ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 32953 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การเลี้ยงสุกรแนวทางเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม)

คณะครูศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสูงเม่นได้เข้าร่วมอบรมโครงการ ถ่ายเทคโนโลยี การผลิตหมูหลุม เพื่อสร้างรายได้

data-ad-format="autorelaxed">

หมูหลุมตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน

 

การเลี้ยงสุกรแนวทางเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม)

 

mulum001.JPG (50720 bytes) mulum002.JPG (48618 bytes) mulum003.JPG (50802 bytes)




ความเป็นมา
เมื่อวันที่ 22 - 23 มีนาคม 2548 คณะครูศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสูงเม่นได้เข้าร่วมอบรมโครงการ ถ่ายเทคโนโลยี การผลิตหมูหลุม เพื่อสร้างรายได้ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 7 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่
การเลี้ยงสุกรแบบเกษตรธรรมชาติของเกาหลี (หมูหลุม) นอกจากจะให้กำไรงามแก่ผู้เลี้ยงแล้ว ยังสามารถลดต้นทุนอาหารได้ ถึง 70 % ทำให้ภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกรเบาแรงลง เนื่องจากเกษตรกร ไม่ต้องกวาดพื้นคอก กำจัดขี้หมู ไม่มีกลิ่นเหม็นของขี้หมูรบกวน พื้นคอก ไม่เฉอะแฉะ และไม่มีแมลงวันตอม

แนวคิดที่เลี้ยงสุกรแบบเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม)
1. ต้องการศึกษา เรียนรู้ วิธีการ เลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเรียนรู้การแก้ไขปัญหาที่เผชิญได้ด้วยตัวเอง
2. เป็นแนวทางการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน ตามภารกิจงานการศึกษานอกโรงเรียน
3. เป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว มีส่วนร่วมในกระบวนการคิด บริการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัวอยากให้ชาวบ้าน และแนวทางการเลี้ยงในการแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น

โรงเรือน 



สุกร 10 ตัว จะใช้พื้นที่ในการเลี้ยงขนาดความกว้าง 3 เมตร x ความยาว 6 เมตร หลังคายกสูงให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ลักษณะของโรงเรือน
1. ตั้งอยู่บนที่สูง ที่ดอน 
2. สร้างโรงเรือนตามแนวทิศทางของตะวันออก – ตะวันตก
3. วัสดุมุงหลังคาควรเป็นกระเบื้อง หรือ คา
4. หลังคาสูง – เอน เช่น
- เพิงหมาแหงน
- เพิงหมาเหงนกลาย
- แบบจั่ว
- จั่ว 2 ชั้น
- จั่ว 2 ชั้นกลาย

พื้นคอก
การเตรียมคอก
ขุดดินออกไปทั้งหมด ให้ลึกประมาณ 90 เซนติเมตร ปรับขอบรอบๆ แล้วผสมวัสดุเหล่านี้ ใส่แทนดินที่ขุดออกไป วัสดุที่ใช้ได้แก่
- ขี้เลื่อย หรือ แกลบหยาบ 100 ส่วน
- ดินที่ขุดออก 10 ส่วน
- เกลือ 0.3 - 0.5 ส่วน

นำวัสดุเหล่านี้ คลุกเคล้าผสมกัน ลงไป 30 เซนติเมตร ใช้จุลินทรีย์ที่ได้จากการหมักพืช  จุลินทรีย์เชื้อราขาวจากป่าไผ่ อัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร ราดลงบนวัสดุรองพื้น โรยดินชีวภาพเชื้อราขาวบางๆ ชั้นที่ 2 และ 3 ทำเหมือนชั้นแรก ชั้นสุดท้ายโรยแกลบดิบ ปิดหน้า หนึ่งฝามือ
การเตรียมหลุม และพื้นคอกหมูหลุม
อาหารและการให้อาหาร
- ถังน้ำ และรางอาหาร ควรตั้งไว้คนละด้าน เพื่อหมูจะเดินไปมาเป็นการออกกำลังกาย 
การเริ่มต้นเลี้ยงสุกร เมื่อหย่านม จะเป็นการดีที่ฝึกวิธีการเลี้ยงแบบธรรมชาติ การให้อาหารให้เพียงวันละ 1 ครั้ง (ปรับตามความเหมาะสม)

