลุมให้ห่างกัน 3-3.50 เมตร

 

1.2 การปลูกในที่ดอน ควรไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืชและทำให้ดินร่วนซุย ใช้ระยะปลูก 3×4-3.50×5 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน

 

2. วิธีการปลูก


1. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาว และลึก ประมาณ 50 เซนติเมตร
2. ผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร๊อคฟอสเฟต เข้าด้วยกันในหลุมให้สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
3. ยกถุงกล้าต้นองุ่นวางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
4. ใช้มีดที่คมกรีดถึงจากก้นขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
5. ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
6. กลบดินที่เหลือลงไปในหลุม
7. กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
8. ป้กไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมพัดโยก
9. หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
10. รดน้ำให้โชก
11. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด

 

3. การทำค้าง

 

การทำค้างขจะทำหลังจากที่ปลูกองุ่นแล้วประมาณ 1 ปี ซึ่งต้นองุ่นจะสูงพอดีที่จะขึ้นค้างได้ ค้างต้นองุ่นมีหลายแบบด้วยกันแต่แบบที่นิยมกันมากคือ ค้างแบบเสาคู่แล้วใช้ลวดขึง มีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้

 

การเลือกเสาค้าง เสาค้างอาจใช้เสาซีเมนต์หน้า3 นิ้ว หรือ 4 นิ้วก็ได้ เสาค้างซีเมนต์จะแข็งแรงทนทานอยู่ได้นานหลายปี แต่มีราคาแพงและหนัก เวลาทำค้างต้องเสียแรงงงานมาก ถ้าใช้เสาไม้ให้ใช้ไม้เนื้อแข็งขนาดหน้า 2×3 นิ้ว หรือหน้า 2×4 นิ้ว หรือเสากลมก็ได้ เสาควรยาวประมาณ 2.5-3 เมตร หรือยาวกว่านี้ ซึ่งเมื่อปักลงดินเรียบร้อยแล้ว ให้เหลือส่วนที่อยู่เหนือดินประมาณ 1.50 เมตร

 

การปลูกองุ่น2

 

การปักเสา ให้ปักเป็นคู่ 2 ข้างของแปลงในแนวเดียวกัน โดยให้เสาห่างกัน 2 เมตร และเมื่อติดคานแล้ว ให้เหลือหัวไม้ยื่นออกไปทั้งสองข้างๆ ละ 50 เซนติเมตร (ดังภาพแบบที่ 1) ถ้าปักเสาห่างกัน 3 เมตร เมื่อติดคานบนแล้วจะพอดีหัวไม้ (ตามภาพแบบที่ 2) การติดคานเชื่อมระหว่างเสาแต่ละคู่ให้ใช้น๊อตเหล็กเป็นตัวยึด ไม่ควรยึดด้วยตะปูเพราะจะไม่แข็งแรงพอ ระยะห่างระหว่างเสาแต่ละคู่ประมาณ 10-20 เมตร ยิ่งปักเสาถี่จะยิ่งแข็งแรงทนทานแต่ก็สิ้นเปลืองมากบางแห่งจึงปักเสาเพียง 3 คู่ คือ หัวแปลง กลางแปลง และท้ายแปลง และระหว่างเสาแต่ละคู่ให้ค้างไม้รวกช่วยค้ำไว้เป็นระยะๆ ซึ่งก็สามารถใช้ได้และประหยัดดีแต่ต้องคอยเปลี่ยนค้างไม้รวกบ่อย


การขึงลวด ลวดที่ใช้ทำค้าง ให้ใช้ลวดขนาดใหญ่พอสมควรคือ ลวดเบอร์ 11 ซึ่งลวดเบอร์ 11 หนัก 1 กิโลกรัม จะยาวประมาณ 18 เมตร ให้ขึงลวดพาดไปตามคานแต่ละคู่ตลอดความยาวของแปลง โดยใช้ลวด 4-6 เส้น เว้นระยะลวดให้ห่างเท่าๆ กัน ที่หัวแปลงและท้ายแปลงให้ใช้หลักไม้ขนาดใหญ่ตอกฝังลงไปในดินให้แน่น แล้วใช้ลวดโยงจากค้างมามัดไว้ที่หลักนี้เพื่อให้ลวดตึง หลังจากขึงลวดเสร็จแล้วให้ตรวจดูว่าลวดหย่อนตกท้องช้างหรือไม่ ถ้าหย่อนมากให้ใช้ไม้รวกขนาดใหญ่ปักเป็นคู่ตามแนวเสาค้าง แล้วใช้ไม้รวกอีกอันหนึ่งพาดขวางผูกด้านบนในลักษณะเดียวกับค้าง เพื่อช่วยรับน้ำหนักเป็นระยะๆ ไปตลอดทั้งแปลง เพราะเมื่อต้นองุ่นขึ้นค้างจนเต็มแล้วจะมีน้ำหนักมากจำเป็นต้องช่วยรองรับน้ำหนักหรือค้ำยันไว้ไม่ให้ค้างหย่อน

