data-ad-format="autorelaxed">
หมดยุคราคาน้ำมันแพง ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเอทานอลไทย เอทานอลเป็นอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ของไทยที่มีการเติบโตค่อนข้างมาก โดยราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงได้สร้างความกังวลต่อแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมเอทานอลไทย ซึ่งอีไอซี พบว่า ในช่วงที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงส่งผลดีต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเอทานอลมากกว่าผลเสีย แต่อย่างไรก็ดี อีไอซี มองว่า นโยบายของภาครัฐจะเป็นปัจจัยชี้ขาดถึงทิศทางของอุตสาหกรรมเอทานอลไทยในระยะต่อไป
ดังนั้น ผู้ประกอบการควรติดตามนโยบายของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อบริษัท ในขณะเดียวกัน โรงงานน้ำตาลที่ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล ควรที่จะเร่งเจรจากับชาวไร่อ้อย เพื่อที่จะนำน้ำอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลโดยตรง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของพลังงานทดแทนเอทานอล เป็นอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ของไทยที่มีการเติบโตค่อนข้างมาก สะท้อนได้จากปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์ซึ่งใช้เอทานอลเป็นส่วนผสม ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 12% ในช่วงปี 2009-2014 และสัดส่วนการใช้แก๊สโซฮอล์ต่อการใช้น้ำมันเบนซินรวมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 59% ในปี 2009 เป็น 93% ในปี 2014
โดยในปัจจุบันไทยมีโรงงานผลิตเอทานอลจำนวน 21 โรง มีกำลังการผลิตรวมกันราววันละ 4.2 ล้านลิตร ซึ่งกำลังการผลิตส่วนใหญ่เป็นการผลิตจากกากน้ำตาลราว 61.9% รองลงมาเป็นการผลิตจากมันสำปะหลังราว 33.4%โดยราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ได้สร้างความกังวลต่อแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมเอทานอลไทยในอนาคต ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของพลังงานทดแทนอย่างเอทานอลปรับตัวลดลงตามไปด้วย
สะท้อนได้จากราคาเอทานอลในปัจจุบันที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าเนื้อน้ำมันเบนซินราว 12.6 บาทต่อลิตร จากในช่วงเดือน ม.ค. 2014 ที่แตกต่างกันเพียง 3.2 บาทต่อลิตร ซึ่งราคาเนื้อน้ำมันเบนซินที่ต่ำกว่าราคาเอทานอล เป็นผลให้การผลิตน้ำมันเบนซินมีต้นทุนที่ถูกกว่าการผลิตแก๊สโซฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก๊สโซฮอล์ที่ผสมเอทานอลในสัดส่วนที่สูง เช่น E85 (เบนซิน 15% เอทานอล 85%) ส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซินสามารถปรับตัวลดลงได้มากกว่าราคาแก๊สโซฮอล์ชนิดต่างๆ ทำให้ส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับแก๊สโซฮอล์ปรับตัวลดลง ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผู้บริโภคหันไปเติมน้ำมันเบนซินหรืออาจจะหันไปเติมแก๊สโซฮอล์ที่ผสมเอทานอลในสัดส่วนที่ต่ำเพิ่มขึ้น เป็นผลให้ความต้องการใช้เอทานอลปรับตัวลดลง ส่งผลกระทบต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในประเทศอีไอซี พบว่า ในช่วงที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงส่งผลดีต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเอทานอลมากกว่าผลเสีย แม้ราคาน้ำมันที่ลดลงจะส่งผลให้ส่วนต่างราคาระหว่างแก๊สโซฮอล์กับน้ำมันเบนซิน และส่วนต่างราคาระหว่างแก๊สโซฮอล์ด้วยกันเองปรับตัวแคบลงจริง
แต่ผู้บริโภคกลับไม่ได้ปรับเปลี่ยนไปเติมน้ำมันเบนซินหรือหันไปเติมแก๊สโซฮอล์ที่มีสัดส่วนการผสมเอทานอลในระดับต่ำเพิ่มขึ้นอย่างที่หลายฝ่ายกังวล สะท้อนได้จากสัดส่วนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 14% ในเดือน ม.ค 2014 เป็น 16% ในเดือน ธ.ค. 2014 ในขณะที่สัดส่วนการใช้น้ำมันเบนซิน 95 ปรับตัวลดลงจาก 7% เป็น 6% ในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ในทางตรงกันข้าม ราคาน้ำมันที่ปรับลดลงกลับช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น
ส่งผลให้ความต้องการใช้เอทานอลปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยความต้องการใช้เอทานอลที่เพิ่มขึ้นนี้เอง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาเอทานอลของไทยไม่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
อย่างไรก็ดี อีไอซี มองว่า นโยบายของภาครัฐจะเป็นปัจจัยชี้ขาดถึงทิศทางของอุตสาหกรรมเอทานอลไทยในระยะต่อไป สาเหตุสำคัญที่ทำให้ความต้องการใช้เอทานอลยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ นโยบายการส่งเสริมพลังงานทดแทนของภาครัฐ โดยในปัจจุบันรัฐบาลได้ทำการบริหารโครงสร้างราคาน้ำมัน เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น รัฐบาลใช้งบประมาณจากกองทุนน้ำมันฯ เพื่ออุดหนุนราคาแก๊สโซฮอล์ E85 จำนวน 8.23 บาทต่อลิตร ในขณะที่เรียกเก็บเงินจากน้ำมันเบนซิน 95 จำนวน 9.15 บาทต่อลิตร ส่งผลให้แก๊สโซฮอล์ E85 มีราคาถูกกว่าเบนซิน 95
