เราควรจะเลิกปลูกข้าวเพื่อการส่งออกหรือไม่
ปัญหาราคาพืชผลเป็นปัญหาโลกแตกจริงๆ ครับ ถ้ายังจำกันได้เมื่อสามเดือนที่แล้ว ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งสูงถึงตันละ 1,100 เหรียญสหรัฐ และขายแทบจะไม่ทัน จน
data-ad-format="autorelaxed">
1 - การรับจำนำข้าว
เมื่อวันก่อนมีข่าวเศรษฐกิจอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจคือ มติ ครม. ที่มีมติให้ประกันราคาข้าว โดยการรับจำนำข้าวและให้นาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) กู้เงินจากสี่ธนาคารของรัฐ คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารนครหลวงไทย และธนาคารทหารไทย วงเงินรวมทั้งสิ้น 1.1 แสนล้านบาท เพื่อช่วยพยุงราคาพืชผลที่ตกต่ำลงอย่างฮวบฮาบ ด้วยวิธีการรับจำนำ
ปัญหาราคาพืชผลเป็นปัญหาโลกแตกจริงๆ ครับ ถ้ายังจำกันได้เมื่อสามเดือนที่แล้ว ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งสูงถึงตันละ 1,100 เหรียญสหรัฐ และขายแทบจะไม่ทัน จนใครๆ บอกว่าเป็นยุคทองของเกษตรกรแล้ว แต่ไม่น่าเชื่อนะครับว่าผ่านไปสามเดือน จะเหมือนความฝันคือราคาข้าวร่วงมาเหลือตันละ 400 เหรียญ และรัฐบาลยังมีแนวคิดอุตริจะไปซื้อข้าวจากเวียดนามที่ขายขาดทุนต่ำกว่า 400 เหรียญสหรัฐต่อตัน มาตุนไว้อีก แล้วถ้าข้าวในประเทศมีมากเกินไป ราคามันจะลงไปอยู่ที่ไหนล่ะครับ
จริงๆ ปัญหาการประกันราคาข้าวนี่ทำกันมานานแล้วครับ และมักจะมีการรั่วไหลกันเสมอ การประกันราคาข้าวก็คือรัฐบาลประกาศให้ ธกส. ทำการรับจำนำข้าวที่ราคาต่ำกว่าราคากตลาดเล็กน้อย (เช่น 90%) เพื่อให้พ่อค้าคนกลางไม่รวมหัวกันกดราคา เพราะว่าถ้าพ่อค้ากดราคารับซื้อ ชาวนาก็เอาข้าวไปจำนำกับ ธกส. ดีกว่า เวลาขายข้าวได้ ก็เอาเงินไปเอาข้าวออกมาขาย ถ้าราคาดีกว่าที่จำนำไว้ ก็เอาออกมาขาย ถ้าราคาต่ำกว่าที่จำนำไว้ ก็ทิ้งข้าวไว้ให้รัฐบาลปล่อยข้าวออกไปเอง
กลไกการแทรกแซงราคาพืชผลเกษตรนี่ทำกันมาช้านานแล้วครับ เนื่องจากพ่อค้าคนกลางในประเทศไทยมักจะรวมตัวกันกดราคาพืชผลการเกษตร ถ้ารัฐไม่ทำอะไร อ้างแต่กลไกตลาด (กลไกตลาด = ปล่อยตามยถากรรม) เกษตรกรก็จะเดือดร้อนเนื่องจากขายสินค้าเกษตรในราคาที่ขาดทุน หรือกำไรน้อยประจำ
อย่างไรก็ดี การรับจำนำราคาข้าวไม่ได้แลกมาด้วยอะไรฟรีๆ ครับ เนื่องจากเงินที่เอามาจำนำก็ไม่ได้มาจากไหนครับ มาจากการปล่อยกู้ของธนาคารรัฐด้วยกันให้กับ ธกส. ซึ่งถ้าขาดทุนก็แปลง่ายๆ ว่าหนี้สาธารณะนั้นได้เพิ่มขึ้นด้วย เพราะว่ารัฐบาลค้ำประกันให้ ธกส. ในการกู้เงินจากธนาคารอื่น ยังไงซะ ถ้า ธกส. ไม่มีเงินคืน รัฐก็ต้องชดใช้ให้ทั้งหมดครับ
ก็แปลกใจนะครับว่าทำไมรัฐบาลไทยถึงไม่ชอบแก้ที่รากของปัญหา แต่กลับชอบไปแก้ที่ปลายเหตุที่ราคาสินค้า และต้องหาเงินนอกงบประมาณมาโปะทุกที แบบนี้มันก็ไม่ช่วยให้ชาวนาอยู่ได้ด้วยลำแข้งของตนเอง จริงๆ ปัญหาเรื่องราคาข้าวนี่เราแก้กันไม่ยากนะครับ หน้าต่อไปจะมาคุยกันว่าจะมีวิธีกันอย่างไรดี
2 - เราควรจะเลิกปลูกข้าวเพื่อการส่งออกหรือไม่??