 

4. การตัดแต่งทรงต้นในระยะเลี้ยงเถา

องุ่นเป็นพืชที่เจริญเติบโต และมีการแตกกิ่งก้านสาขาเร็วจึงจำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ต้นองุ่นเจริฐเติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้อง ต้นองุ่นที่ปลูกเสร็จแล้วให้หาไม้รวกปักขนาบลำต้นแล้วจึงผูกต้นชิดกับเสาเพื่อบังคับให้ต้นตั้งตรง ในระหว่างนี้ตาข้างจะเจริญพร้อมกับตายอด ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การเจริญส่วนยอดลดลง ดังนั้นจึงต้องตัดตาข้างทิ้งเสมอๆ และผูกให้ยอดองุ่นตั้งตรง เมื่อต้นองุ่นเติบโตจนมีความสูง 1.5 เมตร หรือจากยอดถึงระดับค้าง หรือเสมอระดับลวด ต้องตัดยอดทิ้ง จัดกิ่งให้อยู่ตรงข้ามกันเพื่อให้ตาข้างที่อยู่บริเวณยอดเจริญออกมา 2 ยอดตรงข้ามกัน ซึ่งจะเอาไว้ทั้ง 2 กิ่งหรือกิ่งเดียวกันก็ได้ ถ้าเอาไว้ 2 กิ่งให้จัดกิ่งทั้งสองอยู่ตรงข้ามกัน

 

การไว้ทั้ง 2 กิ่งมักพบปัญหาคือ กิ่งทั้ง 2 เจริญเติบโตไม่เท่ากัน ทำให้การกระจายของผลไม่สม่ำเสมอกันจึงมักนิยมไว้กิ่งเพียงกิ่งเดียว คือหลังจากที่ตัดยอด และตาแตกออกมาเป็นกิ่งแล้ว ให้เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ แข็งแรงไว้เพียงกิ่งเดียว อีกกิ่งหนึ่งตัดออก กิ่งที่คงค้างไว้ของทุกต้นให้จัดกิ่งหันไปในทิศทางเดียวกันคืนหันไปทางหัวแปลงหรือท้ายแปลง หลังจากที่จัดกิ่งให้หันไปในทิศที่ต้องการแล้ว เมื่อกิ่งนั้นยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ให้ตัดยอดออก กิ่งนั้นจะแตกตาใหม่เติบโตเป็นกิ่งใหม่ 2 กิ่งให้คงเหลือ ไว้ทั้ง 2 กิ่ง และเมื่อกิ่งใหม่ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ก็ตัดยอดอีกและเหลือไว้ทั้ง 2 กิ่งเช่นเดียวกัน ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งองุ่นเต็มค้างจึงหยุดการตัดยอด ในระหว่างที่ตัดยอดให้กิ่งแตกใหม่นั้น จะต้องจัดกิ่งให้กระจายเต็มค้างอย่างทั่วถึงอย่าให้ทับกันหรือซ้อนกันมาก จัดให้กิ่งอยู่บนค้างเสมอ อย่าให้กิ่งชูโด่งขึ้นไปด้านบนหรือห้อยย้อยลงด้านล่าง การจัดกิ่งให้อยู่ในที่ที่ต้องการอาจจะใช้เชือกกล้วยผูกมักกับลวดก็ได้ เพราะเชือกกล้วยจะผุเปื่อยเร็ว ทำให้การตัดแต่งกิ่งในครั้งต่อไปทำได้สะดวก กิ่งเหล่านี้เรียกว่า “เคน” ซึ่งเป็นกิ่งที่ใช้ตัดแต่งเพื่อการออกดอกต่อไป ช่วงการเจริญเติบโตของต้นองุ่นตั้งแต่ปลูกตัดแต่งทรงต้นจนต้นมีอายุพอที่จะตัดแต่งกิ่งได้เรียกว่า “ระยะเลี้ยงเถา” ซึ่งใช้เวลาประมาณ 8-12 เดือน

 

5. การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ออกดอก

ต้นองุ่นที่นำมาปลูกในบ้านเรานั้นถ้าไม่ตัดแต่งกิ่งแล้วจะไม่ออกดอกหรือออกเพียงเล็กน้อยให้ผลที่ไม่สมบูรณ์ การจะให้ต้นองุ่นออกดอกได้ต้องตัดแต่งกิ่งช่วยหลังจากต้นองุ่นพักตัวอย่างเต็มที่แล้วและก่อนตัดแต่งกิ่ง ต้องงดการให้น้ำ 7 วัน เพื่อให้องุ่นออกดอกได้มากอายุการตัดแต่งให้ออกดอกในครั้งแรกหรือ “มีดแรก” ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น อายุของต้น และพันธุ์ เป็นต้น เช่น


