data-ad-format="autorelaxed">
มูลค่าการส่งออก ของประเทศเวียดนาม
เวียดนาม มูลค่าการส่งออก สินค้าเกษตรกรรม
เวียดนามมีพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก มีทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์รัฐบาลมีนโยบายให้การสนับสนุนภาคเกษตรอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ทำให้เวียดนามสามารถพัฒนาจากประเทศที่ต้องนำเข้าอาหารจากต่างประเทศมาเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลกภายใน 10 ปี รัฐบาลปฏิรูปภาคเกษตรกรรม โดยอนุญาตให้เอกชนถือครองที่ดินเพิ่มขึ้น มีการใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิต ส่งเสริมเอกชนให้เข้ามาร่วมลงทุนโดยรัฐให้มาตรการจูงใจต่าง ๆ เช่น การลดหย่อนภาษี การขยายเวลาเช่าที่ดินเพื่อการเกษตร การขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลมีเป้าหมายให้ภาคเกษตรของเวียดนามมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4 – 5 ต่อปี สินค้าเกษตรที่สำคัญของเวียดนามมีดังนี้
ข้าว ผลผลิตปีละประมาณ 35 ล้านตัน สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก แต่สามารถส่งออกได้มากเป็นอันดับสองของโลก รองจากไทย เวียดนามถือเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถสูงในการปลูกข้าว เนื่องจากผลผลิตต่อไร่สูง และผลจากการยกเลิกการกำหนดโควตาการส่งออกข้าวได้โดยเสรี ปัจจุบันเวียดนามให้ความร่วมมือกับสมาชิกสภาความร่วมมือด้านข้าว ซึ่งประกอบด้วยประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย จีน เวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน
กาแฟ ผลิตปีละประมาณ 7 แสนตัน มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากอินเดีย(1) กาแฟที่ผลิตได้
ส่วนใหญ่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เหลือสำหรับบริโภคภายในประเทศเพียงร้อยละ 5 เวียดนามมีความได้เปรียบทั้งการตลาดและการผลิต เนื่องจากมีลักษณะภูมิประเทศ และอากาศที่เอื้ออำนวย รวมถึงมีแหล่งเพาะปลูกอยู่ใกล้ท่าเรือ รัฐบาลมีโครงการสนับสนุนให้จังหวัด Dak Lak เป็นแหล่งเพาะปลูกกาแฟคุณภาพดี โดยมีเป้าหมายผลผลิตประมาณปีละ 134,000 ตัน รวมทั้งมีโครงการลงทุนผลิตกาแฟ รวม 5 โครงการในอำเภอ Krong Pach, Krong Ana, Krong Buc และ Buon Ma Thuot City เพื่อผลิตกาแฟ 7,000 – 10,000 ตัน
ปัจจุบันพื้นที่กว่าร้อยละ 95 เป็นการปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้า และให้ผลผลิตถึงร้อยละ 99 ของผลผลิตรวม ผลจากการที่ราคากาแฟตกต่ำอย่างหนักในช่วง 2-3 ปีก่อน ทำให้รัฐบาลหันมาสนับสนุน
การปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกาที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าแทน โดยเฉพาะพื้นที่ทางตอนเหนือที่เหมาะสมใน
การปลูกกาแฟพันธุ์นี้อยู่แล้ว
เวียดนามส่งออกเมล็ดกาแฟดิบในรูปแบบง่ายๆ เหมือนสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วไป โดยไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน ทำให้ราคาผันผวนตามตลาดโลกและเกษตรกรไม่มีแรงจูงใจในการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูป แต่ในช่วงที่ราคากาแฟตกต่ำระหว่างปี 2543-45 ทำให้รัฐบาลหันมาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตกาแฟ โดยนอกจากจะเน้นพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าแล้ว ยังกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค เช่น ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2544 กำหนดมาตรฐานกาแฟออกเป็น 5 ระดับ โดยเฉพาะมาตรฐาน TCVN 4193 : 2001 นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการกาแฟเวียดนาม
ปี 2550 เวียดนามส่งออกกาแฟประมาณ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 68.4 เนื่องจากราคากาแฟในตลาดโลกมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 10 ปี ตลาดสำคัญของเวียดนามคือ ประเทศในยุโรป ได้แก่ เบลเยียม เยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ ส่วน 4 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่า 0.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.9 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากช่วงปลายปี 2550 และต้นปี 2551 เวียดนามมีภูมิอากาศหนาวเย็นที่สุดในรอบ 40 ปี จนทำให้เกิดหิมะตกในเขตยอดเขาภาคเหนือและเกิดน้ำแข็งในเขตหุบเขา ได้แผ่ความหนาวเย็นลงสู่ภาคกลางตอนบนและที่ราบสูงในภาคกลางของประเทศ ทำให้เมล็ดกาแฟที่ยังไม่สุกได้รับความเสียหายหนัก
มูลค่าส่งออกกาแฟของเวียดนาม
พริกไทย ผลิตได้ปีละ 73,600 ตัน ส่งออกมากเป็นอันดับ 1 ของโลก เวียดนามมีโครงการที่จะร่วมมือกับ International Pepper Community เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโดยเชื่อมั่นว่าจะเป็นผู้ส่งออกพริกไทยรายใหญ่ที่สุดในโลกในอนาคต
bยางพาร า เวียดนามปลูกยางพารามาเป็นเวลากว่า 100 ปี ในตอนกลางของประเทศ จากการนำเข้ามาของฝรั่งเศสในช่วงที่เวียดนามเป็นอาณานิคม ผลจากการมีสงครามเป็นเวลานาน ทำให้อุตสาหกรรมยางพาราของเวียดนามไม่พัฒนาเท่าที่ควร แต่หลังจากสงคราม เวียดนามกลับมาปลูกยางพาราใหม่อีกครั้ง และได้พัฒนาการผลิตยางพารามาโดยตลอด โดยเฉพาะยางแท่ง SVR 3L SVR 20 และน้ำยางข้น
bปัจจุบัน เวียดนามสามารถผลิตยางพาราได้ประมาณ 4 แสนตันต่อปี โดยผลิตยางแท่งและน้ำยางข้นเป็นหลัก ที่สำคัญยางมีคุณภาพดีเหมาะกับการผลิตผลิตภัณฑ์ยางที่มีคุณภาพสูง เช่น ท่อยาง หรือยางที่เป็นส่วนประกอบในรถยนต์ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดค่อนข้างมากจนผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ
อีกทั้งยังได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ และมีชายแดนติดต่อกับประเทศผู้นำเข้าสำคัญของโลกอย่างจีน นอกจากนี้ การผลิตยางพารายังมีความได้เปรียบเพราะมีโรงงานอยู่ใกล้กับสวนยาง ทำให้สามารถนำน้ำยางดิบมาผลิตเป็นยางแท่งได้ทันที ยางจึงมีคุณภาพดี และราคาถูก
ปี 2550 เวียดนามส่งออกยางพาราทั้งสิ้น 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 10 และช่วง 4 เดือนแรกปี 2551 ประมาณ 0.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญของเวียดนาม คือ จีน ส่วนใหญ่เป็นการค้าผ่านชายแดนซึ่งเสียภาษีนำเข้าน้อย นอกนั้นส่งไปสหภาพยุโรป และมาเลเซีย
เวียดนามได้ตั้งสถาบันวิจัยยางพารา นำเทคโนโลยีการผลิตยางแท่งของมาเลเซียมาใช้ ข้อจำกัดของเวียดนาม คือ ยังผลิตยางเพื่อการส่งออกได้ไม่มากเท่าที่ควร เพราะส่วนหนึ่งนำมาใช้ในประเทศ แต่เวียดนามน่าจะสามารถขยายการผลิตได้ในอนาคต เพราะมีพื้นที่เหมาะสม สามารถปลูกยางได้หลายพันธุ์
เวียดนามส่งออกยางพาราเป็น อันดับ 4 ของโลก รองจากไทยและอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ปัจจุบัน ไทยได้สนับสนุนเวียดนามภายใต้ความร่วมมือด้านยางพารา 3 ฝ่าย (ไทย – มาเลเซีย – อินโดนีเซีย)
ข้อมูลจาก boi.go.th