data-ad-format="autorelaxed">
ทุเรียนเทศ (Sour Sop)
เป็นพืชในวงศ์เดียวกับ น้อยหน่า จำปี นมแมว กระดังงา เป็นไม้ผลเขตร้อนที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกากลาง เริ่มแพร่กระจายไปสู่พื้นที่เขตร้อนทั่วโลกราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 และแพร่กระจายมายังประเทศฟิลิปปินส์รวมทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนักเดินเรือชาวสเปน
ทุเรียนเทศจัดเป็นผลไม้หลังบ้านที่ขาดการให้ความสำคัญทางเศรษฐกิจในประเทศไทยและ พบปลูกกันมากในภาคใต้ของประเทศไทย ในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์พบว่าทุเรียนเทศได้หายไปจากตลาดท้องถิ่น แต่กลับพบทุเรียนเทศในรูปของผลผลิตเชิงอุตสาหกรรมเกษตร เช่น น้ำทุเรียนเทศเข้มข้น และน้ำทุเรียนเทศบรรจุกล่องพร้อมดื่ม ในร้านขายเครื่องดื่มแถวรัฐปีนังของประเทศมาเลเซียจะมีเครื่องดื่มน้ำทุเรียนเทศขายปะปนกับน้ำผลไม้ชนิดอื่นๆ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Annona muricata Linn.
วงศ์: ANNONACEAE
ชื่อสามัญไทย: ทุเรียนเทศ
ชื่อสามัญอังกฤษ: Sour Sop, Durian belanda
ชื้อท้องถิ่น: ทุเรียนน้ำ (ภาคใต้), ทุเรียนแขก (ภาคกลาง), มะทุเรียน (ภาคเหนือ)
ลักษณะ
ทุเรียนเทศเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ผลคล้ายทุเรียนสีเขียวสด แต่เปลือกไม่มีหนามแหลมและนิ่มเมื่อสุก ดอกมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงบ่าย เนื้อในผลมีรสหวานอมเปรี้ยวเป็นเส้นใยเกาะกันเหนียวแน่น
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กแตกกิ่งก้านค่อนข้างมาก ลำต้นมีความสูง 5 – 6 เมตร
ใบเป็นใบเดี่ยว ค่อนข้างหนา ใบเรียงสลับกันไปในระนาบเดียวกับกิ่ง ใบมีรูปร่างรี
ผิวใบอ่อนเป็นมัน เมื่อฉีกใบจะได้กลิ่นเหม็นเขียวฉุนจัด
ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ห้อยลงที่ซอกใบ อยู่รวมกัน 3 - 4 ดอก กลีบเป็นรูป
สามเหลี่ยมหนาแข็ง จำนวน 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ มีสีเหลืองแกมเขียว ออก
ดอกตลอดทั้งปี มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงบ่าย
ผลมีสีเขียวรูปกลมรี มีหนามนิ่มที่เปลือกผล ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 - 20
เซนติเมตร ยาว 15 - 30 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 0.5 – 3.0 กิโลกรัม ภายในมีเนื้อ
คล้ายน้อยโหน่ง สีขาว มีรสเปรี้ยว รสหวานเล็ก น้อย เนื้อจะไม่แยกแต่ละเมล็ดเป็นหนึ่งตา
เหมือนน้อยหน่า ถ้าผลดิบมีรสอมเปรี้ยว และมีรส มันเล็กน้อย
เมล็ดแก่สีน้ำตาลดำ หุ้มด้วยเนื้อสีขาว
การปลูก
ทุเรียนเทศชอบดินร่วน มีความชุ่มชื้น ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดครึ่งวันถึงรำไร นิยม
ปลูกเป็นไม้ประดับในบ้าน ในการปลูกเป็นการค้านิยมปลูกในประเทศมาเลเซีย โดยมี
ระยะปลูก 4 + 4 เมตร ให้ผลได้ในปีที่ 4 ได้ผลผลิตประมาณ 1.5 – 2 ตันต่อไร่ต่อปี
การขยายพันธุ์
การเพาะเมล็ดทำได้โดยการนำเมล็ดมาเพาะ เมล็ดจะงอกภายใน 7 วัน แต่ต้น
กล้าจะโตช้าและออกดอกเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่า 3 ปี จึงนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอด และทาบกิ่ง