องุ่นพันธุ์คาร์ดินัล ตัดแต่งได้เมื่ออายุ 9-10 เดือน หลังจากการปลูกในแปลงจริง
องุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา ตัดแต่งกิ่งได้เมื่ออายุ 10-12 เดือน หลังจากปลูกในแปลงจริง
กิ่งที่จะตัดแต่งเพื่อให้ออกดอกจะต้องเป็นกิ่งที่แก่จัด กิ่งเป็นสีน้ำตาล ใบแก่จัด ดังนั้นก่อนการตัดแต่งจะต้องงดให้น้ำ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้ต้นองุ่นพักตัวอย่างเต็มที่ การตัดแต่งให้ใช้กรรไกรตัดกิ่งช่วงสุดท้ายให้สั้นลง ความยาวของกิ่งที่เหลือขึ้นอยู่กับพันธุ์องุ่นด้วย เช่น


พันธุ์คาร์ดินัล ให้ตัดสั้นเหลือเพียง 3-4 ตา
พันธุ์มะละกา ให้ตัดสั้นเหลือเพียง 5-6 ตา


ถ้าเป็นกิ่งอ่อนควรเว้นตาไว้เพิ่มขึ้นและนำกิ่งที่ตัดออกจากแปลงปลูกไปเผาทิ้งหรือฝังเสีย อย่าปล่อยทิ้งไว้ใต้ต้นเพราะจะเป็นที่อยู่อาศัยของโรคแมลงต่างๆ ที่จะเข้าทำลายองุ่นได้ แล้วจึงเริ่มให้น้ำแก่ต้นองุ่น หลังจากนั้น 15 วันต้นองุ่นจะเริ่มแตกกิ่งใหม่ ซึ่งกิ่งใหม่ที่แตกออกมานี้จะมี 2 พวกคือ พวกหนึ่งมีช่อดอกอยู่ด้วย และอีกพวกหนึ่งมีแต่ใบอย่างเดียว สามารถสังเกตได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ คือ ถ้ากิ่งไม่มีช่อดอกติดออกมาด้วยแสดงว่า กิ่งนั้นจะมีแต่ใบอย่างเดียว เพราะช่อดอกจะปรากฏอยู่บริเวณโคนกิ่งที่แตกออกมาใหม่นี้เท่านั้น ต่อจากนั้นอีก 15 วัน ดอกก็จะเริ่มบานจากโคนช่อดอกไปยังปลายช่อดอกใช้เวลา 2 วันก็จะบานหมดทั้งช่อ ในช่วงดอกบานนั้นเป็นช่วงที่อ่อนแอ ถ้ามีฝนตกหนักอาจทำให้ดอกร่วงและเสียหายได้

 

การปลูกองุ่น3

 

6. การปฏิบัติหลังจากตัดแต่งกิ่ง


6.1 การตบแต่งกิ่งและการจัดกิ่ง 

หลักงจากการตัดแต่งกิ่งได้ 15 วัน องุ่นจะแตกกิ่งใหม่ออกมาจำนวนมาก มีทั้งกิ่งที่มีช่อดอก กิ่งที่มีแต่ใบอย่างเดียว และกิ่งแขนงเล็กๆ ซึ่งกิ่งแขนงเล็กพวกนี้ให้ตัดออกให้หมดเหลือไว้เฉพาะกิ่งที่มีช่อดอก และกิ่งที่มีแต่ใบอย่างเดียวที่เป็นกิ่งขนาดใหญ่เท่านั้น นอกจากนี้ใบที่อยู่โคนๆ กิ่งก็ให้ตัดออกด้วย เพื่อให้โปร่งไม่ทึบเกินไป เมื่อตัดแต่งกิ่งแล้ว และเห็นว่ากิ่งยาวพอสมควรจัดกิ่งให้อยู่บนค้างอย่างเป็นระเบียบ กระจายตามค้างและไม่ทับซ้อนกันหรือก่ายกันไปมา เพราะกิ่งที่แตกออกมาใหม่จะแตกออกทุกทิศทุกทางเกะกะไปหมด วิธีจัดกิ่งคือ โน้มกิ่งให้มาพาดอยู่บนลวดแล้วอาจผูกด้วยเชือกกล้วย หรือใบกล้วยแห้งฉีกเป็นริ้วๆ ไม่ให้กิ่งที่ชี้ขึ้นไปด้านบนหรือห้อยย้อยลงด้านล่าง เพราะจะไม่สะดวกในการปฏิบัติงาน เวลาจัดกิ่งต้องระมัดระวังอย่าให้กระทบกระเทือนดอก เพราะจะฉีกขาดเสียหายได้ง่าย พยายามจัดให้ช่อดอกห้อยลงใต้ค้างเสมอเพื่อสะดวกในการปฏิบัติงานต่างๆ ในสวน

 

การปลูกองุ่น4

 

