ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เศรษฐกิจเกษตร | อ่านแล้ว 3981 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ผลผลิตสินค้าเกษตรล้นโลก ข้าว-มัน-ยางปี 60 หืดจับ ไก่-กุ้ง โตแต่เสี่ยง

ผลผลิตสินค้าเกษตรล้นโลก ข้าว-มัน-ยางปี 60 หืดจับ ไก่-กุ้ง โตแต่เสี่ยง

ทิศทางสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตรไทย ในปีใหม่นี้จะดีขึ้นจริงหรือไม่ ลองตามดูบทวิเคราะห์ของ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร..

data-ad-format="autorelaxed">

ในปี 2560 กูรูหลายสำนักต่างฟันธงเห็นพ้องกันว่า สถานการณ์สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไทยมีแนวโน้มจะสดใสและดีขึ้นมากกว่าในปีที่ผ่านมา ผลจากทิศทางเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว สัญญาณจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรสำคัญของไทยล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน 2559 ขยายตัวมากกว่า 15% ยกแผง ทั้งข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป

 

อย่างไรก็ดีทิศทางสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไทยในปีใหม่นี้จะดีขึ้นจริงหรือไม่ ขอหยิบยกบทวิเคราะห์ทิศทางสินค้าเกษตรไทยในปี 2560 ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)โดยเลือกสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงและเกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ของประเทศมานำเสนอไว้ดังนี้

 

ข้าว : ผลผลิตคู่แข่งพุ่งแข่งรุนแรง

 

โดยในส่วนของสินค้าข้าว กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา คาดการณ์สถานการณ์ข้าวโลกในปี 2559/2560 จะมีพื้นที่เก็บเกี่ยว 1,014.12 ล้านไร่ ผลผลิต 483.80 ล้านตันข้าวสาร (721.30 ล้านตันข้าวเปลือก) ผลผลิตต่อไร่ 712 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2558/59 ที่มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 994.81 ล้านไร่ ผลผลิต 472.11 ล้านตันข้าวสาร (703.80 ล้านตันข้าวเปลือก) และผลผลิตต่อไร่ 707 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้น 1.94% 2.48% และ 0.71% ตามลำดับ ส่วนการบริโภคข้าวโลกคาดว่าจะมีปริมาณ 478.38 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 470.37 ล้านตันข้าวสาร หรือเพิ่มขึ้น 1.70% เทียบจากปีก่อน ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้น เช่น ออสเตรเลีย เมียนมา กัมพูชา จีน อียิปต์ สหภาพยุโรป เวียดนาม สหรัฐอเมริกาและไทย

 

อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยลบจากที่ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ประเทศผู้บริโภคข้าวและนำเข้าข้าวที่สำคัญ มีนโยบายพึ่งพาตนเองด้วยการปลูกข้าวเพื่อบริโภคภายในประเทศมากขึ้น เพื่อลดการนำเข้า ขณะที่ประเทศคู่แข่ง ทั้งอินเดีย เวียดนาม และปากีสถาน มีผลผลิตที่ดี จากปรากฏการณ์ลานิญา ทำให้มีปริมาณฝนตกมากขึ้น จะทำให้การแข่งขันส่งออกข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น

 

นอกจากนี้ไนจีเรียหนึ่งประเทศนำเข้าข้าวสำคัญจากไทย ได้ห้ามผู้นำเข้าข้าวแลกเงินตราต่างประเทศจากสถาบันการเงินไนจีเรีย และยังห้ามนำเข้าข้าวผ่านชายแดนทางบกอีกด้วย จึงคาดว่าการนำเข้าข้าวจากไนจีเรียจะชะลอตัวมากกว่าทุกปี

 

ยาง : ราคาสูง-คู่ค้าเพิ่มซื้อคู่แข่ง

 

