data-ad-format="autorelaxed">
การผสมพันธุ์นกกระจอกเทศ( Reproduction) และเทคนิคการฟักไข่
นกกระจอกเทศถ้าปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ (Wild Ostrich) จะถึงอายุผสมพันธุ์เมื่อเพศผู้อายุ 3 – 4 ปีขึ้นไป ส่วนเพศเมีย 2.5 ปีขึ้นไป แต่นกกระจอกเทศที่เลี้ยงในระบบฟาร์ม (Intensive) จะใช้ผสมพันธุ์ได้เมื่อเพศผู้อายุ 2.5 ปี ขึ้นไป ส่วนเพศเมียอายุ 2 ปีขึ้นไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารและการจัดการเป็นหลัก อัตราส่วนที่ใช้ผสมพันธุ์เพศผู้ 1 ตัวต่อเพศเมีย 1 – 3 ตัว นกกระจอกเทศจะผสมพันธุ์ในช่วงที่มีอากาศเย็นและแห้ง ซึ่งในประเทศไทยฤดูผสมพันธุ์ของนกกระจอกเทศจะอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึง เดือนมีนาคม แต่ก็ยังไม่ได้สรุปเป็นที่แน่ชัด
ในฤดูผสมพันธุ์ นกกระจอกเทศเพศผู้ซึ่งมีขนสีดำ ปลายหางและปลายปีกสีขาว จะมีสีดำและขาวเป็นมันวาว ปาก ขอบตา และแข้งจะมีสีชมพูเข้ม ตัวเมียสีของขนจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก คงเป็นสีน้ำตาลเช่นเดิม โดยธรรมชาติพ่อนกกระจอกเทศจะคุมฝูงตัวเมียได้หลายตัว แต่จะมีเพียงหนึ่งตัวเท่านั้นที่เป็นคู่แท้ ส่วนที่เหลือจะเป็นตัวสำรองไป (Secondary Hens)
นกกระจอกเทศเพศผู้จะแสดงอาหารเป็นสัดโดยการนั่งลง บนพื้นข้อเข่า แล้วกางปีกทั้งสองข้างออกโบกขึ้นลง ขณะเดียวกันหัวก็จะโยกไปตามจังหวะของการโบกปีก ส่วนตัวเมียจะแสดงอาการเป็นสัดโดยกางปีกออกสั่นแต่ไม่นั่งเหมือนตัวผู้
วิธีผสมพันธุ์
เมื่อนกกระจอกเทศตัวเมียนั่งบนพื้น หัวและคอจะทอดยาวอยู่บนพื้น แต่จะมีบางตัวที่ชูหัวตั้ง แล้วตัวผู้จะขึ้นคร่อมบนหลังตัวเมียเพื่อสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปทางก้นของตัว เมียซึ่งจะใช้เวลาผสมพันธุ์นานเพียง 1 – 3 นาที แต่หากเลี้ยงนกกระจอกเทศเพศผู้และเพศเมียรวมกันก่อนถึงฤดูผสมพันธุ์ ควรจะแยกตัวผู้ออกจากฝูงตัวเมียโดยไม่ให้ตัวผู้ได้มีโอกาสเห็นตัวเมียเลย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ฮอร์โมนเพศของเพศผู้สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้การผสมติดดียิ่งขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม การที่นกกระจอกเทศจะให้ผลผลิตมากน้อยอย่างไรขึ้นอยู่กับ
* อาหารมีคุณภาพดี และเหมาะสม
* ความสมบูรณ์ของนก
* อุณหภูมิและสิ่งแวดล้อม
ส่วนข้อควรพิจารณาความเหมาะสมของ คู่ผสมพันธุ์ให้พิจารณาจาก
* ปริมาณไข่ต่อปี
* อัตราของไข่มีเชื้อ
* อัตราการฟักออกเป็นตัว
* อัตราการตายของลูกนก
การฟักไข่นกกระจอกเทศ
ผู้เลี้ยงนกกระจอกเทศควรจะรู้และเข้าใจเรื่องการ เจริญเติบโตของเชื้อลูกนกกระจอกเทศตลอดจนระยะการฟักจนออกมาเป็นตัว
การฟักไข่นกกระจอกเทศทำได้ 2 วิธีคือ