6.2 การตัดแต่งข่อดอก หลังจากจัดกิ่งเรียบร้อยแล้ว ช่อดอกจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งต้นองุ่นออกดอกมากเกินไป ถ้าปล่อยไว้ทั้งหมดจะทำให้ต้นโทรมเร็ว คุณภาพของผลของผลไม่ดีเท่าที่ควร ฉะนั้นถ้าเห็นว่า มีช่อดอกมากเกินไปให้ตัดออกบ้าง การตัดแต่งช่ออาจทำตั้งแต่กำลังเป็นดอกอยู่ก็ได้ แต่ไม่ค่อยนิยมเพราะไม่แน่ว่าช่อที่เหลือจะติดผลดีหรือไม่ จึงแนะนำให้ตัดแต่งช่อที่ติดเป็นผลเล็กๆ แล้ว โดยเลือกช่อที่เห็นว่ามีขนาดเล็กรูปทรงไม่สวย ติดผลไม่สม่ำเสมอ มีแมลงทำลายและเหลือช่อที่มีรูปทรงสวยไว้ให้กระจายอยู่ทั่วทุกกิ่งอย่างสม่ำเสมอ


6.3 การตัดแต่งผล องุ่นที่ปลูกันอยู่ปัจจุบันในบ้านเรามักติดผลแน่นมาก ถ้าไม่ตัดแต่งผลในช่อจะแน่นเกินไป ทไให้ผลที่ได้มีขนาดเล็ก คุณภาพไม่ดี หรือเบียดเสียดกันจนผลบิดเบี้ยวทำให้ดูไม่สวยงาม จำเป็นต้องตัดแต่งผลใสช่อออกบ้างให้เหลือพอดี ไม่แน่นเกินไปหรือโปร่งเกินไป การตัดแต่งผลออกจากช่อมักทำ 1-2 ครั้ง เมื่อผลโตพอสมควร ผลองุ่นอ่อนที่ตัดออกมาไปดองไว้ขายได้ วิธีการให้ใช้กรรไกรขนาดเล็กสอดเข้าไปตัดที่ขั้วผล อย่าใช้มือเด็ดหรือดึง เพราะจะทำให้ช่อผลช้ำเสียหาย ฉีกขาด และมีส่วนของเนื้อผลติดอยู่ที่ขั้วทำให้โรคเข้าทำลายได้ง่าย ข้อควรระวัง เมื่อองุ่นติดผลแล้ว ผู้ที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในส่วนต้องสวมหมวกหรือโพกศีรษะเสมอ อย่าให้เส้นผมไปโดนผลองุ่นจะทำให้ผลองุ่นเน่าเสียได้


6.4 การใช้สารฮอร์โมน สารฮอร์โมนที่ใช้มีวัตถุประสงค์เพื่อข่วยให้ช่อดอกยืดยาวขึ้น ทำให้ช่อโปร่ง ผลไม่เบียดกันมาก ประหยัดแรงงานในการตัดแต่งผล นอกจากนี้ยังช่วยให้ผลยาว ผลโตขึ้นสวยงาม รสชาติดี สีสวย หวาน กรอบ ผลองุ่นที่ชุบด้วยฮอร์โมนจึงขายได้ราคาดี

 

สำหรับพันธุ์องุ่นที่นิยมใช้สารฮอร์โมนคือ พันธุ์ไวท์มะละกา เพราะติดผลดกมาก จนต้องตัดแต่งผลทิ้งเป็นจำนวนมาก การใช้สารฮอร์โมนจึงช่วยให้ช่อผลยืดยาวขึ้นไม่ต้องตัดแต่งมากและช่วยในผลขยายใหญ่ยาวขึ้นดูสวยงาม ส่วนพันธุ์คาร์ดินัลไม่ค่อยนืยมใช้เพราะองุ่นพันธุ์นี้ติดผลไม่ค่อยดก ผลไม่เบียดกันแน่น ถ้าใช้ฮอร์โมนจะทำให้ช่อองุ่นดูโหรงเหรงไม่น่าดู ปกติผลองุ่นพันธุ์นี้โตอยู่แล้วและเป็นผลทรงกลมส่วนฮอร์โมนที่ใช้ในการยืดช่อผล ขยายขนาดของผลคือ สาร “จิบเบอร์เรลลิน” ซึ่งมีจำหน่ายในท้องตลาด (ชื่อทางการค้าต่างๆ กัน) อัตราที่ใช้ได้ผลคือ 20 พีพีเอ็ม (คือตัวยา 20 ส่วน ในน้ำ 1 ล้านส่วน) นิยมใช้ 1-2 ครั้งคือ ครั้งแรกหลังจากดอกบาน 7 วัน (ดอกบาน 80 เปอร์เซนต์ของทั้งช่อ) ส่วนครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกประมาณ 7 วัน

 

