data-ad-format="autorelaxed">
เมื่อไม่กี่วันมานี้ได้ดูข่าวโทรทัศน์ ชาวบ้านที่หนองปรือ ชลบุรี ถูกตำรวจจับเพราะตัดไม้พะยูงในบ้านของตนเอง โดยเข้าใจว่าเป็นไม้ประดู่ลาย ไม้ต้นนี้สูงใหญ่มาก ต้นเอนเหมือนกับจะโค่น เกรงว่าถ้ามีลมพัดแรงจะทำให้ต้นไม้นี้โค่นไปทับบ้านเพื่อนบ้าน และคนที่ผ่านไปมา จะทำให้ได้รับความเสียหาย ตนเองก็จะเดือดร้อน จึงได้จ้างคนมาตัดต้นไม้ที่เข้าใจว่าเป็นประดู่ลายนี้ ในราคา 30,000 บาท พอตัดเสร็จ ตำรวจก็เข้ามาแจ้งข้อหาว่าตัดไม้พะยูง ซึ่งเป็นไม้หวงห้าม มีความผิดตามกฎหมาย
ทำให้นึกย้อนกลับไปเมื่อประมาณเดือนเมษายนที่ผ่านมา ต้นพะยูงล้มทับบ้านของชาวบ้านที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีคนบอกว่าอย่าตัด หรือไปแตะต้องต้นไม้นี้ เพราะเป็นไม้หวงห้าม ห้ามตัด ผิดกฎหมายจะถูกจับดำเนินคดี เจ้าของบ้านไปแจ้งสำนักงานป่าไม้จังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ก็ไม่มีใครเข้ามาช่วยเหลือ จึงต้องปล่อยให้ต้นไม้ทับบ้านอยู่อย่างนั้น ส่วนตนเองย้ายออกไปอยู่บ้านลูกชายที่อยู่ไม่ไกลกันนัก จนเวลาล่วงเลยมา 3 เดือน รอง ผบ.ตร.พล.ต.อ. ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ทราบข่าวจากสื่อ จึงสั่งการให้ตำรวจในพื้นที่ดำเนินการช่วยเหลือตัดไม้พะยูงที่ล้มทับบ้านออก ซึ่งตำรวจดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในวันเดียว
ย้อนกลับไปอีกนานกว่านั้น คือ ลุง 2 คนที่จังหวัดมหาสารคาม ตัดต้นพะยูงที่ล้มขวางทางเดินในที่นาของตนเอง ถูกตำรวจจับดำเนินคดี คราวนั้นเป็นข่าวที่หลายคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ เพราะเห็นใจลุงทั้งสอง
อันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับไม้พะยูง ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเข้มงวดกวดขันอย่างมาก คือ ประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 เรื่องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2557 ในประกาศฉบับนี้ ระบุให้ไม้พะยูง เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ซึ่งไม้หวงห้ามประเภท ก. นี้มีรวม 17 ชนิด ได้แก่ ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พะยูงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พะยูง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า และ ไม้เก็ดเขาควาย มีข้อกำหนดว่าห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครอง หรือนำไปแปรรูปมีไว้ในครอบครอง เว้นแต่จะขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่
ผู้กระทำผิดมีโทษทั้งจำคุก และปรับ อัตราโทษขึ้นอยู่กับปริมาณไม้และลักษณะไม้ที่ครอบครองว่าเป็นไม้ท่อน หรือไม้แปรรูป จำคุกมีตั้งแต่ 1-20 ปี ปรับตั้งแต่ 50,000- 2,000,000 บาท
ไม้พะยูง ยังเกี่ยวข้องกับอนุสัญญาไซเตส หรือ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ด้วย เมื่อปี 2556 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาไซเตสครั้งที่ 16 การประชุมครั้งนั้น ที่ประชุมมีมติรับให้ไม้พะยูง เป็นพันธุ์พืชในบัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส ตามที่ประเทศไทยเสนอ คือ เป็นพันธุ์พืชที่อนุญาตให้ทำการค้าได้ แต่ต้องควบคุมไม่ให้ลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากขณะนั้นกรมป่าไม้ โดยรองอธิบดีที่ชื่อ ธีรภัทร ประยูรสิทธิ ยืนยันว่า สถานการณ์ของไม้พะยูงในประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤติมาก
ทั้งนี้มีตัวเลขระบุว่า ในปี 2548 มีประชากรไม้พะยูงในป่าประมาณ 3 แสนต้น พอถึงปี 2556 ประมาณการว่าประชากรไม้พะยูงในป่าลดลงเหลือเพียง 1 แสนต้น หายไป 2 ใน 3 โดยมีการลักลอบตัดจากป่าอนุรักษ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจากความต้องการไม้พะยูงในตลาดโลกมีสูง โดยเฉพาะในประเทศจีน ที่นิยมไม้พะยูงไปทำเฟอร์นิเจอร์ราคาแพง
การที่ไซเตส รับไม้พะยูงเข้าไปอยู่ในบัญชี 2 ดังกล่าว จึงเป็นภาระผูกพันที่ไทยต้องมีมาตรการ ต่างๆ ออกมา เพื่อควบคุมการค้า และการลักลอบตัดไม้พะยูง
เจตนารมณ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับไม้พะยูง เข้าใจได้ว่าเพื่อต้องการปราบปรามผู้ลักลอบตัดไม้ และลักลอบค้าไม้ ซึ่งกฎหมายลงโทษเท่าเทียมกันหมดไม่ว่าเป็นใคร แต่ต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกเอง อยู่ในบ้านของตนเอง ต้นไม้โค่นล้มลงมาเอง หรือชาวบ้านตัดเองเพราะกลัวอันตรายจากการโค่นล้มของไม้ใหญ่ ต้องได้รับโทษตามกฎหมายนี้ด้วย เป็นเรื่องที่กรมป่าไม้ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะได้ทบทวน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มีข้อยกเว้นในบางกรณีอย่างที่ว่ามานี้ หรือไม่กรมป่าไม้ก็ต้องประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางให้ประชาชนได้รับทราบถึงขั้นตอนวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องกรณีของไม้พะยูง มิเช่นนั้นเหตุการณ์ทำนองนี้ก็จะเกิดขึ้นอีก มันเป็นความทุกข์ และเป็นเรื่องน่าเศร้าสำหรับชาวบ้านที่ไม่มีเจตนา.....
ที่หนองปรือ ชลบุรี ถูกตำรวจจับเพราะตัดไม้พะยูงในบ้านของตนเอง โดยเข้าใจว่าเป็นไม้ประดู่ลาย ไม้ต้นนี้สูงใหญ่มาก ต้นเอนเหมือนกับจะโค่น เกรงว่าถ้ามีลมพัดแรงจะทำให้ต้นไม้นี้โค่นไปทับบ้านเพื่อนบ้าน และคนที่ผ่านไปมา จะทำให้ได้รับความเสียหาย ตนเองก็จะเดือดร้อน จึงได้จ้างคนมาตัดต้นไม้ที่เข้าใจว่าเป็นประดู่ลายนี้ ในราคา 30,000 บาท พอตัดเสร็จ ตำรวจก็เข้ามาแจ้งข้อหาว่าตัดไม้พะยูง ซึ่งเป็นไม้หวงห้าม มีความผิดตามกฎหมาย
ทำให้นึกย้อนกลับไปเมื่อประมาณเดือนเมษายนที่ผ่านมา ต้นพะยูงล้มทับบ้านของชาวบ้านที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีคนบอกว่าอย่าตัด หรือไปแตะต้องต้นไม้นี้ เพราะเป็นไม้หวงห้าม ห้ามตัด ผิดกฎหมายจะถูกจับดำเนินคดี เจ้าของบ้านไปแจ้งสำนักงานป่าไม้จังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ก็ไม่มีใครเข้ามาช่วยเหลือ จึงต้องปล่อยให้ต้นไม้ทับบ้านอยู่อย่างนั้น ส่วนตนเองย้ายออกไปอยู่บ้านลูกชายที่อยู่ไม่ไกลกันนัก จนเวลาล่วงเลยมา 3 เดือน รอง ผบ.ตร.พล.ต.อ. ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ทราบข่าวจากสื่อ จึงสั่งการให้ตำรวจในพื้นที่ดำเนินการช่วยเหลือตัดไม้พะยูงที่ล้มทับบ้านออก ซึ่งตำรวจดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในวันเดียว
ย้อนกลับไปอีกนานกว่านั้น คือ ลุง 2 คนที่จังหวัดมหาสารคาม ตัดต้นพะยูงที่ล้มขวางทางเดินในที่นาของตนเอง ถูกตำรวจจับดำเนินคดี คราวนั้นเป็นข่าวที่หลายคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ เพราะเห็นใจลุงทั้งสอง
อันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับไม้พะยูง ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเข้มงวดกวดขันอย่างมาก คือ ประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 เรื่องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2557 ในประกาศฉบับนี้ ระบุให้ไม้พะยูง เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ซึ่งไม้หวงห้ามประเภท ก. นี้มีรวม 17 ชนิด ได้แก่ ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พะยูงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พะยูง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า และ ไม้เก็ดเขาควาย มีข้อกำหนดว่าห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครอง หรือนำไปแปรรูปมีไว้ในครอบครอง เว้นแต่จะขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่
ผู้กระทำผิดมีโทษทั้งจำคุก และปรับ อัตราโทษขึ้นอยู่กับปริมาณไม้และลักษณะไม้ที่ครอบครองว่าเป็นไม้ท่อน หรือไม้แปรรูป จำคุกมีตั้งแต่ 1-20 ปี ปรับตั้งแต่ 50,000- 2,000,000 บาท
ไม้พะยูง ยังเกี่ยวข้องกับอนุสัญญาไซเตส หรือ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ด้วย เมื่อปี 2556 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาไซเตสครั้งที่ 16 การประชุมครั้งนั้น ที่ประชุมมีมติรับให้ไม้พะยูง เป็นพันธุ์พืชในบัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส ตามที่ประเทศไทยเสนอ คือ เป็นพันธุ์พืชที่อนุญาตให้ทำการค้าได้ แต่ต้องควบคุมไม่ให้ลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากขณะนั้นกรมป่าไม้ โดยรองอธิบดีที่ชื่อ ธีรภัทร ประยูรสิทธิ ยืนยันว่า สถานการณ์ของไม้พะยูงในประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤติมาก
ทั้งนี้มีตัวเลขระบุว่า ในปี 2548 มีประชากรไม้พะยูงในป่าประมาณ 3 แสนต้น พอถึงปี 2556 ประมาณการว่าประชากรไม้พะยูงในป่าลดลงเหลือเพียง 1 แสนต้น หายไป 2 ใน 3 โดยมีการลักลอบตัดจากป่าอนุรักษ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจากความต้องการไม้พะยูงในตลาดโลกมีสูง โดยเฉพาะในประเทศจีน ที่นิยมไม้พะยูงไปทำเฟอร์นิเจอร์ราคาแพง
การที่ไซเตส รับไม้พะยูงเข้าไปอยู่ในบัญชี 2 ดังกล่าว จึงเป็นภาระผูกพันที่ไทยต้องมีมาตรการ ต่างๆ ออกมา เพื่อควบคุมการค้า และการลักลอบตัดไม้พะยูง
เจตนารมณ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับไม้พะยูง เข้าใจได้ว่าเพื่อต้องการปราบปรามผู้ลักลอบตัดไม้ และลักลอบค้าไม้ ซึ่งกฎหมายลงโทษเท่าเทียมกันหมดไม่ว่าเป็นใคร แต่ต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกเอง อยู่ในบ้านของตนเอง ต้นไม้โค่นล้มลงมาเอง หรือชาวบ้านตัดเองเพราะกลัวอันตรายจากการโค่นล้มของไม้ใหญ่ ต้องได้รับโทษตามกฎหมายนี้ด้วย เป็นเรื่องที่กรมป่าไม้ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะได้ทบทวน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มีข้อยกเว้นในบางกรณีอย่างที่ว่ามานี้ หรือไม่กรมป่าไม้ก็ต้องประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางให้ประชาชนได้รับทราบถึงขั้นตอนวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องกรณีของไม้พะยูง มิเช่นนั้นเหตุการณ์ทำนองนี้ก็จะเกิดขึ้นอีก มันเป็นความทุกข์ และเป็นเรื่องน่าเศร้าสำหรับชาวบ้านที่ไม่มีเจตนา.....
source: naewna.com/local/293439