ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เศรษฐกิจเกษตร | อ่านแล้ว 2874 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ความเหลื่อมล้ำสินเชื่อ ระหว่างผู้กู้รายใหญ่ กับผู้กู้รายย่อย

ความเหลื่อมล้ำสินเชื่อ ระหว่างผู้กู้รายใหญ่ กับผู้กู้รายย่อย

ผ่าภาระเงินกู้รายย่อย ดอกเบี้ยสูง-ค่าต๋งแพง เชียร์คลังสางส่วนต่าง ปัจจุบันธนาคารยังคิดอัตราดอกเบี้ยรายย่อยค่อนข้างสูง

data-ad-format="autorelaxed">

ชำแหละภาระเงินกู้กลุ่มรายย่อย-ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีทางเลือกน้อย ถูกแบงก์คิดดอกเบี้ยแพง แถมเจอค่าธรรมเนียมสูง พ่วงถูกบังคับซื้อประกัน และเรียกหลักทรัพย์คุ้มมูลหนี้ ต่างจากรายใหญ่ที่ได้รับการดูแลอย่างดีเชียร์แนวคิดรมว.คลังสางส่วนต่างดอกเบี้ยให้เป็นธรรม

กรณีนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารคิดจากลูกค้ารายย่อยในอัตรา 7-8% ขณะที่ลูกค้ารายใหญ่จะคิดในอัตรา 1-2%เท่ากับมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยราว 5-6% แม้การคิดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงสามารถทำได้ แต่ขอฝากเป็นการบ้านให้สถาบันการเงินทบทวนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมนั้น

แหล่งข่าวจากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งยอมรับและเห็นด้วยกับแนวทางของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่ขอให้ธนาคารในระบบทบทวนอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะการคิดอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อย

ปัจจุบันธนาคารยังคิดอัตราดอกเบี้ยรายย่อยค่อนข้างสูง ซึ่งบางส่วนอาจจะอ้างถึงการบวกค่าความเสี่ยงโดยคิดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดีหรือ MRR บวก 3% หรือ บวก 5% ซึ่งแล้วแต่ละธนาคารจะกำหนด

อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง



“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ท่านเคยเป็นแบงเกอร์เป็นประธานสมาคมแบงก์ผ่านมาแล้ว จึงย่อมเห็นแจ้งแทงตลอดเหมือนไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่โดยที่นายแบงก์ไม่สามารถจะปฏิเสธความเป็นจริงและการออกมาให้ข่าวครั้งนี้ เชื่อว่ารมว.คลังต้องการให้แบงก์และสมาคมแบงก์ได้ทบทวนการคิดอัตราดอกเบี้ยสำหรับรายย่อย เพราะแบงก์บวกดอกเบี้ยรายย่อยสูงมาก และที่ผ่านมาแบงก์ยังมีกำไรสูง ผมจึงเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ แบงก์ควรจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเพื่อให้รายย่อยเขายังชีพได้”

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)จะกำหนดกติกาให้ระบบธนาคารกันสำรองตามเกณฑ์บาเซล 3 เพื่อให้แต่ละธนาคารมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอย่างเพียงพอขณะเดียวกันปัจจุบันแต่ละธนาคารต้องดำรงเงินกองทุนเพิ่มเติมเพื่อสำรองยามฉุกเฉิน หรือเมื่อมีภาวะสินเชื่อขยายตัวมากเกินควร(Countercyclical Buffer) และเพื่อสำรองไว้ใช้ในภาวะเศรษฐกิจขาลง เหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนในการกันสำรองที่สูงขึ้นของระบบธนาคาร แต่ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันทุกธนาคารต่างระมัดระวังในการอนุมัติสินเชื่อซึ่งเห็นได้จากไตรมาสแรกของปี2560 ทั้งสินเชื่อรายย่อยและสินเชื่อรายใหญ่แทบไม่โต

สำหรับสินเชื่อรายใหญ่นั้น เป็นวงเงินใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯที่มีการบริการจัดการและความสามารถในการทำกำไรค่อนข้างดี ทำให้มีทางเลือกหลากหลายโดยไม่จำเป็นจะต้องกู้สินเชื่อจากระบบธนาคารอย่างเดียวแต่รายใหญ่มีทางเลือกในการระดมทุน ไม่ว่าจะออกตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ หรือตั๋วแลกเงิน (บี/อี) ก็ได้ ดังนั้นรายใหญ่จึงมีอำนาจต่อรองค่อนข้างสูง ที่ผ่านมาธนาคารในระบบจึงแข่งกันเสนออัตราดอกเบี้ยค่อนข้างถูกกับลูกค้ารายใหญ่

ทั้งนี้นอกจากอำนวยสินเชื่อหมุนเวียน(Working Cap)พวกเทรดไฟแนนซ์ แม้ต้นทุนดอกเบี้ยที่ตํ่า แต่ธนาคารเจ้าหนี้ยังคาดหวังรายได้ที่มาจากการบริหารจัดการเงินสด(Cash Management)

ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกมาระบุว่าธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ในระดับตํ่า 1-2% นั้น เชื่อว่าคงต้องการส่งสัญญาณยืนยันให้เห็นว่าในตลาดสินเชื่อยังมีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันโดยไม่น่าจะมีเจตนาให้ธนาคารไปปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยรายใหญ่แต่อย่างใด

ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่มีทางเลือกหลากหลาย แต่ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน ซึ่งหากเกิดความเสียหายก็จะมีมูลค่ามากกว่าลูกค้ารายย่อยๆ จึงเชื่อว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องการให้ธนาคารทบทวนดอกเบี้ยสำหรับรายย่อยมากกว่า และอาจจะรวมถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องรับอัตราดอกเบี้ยสูง แต่ธนาคารยังมีการคิดค่าธรรมเนียมบริการ หรือค่าประกัน (ชีวิต)และหลักประกันอีกต่างหาก หากพิจารณาบนความเป็นจริงต้นทุนที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแบกไว้ในระดับสูงเหล่านี้ทำให้เอสเอ็มอีไม่สามารถทำกำไรมาชำระดอกเบี้ยได้

แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวเพิ่มเติมว่า หากพิจารณาเฉพาะหมวดสินเชื่อรายย่อยนั้นจะพบว่าทั้งระบบยังมีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูง ไม่ใช่เฉพาะธนาคารพาณิชย์ แต่รวมถึงธนาคารต่างประเทศ และผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์) รวมถึงสินเชื่อรถหมุนเงิน หรือรถแลกเงิน หรือบัตรเครดิตบางแห่งคิดอัตราดอกเบี้ย MRR+6% แม้กระทั่งแหล่งเงินกู้ของรายย่อย อย่างสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์คิดดอกเบี้ยอัตรา3% ต่อเดือนหรือ36% ต่อปีสำหรับวงเงินกู้ 5 หมื่นล้านบาท เป็นต้น

นอกจากนี้ที่ผ่านมาตลาดได้ท้วงติงธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เกี่ยวกับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างเงินกู้และเงินฝาก ซึ่งยังห่างกันมาก โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ประมาณ 7-8%หรือ 9% แต่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยกว่า 1% เศษ

ด้านแหล่งข่าวอีกรายกล่าวว่า แนวคิดเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้น หากเทียบกับต่างประเทศจะเห็นว่าส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างรายใหญ่และรายย่อยแคบลงตามสภาพปัจจัยแวดล้อมของแต่ละธนาคารหรือถ้าดูในระบบธนาคารอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกยิ่งห่างกันมากเรียกว่าทำธุรกิจแทบจะลำบาก แต่ในไทยเราเป็นประเทศพัฒนาแล้วน่าจะปรับลดลงได้ เพราะหากย้อนกลับไป15-20 ปีก่อนจะเห็นเป็นอัตรา 2หลัก และได้ปรับลดลงมาปัจจุบันส่วนการจะปรับลดนั้นต้องดูแนว ทางของธปท.และข้อจำกัดระหว่างธนาคารขนาดใหญ่กับเล็กด้วย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,261 วันที่ 14 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 2874 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เศรษฐกิจเกษตร]:
ชำแหละ บัตรคนจน คืนชีพโชห่วย?
หวังประโยชน์สองต่อ ต่อแรกจากเงินรัฐอัดฉีด 4 หมื่นล้าน เข้ากระเป๋าคนจน 11.4 ล้านคน ต่อที่สองฟื้นชีวิตชีวาโชห่วย
อ่านแล้ว: 5591
ปั้นชาวนายุค 4.0 เคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
ถึงเวลาชาวนายุค 4.0 ทวงคืนศักดิ์ศรี ทำธุรกิจมีกำไร เคลื่อนศก.ฐานราก ด้วยเกษตรไฮเทค ไม่ง้อการเมือง..!!
อ่านแล้ว: 5325
ชง 14 เมกะโปรเจค 5 แสนล้าน
เผยเอกชนเสนอรัฐบาลดันเมกะโปรเจคภาคใต้ 5 ปี 14 โครงการ มูลค่า 5 แสนล้าน หวังบูมเศรษฐกิจภาคใต้โตไม่ต่ำกว่า 6%
อ่านแล้ว: 5745
สมคิด ดึงรัฐวิสาหกิจร่วมแก้ปัญหาความยากจน
รองนายกฯ สมคิด จี้รัฐวิสาหกิจร่วมพัฒนาท้องถิ่น ช่วยเศรษฐกิจฐานราก แจงรัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาความยากจนควบคู่การปฏิรูปเศรษฐกิจ
อ่านแล้ว: 5710
พัฒนาเกษตร 4.0 ให้คนไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
ศุภชัย หนุนรัฐบาลยกระดับประเทศ แนะพัฒนาเกษตรกรสู่ยุค 4.0 สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ช่วยไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
อ่านแล้ว: 5951
เศรษฐกิจไทยโต4.3%สูงสุดในรอบ18ไตรมาส
สศช.เผยเศรษฐกิจไทยไตรมาส3ปี60เติบโต 4.3% สูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส หลังส่งออก-การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว
อ่านแล้ว: 5644
ดัชนีรายได้เกษตร 3 ไตรมาส
รายงานดัชนีรายได้เกษตรกร 3 ไตรมาส ปี 2560 (ม.ค.-ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 155.34 เพิ่มขึ้น 8.88% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
อ่านแล้ว: 4962
หมวด เศรษฐกิจเกษตร ทั้งหมด >>