ความสำคัญของการตรวจดิน
เคยเป็นใหม..เวลาปลูกพืชแล้วเห็นของคนอื่นงามมาก ได้ผลผลิตดีมากๆ ก็ถามสูตรหรือวิธีการทำกันไป..เค้าทำงาม..แต่ทำไมเวลาเราปลูก..มันกลับไม่งาม..กลับไปใหม่..ทำผิดวิธีหรือเปล่า..ใช้ปุ๋ยสูตรไหนดี..มีเทคนิคดีๆอีกใหม..มียาวิเศษยี่ห้ออะไร..บลา...บลา...
บางทีมันอาจแค่เส้นผมบังภูเขา...แค่เรืองของดิน..แต่มันไม่ใช่.."แค่" มันเป็นเรืองใหญ่..ที่เกษตรกรมักจะมองข้าม...
มุ่งหาปุ๋ยดีสารเพ..มุ่งหาพืชพันธุ์ดีสารพัด..แต่สุดท้าย..ลืมนึกถึงโครงสร้างของดินที่เป็นพืนฐานของทุกสิ่ง..ทุกอย่าง...
สำหรับปริมแล้ว..การทำเกษตรให้ได้ผล..เรืองใหญ่ที่สุดคือเรืองดินค่ะ ..หากเรารู้โครงสร้างของดิน..รู้ว่าในดินมีธาตุอาหารอะไรบ้าง..อะไรมีเพียงพอแล้ว...อะไรมีน้อยและยังขาดอยู่...เป็นคำตอบของการปลูกพืชได้ผลคุ้มกับต้นทุนอย่างแท้จริงค่ะ
มองด้วยตา..ไม่สามารถตอบโจทย์นี้ได้..แต่เกษตรกรบางท่าน..ก็อาศัยความชำนาญจากการสังเกตุต้นพืช..ลักษณะของใบพืชหรือลักษณะที่มองเห็นได้จากภายนอกของดิน..ก็สามารถตอบโจทย์นี้..แต่จะมีสักกี่ท่าน..ที่จะเข้าใจลักษณะของดินและพืชได้อย่างถ่องแท้แบบนี้..ต้องอาศัยประสบการณ์และการคลุกคลีกับพืชนานแค่ไหน..จึงจะทำได้แบบนั้น..
โดยปรกติในดินสิ่งที่มีความสำคัญกับพืชและกระทบการพืชมากสุด สำหรับปริมแล้ว แบ่งได้ดังนี้
1. กลุ่มจำเป็นและกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชมากคือ
- อินทรียวัตถุในดิน หรือ OM (ได้พูดถึงความสำคัญไปแล้ว ในบทความก่อนๆ)
- ธาตุอาหารหลัก NPK ซึ่งพืชกินในปริมาณมากแต่ละปี ธาตุอาหารเหล่านี้ก็จะน้อยลง ยิ่งปลูกพืชนานเข้า ธาตุหลักเหล่านี้ก็ลดลง แต่บางพื้นที่ลดลงในปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน ตามแต่โครงสร้างของดินและพืชที่ปลูกค่ะ
- ค่า pH หรือความเป็นกรด-ด่าง ส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กับการธาตุรองอีก 2 ตัวคือ แคลเซียมกับแมกนีเซียม
2. กลุ่มที่ตอบโจทย์เวลาปลูกพืชแล้วเจอปัญหาพืชไม่งาม หรือมักเกิดโรคระบาดกับพืชที่ปลูก ควรตรวจ
- ค่า CEC ความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารในดิน
- แคลเซี่ยม
- แมกนีเซียม
สองธาตุนี้ มักจะสังเกตุอาการขาดได้จาก ขอบใบพืชที่มักเหลือง ยอดหงิก และการเกิดโรครากับระบบรากของพืชค่ะ
- โซเดียม ดินที่ใช้ปุ๋ยเคมีมาอย่างต่อเนื่อง ควรตรวจธาตุนี้เลยค่ะ เพราะอาจมีดินเป็นพิษสำหรับพืชที่เราปลูกได้
- กัมมะถัน ธาตุนี้หากใครใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 มักจะไม่ขาด เพราะปุ๋ยสูตรนี้ ทีธาตุกัมมะถันเป็นองค์ประกอบด้วยค่ะ
3. กลุ่มธาตุรองที่พืชนำไปใช้น้อย แต่ก็มีความจำเป็น หากขาดธาตุเหล่านี้ พืชมักจะบ่งบอกโรค หรือ ดินมีปัญหาค่ะ
- โบรอน
-โมลิบดินัม
- แมงกานิส
- อะลูมิเนียม
- ทองแดง
- เหล็ก
- สังกะสี
- ความเค็มของดิน หรือ EC
- ความต้องการปูน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเป็นกรด-ด่างของดิน
ทุกวันนี้การตรวจดินง่ายๆ ซึ่งมีทั้งภาครัฐและเอกชนหลายรายให้บริการตรวจดินอยู่นะคะ ง่ายๆ ทำรายการตรวจผ่านระบบออนไลน์ เก็บตัวอย่างดินส่งทางไปรษณีย์ และรอรับผลตรวจทางอีเมล
ประหยัดเงินค่าปุ๋ย ค่าดูแลรักษาโรคพืช และเพิ่มผลผลิตให้กับพืชที่ปลูกได้ แนะนำให้ตรวจดินก่อนปลูกพืชค่ะ
เขียนโดย
ปริม-ฟาร์มเกษตร
P.S. ตรวจดินผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ได้ที่
iLab.Asia นะคะ ได้รับผลการตรวจภายใน 7 วันทำการทางอีเมลค่ะ
สนับสนุนโดย ปุ๋ยตรา FK จากฟาร์มเกษตร ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ Law of the minimum