ในปี 2560 คาดผลผลิตยางโลกจะมีประมาณ 13.15 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 5.79% เนื่องจากประเทศผู้ผลิตต่างๆ เช่น เวียดนาม สปป.ลาว เมียนมา และกัมพูชา ที่ขยายพื้นที่ปลูกได้ทยอยเปิดกรีดยางเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ยางของโลกคาดจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลจากความต้องการใช้ยางพาราในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่องของจีนและอินเดียยังขยายตัว ส่วนการส่งออกยางในตลาดโลกจะลดลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย เนื่องจากคาดว่าภาวะเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในช่วงชะลอตัวโดยเฉพาะยุโรป ส่วนจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ยางพารารายใหญ่ของโลกจะมีการใช้ผลผลิตยางในประเทศทดแทนการนำเข้าเพิ่มขึ้น

 

นอกจากนี้ผลผลิตยางพาราโลกปรับตัวสูงขึ้น ราคายางพาราของไทยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจะส่งผลให้มีการแข่งขันด้านราคา และอาจทำให้ผู้ซื้อหันไปซื้อสินค้าจากประเทศคู่แข่ง เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซียและเวียดนามมากขึ้น รวมทั้งราคายางสังเคราะห์ต่ำกว่าราคายางธรรมชาติ ทำให้ผู้ใช้หันไปใช้ยางสังเคราะห์แทนเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยางและถุงยางอนามัย เป็นต้น

 

มัน : ส่งออกเพิ่มแต่เสี่ยงอื้อ

 

ปี 2560 คาดพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังของไทยจะมีประมาณ 8.64 ล้านไร่ ให้ผลผลิต 31.19 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.61 ตัน เทียบกับปี 2559 พื้นที่เก็บเกี่ยวลดลง 3.16% เนื่องจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นทดแทน เช่นอ้อยโรงงาน เป็นต้น แต่ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น 5.04% เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยทำให้ต้นมันสำปะหลังเจริญเติบโตได้ดี จะส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยในปีนี้คาดจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศคู่ค้ายังมีความต้องการในรูปของมันเส้นและแป้งมันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศจีนผู้นำเข้าหลักจากไทย

อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยง อาทิ หากประเทศจีนมีมาตรการระบายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสต๊อกของรัฐบาล หรือลดการนำเข้ามันเส้นจากไทย รวมถึงผลผลิตของเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกัมพูชา เวียดนามและลาว มีปริมาณเพิ่มขึ้น หรือราคาพืชทดแทน เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวลดลง จะส่งผลกระทบต่อราคามันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ของไทยได้

 

ไก่ : แนวโน้มดีเตือนระวังกีดกัน

 

ในสินค้าไก่เนื้อ คาดผลผลิตเนื้อไก่ของโลกในปี 2560 จะมีปริมาณ 90.45 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 89.55 ล้านตันของปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวตามความต้องการของการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญทั้งสหรัฐอเมริกา บราซิล สหภาพยุโรป(อียู) และอินเดีย ขยายการผลิตเพิ่มขึ้น ขณะที่การผลิตไก่เนื้อของจีนคาดจะลดลง จากยังประสบปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนก ทั้งนี้ในปี 2560 คาดการณ์ส่งออกสินค้าไก่ของไทยจะมีปริมาณรวม 7.1 แสนตัน มูลค่าราว 9.3 หมื่นล้านบาท โดยเพิ่มทั้งปริมาณและมูลค่า สอดรับกับปริมาณความต้องการบริโภคของตลาดญี่ปุ่น และอียู ที่เป็นตลาดหลัก นอกจากนี้เกาหลีใต้อนุญาตให้ไทยส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งไปได้ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2559 หลังจากที่เคยระงับการส่งออกตั้งแต่ปี 2547 (ขณะนั้นไทยมีการระบาดไข้หวัดนก) เป็นโอกาสให้ไทยส่งออกเพิ่มขึ้น

 

ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังคือจากสถานการณ์ไข้หวัดนกในประเทศที่เป็นแหล่งผลิตพ่อแม่พันธุ์ไก่เนื้อที่สำคัญ หากยังคงระบาดเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ไทยขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์ในการผลิตไก่ได้ในอนาคต นอกจากนี้ประเทศต่างๆ มีมาตรการกีดกันค้าที่ไม่ใช่ภาษี เช่น มาตรฐานแรงงาน และมาตรฐานสิ่งแวดล้อม เป็นต้น อนาคตอาจจะนำประเด็นเหล่านี้มากีดกัน หากไทยไม่ได้มีการเตรียมการป้องกันจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกได้