อาหารที่ให้
ใช้พืชผักสีเขียว เป็นอาหารเสริม อาหารหมัก ใช้ผักสีเขียว หยวกกล้วย มะละกอดิบ ใบบอน วัชพืชต่างๆ ที่หมูชอบ สับผักเป็นชิ้นเล็กๆ คลุกน้ำตาลทรายแดง โดยหมักในอัตราส่วน 100 : 4 : 1 คือ ใช้พืช 100กิโลกรม : น้ำตาล 4 กิโลกรม : เกลือ 1 กิโลกรัม นำไปเลี้ยงสุกรโดยผสมปลายข้าว รำอ่อน ก็จะช่วยลดต้นทุนในการเลี้ยง

ขั้นตอนการเตรียม อาหาร และน้ำดื่ม สำหรับสุกร 
1. น้ำดื่มสำหรับหมูหลุม
สำหรับ น้ำ 1 ถัง ( 20 ลิตร) ส่วนผสมน้ำดื่มให้สุกร
1. หัวเชื้อจุลินทรีย์ผัก หรือผลไม้ 2 ช้อนโต๊ะ
2. น้ำฮอร์โมน สมุนไพร 2 ช้อนโต๊ะ (เหล้าดองยา)
3. นมเปรี้ยว 2 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำหมักแคลเซียม 2 ช้อนโต๊ะ
5. น้ำสะอาด 20 ลิตร
ผสมให้ดื่มเป็นประจำทุกวัน หากพื้นคอกสุกรแน่น หรือแข็ง ก็ใช้น้ำดังกล่าวราดบนพื้นคอก 
จะทำให้เกิดกลิ่นหอม จูงใจให้สุกรขุดคุ้ยเป็นการกลับหน้าดิน ช่วยให้พื้นคอกร่วนโปร่ง มีอากาศถ่ายเท เกิดจุลินทรีย์มากมาย

2. การทำอาหารหมัก
วัสดุอุปกรณ์
1. ผักใบเขียวต่างๆ หยวกกล้วย ใบบอน พืชใบเขียว
2. ถุงพลาสติก
3. น้ำตาลทรายแดง
4. เกลือป่น หรือเกลือเม็ด
5. กระดาษสีขาว
6. เชือกฟาง
วิธีนำอาหารหมักไปใช้ 
ใช้อาหารหมัก 7 ส่วน ต่อ อาหารเม็ด 1 ส่วน ต่อรำ 2 ส่วน หรือ 7 : 1 : 2 ถ้าคิดเป็น 100 % (อาหารหมัก 70 % : อาหารเม็ด 15 % : รำ 15 % ) สามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้เลี้ยง

 การทำอาหารหมักจากพืช                                              

     อาหารหมักจากพืชที่ผสมเรียบร้อยแล้ว

3. การทำน้ำหมักผลไม้
วัสดุอุปกรณ์
1. ผลไม้สุก / ดิบ
2. น้ำตาลทรายแดง
3. ขวดโหล / ถัง / โอ่ง (สำหรับหมัก)
4. เชือกฟาง
5. กระดาษขาว


