data-ad-format="autorelaxed">
แมลงศัตรูลำไย ระยะใบอ่อน
แมลงที่พบระบาดเป็นประจำในช่วงที่ลำไยแตกใบอ่อน คือหนอนคืบลำไย (Oxyodes scrobiculatus) และหนอนคืบเขียวกินใบ (Thalasodes spp.) แมลงค่อมทอง และอาการพุ่มไม้กวาด(จริยาและชาตรี, 2548)
แมลงศัตรูลำไย ระยะออกดอก
ในช่วงที่ดอกลำไยยังตูมเป็นช่อดอกสะเดา แม่ผีเสื้อหลายชนิดจะเริ่มมาวางไข่และมีกลุ่มแมลงปากดูดหลายชนิดเข้าทำลาย เช่น เพลี้ยไฟ ไร และเพลี้ยหอย(จริยาและชาตรี, 2548)
แมลงศัตรูลำไย ระยะติดผล
แมลงที่เข้าทำลายช่วงที่ลำไยติดผล ได้แก่ มวนลำไย เพลี้ยหอย (ภาพที่ 14) เพลี้ยกระโดด และผีเสื้อเจาะผลไม้ (ผีเสื้อมวนหวาน) ในปีที่ลำไยติดผลน้อยจะพบปัญหาผีเสื้อเจาะผลไม้เข้าทำลายเสียหายมาก (จริยาและชาตรี, 2548)
แมลงศัตรูทำลายกิ่งและลำต้นลำไย
หนอนเจาะกิ่งและลำต้นที่พบเสมอบนลำไยคือหนอนเจาะกิ่งสีแดง หนอนกินเปลือกลำต้น และหนอนด้วงหนวดยาว หนอน 2 ชนิดหลังนี้จะพบเสมอในต้นลำไยที่แสดงอาการหงอย (จริยาและชาตรี, 2548)
1. โรคหงอยหรือโรคทรุดโทรม
โรคหงอยพบเป็นมานานแล้ว แต่เพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่กี่ปีมานี้เองเป็นโรคที่สำคัญและเป็นปัญหากับ
เกษตรกรผู้ปลูกลำไยที่ที่มีสวนสภาพลุ่มและสภาพดอนลักษณะอาการต้นลำไยแสดงอาการทรุดโทรมต้นไม่
สมบูรณ์ชะงักการเจริญเติบโตแคระแกร็นจำนวนใบและขนาดใบลดลงเมื่อมองเข้าไปในทรงพุ่มของต้นจะเห็น
กิ่งก้านภายในชัดเจนสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการเกิดโรคการที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวันในช่วงปลาย
ฤดูฝนทำให้ดินมีสภาพอิ่มน้ำจนระดับน้ำใต้ดินสูง กรณีสวนในที่ลุ่ม นอกจากนี้ยังมีการแพร่ระบาดของโรคพุ่ม
ไม้กวาดเห็ดตับเต่า (เห็ดห้า) และเห็ดลำไย ไส้เดือนฝอยศัตรูพืช เพลี้ยแป้งรากลำไย และเกษตรกรขาด
การปฏิบัติการเขตกรรมภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เหมาะสม
การป้องกันกำจัด
1. ขยายพันธุ์ปลูกจากต้นแม่พันธุ์ที่ปลอดโรค ไม่ปรากฏอาการของโรคพุ่มไม้กวาด
2. จัดการเรื่องการระบายน้ำไม่ให้น้ำแช่รากในช่วงปลายฤดูฝนที่มีฝนตกชุกติดต่อกันหลายวัน
3. บำรุงรักษาต้นลำไยให้เจริญเติบโตแข็งแรง โดยการใส่ปุ๋ยให้น้ำในช่วงที่อากาศ
แห้งแล้ง และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชและสารฆ่าแมลงอย่างสม่ำเสมอ
4. รีบตัดแต่งกิ่ง แล้วใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี เพื่อบำรุงต้นลำไยให้สมบูรณ์แข็งแรง
ภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต
2. โรคพุ่มไม้กวาด
ลักษณะอาการ
ส่วนที่เป็นตาเกิดอาการแตกยอดฝอยเป็นมัดไม้กวาด เป็นรุนแรงทำให้ต้นลำไยทรุดโทรม
สภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการเกิดโรคช่วงเดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม เป็นระยะเวลา
