ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 11550 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ไขปริศนา สารสะเดา ทำไมฆ่าแมลงไม่ตาย

เกษตรกรรู้ว่า สารสะเดา กำจัดศัตรูพืชแทนสารเคมีได้ แต่เหตุใดล้มเหลว และไม่นิยม ซึ่งความจริงควรจะได้ผลดี สาเหตุมาจาก..

data-ad-format="autorelaxed">

ไขปริศนา สารสะเดา ทำไมฆ่าแมลงไม่ตาย

เกษตรกรบ้านเรา รู้จักใช้สารสะเดากำจัดศัตรูพืชแทนสารเคมี แต่ในทางปฏิบัติกลับล้มเหลว เกษตรกรไม่นิยม เพราะกำจัดศัตรูพืชไม่ได้ยาวนาน หนอนแมลงไม่ตาย

เพื่อความชัดเจน รศ.ดร.อัญชลี สงวนพงษ์ ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสารสกัดจากสะเดาเพื่อกำจัดศัตรูพืช มาเป็นระยะเวลานาน พบว่าตัวการที่ทำให้สารสะเดาใช้ไม่ได้ผล เนื่องจากสารที่สกัดออกมาจำหน่ายให้เกษตรกรไปใช้ส่วนใหญ่เป็นสารที่ได้จากการหมัก

สารในสะเดาจึงออกมาน้อย ความเข้มข้นไม่พอ การกำจัดจึงไม่ได้ผล

อีกเหตุผล เกษตรกรฉีดพ่นยาไม่ถูกกาลเทศะ

ไม่ฉีดพ่นในตอนเย็น เพราะเป็นช่วงเวลาดีที่สุด ไม่มีแดดมาเผาให้สภาพเสื่อมถอย แล้วยังเป็นช่วงที่แมลงออกมากัดกินพืชอีก ฉีดพ่นทีเดียวกำจัดได้ยกโขยง

และอีกปัญหาเกษตรกรฉีดพ่นสะเปะสะปะ

ไม่รู้ว่า สารสะเดานั้นกำจัดได้เฉพาะหนอนแมลงวัยอ่อนที่เพิ่งออกมาจากไข่ ถ้าเป็นหนอนตัวแก่กลายเป็นแมลงออกปีกบินไปไหนต่อไหนได้ ฉีดไปไม่ได้ประโยชน์ กำจัดไม่ได้ผล

“สะเดามีฤทธิ์กำจัดหนอนแมลงได้ เพราะมีสารอะซาไดแรกติน (Azadirachtin) ซึ่งออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบต่อมไร้ท่อ หรือระบบฮอร์โมนของหนอนแมลง เมื่อเข้าไปแล้วจะยับยั้งการกินอาหารของแมลง ทำให้แมลงศัตรูพืชกินอะไรไม่ได้ กินไม่ลง ในที่สุดก็จะอดตาย และสารตัวนี้มีมากที่สุดในเมล็ดสะเดา ซึ่งการหมักโดยทั่วไป มักจะนำใบมาหมักเป็นหลัก มันเลยมีปริมาณสารออกฤทธิ์ไม่มากพอ เลยฆ่าหนอนแมลงไม่ค่อยได้”

รศ.ดร.อัญชลี บอกว่า จากการนำเมล็ดมาสกัด โดยใช้เครื่องสกัดให้ได้สารอะซาไดแรกตินเข้มข้นสูง มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ “นีมพาวเวอร์” และนำไปผสมน้ำให้เกษตรกรทดลองใช้ในแปลงนาข้าว สวนผลไม้ เป็นระยะเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี โดยการพ่น 10 กว่าครั้งต่อปี...ฉีดพ่นแบบถูกเวลาในตอนเย็นและถูกระยะตัวหนอนวัยอ่อนกำลังออกจากไข่มาอาละวาด

ปรากฏว่า สามารถกำจัด หนอนชอนใบ, หนอนกระทู้, หนอนหลอดหอม, หนอนใยผัก, หนอนม้วนใบ, หนอนบุ้ง, หนอนแก้วส้ม, หนอนหัวกะโหลก, เพลี้ยอ่อน และ เพลี้ยไก่แจ้ ได้แบบไม่มีปัญหา เหมือนที่เกษตรกรตำหนิ ใช้สารสะเดามักจะไม่ได้ผล.

ข้อมูลจาก
- ไชยรัตน์ ส้มฉุน
- thairath.co.th/content/463139

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 11550 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9891
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7927
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7983
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 8350
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 7302
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8585
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7773
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>