น้ำหมักผลไม้ และยาดองสำหรับเลี้ยงสุกร
วิธีทำ
1. เตรียมผลไม้ ควรเป็นผลไม้ที่สุกจัด หรือร่วงตกใต้ต้น เช่น มะม่วง องุ่น มะละกอ สับปะรด มะเฟือง กล้วย ฯลฯ ถ้ามีผลไม้ไม่พอก็สามารถเติมพืช อื่นเป็นส่วนประกอบได้ เช่น รากผักขม มันแกว มันเทศ แครอท มันสำปะหลัง พืชตระกูลแตง หัวผักกาด เป็นต้น หากผักหรือผลไม้ที่ใช้หมัก มีมากพอก็สามารถทำเป็น ชนิดเดียวกัน 
2. ใช้ผลไม้หมัก 1 กิโลกรัม ต่อน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม (ในฤดูร้อน) ส่วนในฤดูหนาวเพิ่มน้ำตาล ทรายแดง ½ กิโลกรัม (น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกผสมในผลไม้ และส่วนที่ 2 ใช้โรยหน้า)
3. ล้างภาชนะที่จะใช้หมัก และตากแดงให้แห้ง
4. ชั้นที่อยู่ก้นภาชนะให้วางเรียงวัตถุดิบเป็นชั้นๆ โรยน้ำตาลทรายแดงปิดทับเป็นชั้นๆ โรยน้ำตาลทราบแดงทับจนหมด (ให้เหลือที่ว่างห่างจากปากภาชนะ 1/3 ของความสูงของภาชนะ) จากนั้น ใช้น้ำตาลส่วนที่เหลือปิดทับด้านหน้าให้หนา เพื่อป้องกันอากาศ ควรใส่ผลไม้ที่มีความความหวานไว้ด้านล่าง โดยเรียงลำดับตามความหวาน ผลไม้ที่ให้ความหวานน้อยที่สุดให้ใส่ชั้นบนสุด ผลไม้ที่เป็นชิ้นเล็กๆ เช่นองุ่น ให้ใช้มือที่สะอาดบีบให้แตกขณะนำไปหมักในโอ่ง หรือภาชนะหมัก
6. คลุมปากภาชนะด้วยกระดาษขาว และมัดปากภาชนะด้วยเชือก
7. ในฤดูร้อน กระบวนการหมักใช้เวลา 4 – 5 วัน ส่วนในฤดูฝนกระบวนการหมักใช้เวลา 7 – 10 วัน ส่วนในฤดูหนาว จะใช้เวลาในการหมัก 10-15 วัน
8. เก็บภาชนะหมักไว้ในที่ร่ม และมีอากาศเย็น ไม่ให้ถูกแสงแดด ไม่ควรปิดภาชนะในระหว่าง
กระบวนการหมัก กำลังดำเนินการอยู่

วิธีการนำไปใช้
- ใช้น้ำหมักในอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร
- ใช้พ่นกับพืชเมื่อเข้าสู่ระยะเปลี่ยนวัย ( เข้าสู่การออกดอกออกผล)
- รดพื้นคอก ผสมให้หมูกิน รดผัก

4. การทำน้ำแคลเซียม
วัสดุอุปกรณ์
1. กระดูก เปลือกไข่ 
2. น้ำซาวข้าว , น้ำมะพร้าว
3. ถังพลาสติก
4. เครื่องผลิตออกซิเจนใส่ตู้ปลา
5. น้ำตาลทราย

วิธีทำ
1. รวบรวมเปลือกไข่ นำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียด
2. เปลือกไข่ 1 กิโลกรัม ต่อน้ำซาวข้าว 20 ลิตร 
3. นำเปลือกไข่ที่บดละเอียดใส่ภาชนะ เติมน้ำซาวข้าว และน้ำ ทิ้งช่องอากาศอยู่ประมาณ 
30 % เปิดฟองอากาศทิ้งไว้ ประมาณ 20 วัน จะเกิดฟองปฏิกิริยาขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. เมื่อใส่ออกซิเจนครบ 20 วันแล้ว ให้เติมน้ำตาล 1 กิโลกรัม ลงไป 

วิธีนำไปใช้
- ใช้น้ำหมักแคลเซียมในอัตรา 2 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร
- ฉีดพ่น พืช ผัก
- ใช้ผสมในน้ำให้หมูกิน
- ใช้ผสมกับน้ำทะเล ในการรดผลไม้ในระยะออกผล เพิ่มความหวานให้กับผลไม้
5. การทำนมเปรี้ยว (โยเกิร์ต)
วัสดุอุปกรณ์
1. น้ำซาวข้าว
2. รำละเอียด
3. ถัง
4. ขวดโหล
5. นมสดพลาสเจอร์ไรด์ (นมจืด)
6. สายยาง
7. กระดาวข้าว
8. เชือกฟาง