ที่ไรสี่ขา มีการแพร่ระบาดมากที่สุดซึ่งจะเป็นพาหะนำโรคที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค
การป้องกันกำจัด
1. ขยายพันธุ์ปลูกจากต้นแม่พันธุ์ที่ปลอดโรค ไม่ปรากฏอาการของโรคพุ่มไม้กวาด
2. บำรุงต้นลำไยให้เจริญเติบโตแข็งแรง โดยการใส่ปุ๋ยให้น้ำในช่วงที่อากาศแห้งแล้ง และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช และสารฆ่าแมลงอย่างสม่ำเสมอ
3. ตัดกิ่งที่เป็นโรคออกเผาทำลาย ในแหล่งที่มีการระบาดของโรค
3. โรครากและโคนเน่า
โรครากและโคนเน่าพบครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2540 กับต้นลำไยพันธุ์ดอ อายุ 2 - 3 ปี ที่บ้านรักไทย ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก การระบาดของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุกติดต่อกันหลายวัน ทำให้ต้นลำไยเป็นโรคตายจำนวนมากในช่วงเวลาไม่นานนัก
ลักษณะอาการ
ต้นลำไยที่แสดงอาการเป็นโรครากและโคนเน่า เริ่มแรกใบจะค่อย ๆ เหลือง แลดูทรุดโทรมทั้งต้น
เมื่อขุดดูบริเวณโคนต้นพบรากฝอยแสดงอาการเน่าและแข็งมีสีดำยาวไปตามความยาวของราก
ขนาดไม่แน่นอน เนื้อเยื่อโคนต้นใต้ดินและรากแขนงที่ต่อจากโคนต้นแสดงอาการเน่า
มีสีน้ำตาลปนม่วง ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน เมื่อถากผิดเปลือกออกเนื้อเยื่อ
โคนต้นและเนื้อเยื่อรากแขนงดังกล่าวมีลักษณะคล้ำสีน้ำตาลปนม่วง ในขณะที่เนื้อเยื่อของต้นลำไย
ที่ปกติจะมีสีขาวครีม ต้นลำไยที่เป็นโรคจะแห้งตายอย่างรวดเร็วในลักษณะยืนต้นตาย
โดยใบจะแห้งตายคาต้นและไม่หลุดล่วง ส่วนต้นลำไยที่กำลังติดผลและเป็นโรคผลจะแห้งคาต้น
และไมหลุดร่วงเช่นเดียวกับใบในฤดูฝนช่วงที่มีฝนตกชุกติดต่อกันหลายวันการพัฒนาของโรคจะ
เป็นไปอย่างรวดเร็วสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการเกิดโรคสภาพอากาศโดยทั่วไปของประเทศไทย
ซึ่งอยู่ในเขตร้อนมีความเหมาะสมต่อการแพร่ระบาด และการสร้างความเสียหายของโรคเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะในฤดูฝนที่มีฝนตกชุกติดต่อกันหลายวัน อุณหภูมิของอากาศอยู่ในช่วงระหว่าง 25 - 30 ๐ c จะช่วยส่งเสริมให้การพัฒนาของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็วและทำให้โรคแพร่ระบาดอย่างรุนแรง
เชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 16 - 32 ๐ c และเหมาะที่สุด คือ 28 ๐ c แต่
จะหยุดการเจริญเติบโตที่อุณหภูมิ 36 ๐ c
การป้องกันกำจัด
การป้องกันกำจัดโรครากและโคนเน่าของลำไย ซึ่งเกิดจากเชื้อราไฟทอฟธอรา จะได้ผลดีควรเป็นวิธีการผสมผสาน คือ
1. ปลูกลำไยให้มีระยะห่างที่พอเหมาะไปปลูกชิดเกินไป
2. ตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น และกำจัดวัชพืชภายใต้ทรงพุ่ม
3. บำรุงรักษาต้นลำไยให้เจริญเติบโตแข็งแรง โดยการใส่ปุ๋ยให้น้ำในช่วงที่อากาศ