วิธีใช้ การใช้สารฮอร์โมน นี้อาจใช้วิธีฉีดพ่นไปที่ช่อดอกช่อผลให้ทั่วทุกต้นทั้งแปลง ซึ่งแม้จะโดนใบก็ไม่มีผลต่อใบแต่อย่างใด วิธีนี้จะสิ้นเปลืองน้ำยามาก และฮอร์โมนถูกช่อองุ่นไม่ทั่วทั้งช่อแต่ประหยัดเวลาและแรงงานได้มากกว่า ส่วนอีกวิธีคือ ชุบช่อดอก ช่อผล ซึ่งประหยัดน้ำยาได้มากกว่า วิธีการทำง่าย แต่เสียแรงงานมากกว่าอุปกรณ์ง่ายๆ สำหรับการชุปฮอร์โมนคือ หาถุงพลาสติกขนาดโตพอที่จะสวมช่อองุ่นได้มา 2 ใบ ใบแรกใส่น้ำธรรมดาลงไปประมาณ 1 ใน 3 ของถุง ใบที่ 2 ใส่สารฮอร์โมนที่ผสมเตรียมไว้ลงไปประมาณครึ่งถุงเอาถุงใบที่มีฮอร์โมนสวมลงไปในถุงใบที่มีน้ำ จักปากถุงให้เสมอกันแล้วพับตลบปากถุงออกด้านนอก 2-3 พับ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำในถุงไหลออกมาได้ เมื่อจะชุบช่อองุ่นให้วางถุงบนฝ่ามือ เปิดปากถุงให้กว้างแล้วสวมเข้าไปที่ช่อองุ่น บีบฝ่ามือน้ำยาก็จะทะลักขึ้นมาด้านบนทำให้เปียกทั้งช่อ แล้วเปลี่ยนไปชุบช่อต่อๆ ไป เวลาที่ใช้ในการชุบช่อแต่ละช่อเพียวอึดใจเดียว คือ เมื่อบีบถุงน้ำยาทะลักขึ้นไปโดนช่อแล้วก็คลายมือที่บีบแล้วนำถุงน้ำยาออกทันที ฉะนั้นคนที่ชำนาญจะทำได้รวดเร็วมากเมื่อชุบช่อไปได้สักพักน้ำยาในถุงจะพร่องลง ก็เติมลงไปใหม่ให้ได้ระดับเดิม คือ ประมาณครึ่งถุงตลอดเวลา การบีบต้องระวังอย่าให้แรงมากเพราะน้ำยาจะทะลักล้นออกนอกถุงเสียไปโดยเปล่าประโยชน์

 

ข้อควรระวัง การใช้ฮอร์โมนชุบช่อนี้เป็นโอกาสที่จะทำให้โรคต่างๆ ระบาดจากช่อหนึ่งไปยังอีกช่อหนึ่งได้ง่าย ถ้าเป็นช่วงที่โรคกำลังระบาดอยู่ ควรเติมยากันราลงไปในฮอร์โมนนั้นด้วย และการใช้ฮอร์โมนต้องระวังเกี่ยวกับการเตรียมสารให้ได้ความเข้มข้นที่กำหนด การผิดพลาดเพียงเล็กน้อยจะทำให้ผลองุ่นร่วงง่าย ขั้วผลเปราะนั่นเอง การเก็บเกี่ยวและการขนส่วจึงต้องระมัดระวังมาก แต่สามารถแก้ไจได้โดยการใช้สาร 4-CPA (4-Chlorophenoxy acetic acid) ฉีดพ่นก่อนเก็บผลประมาณ 10 วัน จะช่วยลดการร่วงของผลได้บ้างแต่ก็ยังร่วงมากกว่าองุ่นที่ไม่ได้ใช้สารจิบเบอร์เรลลิน

 

7. การใส่ปุ๋ย


ปุ๋ยนับว่ามีความสำคัญมากเพราะองุ่นเจริญเติบโตทั้งปีให้ผลผลิตมาก ดังนั้นจึงต้องใช้ธาตุอาหารต่างๆ มาก ปุ๋ยที่ใช้ ได้แก่

 

7.1 ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ถึงแม้จะมีโรตุอาหารที่พืขต้องการจำนวนน้อย แต่มีคุณสมบัติทำให้โครงสร้างของดินดี ดังนั้นควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักทุกปีๆ ละอย่างน้อย 1 ครั้งๆ ละ 5-10 กิโลกรัม/ต้น แต่ต้องคำนึงเสมอว่าปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่จะนำมาใส่นั้น ต้องเป็นปุ๋ยที่มีการย่อยสลายหมดแล้ว โดยเฉพาะปุ๋ยมูลค้างคาวใช้ได้ผลดี

 

7.2 ปุ๋ยเคมี

 

7.2.1 ระยะเลี้ยงเถา การใส่ปุ๋ยช่วงนี้เพื่อบำรุงรักษาต้นให้มีการเจริญเติบโตของลำต้น กิ่งก้าน ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราที่ใส่ไม่ควรมากนักแต่ควรใส่บ่อยครั้ง เช่น อัตราต้นละ 50 กรัม/ต้น ใส่ทุกๆ 1 เดือน จนถึง 3 เดือน แล้วเพิ่มเป็น 100 กรัม/ต้น ทุกเดือน แต่อัตราการใส่นั้นขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นองุ่นด้วย