วิธีทำ
1. นำน้ำซาวข้าวใส่ภาชนะที่มีความสูง 15 เซนติเมตร โดยให้เหลือพื้นที่ในภาชนะ 1/3 ส่วน สำหรับอากาศ นำกระดาษขาวปิด ผูกเชือก ใช้เวลาในการหมัก 5 - 7 วัน เก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิประมาณ 20 – 25 องศาเซลเซียส แบคทีเรียจะเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว และมีกลิ่นเปรี้ยวออกมา
2. นำรำละเอียดโรยปิดหน้าน้ำซาวข้าวหมักทิ้งไว้ 2 วัน หลังจากนั้นใช้สายยางทำการลักน้ำออกมาใส่ภาชนะที่เตรียมไว้โดยไม่ให้มีตะกอน ติดออกมาพร้อมกับน้ำที่ลักออกมา โดยใช้น้ำที่ได้ 1 ส่วน ต่อนมสดพาสเจอไรด์ ลงไป 10 ส่วน เติมน้ำตาลทรายแดงลงไป ½ กิโลกรัม ของวัตถุดิบทั้งหมด ใช้กระดาษปิด ผูกเชือกทิ้งไว้ 5 - 7 วันจึงนำไปใช้

วิธีการนำไปใช้ 
- ใช้นมเปรี้ยวในอัตรา 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร
- ผสมให้หมูกิน
- รดพื้นคอก

6. การทำหมากฝรั่ง หมู
วัสดุอุปกรณ์
1. ไม้เนื้ออ่อน (ไม้กระถิน ฉำฉา ไมยาราบ)
2. ถังพลาสติก
3. กระสอบฟาง
4. เชือกฟาง
5. หัวเชื้อฮอร์โมนสมุนไพร
6. น้ำตาลทรายแดง

วิธีทำ
1. เตรียมไม้เนื้ออ่อน มาตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 1 คืบ
2. เตรียมน้ำ 10 ลิตร ต่อ เหล้าสมุนไพร 2 –3 ช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำตาลทราย
แดง ครึ่งกิโลกรัม ผสมให้เข้ากันแล้วนำไม้เนื้ออ่อนที่เตรียมไว้ลงมาแช่ ใช้กระสอบฟางปิดปากภาชนะไว้ แล้วใช้วัสดุที่หนักทับเพื่อให้ไม้จมน้ำตลอดเวลา
3. กระบวนการหมักใช้เวลา 10 - 15 วัน จึงใช้งานได้

วิธีการนำไปใช้
- โยนให้หมูกิน (นำท่อนไม้กลับมาใช้ใหม่ได้ 2 - 3 ครั้ง)
หมายเหตุ ยาดองเป็นชุด ตัวยารวมกัน 3 ตัวขึ้นจะดี
7. การทำเชื้อราขาวจากใบไผ่
วัสดุอุปกรณ์
1. กล่องไม้สี่เหลี่ยม สูง 10 เซนติเมตร กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร
2. ข้าวสุก 1 ลิตร
3. พลาสติก
4. ทัพพีตักข้าว
5. กระดาวขาว
6. เชือกฟาง
7. ตะแกรง
8. น้ำตาลทรายแดง
9. ขวดโหล 

    การเตรียมข้าวสวยเพื่อต่อเชื้อราขาว


    เชื้อราขาวที่ได้การต่อจากใบไผ่
วิธีทำ
1. หุงขาวให้สุก ทำให้เย็น แล้วนำข้าวใส่ในกระบะ เกลี่ยให้ทั่วกระบะ
2. นำกระดาษขาวมาคลุมกระบะ แล้วมัดด้วยเชือกฟางให้แน่น
3. ขุดหลุม บริเวณใกล้ต้นไผ่ พอกับขนาดกระบะใส่ลงไปได้ นำพลาสติกคลุมลงไปตาม
ด้วยตะแกรง วางทับข้างบน แล้วจึงนำใบไผ่ปกคลุม ให้ทั่วกระบะไม้ รดน้ำให้รอบๆ
4. กระบวนการหมัก 4 – 5 วัน ในฤดูร้อน , ฤดูฝน 6 – 7 วัน จะได้จุลินทรีย์ราขาว
คลุมเต็มผิวหน้า
5. นำเชื้อราขาวที่ได้ มาผสมน้ำตาลทราบ แล้วปิดผาหมักไว้ 7 วัน 