แห้งแล้ง และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชและสารฆ่าแมลงอย่างสม่ำเสมอ
4. หลีกเลี่ยงการขุดดินภายใต้ทรงพุ่มซึ่งจะทำให้รากขาด กรณีที่ลำต้นเกิดบาดแผล ควรทาบาดแผลด้วย
สารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น สารประกอบทองแดง แมนโคเซบ ฯลฯ
5. ปรับปรุงการระบายน้ำในแปลงไม่ควรให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน
6. หมั่นตรวจแปลงทุก 1 - 2 เดือน และกำจัดต้นที่เป็นโรคทันทีเมื่อพบ โดยการขุดแล้วเผา
ทำลาย และราดสารป้องกันกำจัดโรคพืชบริเวณโคนต้น
7. ต้นลำไยที่โตแล้วและเริ่มเป็นโรคใหม่ ๆ ควรถากเปลือกแผลที่เป็นโรคออกแล้วทาด้วยสารป้องกันกำจัด
โรคพืช เช่น สารประกอบทองแดง แมนโคเซบ เมตาแลกซิล ไซม็อกซานนิล ฯลฯ ที่ผสมน้ำข้น ๆ
แล้วราดดินรอบ ๆ ต้นที่ติดเชื้อ
8. การควบคุมโรคโดยชีววิธี โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมคลุกเคล้ากับดินภายในทรงพุ่ม หรือ
เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ บาซิลลัส ที่เตรียมจากน้ำหมักพืช และเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่มีขาย
ในตลาดผสมน้ำแล้วราดดินภายในทรงพุ่ม
4. โรคผลเน่าและใบไหม้
บางแห่งเรียกโรคนี้ว่าโรคราน้ำฝน โรคนี้พบระบาดในฤดูฝนโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนชุก ประมาณ
ต้นเดือนกันยายน - ตุลาคม ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ลำไยเริ่มแตกใบอ่อนลักษณะอาการผลลำไยที่เป็นโรค
จะแสดงอาการผลเน่าเริ่มแรกเปลือกผลมีลักษณะแผลสีน้ำตาลมีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน
ต่อมาพบเส้นใยสีขาวฟูของเชื้อราบนเปลือกผลที่เป็นโรค จากนั้นผลจะร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน
บริเวณโคนต้น อันเนื่องมาจากสภาพการเน่าของเปลือกผลลำไยที่เป็นโรค หรือลม และพายุฝน
กรณีที่ต้นลำไยแตกยอดใหม่ภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เชื้อราจะเข้าทำลายยอด
กิ่ง ก้าน และใบอ่อน ทำให้ปลายยอดอ่อนเป็นแผลไหม้สีน้ำตาลดำในลักษณะ
ตายจากปลายยอดลงมา แผลที่กิ่ง ก้านอ่อน มีลักษณะสีน้ำตาลดำ ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน
ยาวไปตามความยาวของกิ่งก้านและพบเส้นใยสีขาวฟูของเชื้อราบนแผลใบอ่อนลำไยที่เป็น
โรคมีลักษณะเป็นแผลไหม้สีน้ำตาลดำ เมื่อแผลไหม้ลุกลามมากใบจะร่วงลงสู่พื้นดินบริเวณโคนต้นสภาพ
แวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการเกิดโรคเชื้อราไฟทอฟธอราเป็นเชื้อราที่อาศัยสปอร์ที่ว่ายน้ำได้ในการแพร่
ระบาด จึงต้องการทั้งความชื้นและอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูงในการเจริญเติบโตและการทำลายพืช มักจะระบาดทำความเสียหายในระยะที่ฝนตกชุก หมอกน้ำค้างจัด อุณหภูมิอยู่ในช่วง
8 - 38 ๐ c แต่เหมาะที่สุดที่อุณหภูมิ 30 ๐ c