1. ฟักแบบธรรมชาติ หรือให้แม่นกกระจอกเทศฟักไข่เอง
2. ฟักไข่ด้วยเครื่องฟัก (Incubator)
การฟักไข่แบบธรรมชาติ
แม่นกกระจอกเทศจะเลือกออกไข่บริเวณที่โล่งแจ้งบน เนินสูงจากระดับพื้นปกติเล็กน้อยเพื่อมองเห็นศัตรูได้ทุกด้าน และเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมไข่ในขณะที่ฟักไข่ แม่นกกระจอกเทศจะออกไข่เป็นชุด (Clutch) ชุดละประมาณ 12 – 1 8 ฟองโดยที่นกกระจอกเทศจะออกไข่ปีละไม่เกิน 6 เดือน โดยออกไข่ทุก 2 วัน ต่อ 1 ฟอง ไข่หนักฟองละ 900 – 1,650 กรัม และมีความยาว 6 – 8 นิ้ว เปลือกไข่สีครีมขาว จนได้ไข่ 12 – 16 ฟองก็จะหยุดไข่ หลังจากนั้นแม่นกกระจอกเทศจะนั่งฟักไข่ในช่วงเวลากลางวัน ตั้งแต่ 09.30 น. ถึง 16.30 น. หลังจากนั้นจะเปลี่ยนให้พ่อนกกระจอกเทศช่วยฟักในเวลากลางคืน
ในช่วงเวลาที่พ่อ – แม่นกกระจอกเทศเปลี่ยนเวรกันฟักไข่นี่เองจะมีการกลับไข่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับไข่ที่ถูกฟักอยู่เพราะจะได้สัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง อุณหภูมิที่ไข่ฟักได้รับจากพ่อ – แม่นกกระจอกเทศอยู่ระหว่าง 38+0.2 C ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 33.5 % และใช้เวลาฟักไข่นานถึง 42 วัน
การฟักไข่ด้วยเครื่องฟักไข่
โดยทั่วไปแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ทุกวันเว้นวัน ดังนั้นหากในแต่ละชุดผสมพันธุ์ (Set) ที่มีพ่อนกกระจอกเทศ 1 ตัวต่อแม่นกกระจอกเทศ 1 – 3 ตัว แม่นกอาจจะออกไข่พร้อมกันในวันเดียวกัน หรือสลับวันกันออกไข่ก็ได้ เมื่อพบว่าแม่นกออกไข่แล้วให้รีบเก็บไข่ออกทันที เพื่อไม่ให้ไข่อยู่บนพื้นนานเกินไป เพราะจะทำให้ไข่สกปรกและมีเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์แทรกซึมเข้าไปในไข่ ทำให้เชื้ออ่อนแอถึงตายได้
หลังจากนั้นให้หาไข่ปลอมที่มีรูปร่าง ลักษณะและน้ำหนักเหมือนไข่นกกระจอกเทศมาวางไว้แทนเพื่อกระตุ้นให้แม่นกกระ จอกเทศออกไข่เรื่อย ๆ ในที่เดียวกัน ปกติแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ปีละ 40 – 80 ฟอง แต่ก็มีบางฟาร์มที่สามารถผลิตไข่ได้ถึงปีละ 100 ฟอง ต่อแม่นกกระจอกเทศ1 ตัว ไข่นกกระจอกเทศจะมีลักษณะกลมรี โดยมีความกว้างยาวเกือบเท่ากัน เปลือกไข่สีขาวครีม และมีรูระบายอากาศใหญ่เห็นชัดเจนขนาดและน้ำหนักของไข่จะแตกต่างกันไปตามชนิด ของสายพันธุ์ ซึ่งในระหว่างการฟักน้ำหนักไข่จะหายไป 11 – 15 %
วิธีการเลือกไข่ฟัก
ไข่ฟักเป็นผลจากการผสมพันธุ์จึงย่อมมีผลทางการ สืบสายเลือดตามลักษณะที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของหน่วยสืบพันธุ์ นั่นคือลูกย่อมได้ลักษณะต่าง ๆ ทั้งของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ซึ่งมีทั้งลักษณะดีและเลว การเอาไข่เข้าฟักจึงต้องคำนึงถึงคุณภาพของพ่อแม่พันธุ์ด้วย
สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกไข่ฟัก
* ควรเป็นไข่ที่มาจากฝูงนกกระจอกเทศที่ไม่เป็นโรค
* พ่อแม่พันธุ์จะต้องสมบูรณ์แข็งแรง
* ต้องมีลักษณะที่ควรเป็นไข่ฟักคือเปลือกไข่สะอาด ผิวเปลือกไม่ขรุขระ รูปไข่บูดเบี้ยวหรือแตกร้าว เป็นต้น
การเก็บรักษาไข่ฟัก
ไข่ที่จะใช้สำหรับการฟักหลังจากเก็บจากรังไข่แล้ว จะต้องทำการรมควันฆ่าเชื้อด้วยก๊าซฟลอทาดิไฮด์ก่อนนำไปไว้ในห้องที่มี อุณหภูมิ 20 – 22 องศาเซลเซียส และเก็บนานไม่เกิน 7 วัน ในระหว่างที่เก็บจะต้องทำการกลับไข่อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ก่อนที่จะนำเข้าตู้ฟักจะต้องนำไข่ฟักออกจากห้อง ควบคุมอุณหภูมิมาไว้ที่อุณหภูมิปกติ (Preheat) เสียก่อนประมาณ 8 – 10 ชั่วโมง เพื่อปรับความเย็นของไข่สู่อุณหภูมิปกติ (ประมาณ 35 องศาเซลเซียส) ถ้านำไข่เข้าตู้ฟักทันทีจะทำให้เชื้อตาย (Embryonic Shock) เนื่องจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากเย็นไปร้อน
การฟักไข่ หลักใหญ่ของ การฟักไข่ก็คือ ให้ความอบอุ่นแก่ไข่ฟักให้สม่ำเสมอตลอดเวลา และทำให้สิ่งแวดล้อมให้เป็นผลดีต่อการเจริญของเชื้อลูกนก เพื่อให้เปอร์เซ็นต์ฟักออกมาเป็นตัวให้มากที่สุด ตู้ฟักไข่นกกระจอกเทศ โดยทั่วไปมักจะแยกตู้ฟัก (Setter) และตู้เกิด (Hatcher) ออกจากกัน เพื่อให้สะดวกในการทำงานและการควบคุมอุณหภูมิโดยนำไข่เข้าตู้ฟักนาน 38 – 39 วัน หลังจากนั้นจะนำไปไว้ในตู้เกิดซึ่งไม่มีการกลับไข่ (Turning) อุณหภูมิที่ใช้ในการฟักไข่ประมาณ 35.5 – 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 25 %
ปัจจัยทั่ว ๆ ไปที่ช่วยให้การฟักไข่เป็นผลดีคือ
1. อุณหภูมิหรือความร้อน (Temperature) ที่เหมาะสมที่ใช้ในการฟักไข่ก็คือ 36.2 องศาเซลเซียส มีความชื้น 40 % จะใช้เวลาฟักไข่นาน 41 – 43 วัน แต่ถ้าอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ความชื้น 40 % จะใช้เวลาฟักไข่ 43 – 47 วัน หากเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นจะทำให้อัตราการตายของลูกนกกระจอกเทศระยะแรก เพิ่มสูงขึ้น
2. ความชื้น (Humidity) ความชื้นที่เหมาะสมช่วยให้การเจริญเติบโตของเชื้อลูกนกกระจอกเทศเป็นไปโดย ปกติ หากความชื้นน้อยไป ลูกนกจะแห้งติดเปลือกและตาย ความชื้นที่เหมาะสมจะทำให้ลูกนกมีขนแห้ง ฟูสวย ไม่ติดเปลือก นอกจากนี้ความชื้นยังเป็นตัวกำหนดปริมาณการสูญหายของน้ำหนักไข่ในระหว่างการ ฟักอีกด้วย
