data-ad-format="autorelaxed">
การระบาดของ "ปุ๋ยปลอม" ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อเกษตรกรเท่านั้น แต่กระเทือนไปถึงผู้ประกอบธุรกิจผลิตปุ๋ยคุณภาพได้มาตรฐานอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ โดยเฉพาะผู้ผลิตปุ๋ยบัลค์ เบลนดิ้ง หรือปุ๋ยที่มีการผสมเอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยเกือบ 100%
ทำให้สมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย ซึ่งมีสมาชิกกว่า 40 ราย ออกมาเรียกร้องรัฐบาลให้มีการปราบปรามปุ๋ยปลอมอย่างจริงจังเพื่อนำมาซึ่งความมั่นใจของเกษตรกรไทยในการใช้ปุ๋ยสำหรับการเพิ่มผลทางการเกษตร
"เห็นด้วยที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐออกตรวจจับปุ๋ยปลอม แต่ขอให้ทำอย่างต่อเนื่อง อย่าทำแบบไฟไหม้ฟาง เพราะสุดท้ายประโยชน์ที่ได้ก็จะตกแก่เกษตรกร แล้วก็จะขจัดเหลือบวงการปุ๋ยที่คิดเอาแต่ได้โดยไม่คิดถึงผลเสียหายที่ตามมา ในอนาคตด้วย"
ทวีศักดิ์ สุทิน นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทยกล่าวถึงการตรวจจับปุ๋ยปลอมที่ กำลังแพร่อยู่ในหลายพื้นที่ในขณะนี้ จนกระทั่งเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกตรวจจับกุม ได้อย่างต่อเนื่อง โดยยอมรับว่าการรวมกลุ่มของผู้ผลิตปุ๋ยในฐานะสมาชิกของสมาคมนั้นก็สามารถ สกรีนความเชื่อถือได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่อาจจะไม่ใช่ทั้งหมด
ทวีศักดิ์ ยอมรับว่าปุ๋ยปลอมส่วน ใหญ่จะเป็นปุ๋ยบัลค์ เบลนดิ้ง (Bulk blending) คือปุ๋ยที่ผสมเอง โดยการนำแม่ปุ๋ยมาเป็นส่วนผสม ซึ่งอาจจะไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด ซึ่งการตรวจสอบจะต้องใช้วิธีการสุ่มตรวจในห้องแล็บของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลานานเป็นเดือนกว่าจะได้รับการรับรองว่าเป็นปุ๋ยที่ได้ มาตรฐานหรือไม่ ในขณะที่ปุ๋ยผสมเสร็จหรือปุ๋ยคอมปาวด์ (Compound) นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นปุ๋ยนำเข้า 100% มักจะถูกปลอมปนน้อย แต่ปุ๋ยประเภทนี้ต้นทุนการผลิต ราคาจำหน่ายจึงสูงไปด้วย ทำให้เกษตรกรไม่ค่อยนิยมใช้กัน
"ปัจจุบันภาคเกษตรกรรมไทยมีความต้องการในการใช้ปุ๋ยอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านตันต่อปี ในขณะที่ปริมาณปุ๋ยคอมปาวนด์ผลิตได้อยู่ที่ 1.8-2 ล้านตันต่อปี ส่วนที่เหลืออีกเกือบ 2 ล้านตัน รองรับตลาดของปุ๋ยบัลค์ เบลนดิ้ง ที่ผู้ประกอบธุรกิจปุ๋ยประเภทนี้จะต้องมาแชร์ตลาดร่วมกัน"
ลดข้าวดีดได้มากกว่า 70%
ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว ตรานกอินทรีคู่ ขจัดปัญหาข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าววัชพืช คลิกที่นี่
ปุ๋ยตรานกอินทรีคู่
จากฟาร์มเกษตร ผลิตภัณฑ์ออแกนิกส์ ปลอดสารพิษ ส่งออกไปยังประเทศจีน ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ กาน่า ด้วยเทคโนโลยีการผลิต และความร่วมมือจากนักลงทุนประเทศ ออสเตเลีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย โดยคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และยังมี สสว. องค์กรของภาครัฐร่วมลงทุนอยู่ด้วยประมาณ 15% จึงมันใจได้ว่า ปุ๋ยตรานกอินทรีคู่ มีคุณภาพสูง และเป็นที่ยอมรับในองค์กรชั้นนำ
สนใจติดต่อ คุณปิยะมาศ 089-4599003
หรือ ดูรายการสินค้าและราคาคลิกที่นี่ |
นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทยย้ำอีกว่าหากรัฐบาลไม่เร่งแก้ปัญหาปุ๋ยปลอมระบาด อย่างจริงจังก็จะมีผลกระทบต่อธุรกิจการผลิตปุ๋ยเมืองไทยในระยะยาวอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะปุ๋ยจากต่างประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าจะเข้ามาตีตลาดได้ หลังมีการเปิดเสรีทางการค้าในกลุ่มอาเซียนต้นปีหน้า โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำมาก เนื่องจากมีวัตถุดิบหลักอย่างร็อกฟอสเฟตจำนวนมหาศาลและมีการนำเข้ายูเรียจาก ประเทศจีนได้ง่ายกว่า และราคาขนส่งที่ถูกว่า ในขณะที่ประเทศไทยจะต้องนำเข้าวัตถุดิบพวกนี้ 100% ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปในอนาคตเวียดนามจะเป็นผู้คุมตลาดปุ๋ยประเภทนี้
ขณะที่ ปรีชา รังสิมานนท์ ผู้จัดการบริษัท พาริช เฟอทิไลเซอร์ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายแม่ปุ๋ยมองว่า แม้วันนี้ประเทศไทยจะนำเข้าแม่ปุ๋ยซึ่งใช้ในการผลิตปุ๋ยจากต่างประเทศ 100% ส่งผลให้ราคาจำหน่ายปุ๋ยสูง แต่หากในอนาคตมีการขุดนำโปแตช 1 ใน 3 วัตถุดิบหลักใช้ในการผลิตปุ๋ย ซึ่งมีอยู่ มหาศาลในหลายจังหวัดภาคอีสานมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว เชื่อว่าราคาปุ๋ยก็จะลดลง เพราะไม่ต้องอิงราคาตามตลาดโลก
"ที่ชุมชนประท้วงกัน ต่อต้านการขุดเหมืองโปแตช ผมว่ามันเป็นประเด็นการเมืองระหว่างประเทศมากกว่า เพราะถ้าประเทศไทยขุดโปแตชขึ้นมาใช้ได้เมื่อไหร่ รับรองว่าปุ๋ยทั้งโลกกระเทือนแน่ๆ โดยเฉพาะแคนาดาเป็นประเทศที่ส่งออกโปแตชรายใหญ่สุด แต่คุณภาพสู้ของเราไม่ได้ โดยเฉพาะโปแตชที่ขุดจากเหมืองใน จ.อุดรธานี ชัยภูมิ และเลย ถือเป็นโปแตชที่มีคุณภาพมากที่สุดและมีอยู่ในปริมาณที่มหาศาลมาก" ปรีชา ยืนยัน
ปุ๋ยปลอมไม่ เพียงทำลายวงการผู้ประกอบธุรกิจผลิตปุ๋ยด้วยกันเท่านั้น แต่ยังสร้างปัญหาให้แก่เกษตรกรต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงเกินจริง เมื่อเทียบกับสัดส่วนของแร่ธาติปุ๋ยจริง แม้ราคาจำหน่ายจะสูงกว่าแต่ก็คุ้มค่ากับการลงทุน
4 มาตรการป้องกัน "ปุ๋ยปลอม" ระบาด
1.มาตรการความร่วมมือจากผู้ประกอบการ ต้องมีความปรารถนาต่อเกษตรกรในการผลิตปุ๋ยคุณภาพดีบริการเกษตรกร ต้องมีจรรยาบรรณและต้องควบคุมในการผลิตทุกขั้นตอน อาทิ เลือกแม่ปุ๋ยมีคุณภาพ มีการตรวจวิเคราะห์แม่ปุ๋ยก่อนผลิต การคำนวณจะต้องเผื่อความแปรปรวนของธาตุอาหาร ต้องตรวจสอบผลิตภัณฑ์ก่อนนำออกจำหน่ายเสมอ และระมัดระวังการปลอมปนหรือเลียนแบบ
2.มาตรการด้านเกษตรกร เปรียบเทียบราคาปุ๋ยที่จะซื้อในท้องตลาดและไม่ควรซื้อปุ๋ยราคาถูกเกินไป ควรรวมตัวซื้อเป็นลอตใหญ่เพื่อให้ได้ราคาถูกและมีการสุ่มตรวจวิเคราะห์เมื่อ มีการตรวจรับ ควรตรวจดูกระสอบบรรจุอยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่มีรอยขีดข่วนหรือรอยแกะเชือกผูกมัด ที่สำคัญต้องดูปู๋ยที่ทะเบียนกรมวิชาการเกษตรที่ข้างกระสอบ
3.มาตรการด้านภาครัฐ เจ้าหน้าที่รัฐต้องหมั่นตรวจสอบติดตามคุณภาพปุ๋ยในแหล่งผลิต แหล่งขายและแหล่งเก็บอย่างต่อเนื่อง ป้องกันปุ๋ยปลอมตั้งแต่ ต้นทางการนำเข้าจนถึงแหล่งผลิต ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนถึงข้อสังเกตในการเลือกซื้อปุ๋ย สร้างภูมิคุ้มกันด้วยภูมิปัญญา แจ้งราคาปุ๋ยปานกลางเป็นระยะๆ เพื่อให้เกษตรกรทราบและเป็นแนวทางในการซื้อปุ๋ย ตลอดจนสร้างและพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติเป็นมาตรการระยะยาว
4.มาตรการของสมาคม ต้องควบคุมสมาชิกให้มีความรู้ในการผลิตและมีจรรยาบรรณในการประกอบการ ให้ข้อมูลข่าวสารแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปเพื่อเตือนให้ตระหนักและ ระมัดระวังปุ๋ยปลอมเลือก ใช้แต่ปุ๋ยดีในการเพิ่มผลผลิต และเสนอรัฐสร้างยุทธศาสตร์ปุ๋ยแห่งชาติ โดยความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตและใช้ปุ๋ย ของชาติ