การนำไปใช้ 
- อัตรา 2 ช้อน / น้ำ 10 ลิตร
- รดพื้นคอก
- รดปุ๋ยหมัก

ประโยชน์จากการเลี้ยงสุกร แบบเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม)
1. ได้รับความรู้
2. มีรายได้เพิ่มขึ้น
3. นำปุ๋ยไปใช้ในการเกษตร
4. เผยแพร่ให้กับประชาชนสนใจ
5. เป็นตัวอย่างในการเลี้ยงหมูในเขตเทศบาล
6. เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

หลักในการเลือกภาชนะ และวัสดุในการหมัก
1. ภาชนะบรรจุควรเป็นโอ่ง หรือ ไห ปากแคบ
2. สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี
3. ขนาดไม่ใหญ่เกินไป
หมายเหตุ ควรเก็บไว้ในที่ร่ม ใช้น้ำตาลทราย ทำการหมัก จากผลไม้ที่ฉ่ำ ต้องใช้น้ำตาล 
1 / 2 ของ น้ำหมักผลไม้

รายรับ - รายจ่าย การเลี้ยงหมูหลุม 
(เริ่มเลี้ยงหมู ระหว่างวันที่ 5 พฤษภาคม 2548 - 20 กันยายน 2548)

ต้นทุนการเลี้ยงหมูหลุม
1. ลูกหมู 10 ตัว 11,500 บาท
2. อาหารสำเร็จรูป 12 ถุง 3,700 บาท
3. รำ 40 ถังๆละ 20 บาท 800 บาท
4. น้ำตาลทรายแดง 60 กิโลๆ ละ 14 บาท 840 บาท
5. เกลือ (3 ถุง 50 บาท) 6 ถุง 100 บาท
6. เหล้าขาว 6 ถุงๆละ 20 บาท 120 บาท
7. ยาดอง 2 ถุงๆละ 20 บาท 40 บาท
8. ค่าวัสดุ + อุปกรณ์ 965 บาท
ต้นทุน รวมทั้งสิ้น 18,065 บาท

รายรับ-จากการขายหมู
หมู 10 ตัว ตัวละ 66 กิโลกรัม ๆละ 43 บาท 28,380 บาท
หัก ต้นทุน 18,065 บาท
กำไรจาการขายหมู 10,315 บาท 
บวก รายได้จากการขายปุ๋ย 50 กระสอบๆละ 20 บาท 1,000 บาท 
รวม กำไรทั้งสิ้น 11,315 บาท 

หมายเหตุ การเลี้ยงหมู ในครั้งนี้ ต้องเรียนรู้ วิธีการเลี้ยงหมู และอยากให้ชาวบ้านเห็นช่องทางอาชีพ โดยให้ชาวบ้านใกล้เคียงนำปุ๋ยไปใช้ ในการเกษตร ปลูกผัก และทำนา 

ปัญหา
1. อาหารสำเร็จรูปแพง
2. การทำจุลินทรีย์บางอย่างไม่ค่อยได้ผล
3. อาหารหมักไม่เพียงพอ
4. อาหารหมักมีกลิ่นบูด


แนวทางแก้ไข
1. ใช้ส่วนผสมจากทางการเกษตรมาใช้ในการผสมอาหาร
2. ทดลองจนได้ผล และยึดหลักวิธีการที่ถูกต้องใช้ทำต่อไป
3. ใช้ผักสดผสมในการให้อาหาร
4. เติมน้ำตาล เพิ่มเพื่ออาหรหมักมีกลิ่นหอมและดี

ขอเสนอแนะ
1. ควรจัดให้มีจุดรับซื้อ และจำหน่าย สุกรแบบธรรมชาติ (หมูหลุม) ที่แน่นอน
2. ควรมีการตรวจสอบคุณภาพการเลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง

ก่อนเริ่มการเลี้ยงหมู ควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เรื่องต่อไปนี้
1. พันธุ์สุกร
2. ตลาด (ราคาซื้อ - ขาย)
3. วัตถุดิบทางการเกษตร
4. ศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา
5. ช่างสังเกต จดบันทึก