 

กุ้ง : สดใสแต่ต้องการของถูก

 

ในสินค้ากุ้ง คาดผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงของโลกในปีนี้จะลดลงเมื่อเทียบกับปี 2559 จากประเทศผู้เลี้ยงหลัก เช่น อินเดีย จีน เวียดนาม ยังคงประสบปัญหาการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง ส่วนประเทศในแถบอเมริกากลาง-ใต้ มีผลผลิตกุ้งเพิ่มขึ้นจากไม่ประสบปัญหาด้านโรค ขณะที่ไทยมีการปรับตัวและบริหารจัดการการเลี้ยงได้ดีขึ้น คาดผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนการส่งออกยังมีปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แม้ว่ามีความต้องการบริโภคกุ้งจะมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มีราคาไม่สูงมากนัก ดังนั้นการขยายตัวของการส่งออกคงไม่มาก

ขณะเดียวกันปัจจัยเสี่ยงกุ้งไทย ยังต้องแก้ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุม (ไอยูยูฟิชชิ่ง) รวมทั้งตลาดสหรัฐอเมริกานายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ ได้ส่งสัญญาณด้านนโยบายอาจออกมาตรการกีดกันทางการค้าที่เข้มงวดมากขึ้น อาจกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งของไทยได้

 

source: thansettakij.com/2017/01/04/122649


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 3981 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เศรษฐกิจเกษตร]:
ชำแหละ บัตรคนจน คืนชีพโชห่วย?
หวังประโยชน์สองต่อ ต่อแรกจากเงินรัฐอัดฉีด 4 หมื่นล้าน เข้ากระเป๋าคนจน 11.4 ล้านคน ต่อที่สองฟื้นชีวิตชีวาโชห่วย
อ่านแล้ว: 5589
ปั้นชาวนายุค 4.0 เคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
ถึงเวลาชาวนายุค 4.0 ทวงคืนศักดิ์ศรี ทำธุรกิจมีกำไร เคลื่อนศก.ฐานราก ด้วยเกษตรไฮเทค ไม่ง้อการเมือง..!!
อ่านแล้ว: 5323
ชง 14 เมกะโปรเจค 5 แสนล้าน
เผยเอกชนเสนอรัฐบาลดันเมกะโปรเจคภาคใต้ 5 ปี 14 โครงการ มูลค่า 5 แสนล้าน หวังบูมเศรษฐกิจภาคใต้โตไม่ต่ำกว่า 6%
อ่านแล้ว: 5743
สมคิด ดึงรัฐวิสาหกิจร่วมแก้ปัญหาความยากจน
รองนายกฯ สมคิด จี้รัฐวิสาหกิจร่วมพัฒนาท้องถิ่น ช่วยเศรษฐกิจฐานราก แจงรัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาความยากจนควบคู่การปฏิรูปเศรษฐกิจ
อ่านแล้ว: 5708
พัฒนาเกษตร 4.0 ให้คนไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
ศุภชัย หนุนรัฐบาลยกระดับประเทศ แนะพัฒนาเกษตรกรสู่ยุค 4.0 สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ช่วยไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
อ่านแล้ว: 5950
เศรษฐกิจไทยโต4.3%สูงสุดในรอบ18ไตรมาส
สศช.เผยเศรษฐกิจไทยไตรมาส3ปี60เติบโต 4.3% สูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส หลังส่งออก-การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว
อ่านแล้ว: 5642
ดัชนีรายได้เกษตร 3 ไตรมาส
รายงานดัชนีรายได้เกษตรกร 3 ไตรมาส ปี 2560 (ม.ค.-ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 155.34 เพิ่มขึ้น 8.88% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
อ่านแล้ว: 4960
หมวด เศรษฐกิจเกษตร ทั้งหมด >>