หน้าที่แล้วได้คุยค้างไว้เกี่ยวกับการประกันราคาข้าว และการรับจำนำข้าว โดยใช้เงินงบประมาณนอกระบบของ ธกส. โดยผ่านการกู้กับธนาคารของรัฐอีกสี่แห่งเป็นวงเงิน 1.1 แสนล้านบาท ซึ่งสรุปได้ว่าไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ผันแปรของวิกฤติเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้ประกอบการ หรือชาวบ้านเดือดร้อน เรามักจะใช้นโยบายการคลัง เช่น การจัดทำงบประมาณขาดดุล การใช้เงินนอกงบประมาณเข้าไปช่วยเหลือ หรือไม่ก็ใช้นโยบายการเงิน เช่น เรื่องของดอกเบี้ย เข้าไปเหมือนกับเป็นยาแอสไพริน แก้ปวดทุกครั้งไป และเป็นแอสไพรินที่ราคาแพงมาก และรักษาก็ไม่หาย ทั้งๆ ที่โรคทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นเรื่องของปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจที่ขาดนวัตกรรม และการเพิ่ม Productivity ในการผลิต หรือการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่น้อย
จริงๆ แล้วปัญหาเรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เป็นปัญหาเรื่องของ Demand-Supply หรืออุปสงค์อุปทาน นั่นเองครับ ซึ่งที่ผ่านมาเราอาจจะสงสัยว่าทำไมราคาข้าวในตลาดโลกราคาจึงได้สูงถึวกว่าตันละ 1,200 เหรียญสหรัฐ แล้วทำไมจู่ๆ ราคาถึงได้ร่วงแบบรับไม่ทันลงมาที่ประมาณแถวๆ 400 เหรียญสหรัฐ ภายในเวลาอันสั้น เหตุผลง่ายๆ ก็คือช่วงที่ราคาข้างขึ้นสูงนั้น การผลิตข้าวในหลายประเทศได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ จึงทำให้การผลิตหยุดชะงัก และข้าวขาดตลาด แต่ตอนนี้ผลผลิตจากฤดูใหม่ออกมาแล้ว ราคาก็ต้องหล่นลงไปตามระเบียบครับ
อย่างไรก็ตาม ผมเคยได้สนทนาปัญหาเศรษฐศาสตร์กับอดีตเศรษฐกรอาวุโสของธนาคารเพื่อพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Deveopment Bank หรือ ADB) เกี่ยวกับการปลูกข้าว ท่านให้ความเห็นว่าจริงๆ แล้วนั้น ตอนนี้ประเทศไทยกำลังใช้งบประมาณของรัฐในการอุดหนุนการกินข้าวของประชากรทั้งโลก ฟังทีแรกก็งง จนมาถึงบางอ้อว่า ที่แท้นโยบายของประเทศไทยคือการส่งออกข้าวสู่ตลาดโลก แต่ราคาที่รับซื้อจากชาวนานั้น แลกด้วยเงินนอกงบประมาณของรัฐที่มาจำนำ และอาจจะเกิดการขาดทุนขึ้น รวมไปถึงการให้การอุดหนุนชาวนาในด้านต่างๆ เพื่อให้ชาวนาปลูกข้าว และขายข้าวได้ ทั้งๆ ที่หากเราลองคำนวณดูแล้ว เราอาจจะขาดทุนในทางเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากราคาที่ขายนั้นเราอาจจะยังไม่ได้คำนวณเอาต้นทุนภาษีที่อุดหนุนการปลูกข้าวในครั้งนี้เข้าไปด้วย