 

7.2.2 องุ่นที่ให้ผลแล้ว ควรแบ่งใส่ 4 ระยะ ดังนี้

 

ระยะที่ 1 หลังการเก็บเกี่ยวมีดแรกใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตราขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นเพื่อบำรุงต้นพร้อมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

ระยะที่ 2 หลังตัดแต่งกิ่ง 7-15 วันใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 16-16-16 เพื่อบำรุงยอดใบและดอก ที่ผลิขึ้นมาใหม่

ระยะที่ 3 หลังตัดแต่งกิ่ง 45 วัน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 12-12-17 หรือ 4-16-24-4 ใส่เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของผลประมาณ 100 กรัม/ต้น

ระยะที่ 4 หลังตัดแต่งกิ่ง 75 วัน ระยะนี้ควรใส่ปุ๋ยที่มีโปรแตสเซียมสูง ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-50 หรือ 13-13-21 ประมาณ 100 กรัม/ต้น เพื่อเพิ่มคุณภาพผลองุ่นและสีผิวและรสชาติ

 

7.3 ธาตุอาหารเสริม


ต้นองุ่นที่มีสภาพค่อนข้างโทรม ขาดการบำรุงที่ดีควรเร่งให้รากเจริญเติบโต เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของต้นให้พัฒนาการได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 15-30-15 หรือ 10-20-30 หรือ 20-20-20 ที่มีธาตุอาหารรองและธาตุปริมาณน้อยอัตรา 60 กรัม ผสมกรดฮิวมิค 100-200 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณใต้ทรงพุ่มให้ทั่วทุกสัปดาห์รวม 3 ครั้ง หรือฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบสูตร “ทางด่วน” ซึ่งประกอบด้วย สารอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบหลัก เช่น ครอปไจแอน โพลีแซค มอลตานิค และฟลอริเจน เป็นต้น อัตรา 20-30 ซีซี (อาจใช้น้ำตาลกลูโคส) หรือเด็กซ์โตรส 600 กรัม ฮิวมิคแอซิค อัตรา 20 ซีซีปุ๋ยเกร็ด สูตร 15-30-15 หรือ 20-20-20 หรือ 10-20-30 ที่มีธาตุอาหารรองและธาตุปริมาณน้อยอัตรา 40-60 กรัมสารจับใบส่วนผสมทั้งหมดผสมรวมกันในน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุก 7 วัน ติดต่อกันนาน 3-4 สัปดาห์

 

8. การให้น้ำ


องุ่นมีความต้องการน้ำมาก จึงควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมออย่าให้แห้ง โดยเฉพาะหลังจากตัดแต่งกิ่ง ต้องให้น้ำเพื่อให้ดินชื้นอยู่เสมอแต่อย่าให้ถึงกับแฉะ ในระยะแรกแปลงองุ่นจะโล่งไม่มีใบปกคลุมการให้น้ำอาจจะต้องให้ทุกวัน สังเกตดูว่าอย่าให้ดินในแปลงแห้งมาก การให้น้ำนี้ควรให้อย่างสม่ำเสมอไปเรื่อยๆ จนถึงระยะที่ผลแก่จึงควรงดการให้น้ำ 2-4 สัปดาห์ก่อนวันตัดผล เพื่อให้องุ่นมีคุณภาพดีรสหวานจัดและสีสวยการให้น้ำก่อนตัดผลจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นบ้าง แต่ผลองุ่นที่ได้จะมีคุณภาพไม่ดี เน่าเสียเร็ว เก็บไว้ได้ไม่นาน

 

การห่อผล หลังจากตัดแต่งผลแล้ว ควรห่อผลเพื่อป้องกันแมลงเข้าทำลาย เช่น เพลี้ยแป้ง แมลงวันทอง อีกทั้งยังทำให้ผลองุ่นผิวสวยลูกโตกว่าปกติ และป้องกันความเสียหายจากเส้นผมของผู้ปฏิบัติงานไปโดนผลองุ่นอีกด้วย


วัสดุที่ใช้ห่อผลองุ่นอาจทำเอง โดยใช้กระดาษ เช่น กระดาษกระสอบปูน ซึ่งทนต่อน้ำฝน ไม่ค่อยเปียกน้ำและเมื่อถูกน้ำจะแห้งเร็ว ทำให้ไม่ฉีกขาดง่าย แต่ถ้าใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ จะใช้ได้ไม่นานเพราะกระดาษหนังสือพิมพ์เมื่อโดนน้ำแล้วจะซับน้ำและเปื่อยยุ่ยได้ง่าย หรืออาจจะซื้อวัสดุห่อผลองุ่นแบบสำเร็จรูปก็ได้ ปัจจุบันจะมีบริษัทผลิตจำหน่ายหลายแบบ แต่ก่อนห่อผลจะต้องฉีดพ่นยากันเชื้อราก่อนหรือใช้วิธีการจุ่มช่อผล เหมือนกับการจุ่มฮอร์โมนยืดช่อดอกก็ได้ เพื่อป้องกันโรคผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราเข้าทำลาย

