ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 13332 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

สวนผลไม้ : ไม่ขาดน้ำ ด้วยบ่อจิ๋ว

สวนผลไม้ - ชาวสวนผลไม้เมืองจันทบุรี หมดปัญหาขาดแคลนน้ำ ด้วยบ่อจิ๋วในไร่นา

data-ad-format="autorelaxed">

สวนผลไม้

สวนผลไม้

ขณะนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกของเกษตรกรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทานที่อาศัยน้ำฝนแต่เพียงอย่างเดียว

นายปรีชา โหนแหยม ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรี สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 กรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า จังหวัดจันทบุรีแม้จะมีปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ แต่ว่าปริมาณแหล่งกักเก็บน้ำค่อนข้างน้อย ประกอบกับเกษตรกรส่วนใหญ่ของจังหวัดจันทบุรีทำการเพาะปลูกไม้ผล ที่จำเป็นต้องอาศัยน้ำใช้ในการทำการเกษตรอย่างมาก ดังนั้น ในช่วงฤดูแล้งเกษตรกรส่วนใหญ่โดยเฉพาะที่อยู่นอกเขตชลประทานจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี ซึ่งเกษตรกรจำนวนหนึ่งก็ได้ช่วยเหลือตนเองโดยการติดตั้งท่อสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำสาธารณะมาใช้ในไร่นาแทน ซึ่งบางรายต้องเดินท่อไกลหลายกิโลเมตร ทำให้ต้นทุนในการใช้น้ำเพื่อทำการเกษตรของเกษตรกรค่อนข้างสูง


กรมพัฒนาที่ดิน ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้จึงได้มีโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน หรือบ่อจิ๋ว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้ในไร่นา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนโดยเฉพาะยามฤดูน้ำขาดแคลนเช่นนี้ โดยสถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรี ได้ดำเนินการขุดบ่อให้เกษตรกรที่แจ้งความประสงค์ขอขุดบ่อไว้กับทางสถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรี ได้แล้วไม่ต่ำกว่า 2,000 บ่อ แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกรที่ยื่นเรื่องไว้ ซึ่งสถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรีก็จะเร่งดำเนินการจัดสรรให้เกษตรกรตามงบประมาณที่ได้รับมาในแต่ละปีตามลำดับต่อไป

แหล่งกักเก็บน้ำเป็นสิ่งจำเป็นของเกษตรกรชาวสวนผลไม้เมืองจันทบุรี เพราะไม้ผลในช่วงที่ใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิตนั้นต้องใช้น้ำปริมาณมากผลผลิตจึงจะออกมาสมบูรณ์ หากเกษตรกรอาศัยแต่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยที่เกษตรกรหลายรายก็มีความต้องการพึ่งพิงที่แหล่งเดียวกัน อาจทำให้เกิดการขาดแคลน แต่ถ้าเกษตรกรมีแหล่งน้ำสำรองในไร่นาของตนเองก็จะช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าวไปได้ ดังเช่น นายประจวบ เสมสฤษดิ์ เกษตรกรชาวสวนผลไม้ บ้านต้นเลียบ หมู่ 6 ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ที่เคยประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร แต่เมื่อได้แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ก็สามารถแก้ปัญหาให้หมดไป


นายประจวบ เล่าว่า สภาพพื้นที่ของตนเองเป็นที่ราบลุ่ม เดิมใช้ทำนาข้าว ประสบปัญหาน้ำท่วมขังในฤดูฝน ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน อีกอย่างพอฤดูแล้งก็ประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอกับการใช้ประโยชน์ทั้งในส่วนของนาข้าวและไม้ผลที่ปลูกไว้ เนื่องจากบริเวณนี้ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน เมื่อสถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรีมีโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ก็ได้ยื่นเรื่องขอเข้าไป โดยมีความต้องการเปลี่ยนนาข้าวส่วนหนึ่งมาเป็นบ่อจิ๋ว เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในไร่นาให้เพียงพอมากขึ้นซึ่งบ่อที่ได้มีขนาดความจุ 1,260 ลูกบาศก์เมตร มีขนาดความกว้าง 17 เมตร ยาว 28 เมตร ลึก 4 เมตร มีคันดินเพื่อความมั่นคง และได้ปลูกหญ้าแฝกบนคันดินล้อมรอบเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน นอกจากนี้ ดินที่ขุดขึ้นมาก็ได้มาถมไว้บริเวณโดยรอบมีการปลูกถั่วพร้าเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน

ตั้งแต่ขุดบ่อจิ๋วไว้ใช้ตั้งแต่ปี 2555 ก็ได้ใช้ประโยชน์จากน้ำที่กักเก็บไว้เรื่อยมา ที่สำคัญคือพื้นที่บริเวณที่ขุดมีน้ำซึมใต้ดิน ทำให้มีน้ำตลอดเวลา ในช่วงฤดูฝนสามารถกักเก็บน้ำเต็มความจุ ในช่วงฤดูแล้งปริมาณน้ำจะลดลงไปประมาณครึ่งสระ แต่ปริมาณน้ำก็ยังเพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ โดยน้ำในบ่อนี้ได้ใช้เพื่อการเกษตร ได้แก่ สวนไม้ผล มังคุด เงาะ ทุเรียน สวนยางพาราและนาข้าว ส่วนดินที่ขุดขึ้นมาจากบ่อก็ปรับสภาพจนสามารถปลูกกล้วย และข้าวโพด นอกจากนี้ ก็ได้เลี้ยงปลาหมอไทยและปลานิลในบ่อ สามารถสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง ซึ่งตนเห็นความสำคัญของบ่อน้ำเพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้รอบด้าน จึงพยายามดูแลรักษาบ่อน้ำให้สามารถกักเก็บน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่จากสถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรีอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัล ผลงานแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานดีเด่น ประจำปี 2557 ของเขตภาคกลางและภาคตะวันออก

โครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานของกรมพัฒนาที่ดิน แม้เกษตรกรจะต้องลงทุนสมทบบ่อละ 2,500 บาท แต่สิ่งที่ได้กลับมานับว่าคุ้มค่า เพราะไม่เพียงแต่มีแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้ในไร่นาอย่างเพียงพอแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น อย่างกรณีสวนผลไม้เมืองจันทบุรีถ้ามีน้ำเพียงพอ ผลผลิตที่ได้ก็เพิ่มขึ้น โอกาสที่เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นก็มีตามไปด้วยเช่นกัน

ข้อมูลจาก naewna.com/local/163861

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 13332 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9891
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7927
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7983
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 8350
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 7302
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8585
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7773
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>