data-ad-format="autorelaxed">
ข้าวส่งออกจีน
สหกรณ์การเกษตร เกษตรวิสัย จัดแสดงสินค้าเมือง เสิ่นหยาง
กรมส่งเสริมสหกรณ์พร้อมตัวแทนสหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย จำกัด จังหวัดร้อยเอ็ด นำข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นดีจากพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ร่วมจัดแสดงและจำหน่ายในงานเทศกาลผลไม้และอาหารไทยที่เมืองเสิ่นหยางของประเทศจีน เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา
ข้าวหอมมะลิ ได้กระแสตอบรับ
กรมส่งเสริมสหกรณ์พร้อมตัวแทนสหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย จำกัด จังหวัดร้อยเอ็ด นำข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นดีจากพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ร่วมจัดแสดงและจำหน่ายในงานเทศกาลผลไม้และอาหารไทยที่เมืองเสิ่นหยางของประเทศจีน เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา
พบว่ากระแสตอบรับจากผู้บริโภคของจีนชื่นชอบและนิยมข้าวไทย พร้อมเสนออบรมภาษาจีนให้เจ้าหน้าที่สหกรณ์เพื่อใช้ในการสื่อสารเปิดตลาดข้าวสารในประเทศจีน
ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์พร้อมด้วยตัวแทนสหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย จำกัด จังหวัดร้อยเอ็ด ได้นำข้าวหอมมะลิคุณภาพดีจากพื้นที่ ทุ่งกุลาร้องไห้ ไปจัดแสดงและจำหน่ายในงานเทศกาลผลไม้และอาหารไทย ที่เมืองเสิ่นหยาง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นงานที่สถานเอกอัครราช ทูตไทยประจำกรุงปักกิ่ง ร่วมกับสำนักงานวิเทศสัมพันธ์เมืองเสิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิง ได้จัดขึ้น ณ SHENYANG TIANDI ระหว่างวันที่ 24-26 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ภายในงานมีการสาธิตวิธีทำอาหาร การแสดงวัฒนธรรมไทยและการจำหน่าย สินค้าจากผู้ประกอบการของไทย ซึ่งสหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย จำกัด ได้นำข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ของสหกรณ์ไปร่วมแสดงและจำหน่ายในงานดังกล่าว สามารถจำหน่ายได้ 330 กิโลกรัม ซึ่งพฤติกรรมผู้ บริโภคของชาวจีนส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานจนถึงสูงอายุ นิยมซื้อข้าวสารขนาดบรรจุถุง 1 กิโลกรัม และนิยมบริโภคข้าวหอมมะลิมากกว่าข้าวชนิดอื่น ๆ ถึงแม้ว่าเมืองเสิ่นหยางจะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และราคาข้าวหอมมะลิของไทยที่นำไปจำหน่ายจะสูงกว่าข้าวสารภายในประเทศ
แต่ด้วยความมีชื่อเสียงของข้าวหอมมะลิไทย ทำให้ข้าวของไทยเป็นที่ชื่นชอบและนิยมของผู้บริโภคชาวจีน เนื่องจากมีคุณภาพดี จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับสหกรณ์ผู้ผลิตข้าวหอมมะลิของไทยที่จะขยายช่องทางตลาดสินค้าข้าวหอมมะลิไปสู่เมืองเสิ่นหยางของจีนต่อไป
การเดินทางไปร่วมแสดงสินค้าในงานเทศกาลผลไม้และอาหารไทย ที่เมืองเสิ่นหยาง สาธารณรัฐประชาชนจีนครั้งนี้ ช่วยเปิดประสบ การณ์ให้กับผู้แทนสหกรณ์ ได้รับทราบรูปแบบการพัฒนาสินค้าข้าว บรรจุภัณฑ์และขนาดบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคชาวจีน และมองเห็นช่องทางการตลาดที่จะทำการค้ากับต่างประเทศ เบื้องต้นจะต้องพัฒนาเรื่องบรรจุภัณฑ์ การกำหนดวันผลิตและวันหมดอายุข้างถุงให้เป็นมาตรฐานสากล รวมถึงศึกษาเรื่องเงื่อนไขในการทำการค้าให้มีความรัดกุม สิ่งสำคัญคือเรื่องของภาษาในการติดต่อสื่อสารมีความจำเป็นในการทำธุรกิจ
“เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ควรฝึกอบรมทักษะด้านภาษาจีน เพื่อใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารและเรียนรู้ถึงเทคนิคการค้า เพื่อเพิ่มศักยภาพความเป็นมืออาชีพในการทำธุรกิจกับต่างประเทศให้กับขบวนการสหกรณ์ และสามารถขยายช่องทางการจำหน่ายข้าวหอมมะลิของไทยไปยังตลาดประเทศจีนได้เพิ่มขึ้นต่อไป” อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว
ข้อมูลจาก dailynews.co.th/agriculture/509690