data-ad-format="autorelaxed">
การผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง
เอทานอลจะผลิตจากพืชประเภทอ้อย หรือพืชจำพวกแป้ง ซึ่งในประเทศไทย พบว่า พืชที่เหมาะสมสำหรับการนำมาเป็นวัตถุดิบผลิตเอทานอลในประเทศไทย ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย และ กากน้ำตาล เอทานอล สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายแบบ แต่ที่กำลังนิยม และเป็นที่สนใจในปัจจุบันมากที่สุด คือการนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทน จากการเปรียบเทียบผลผลิตที่ได้จากวัตถุดิบประเภทต่าง ๆ พบว่า มันสำปะหลังให้ผลผลิตได้มากที่สุด ภายในเวลาที่สั้นที่สุด และสามารถลดพลังงานที่ใช้และต้นทุนการผลิตได้ถึง 50% นอกจากนี้ ผลผลิตมันสำปะหลังในประเทศไทยก็ยังมีปริมาณส่วนเกินที่เพียงพอต่อการผลิต เมื่อเปรียบเทียบกับอ้อย หรือ กากน้ำตาลที่มีผลผลิตจำกัด
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีโรงงานผลิตเอทานอลอยู่ทั้งหมดประมาณ 23 ราย โดยมีผู้ประกอบการจำนวน 12 รายทื่ได้ดำเนินการผลิตแล้ว และอีก 11 รายนั้นกำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานก่อสร้างโรงงาน ซึ่งโรงงานผลิตเอทานอลที่ประสบความสำเร็จและมีการผลิตมาจนถึงปัจจุบันนั้น สามารถสรุปได้ว่า เอทานอลมีตลาดที่รับซื้ออย่างแน่นอน จึงทำให้มีผู้ผลิตหลายรายที่มีศักยภาพและสนใจเข้ามาลงุทนในธุรกิจนี้ โดยผลผลิตที่ผลิตได้ทั้หมดนั้นจะถูกจำหน่ายไปให้กับ ผู้ค้าน้ำมันในประเทศและต่างประเทศ
อย่างไรก็ตามในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาพบว่า ปริมาณการผลิตเอทานอลในประเทศ เริ่มที่จะมากกว่าความต้องการบริโภค เนื่องจากราคาน้ำมันได้ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมาก จึงทำให้ผู้ผลิตต้องมองหาตลาดใหม่ ๆ เช่น ส่งออกไปยังต่างประเทศ รูปแบบที่เหมาะสมของมันสำปะหลังที่จะนำมาผลิตเอทานอลนั้น พบว่า มันเส้นเหมาะสมที่สุดที่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ เนื่องจากมีผลผลิตที่พอเพียงเนื่องจากเป็นมันสำปะหลังตากแห้งและเก็บไว้ได้ นาน อีกทั้งไม่กระทบต่อโครงสร้างอุตสาหกรรมโดยรวม
ในด้านต้นทุนวัตถุดิบนั้นพบว่า ราคาหัวมันสำปะหลังสดมีแนวโน้มขยับราคาเพิ่มขึ้นในทุกปี ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตเอทานอล และยังคงมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มี % ของแป้งสูงขึ้น โดยสายพันธุ์ที่ให้แป้งสูงในปัจจุบันคือ พันธุ์ระยอง 90 และ CMR 35-64-1 ขั้นตอนหลัก ๆ
ในการผลิตเอทานอลจะประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ
1) การเตรียมวัตถุดิบ
2) การย่อยแป้ง
3) การเตรียมหัวเชื้อและการหมัก
4) การกลั่นเอทานอล
แม้ว่าในปัจจุบันนี้สภาวะการณ์การบริหารการจัดการอุตสาหกรรม เอทานอล ทั้งระบบยังคงอยู่ในภาวะผันผวน เนื่องจากอุปทานมากกว่าอุปสงค์ และราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ลดลงเป็นอย่างมาก แต่คาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ราคาน้ำมันจะมีการปรับตัวสูงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่กลับมาฟื้นตัวและมีปริมาณ การใช้พลังงานเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนให้อุตสาหกรรมอยู่รอดในระยะยาว เช่น การส่งเสริมให้รถยนต์ใช้แก๊สโซฮอล์ หรือการยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 และการค้นหาเทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในการผลิตให้กับ อุตสาหกรรม
อ้างอิง: http://boc.dip.go.th/