3. การระบายอากาศ (Ventilation) ขณะที่ลูกนกยังเจริญเติบโตอยู่ในไข่ ร่างกายต้องใช้ไข่แดงและไข่ขาวไปสร้างส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การที่สิ่งเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนแปลงให้เกิดปฎิกริยาละลายเข้าในระบบการดูด ซึมของตัวลูกนกได้จำเป็นต้องให้ออกซิเจนไปทำปฎิกริยาแก่สิ่งเหล่านี้เพื่อ เปลี่ยนให้เป็นพลังงาน ส่วนที่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกขับออกทางเปลือก หากไม่มีการระบายอากาศออก จะทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงมากขึ้นจนเป็นอันตรายต่อลูกนก การระบายอากาศจึงเป็นการช่วยให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากตู้ฟัก และหมุนเวียนให้อากาศออกซิเจนเข้าไปถึงเชื้อลูกนก ปริมาณออกซิเจนในอากาศที่เหมาะสมคือ 21 %
4. การกลับไข่ (Turning) การกลับไข่ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อลูกนกแห้งติดเปลือกไข่ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการตายของลูกนกขณะที่ฟักไข่ในระยะแรกได้มาก ควรจะกลับไข่อย่างน้อยวันละ 2 – 3 ครั้ง หรือขึ้นอยู่กับองศาของไข่ เช่น ไข่ทำมุม 90 องศา กลับไข่ 2 ครั้ง ไข่ทำมุม 45 องศา กลับไข่ 6 ครั้ง ไข่ทำมุม 45 องศา กลับไข่ทุกชั่วโมง หลังจากย้ายไข่ไปไว้ในตู้เกิดก็จะไม่กลับไข่อีกเลย
5. การส่องไข่ (Candling) การ ส่องไข่ก็เพื่อคัดเอาไข่ที่ไม่มีเชื้อ ไข่เชื้อตาย และไข่เสียออกจากตู้ฟักไข่เสียก่อนที่ไข่จะเน่าและส่งกลิ่นเหม็นในตู้ฟัก ซึ่งเป็นผลเสียต่อไข่ใบอื่น ๆ สำหรับการส่องไข่นกกระจอกเทศ จะทำ 2 – 3 ครั้งโดยในครั้งแรกจะส่องเมื่อฟักไข่ไปแล้ว 10 – 14 วัน แต่ถ้ายังไม่แน่ใจอาจส่องดูอีกครั้งเมื่อฟักไปแล้ว 20 –21 วัน และครั้งสุดท้ายเมื่อจะย้ายไปตู้เกิดหรือเมื่อฟักไข่ไปแล้ว 35 วัน
เนื่องจากไข่นกกระจอกเทศมีเปลือกไข่ที่หนาและแข็ง แรงมาก ดังนั้นอุปกรณ์หรือเครื่องส่องไข่เพื่อดูการพัฒนาของตัวอ่อนจะต้องใช้กำลัง ไฟฟ้าแรงสูงมากและถ้าจะให้เห็นชัดเจนควรส่องดูในห้องมืดและไม่ควรส่องไข่ เล่นโดยไม่จำเป็นเนื่องจากความร้อยจากเครื่องส่องไข่จะไม่ผลต่อตัวอ่อนในไข่ ได้
การคัดเพศ นกกระจอกเทศ ก็เช่นเดียวกับสัตว์ปีกชนิดอื่น ๆ ที่มีอวัยวะเพศอยู่ภายใน ดังนั้นการคัดเพศเมื่อนกกระจอกเทศอายุน้อย จึงอาจใช้วิธีปลิ้นก้นเพื่อดูอวัยวะเพศ โดยในตัวผู้จะมีเดือยเล็ก ๆ โผล่ขึ้นมา ส่วนตัวเมียจะไม่มีเดือยแต่อย่างใด แต่ถ้าเป็นนกที่อายุ 6 เดือนขึ้นไปแล้ว จะสังเกตได้จากเวลาที่นกกระจอกเทศขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ถ้าเป็นนกกระจอกเทศเพศผู้จะเห็นเครื่องเพศขนาดยาว 3 – 4 เซนติเมตร โผล่ออกมาด้วย นอกจากนี้อาจจะสังเกตได้จากสีขน ถ้าเป็นนกกระจอกเทศเพศผู้จะไม่ขนสีดำ ปลายปีกและปลายหางสีขาว สำหรับตัวเมียจะมีสีน้ำตาลเทาตลอดลำตัว โดยทั่วไปนกกระจอกเทศตัวผู้จะใหญ่กว่านกกระจอกเทศตัวเมีย
อ้างอิง : http://www.thaifeed.net/animal/ostrich/ostrich-5.html