ดังนั้นคำถามที่ผมกับท่านเศรษฐกรอาวุโสได้สนทนาทิ้งท้ายกันว่า จริงๆ แล้วประเทศไทยควรจะเลิกปลูกข้าวส่งออกหรือไม่ แล้วไปปลูกข้าวแต่พอรับประทานในประเทศ เพื่อให้ราคาข้าวสูงขึ้นตาม Demand-Supply และต้องเพิ่ม Yield ต่อไร่ให้สูงขึ้นเท่าตัว เหมือนกับเวียดนาม ญี่ปุ่น หรือไต้หวัน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในทรัพยากรสูงที่สุด และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ให้ใช้คนน้อยที่สุด ทีนี้ชาวนาก็จะมีรายได้ต่อหัวสูงขึ้น (ซึ่งจริงๆ แล้วที่ไต้หวัน และญี่ปุ่น ไม่ได้เน้นการปลูกข้าวเพื่อการส่งออก เนื่องจากมูลค่าทางเศรษฐกิจต่ำ)
คำถามถัดมาที่ถกเถียงกันก็คือ แล้วแรงงานส่วนเกินที่ไม่ต้องทำนาแล้วจะไปอยู่ที่ไหน คำตอบก็คือก็ต้องไปทำงานอื่นที่มีมูลค่าเพิ่มในทางเศรษฐกิจมากกว่าการปลูกข้าว เช่น อยู่ในอุตสาหกรรม หรือธุรกิจขนาดเล็กที่เพิ่มมูลค่ารวมของ GDP ประเทศให้ได้มากกว่านี้ ทีนี้เราอาจจะไม่ต้องแก้ปัญหาด้วยแอสไพรินราคาแพงตลอดเวลา
ที่เขียนมาเป็นการถกเถียงในเชิงวิชาการระหว่างผมกับท่านเศรษฐกรอาวุโสนะครับ จริงๆ ก็ยังไม่ได้ตกผลึกออกมาเป็นข้อสรุปสุดท้ายสักเท่าไหร่ หากท่านผู้อ่านท่านใดมีความคิดเห็นเพิ่มเติม ก็ขอเชิญนะครับ จะได้มาช่วยๆ กันลับสมองครับ อย่าซีเรียสมากนะครับ เพราะว่ามันเป็นคำถามปลายเปิดครับ
ที่มา: เราควรเลิกปลูกข้างเพื่อการส่งออกหรือไม่ ใน ดร. วรัญญู Blog
http://www.vcharkarn.com/varticle/38250
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 27653 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
lion_k[email protected]ผมก็เห็นว่าไม่ควรเลิก แต่ควรพัฒนาส่งเสริมการตลาดให้แก่ชุมชน และให้ชาวบ้านมีความสามารถทางด้านการตลาดและการส่งออกได้ด้วยตัวเอง โดยตัดคนกลางออกไปให้ได้มากที่สุด เรื่องคุณภาพข้าวไทยอยู่ในระดับที่ดี แต่ผู้ปลูกขาดโอกาสทางด้านการตลาด
08 ก.พ. 2554 , 07:20 PM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
ทวีวรรณ[email protected]ไม่ควรเลิกแต่ควรพัฒนาการปลูกควรส่งเสริมให้ชาวนามีความรู้อย่างจริงจังในการปลูกข้าว
08 ก.พ. 2554 , 12:44 PM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
ทวีวรรณ[email protected]ไม่ควรเลิกแต่ควรพัฒนาการปลูก
08 ก.พ. 2554 , 12:42 PM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
วิภาพร[email protected]อยากขอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมค่ะ ไม่ทราบว่าจะติดต่ออย่างไรค่ะ
23 พ.ย. 2553 , 01:10 AM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |