ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 12904 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เตือน เกษตรกรอย่าใส่สารปลอมปนในน้ำยาง

น้ำยาง : ขณะนี้มีเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราบางรายจงใจใส่สิ่งปลอมปนลงในน้ำยางเพื่อหวังที่จะเพิ่มน้ำหนักยางและคิดว่าจะขายได้ราค

data-ad-format="autorelaxed">

เกษตรกรอย่าใส่สารปลอมปนในน้ำยาง

เตือน!! เกษตรกรอย่าใส่สารปลอมปนในน้ำยาง ในภาวะราคายางธรรมชาติที่อยู่ในเกณฑ์สูงอย่างต่อเนื่องทั้งยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควันและน้ำยางสด นอกจากเป็นแรงดึงให้เกษตรกรเปิดกรีดยางเร็วกว่ากำหนดแล้ว ยังทำให้มีการแอบเติมสิ่งปลอมปนลงไปในน้ำยาง เพื่อหวังที่จะเพิ่มน้ำหนักและกอบโกยกำไรจากการขายยางเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นปัญหาที่น่าห่วงซึ่งเกิดขึ้นจริงในหลายพื้นที่....ผู้ที่กระทำในลักษณะดังกล่าว ควรหยุดและเลิกอย่างเด็ดขาด เพราะมีแต่เสียกับเสีย ภาพลักษณ์สินค้ายางพาราไทยอยู่ในมือคุณ...ขอเตือน

นางปรีดิ์เปรม ทัศนกุล นักวิทยา ศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยยางสงขลา สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้มีเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราบางรายจงใจใส่สิ่งปลอมปนลงในน้ำยางเพื่อหวังที่จะเพิ่มน้ำหนักยางและคิดว่าจะขายได้ราคาเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเขตปลูกยางใหม่ทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสิ่งปลอมปนที่เกษตรกรแอบเติมลงไปในน้ำยางมีหลายชนิด ส่วนใหญ่มีสีขาวที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับน้ำยาง ได้แก่ แป้ง ปูนขาว ปูนซีเมนต์ ยิปซัม เกษตรกรบางรายมีการเติมสารที่สกัดจากธรรมชาติลงไปในน้ำยางด้วย เช่น น้ำหมักชีวภาพและน้ำส้มควันไม้ เพื่อทดแทนการใช้กรดฟอร์มิกที่ช่วยในการจับตัว นอกจากนี้ยังมีการใส่ขี้เปลือก ทราย หิน เศษยางใช้แล้ว หรือยางผสมสารเคมีที่เรียกยางตาย ยัดใส่ในยางก้อน และยังพบมีการเติมน้ำ หรือแม้แต่กระทั่งเกลือ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาย่อมส่งผลกระทบต่อสมบัติทางกายภาพของยางทั้งสิ้น

เกษตรกรจะเติมแป้ง ปูนขาว ปูนซี เมนต์ น้ำ ยิปซัม สารชีวภาพ และสารสกัดจากธรรมชาติลงในน้ำยางที่จะผลิตเป็นยางแผ่นดิบ ยางแผ่นที่แห้งจะเห็นได้ชัดเจนมาก สังเกตจากสีของแผ่นยางจะไม่สม่ำเสมอ แผ่นยางมีจุดด่างขาว หรือสีขุ่นดำคล้ำ ทำให้ได้ยางดิบที่ไม่มีคุณภาพ เนื้อยางแข็งกระด้าง ยืดหยุ่นไม่ดี และเมื่อยืดแผ่น ยางจะขาดง่าย ส่วนการผลิตยางก้อนถ้วยจะมีการเติมเกลือที่อยู่ในรูปแคลเซียมคลอไรด์ น้ำหมักชีวภาพ น้ำส้มควันไม้ สารชีวภาพที่มีมากมายหลายยี่ห้อในขณะนี้ หากมองด้วยตาเปล่าแทบไม่รู้เลยว่ามีการเติมสิ่งปลอมปนลงในน้ำยาง จะทราบได้ก็ต่อเมื่อนำแปรรูปเป็นยางแท่ง

การเติมสิ่งปลอมปนลงในน้ำยางนี้ ส่งผลเสียต่อการนำยางแผ่นดิบไปผลิตเป็นยางแผ่นรมควัน และยางก้อนถ้วยที่จะนำไปผลิตเป็นยางแท่ง ซึ่งจะกระทบโดยตรงต่อผลิตภัณฑ์ยางที่จะนำไปใช้ทั้งความยืดหยุ่น ความทนทานต่อการสึกหรอ ความทนต่อแรงดึง ความหนืดและการสะสมความร้อน เป็นต้น ยางดิบที่มีสิ่งปลอมปนหรือมีสิ่งสกปรกปนอยู่จะถูกกดราคา และผู้ซื้ออาจไม่รับซื้อผลผลิต อนาคตอาจกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์สินค้ายางพาราไทย ทำให้ประเทศคู่ค้าขาดความเชื่อมั่นในคุณภาพ ซึ่งผู้ที่จะได้รับความเดือดร้อนก็ คือ เกษตรกรนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม เกษตรกรต้องให้ความสำคัญในการผลิตยางแผ่นดิบหรือยางแผ่นรมควันที่มีคุณภาพดี เบื้องต้นเกษตรกรต้องผลิตน้ำยางสด สะอาด ปราศจากสิ่งปลอมปนต่าง ๆ สำหรับสวนยางขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะนำน้ำยางเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ควรใช้ สารโซเดียมซัลไฟต์ ช่วยในการรักษาสภาพน้ำยาง จากนั้นต้องพิถีพิถันในการกรองน้ำยางด้วยตะแกรงกรองเบอร์ 40 หรือ 60 แล้วเร่งผลิตเป็นยางแผ่นดิบทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน ทั้งนี้ น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตต้องเป็นน้ำสะอาด โดยเจือจางกับน้ำยางในอัตราที่เหมาะสม ประมาณ 15-18% ของปริมาณเนื้อยางแห้ง พร้อมเติมกรดเพื่อช่วยให้ยางจับตัวด้วย หลังจากนำยางเข้าเครื่องรีดแล้ว ก่อนนำแผ่นยางไปผึ่งต้องล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง การผึ่งยางต้องผึ่งในที่ร่ม ประมาณ 7-10 วัน ไม่ควรผึ่งแดดเพราะจะทำให้แผ่นยางมีสีคล้ำ และมีผลกระทบต่อคุณภาพยาง

อ้างอิง : http://www.dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 12904 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9891
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7927
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7983
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 8350
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 7302
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8585
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7773
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>