การป้องกันกำจัด
1. ปลูกลำไยให้มีระยะห่างที่พอเหมาะไม่ปลูกชิดเกินไป
2. ตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น และกำจัดวัชพืชภายใต้ทรงพุ่ม
3. บำรุงรักษาต้นลำไยให้เจริญเติบโตแข็งแรง โดยการใส่ปุ๋ย ให้น้ำในช่วงที่อากาศแห้งแล้ง
และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช และสารฆ่าแมลงอย่างสม่ำเสมอ
4. หมั่นตรวจแปลงเมื่อพบผลหรือใบลำไยเป็นโรค ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น
สารประกอบทองแดง แมนโคเซบ แมตาแลกซิล ไซม๊อกซานิล ฯลฯ
5. กรณีที่ผลและใบลำไยเป็นโรคแล้วร่วงหล่นอยู่บนพื้นดินภายใต้ทรงพุ่ม ควรรีบเก็บแล้วนำไป
เผาทำลาย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เนื่องจากเชื้อราสามารถมีชีวิตและอาศัยอยู่ในดินข้ามฤดู
เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะทำให้เกิดการติดเชื้อใหม่ในฤดูถัดไป
6. การควบคุมโรคโดยชีววิธี โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมคลุกเคล้ากับดินภายใต้ทรงพุ่ม
และผสมน้ำพ่นให้ทั่วทั้งต้น หรือใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์มาซิลลัส ผสมน้ำแล้วพ่นให้ทั่วทั้งต้นและราดดินภายใต้ทรงพุ่มต้นลำไยที่เป็นโรคและต้นข้างเคียง
5. โรคผลเน่าสีน้ำตาล
โรคนี้ระบาดทำความเสียหายในฤดูฝนช่วงที่ฝนตกชุก ประมาณกลางเดือน
สิงหาคม - กันยายน ซึ่งเป็นระยะเก็บเกี่ยวผลลำไยลักษณะอาการเปลือกผลมีลักษณะ
แผลสีน้ำตาลขนาดและรูปร่างไม่แน่นอนและไม่พบเส้นใยของเชื้อราขึ้นฟูบนแผลเปลือกผลบริเวณ
แผลอาจปริแตก จากนั้นผลจะร่วงหล่นลงสู่พื้นดินบริเวณโคนต้น เนื่องจากสภาพการเน่าของเปลือก
ผลลำไยที่เป็นโรคหรือการเคลื่อนไหวของผลลำไยจากลมและพายุฝนเมื่อแกะดูเนื้อลำไย
จะมีลักษณะปกติในระยะแรก แต่เมื่อเวลานานขึ้นเชื้อราจะทำลายลุกลามต่อไป ทำให้เนื้อลำไย
ยุ่ยมีลักษณะสีน้ำตาลปนเหลือง เปลือกผลลำไยด้านในที่เป็นโรคผลเน่าจะมีลักษณะสีน้ำตาล
และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำเหมือนเปลือกผลด้านนอกเมื่อเวลานานขึ้นสภาพแวดล้อม
ที่ช่วยส่งเสริมการเกิดโรคสภาพอากาศที่ชุ่มชื้นในฤดูฝนโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกชุก
และอุณหภูมิของอากาศอยู่ในช่วง 25 - 30 ๐ c จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาของโรคและ
ทำให้โรคแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว เชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิ
16 - 32 ๐ c และเหมาะที่สุด คือ 28 ๐ c แต่จะหยุดการเจริญเติบโนที่อุณหภูมิ 36 ๐ c เช่นเดียวกับเชื้อราไฟทอฟธอราที่เป็นสาเหตุโรครากและโคนเน่าของลำไย
การป้องกันกำจัด
ปฏิบัติเหมือนการป้องกันกำจัดโรคผลเน่าและใบไหม้
อ้างอิงข้อมูล
http://www.chiangrai.doae.go.th/
longancenter.mju.ac.th