data-ad-format="autorelaxed">
สวนมะม่วง โรคแอนแทรกโนสระบาด
เตือนชาวสวนมะม่วงระวัง โรคแอนแทรกโนส ระบาดใน สวนมะม่วง เตือนหมั่นสำรวจแปลง
ศูนย์บริหารศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรที่ปลูกมะม่วงว่าในช่วงนี้อยู่ในระยะติดผล เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง อาจพบการทำลายของโรคแอนแทรกโนส อาการบนผลอ่อนจะปรากฏแผลสีน้ำตาลเข้มขนาดเล็กบนผล แผลจะเด่นชัดขึ้นเมื่อผลเริ่มสุก เมื่อมะม่วงเริ่มแก่ในระหว่างการบ่มหรือขนส่งจุดแผลเหล่านี้จะขยายใหญ่ขึ้น มีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ และลุกลามออกไป ทำให้ผลเน่าทั้งผลได้ ซึ่งทำความเสียหายแก่ผลผลิตเป็นอย่างมาก
วิธีการป้องกันและกำจัด โรคแอนแทรคโนส ในมะม่วง
แนะนำว่าเกษตรกรชาวสวนควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ลมพัดผ่านได้ดี กำจัดวัชพืชภายในแปลงให้สะอาด และตัดแต่งกิ่งก้านและใบ ที่เป็นโรคนำไปฝังหรือเผาทำลาย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งของเชื้อในการแพร่ระบาดต่อไป ใช้เชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส อัตรา 30 – 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตรใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม/น้ำ 20 ลิตร ขยำให้เข้ากันเพื่อเอาสปอร์ออกจากเมล็ดข้าวฟ่าง แล้วกรองเอาแต่น้ำ ผสมสารจับใบแล้วพ่นกำจัด
และควรทำการสำรวจเพลี้ยไฟอย่างสม่ำเสมอ โดยการสุ่มเคาะที่ดอกหรือผลอ่อนบนกระดาษสีขาว ถ้าพบในปริมาณหนาแน่นมาก ควรตัดสินใจใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งพ่นกำจัด ดังนี้คาร์เบนดาซิม 50 % ดับบลิวพี อัตรา 15 – 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
แมนโคเซบ 80 % ดับเบิลพี อัตรา 40 – 52 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดสลับกันทุกๆ 14 วัน
ทั้งนี้มีข้อแนะนำอีกว่าเกษตรกร ชาวสวนผู้ปลูกมะม่วงไม่ควรใช้สารเคมีชนิดเดียวอย่างต่อเนื่องหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมทั้งไม่ใช้ในอัตราที่สูงเกินกว่ากำหนด เพราะนอกจากจะเป็นการสิ้นเปลืองแล้วยังจะมีผลต่อการพัฒนาความต้านทานต่อสารเคมีของเชื้อก่อโรค และมีผลกระทบต่อคนและสัตว์ในเรื่องของพิษตกค้าง และยังทำลายกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์
อ้างอิง: chiangmainews.co.th