 

การเก็บเกี่ยว


การเก็บเกี่ยวผลองุ่นเป็นขั้นตอนที่สำคัญตอนหนึ่งเพราะองุ่นเป็นผลไม้บ่มไม่ได้ กล่าวคือ เมื่อเก็บมาจากต้นเป็นอย่างไรก็จะยังคงสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่หวานขึ้น และไม่สุกมากขึ้นอีกแล้ว การเก็บผลองุ่นจึงต้องเก็บในช่วงที่ผลแก่เต็มที่ และไม่แก่เกินไป ผลองุ่นที่ยังไม่แก่เต็มที่จะมีรสเปรี้ยว รสฝาด คุณภาพของผลไม่ดี สีไม่สวย ส่วนผลองุ่นที่แก่เกินไปจะหวานจัดเกินไป เน่าเสียง่าย เก็บไว้ไม่ได้นาน ผลหลุดร่วงง่าย เป็นต้น


ผลองุ่นที่แก่จัดสังเกตได้หลายอย่าง เช่น กานับอายุตั้งแต่ตัดแต่งจนถึงแก่จัดซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่พันธุ์ เช่น พันธุ์คาร์ดินัล ประมาณ 3 เดือน พันธุ์ไวท์มะละกา ประมาณ 3-3 เดือนครึ่ง อย่างไรก็ตามการกำหนดการแก่ของผลโดยการนับอายุตั้งแต่ตัดแต่งนี้มีข้อสังเกตบางประการ เช่น ผลองุ่นที่ใช้ฮอร์โมนจะสุกเร็วกว่าผลที่ไม่ใช้ฮอร์โมนหลายวัน และฤดูกาลก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เช่น ฤดูแล้ง ผลจะสุกเร็วกว่าฤดูฝน เป็นต้น จึงต้องใช้อย่างอื่นประกอบด้วย เช่น สีของผลที่แก่จัดจะเปลี่ยนจากสีเขียว (องุ่นทุกพันธุ์ตอนที่ผลยังเล็กอยู่จะเป็นสีเขียว) เป็นสีตามพันธุ์ เช่น พันธุ์ไวท์มะละกา เมื่อแก่จัดเป็นสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองใน ส่วนพันธุ์คาร์ดินัลเป็นสีม่วงดำหรือแดงอมดำ เป็นต้น นอกจากสีของผลแล้ว อาจดูจากความหวานของผลโดยการทดลองชิมดูหรือใช้เครื่องวัดเปอร์เซ็นต์ความหวาน (น้ำตาล) หรืออาจดูจากขั้วช่อผล ถ้าผลแก่จัด ขั้วของช่อผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล ดังนั้นการเก็บผลองุ่นที่แก่จัดควรอาศัยหลายๆ อย่างประกอบกันเพื่อให้แน่ใจและที่สำคัญอย่างยิ่ง คือควรงดการให้น้ำแก่ต้นองุ่นสักระยะหนึ่งก่อนการตัดผลเพื่อให้ผลองุ่นมีคุณภาพดี


อย่างไรก็ตาม บางครั้งผู้ปลูกอาจจำเป็นต้องเก็บผลองุ่นที่จะแก่จัดด้วยเหตุหลายประการ เช่น ฝนตกขณะผลกำลังแก่จัดจะทำให้ผลแตกเสียหายมาก โดยเฉพาะพันธุ์คาร์ดินังล และเหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งคือ พ่อค้าจะเป็นคนกำหนดให้เก็บผลองุ่นตามเวลาที่เขาต้องการถึงแม้ว่าผลองุ่นจะยังไม่แก่จัดก็ตาม เพราะว่าองุ่นขาดตลาด เป็นต้น


สำหรับองุ่นที่ปลูกอยู่ในแปลงเดียวกันจะแก่ไม่พร้อมกัน การเก็บจำเป็นต้องเก็บหลายครั้ง โดยเลือกเก็บเฉพาะช่อที่แก่เต็มที่ก่อน และทยอยเก็บไปเรื่อยๆ จนหมด การเก็บใช้กรรไกรตัดที่ขั้วผลแล้วบรรจุลงเข่ง หรือลังไม้ที่บุ หรือรองด้วยกระดาษห่อฝอยหรือใบตอง เพื่อป้องกันการชอกช้ำในขณะขนส่ง การขนส่งก็ควรทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้ชอกช้ำมาก และอย่านำเข่งที่บรรจุผลองุ่นวางซ้อนกัน

 

การปลูกองุ่น5

 

พอจะรู้หรือยังครับว่าทำไม การปลูกองุ่นจึงไม่แพร่หลายมากนักในบ้านเราทั้งที่องุ่นก็มีราคาแพง และนิยมปลูกกันมาก ด้วยขั้นตอนที่ยุ่งยาก มากมาย ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกต้องสละเวลาทั้งหมดที่มีในการดูแลต้นองุ่นอย่างเอาใจใส่ นอกจากนี้ ยังจะเรื่องโรคพืชในองุ่น และแมลงศัตรูพืชก็เยอะครับ เรียกได้ว่าถ้าไม่ใจรักจริงๆละก็ มีหวังขาดทุนเจ๊งไม่เป็นท่าครับ

 

สุดท้ายครับ ถึงแม้ว่าการปลูกองุ่นจะเป็นเรื่องยาก ทำให้ไร่องุ่นมีน้อยมากในบ้านเรา จึงทำให้ราคาองุ่นสูงกว่าพืชชนิดอื่นๆ เพราะมีคู่แข่งน้อย กำหนดราคาได้ง่าย และได้กำไรสูง สามารถพัฒนาเป็นธุรกิจท่องเที่ยวได้อีกด้วย(เที่ยวไร่องุ่น) ผลผลิตสามารถดัดแปลงได้หลายแบบไม่ว่าจเป็น ผลสด ไวด์ เหล้า ฯลฯ เอาเป็นว่าถ้าใจถึงมีเวล ก็จัดเต็มครับ ถ้าไม่เจ๊งก็รวยครับ และอย่างลืมนะครับ ก่อนลงมือทำให้หาข้อมูลจนแน่ใจ และมีความรู้อย่างจริงจังก่อนแล้วค่อยลงมือทำ เอาใจใส่ จริงจัง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ยืนหยัด และป้องกันคู่แข่งให้คุณได้เป็นอย่างดีครับ

 


ข้อมูลจาก farmthailand.com/266


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 6000 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ผล ไม้ยืนต้น]:
ฟักข้าวใบไหม้ ฟักข้าวใบแห้ง ฟักข้าวใบเหลือง โรคเชื้อรา ที่เกิดขึ้นกับฟักข้าว
อาการใบเหลือง ฟักข้าวใบเหลือง ต่างจากอาการใบไหม้ สาเหตุต่างกัน วิธีป้องกันและรักษาก็ต่างกัน
อ่านแล้ว: 6632
หนอนเงาะ หนอนเจาะเงาะ หนอนเจาะขั้วผลเงาะ รีบแก้ไข ก่อนผลผลิตตกต่ำ
หนอนกเจาะดอกเงาะจะกัดกินดอก และยังทำลายใบอ่อนเงาะ และยอดอ่อน จะสังเกตุเห็นทางเดินเป็ยใย
อ่านแล้ว: 7313
หนอนฝรั่ง หนอนเจาะผลฝรั่ง ฝรั่งมีหนอน แมลงวันผลไม้ กำจัดด้วย ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
หนอนเป็นศัตรูพืช ที่เข้าทำลายฝรั่งให้เกิดความเสียหาย และนอกจากนั้น ยังมีเพลี้ย ที่ต้องป้องกันและกำจัด
อ่านแล้ว: 6789
อินทผาลัมใบแห้ง อินทผาลัมใบไหม้ อินทผาลัมยอดเน่า มีสองสาเหตุหลัก แก้ได้
อาจจะแห้งบริเวณเนื้อใน หรือแห้งจากขอบใบเข้ามาก็ได้ จริงแล้วคล้ายอาการใบจุด แต่แผลที่เกิดจากอาการ ใบไหม้ จะมีขนาดแผล..
อ่านแล้ว: 8084
หนอนมะม่วง หนอนเจาะมะม่วง หนอนเจาะต้นมะม่วง แก้ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัย
ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ด้วงนี้จะวางไข่ในผลอ่อน ตัว หนอนมะม่วง จะโตอยู่ในเมล็ด พอตัวหนอนแก่ จะ..
อ่านแล้ว: 7299
หนอนมะม่วง มะม่วงเป็นหนอน หนอนแมลงวัน ใช้ ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
วางใข่กลางคืน ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวจะกินชอนไช ตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงโทรม ยืนต้นตาย ใบแห้ง
อ่านแล้ว: 6200
มะม่วงใบแห้ง มะม่วงแห้งตาย มะม่วงไม่ติดผล ใบจุด มะม่วงดอกร่วง แอนแทรคโนส เป็นเหตุ
โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดในมะม่วงนี้ ทำความเสียหายกับมะม่วงเป็นอย่างมาก ทั้งด้านผลผลิตที่น้อยลง และคุณภาพของมะม่วงก็จะแย่
อ่านแล้ว: 6663
หมวด ไม้ผล ไม้ยืนต้น ทั้งหมด >>