โรคและแมลงที่ปรากฎ อยู่ในระหว่างการศึกษา
การใช้ประโยชน์
ทุเรียนเทศนิยมนำมาประกอบเป็นอาหาร ในประเทศไทยนำผลแก่มา
รับประทาน ในภาคใต้นิยมนำผลอ่อนมาทำแกงส้มและเชื่อม ในประเทศฟิลิปปินส์
และอินโดนีเซีย นิยมนำผลอ่อนที่เมล็ดยังไม่แข็งมารับประทานเป็นผัก ผลแก่นำมาทำ
ขนมหวาน เช่น นำเนื้อมาผสมในไอศกรีม เครื่องดื่มนมผสมผลไม้รวม เยลลี่ น้ำผลไม้
ในประเทศมาเลเซีย มีการทำน้ำทุเรียนเทศอัดกระปํอง ซึ่งได้รับความนิยมมาก เนื่องจาก
ทุเรียนเทศประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามิน เอ วิตามิน ซี นำตาลและ
กรดอินทรีย์อีกหลายชนิด
สรรพคุณทางยาของทุเรียนเทศ ได้แก่ ผลสุกรับประทานแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ผลดิบรับประทานแก้โรคบิด เมล็ดใช้สมานแผลห้ามเลือด ใช้เบื่อปลาและฆ่าแมลง ส่วนใบ ใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้ไอ ปวดตามข้อ
ในส่วนที่กินได้ของทุเรียนเทศ 100 กรัม พบว่ามีน้ำ 83.2 กรัม ให้พลังงาน 59 กิโลแคลลอรี ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรท 15.1 กรัม เส้นใย 0.6 กรัม โปรตีน 1.0 กรัม แคลเซียม 14 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม วิตามินบี1 มี 0.08 มิลลิกรัม และวิตามินซี 24 มิลลิกรัม (วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์. 2541)
การตลาดและลู่ทางการค้า
ทุเรียนเทศมีขายในตลาดนัดท้องถิ่นตามฤดูกาล แต่ไม่พบบ่อยนักอาจจะเนื่องมาจากขาดความคุ้นเคยและความตระหนักถึงคุณค่า ตลอดจนการแข่งขันกับผลไม้ชนิดอื่นๆในฤดูกาลเดียวกัน นอกจากนี้เนื้อในทุเรียนเทศแกะรับประทานยาก จึงนิยมนำไปแปรรูปในลักษณะไอศกรีม น้ำผลไม้ ดังเช่นที่เป็นที่นิยมในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ผลทุเรียนเทศที่วางขายในตลาดนัดคณะทรัพยากรธรรมชาติในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2549 ราคากิโลกรัมละ 25 บาท โดยผลขนาดย่อมมีราคาประมาณ 10 บาทต่อผล
ลู่ทางการพัฒนาทุเรียนเทศในเชิงอุตสาหกรรมเกษตร มีความเป็นไปได้สูงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย และสะดวกต่อการรับทานมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันน้ำทุเรียนเทศเข้มข้นยังไม่มีวางขายในประเทศไทย ยังไม่มีการนำเนื้อมาทำไอศกรีม หรือเยลลี่เหมือนดังในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์
เอกสารอ้างอิง
อุไร จิรมงคลการ. 2547. ผักพื้นบ้าน 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 224 หน้า
วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์. 2541. ผลไม้พื้นเมือง(ภาคใต้) ความสุขที่คุณเด็ดได้. นิตยสารสารคดี. 14 (166) : 71.
http://www.doae.go.th (06/06/2549)
http://www.healthnet.in.th (06/06/2549)
http://pharm.kku.ac.th (06/06/2549)
http://www.sangdad.com (06/06/2549)
http://www.tistr.or.th (06/06/2549)
http://th.wikipedia.org (06/06/2549)
http://singburi.doae.go.th (06/06/2549)
http://qsbg.thaigov.net (06/06/2549)
อ้างอิง: http://natres.psu.ac.th/ProjectSite/webpage/5durian-detail.htm