ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 26493 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ปุ๋ยเคมี

ปุ๋ย เคมี เราซื้อปุ๋ยเคมี เพราะเราต้องการนำธาตุอาหารที่มอยู่ในปุ๋ยนั้นให้แก่พืช ปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารพืชอยู่มากน้อย...

data-ad-format="autorelaxed">

ปุ๋ย เคมี

เราซื้อปุ๋ยเคมี เพราะเราต้องการนำธาตุอาหารที่มอยู่ในปุ๋ยนั้นให้แก่พืช ปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารพืชอยู่มากน้อยเท่าใด ดูได้จากตัวเลขบนกระสอบปุ๋ย ซึ่งเรียกว่า สูตรปุ๋ย

ปุ๋ยเคมีสูตรปุ๋ย ประกอบด้วย ตัวเลข ค่า มีขีดขั้นระหว่างตัวเลขแต่ละค่า เช่น 16-16-8 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละค่าจะแทนความหมายดังนี้

- ตัวเลขค่าแรกคือ 16 แทนเนื้อธาตุไนโตรเจนแสดงว่า ในปุ๋ยจำนวน 100 กิโลกรัมจะมีเนื้อธาตุไนโตรเจน 16 กิโลกรัม

- ตัวเลขต่อมาคือ 16 แทนเนื้อธาตุฟอสฟอรัส แสดงว่าในจำนวน 100 กิโลกรัมจะมีเนื้อธาตุฟอสฟอรัส 16 กิโลกรัม

-ตัวเลขสุดท้ายคือ 8 แทนเนื้อธาตุโพแทสเซียม แสดงว่าในปุ๋ยจำนวน 100 กิโลกรัมจะมีเนื้อธาตุโพแทสเซียม 8 กิโลกรัม

ปุ๋ยปลอม

ปุ๋ยปลอม คือปุ๋ยที่มีธาตุอาหารพืชไม่ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณที่ระบุไว้บนกระสอบ เช่น ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ถ้าวิเคราะห์แล้วมีธาตุไนโตรเจนไม่ถึง 14.4 เปอร์เซ็นต์ (14.4 = 90 เปอร์เซ็นต์ของ 16) เนื้อธาตุฟอสฟอรัสไม่ถึง 14.4 เปอร์เซ็นต์ (14.4 = 90 เปอร์เซ็นต์ของ 16) หรือเนื้อธาตุโพแทสเซียมไม่ถึง 7.2 เปอร์เซ็นต์ (7.2 = 90 เปอร์เซ็นต์ของ 8) อย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงว่าปุ๋ยสูตรนี้เป็น ปุ๋ยปลอม

ถ้าปุ๋ยกระสอบใด มีปริมาณเนื้อธาตุมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ครบปริมาณที่ระบุไว้บนกระสอบแสดงว่าปุ๋ยกระสอบนั้นเป็นปุ๋ญเคมีผิด มาตรฐาน

วิธี เก็บตัวอย่างปุ๋ย

การเก็บตัวอย่างปุ๋ย มีวิธีการปฏิบัติดังนี้

         1. เทปุ๋ยทั้ง กระสอบลงบนผ้าพลาสติกที่แห้งสะอาดคลุกเคล้าให้ปุ๋ยเข้ากันเป็นอย่างดี
         2. ใช้แผ่นไม้แบ่ง ปุ๋ยออกเป็น 4 ส่วน
         3. นำปุ๋ย 2 ส่วนที่อยู่ตรงกันข้ามมาคลุกเคล้ากันใหม่และแบ่งอออกเป็น 4 ส่วนอีกครั้งหนึ่ง
         4. ทำซ้ำข้อ 3 จนเห็นว่าเมื่อแบ่งปุ๋ยออกเป็น 4 ส่วนแล้ว แต่ละส่วนหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ตักปุ๋ย 1 ส่วน ใส่ในถุงพลาสติกที่แห้งและสะอาด
         5. เขียนรายละเอียด ของตัวอย่างปุ๋ย ได้แก่ สูตร ตราเลขทะเบียน ผู้ผลิตหรือผู้นำส่ง สถานที่ผลิต ใส่ถุงพลาสติกเล็กๆ แล้วใส่ลงในถุงตัวอย่างปุ๋ยพร้อมรัดปากถุงให้แน่น
         6. ส่งตัวอย่างปุ๋ย ไปยัง สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดเพื่อตรวจสอบต่อไป

การ ตรวจปุ๋ย

ปุ๋ยปลอมตรวจสอบได้ยากมากด้วยตาเปล่า หรือเพียงการสัมผัส การตรวจสอบที่ให้ได้ผลแน่นอนต้องทำโดยวิธีการทางเคมีในห้องปฏิบัติการ

เครื่องมือตรวจสอบ ปุ๋ยปลอมอย่างง่ายสำหรับการตรวจสอบในภาคสนามนั้น ใช้สำหรับการตรวจสอบเบื้องต้นเท่านั้น ให้ผลเพียงคร่าวๆ และไม่สามารถนำผลการตรวจสอบมาใช้เพื่อดำเนินคดีทางกฎหมายได้

เมื่อสงสัยว่าเป็น ปุ๋ยปลอม ควรเก็บตัวอย่างปุ๋ยตามวิธีการที่แนะนำอย่างเคร่งครัด แล้วส่งไปยังสำนักงานเกษตรอำเภอหรือสำนักงานเกษตรจังหวัด ในท้องถิ่นเพื่อส่งให้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบต่อไป

คำ แนะนำในการเลือกซื้อปุ๋ย

ในการเลือกซื้อปุ๋ยมีคำแนะนำดังนี้

1.ก่อนซื้อควรปรึกษา เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเพื่อตัดสินใจว่า ควรจะซื้อปุ๋ยสูตรใด ตราใด จำนวนเท่าใด

2. ควรซื้อโดยการรวมกลุ่มกันซื้อจากบริษัทที่ไว้ใจได้ โดยให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้ประสานงานให้

3. หากจำเป็นต้องการซื้อรายย่อย ควรดำเนินการดังนี้

3.1 บอกสูตร ตรา และจำนวนที่ต้องการแก่ผู้ขาย

3.2 ตรวจสอบข้อความบนกระสอบปุ๋ยว่าเป็นปุ๋ยชนิดใดต้องการหรือไม่

3.3 ตรวจสอบสภาพกระสอบว่า ใหม่และเรียบร้อยไม่มีรอยฉีกขาด หรือรอยเย็บใหม่

3.4 ตรวจสอบดุว่าแต่ละกระสอบมีน้ำหนักครบ 50 กิโลกรัมหรือไม่

3.5 ขอเอกสารกำกับปุ๋ย และใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายด้วย

โทษ ของการผลิตและการจำหน่ายปุ๋ยปลอม

การผลิตหรือจำหน่ายปุ๋ยเคมีปลอม มีโทษทั้งจำทั้งปรับดังนี้

“มาตรา 62 ” ผู้ ใดผลิตปุ๋ยเคมีปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 30 (1) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้า แสนบาท

“มาตรา 63 ” ผู้ ใดขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งปุ๋ยเคมีปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 30 (1) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปี ถึง สิบปี และปรับตั้งแต่ สามหมื่นบาท ถึง หนึ่งแสนบาท

พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518

อ้างอิง : http://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/fer1.htm


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 26493 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9891
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7927
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7983
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 8350
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 7302
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8585
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7773
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>