สรุป 
1. อย่าเน้นของถูก ห้ามซื้อ ตามขายเร่
2. ค่อยๆเลี้ยง อย่าใจร้อน
3. การบริหารจัดการดี

ข้อดีของการเลี้ยงหมูหลุม
1. ขี้หมูไม่เหม็น
2. ประหยัดค่าอาหาร 70 %
3. ให้อาหาร 2 มื้อ หรือ 1 มื้อ ตามผู้เลี้ยง
4. ให้ผักสด และพืชตลอดวัน
5. เศษอาหารจากที่เหลือ โรงครัว เพื่อนบ้าน

อาหารสุกร (เพิ่มเติม)
1. อาหารสุกรธรรมชาติที่ชาวบ้านเลี้ยงในอดีต ใช้วิธีหั่นหยวกกล้วย เก็บผักหญ้า 
เศษอาหาร
2. จากการไปศึกษาเลี้ยงสุกรของเกษตรกรจีน เขาใช้เศษพืชผัก ยอดมันสำปะหลังสับ 
เป็นชิ้นเล็กๆ คลุกน้ำตาลทราย หรือกากน้ำตาล หมักในถุงดำขนาดใหญ่ อัตราหมัก 100 : 4 ทิ้งไว้ 4 – 5 วัน ก็นำไปเลี้ยงสุกร โดยผสมปลายข้าว รำอ่อน ก็จะช่วยลดต้นทุน โดยไม่ใช้อาหารสำเร็จเลย
3. ผลการวิจัยของ ดร.สุริยา สานรักกิจ แห่งฝ่ายเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิจัย 
พบว่า เศษผักมี ปลอดสายพิษ 100 กก. หมักน้ำตาลทราบ หรือกากน้ำตาล 4 กก. และผสมเกลือ 1 กก. หมักในถุงดำไล่อากาศออก มัดปากถุงทิ้งไว้ 7 วัน จะได้ผักที่มีคุณภาพดี
4. อาจารย์ โช ฮาน คิว เจ้าตำราบอกว่า อาหารสุกรประมาณ 1 ใน 3 หรือ 
ประมาณ 30 % ควรเป็นพืชสีเขียว ดิน IMO สามารถนำมาคลุกกับรำ และปลายข้าวนำไปผสมอาหารจากตลาดได้ครึ่งต่อครึ่ง อาจหมักกับหยวกกล้วย ที่สับเป็นชิ้นเล็กๆได้
5. การใช้สมุนไพรพื้นบ้าน ตากแห้งบดเป็นผงรวมกัน เช่น ฟ้าทะลายโจร ขมิ้น ไพล 
ฝรั่งขี้นก ลูกใต้ใบ ใช้ผักบด 1 กก. ผสมอาหารแห้งทุก 100 กก. 

หัวใจของการเลี้ยงหมูหลุม

ขยัน

ใจรัก

น้ำตาลทราย

ตรงต่อเวลา



ขอขอบคุณศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสูงเม่นเอื้อเฟื้อข้อมูล

โทรศัพท์ 0-54544-402 โทรสาร 0-54544-403

นางนงลักษณ์ อ่อนน้อม ครูศูนย์การเรียนชุมชนตำบลหัวฝาย ผู้ให้ข้อมูล
นางสาวภัควรรณ หมื่นโฮ้ง ผู้พิมพ์
นายนัตถวุธ กาศเกษม ผู้พิมพ์
นางจุฑาภรณ์ พวงขจร     บรรณารักษ์ ผู้ตรวจทาน
นายอนุพันธ์ ชัยวิรัช        ผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่ปรึกษา

 


ฉัตรชัย พวงขจร /เรียบเรียง /ภาพ 

http://province.prd.go.th/phrae    E-Mail : [email protected]


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 32953 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

แอน
[email protected]
อย่าได้ข้อมูลการเลี้ยงหมู

02 พ.ย. 2552 , 01:03 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9891
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7929
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7989
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 8353
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 7303
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8592
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7777
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>