เป็นต้น นอกจากนี้ ในปี 2013 รัฐบาลยังได้ทำการยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 เพื่อส่งเสริมการบริโภคแก๊สโซฮอล์ในประเทศ ซึ่งหากภาครัฐยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงทางพลังงานในประเทศ ผ่านการดำเนินนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนดังกล่าวต่อไป อุตสาหกรรมเอทานอลของไทยก็จะยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่หากรัฐบาลยกเลิกการบริหารส่วนต่างราคาเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคยังคงเติม E85 หรือ E20 ก็จะส่งผลให้ความต้องการบริโภคเอทานอลปรับตัวลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านลบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมเอทานอลในอนาคตผู้ประกอบการควรติดตามนโยบายของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อบริษัท การเปลี่ยนแปลงของนโยบายภาครัฐจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเอทานอลค่อนข้างมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการควรที่จะติดตามและประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาแนวทางการปรับตัวและวางแผนการดำเนินงานของบริษัทในอนาคตในขณะเดียวกัน โรงงานน้ำตาลที่ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล ควรที่จะเร่งเจรจากับชาวไร่อ้อย เพื่อที่จะนำน้ำอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลโดยตรง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของพลังงานทดแทน แม้ว่าการผลิตเอทานอลจากน้ำอ้อยจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าการผลิตจากกากน้ำตาลค่อนข้างมากราว 23% แต่ในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่มีโรงงานน้ำตาลใดในไทยที่สามารถนำน้ำอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลได้โดยตรง เนื่องจากชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลยังไม่สามารถตกลงเรื่องราคาน้ำอ้อย เพื่อนำมาคำนวณในระบบแบ่งปันผลประโยชน์ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการลดต้นทุนผลผลิตและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของพลังงานทดแทน โรงงานน้ำตาลซึ่งผลิตเอทานอลด้วย ควรที่จะเร่งเจรจากับชาวไร่อ้อย เพื่อที่จะให้สามารถนำน้ำอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลได้เอทานอลเป็นอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ของไทยที่มีการเติบโตค่อนข้างมาก โดยราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงได้สร้างความกังวลต่อแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมเอทานอลไทย ซึ่งอีไอซี พบว่า ในช่วงที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงส่งผลดีต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเอทานอลมากกว่าผลเสีย แต่อย่างไรก็ดี อีไอซี มองว่า นโยบายของภาครัฐจะเป็นปัจจัยชี้ขาดถึงทิศทางของอุตสาหกรรมเอทานอลไทยในระยะต่อไป
ดังนั้น ผู้ประกอบการควรติดตามนโยบายของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อบริษัท ในขณะเดียวกัน โรงงานน้ำตาลที่ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล ควรที่จะเร่งเจรจากับชาวไร่อ้อย เพื่อที่จะนำน้ำอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลโดยตรง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของพลังงานทดแทน
เอทานอล เป็นอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ของไทยที่มีการเติบโตค่อนข้างมาก สะท้อนได้จากปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์ซึ่งใช้เอทานอลเป็นส่วนผสม ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 12% ในช่วงปี 2009-2014 และสัดส่วนการใช้แก๊สโซฮอล์ต่อการใช้น้ำมันเบนซินรวมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 59% ในปี 2009 เป็น 93% ในปี 2014 (รูปที่ 1)โดยในปัจจุบันไทยมีโรงงานผลิตเอทานอลจำนวน 21 โรง มีกำลังการผลิตรวมกันราววันละ 4.2 ล้านลิตร ซึ่งกำลังการผลิตส่วนใหญ่เป็นการผลิตจากกากน้ำตาลราว 61.9% รองลงมาเป็นการผลิตจากมันสำปะหลังราว 33.4%
โดยราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ได้สร้างความกังวลต่อแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมเอทานอลไทยในอนาคต ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของพลังงานทดแทนอย่างเอทานอลปรับตัวลดลงตามไปด้วย สะท้อนได้จากราคาเอทานอลในปัจจุบันที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าเนื้อน้ำมันเบนซินราว 12.6 บาทต่อลิตร จากในช่วงเดือน ม.ค. 2014 ที่แตกต่างกันเพียง 3.2 บาทต่อลิตร ซึ่งราคาเนื้อน้ำมันเบนซินที่ต่ำกว่าราคาเอทานอล เป็นผลให้การผลิตน้ำมันเบนซินมีต้นทุนที่ถูกกว่าการผลิตแก๊สโซฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก๊สโซฮอล์ที่ผสมเอทานอลในสัดส่วนที่สูง เช่น E85 (เบนซิน 15% เอทานอล 85%) ส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซินสามารถปรับตัวลดลงได้มากกว่าราคาแก๊สโซฮอล์ชนิดต่างๆ ทำให้ส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินกับแก๊สโซฮอล์ปรับตัวลดลง ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผู้บริโภคหันไปเติมน้ำมันเบนซินหรืออาจจะหันไปเติมแก๊สโซฮอล์ที่ผสมเอทานอลในสัดส่วนที่ต่ำเพิ่มขึ้น เป็นผลให้ความต้องการใช้เอทานอลปรับตัวลดลง ส่งผลกระทบต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในประเทศ
อีไอซี พบว่า ในช่วงที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงส่งผลดีต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเอทานอลมากกว่าผลเสีย แม้ราคาน้ำมันที่ลดลงจะส่งผลให้ส่วนต่างราคาระหว่างแก๊สโซฮอล์กับน้ำมันเบนซิน และส่วนต่างราคาระหว่างแก๊สโซฮอล์ด้วยกันเองปรับตัวแคบลงจริง แต่ผู้บริโภคกลับไม่ได้ปรับเปลี่ยนไปเติมน้ำมันเบนซินหรือหันไปเติมแก๊สโซฮอล์ที่มีสัดส่วนการผสมเอทานอลในระดับต่ำเพิ่มขึ้นอย่างที่หลายฝ่ายกังวล สะท้อนได้จากสัดส่วนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 14% ในเดือน ม.ค 2014 เป็น 16% ในเดือน ธ.ค. 2014 ในขณะที่สัดส่วนการใช้น้ำมันเบนซิน 95 ปรับตัวลดลงจาก 7% เป็น 6% ในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ในทางตรงกันข้าม ราคาน้ำมันที่ปรับลดลงกลับช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้เอทานอลปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยความต้องการใช้เอทานอลที่เพิ่มขึ้นนี้เอง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาเอทานอลของไทยไม่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
อย่างไรก็ดี อีไอซี มองว่า นโยบายของภาครัฐจะเป็นปัจจัยชี้ขาดถึงทิศทางของอุตสาหกรรมเอทานอลไทยในระยะต่อไป สาเหตุสำคัญที่ทำให้ความต้องการใช้เอทานอลยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ นโยบายการส่งเสริมพลังงานทดแทนของภาครัฐ โดยในปัจจุบันรัฐบาลได้ทำการบริหารโครงสร้างราคาน้ำมัน เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น รัฐบาลใช้งบประมาณจากกองทุนน้ำมันฯ เพื่ออุดหนุนราคาแก๊สโซฮอล์ E85 จำนวน 8.23 บาทต่อลิตร ในขณะที่เรียกเก็บเงินจากน้ำมันเบนซิน 95 จำนวน 9.15 บาทต่อลิตร ส่งผลให้แก๊สโซฮอล์ E85 มีราคาถูกกว่าเบนซิน 95 เป็นต้น นอกจากนี้ ในปี 2013 รัฐบาลยังได้ทำการยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 เพื่อส่งเสริมการบริโภคแก๊สโซฮอล์ในประเทศ ซึ่งหากภาครัฐยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงทางพลังงานในประเทศ ผ่านการดำเนินนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนดังกล่าวต่อไป อุตสาหกรรมเอทานอลของไทยก็จะยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่หากรัฐบาลยกเลิกการบริหารส่วนต่างราคาเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคยังคงเติม E85 หรือ E20 ก็จะส่งผลให้ความต้องการบริโภคเอทานอลปรับตัวลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านลบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมเอทานอลในอนาคต
ผู้ประกอบการควรติดตามนโยบายของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อบริษัท การเปลี่ยนแปลงของนโยบายภาครัฐจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเอทานอลค่อนข้างมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการควรที่จะติดตามและประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาแนวทางการปรับตัวและวางแผนการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต
ในขณะเดียวกัน โรงงานน้ำตาลที่ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล ควรที่จะเร่งเจรจากับชาวไร่อ้อย เพื่อที่จะนำน้ำอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลโดยตรง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของพลังงานทดแทน แม้ว่าการผลิตเอทานอลจากน้ำอ้อยจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าการผลิตจากกากน้ำตาลค่อนข้างมากราว 23% แต่ในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่มีโรงงานน้ำตาลใดในไทยที่สามารถนำน้ำอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลได้โดยตรง เนื่องจากชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลยังไม่สามารถตกลงเรื่องราคาน้ำอ้อย เพื่อนำมาคำนวณในระบบแบ่งปันผลประโยชน์ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการลดต้นทุนผลผลิตและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของพลังงานทดแทน โรงงานน้ำตาลซึ่งผลิตเอทานอลด้วย ควรที่จะเร่งเจรจากับชาวไร่อ้อย เพื่อที่จะให้สามารถนำน้ำอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลได้
ที่มา : ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์