data-ad-format="autorelaxed">
เชื้อราก่อโรคในพืช... ทำให้เกษตรกรต้องไปซื้อสารเคมีมาใช้ในการทำลายเชื้อ รา ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อีกทั้งสารเคมียังตกค้างในผลผลิตและทำลายธรรมชาติ
นัก วิจัยมีแนวความคิดที่จะหาจุลินทรีย์และสารชีวภาพ ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ไม่ให้เชื้อราอันก่อให้เกิดโรคพืชเจริญเติบ โตได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาใช้ทดแทนกัน
ผศ.ประสาท โพธิ์นิ่มแดง อาจารย์ ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงการค้นพบ จุลินทรีย์ Bacillus Subtilis เป็น เชื้อจุลินทรีย์ตัวแรกที่ค้นพบจากกองขยะ โดยมีปริมาณมากในขยะอินทรีย์สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ได้โดยกระบวนการทดลองศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้นำขยะมาคัดเลือกเพื่อแยกเศษพลาสติกออกใช้เฉพาะขยะสีเขียวโดยนำ ตัวอย่างขยะมาประมาณ 10 กรัม ทำการแขวนลอยใน สารละลายบัพเฟอร์ปริมาตร 90 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากันและนำมาทำการเพิ่มจำนวนในอาหารเลี้ยงเชื้อ
จาก นั้นนำเชื้อไปทาบนผิวหน้าอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดแข็งด้วยแท่งแก้วงอ เพื่อให้ ได้กลุ่มของเชื้อแบคทีเรียนำไปทดสอบการยับยั้งการเจริญของ เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคต้นเหี่ยวในมะเขือเทศ ซึ่งมี ชื่อว่า Fusarium oxysporum ที่มักระบาดในต้นมะเขือเทศที่ปลูกใหม่ ผลการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการ ได้ผลประมาณ 80% ในการป้องกันโรคต้นเหี่ยวในมะเขือเทศ
ผศ.ประสาท กล่าวอีกว่า ได้ศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีก กระทั่งพบจุลินทรีย์อีกหนึ่งคาดว่าน่าจะเป็น Actinomyces โดยมีประสิทธิภาพมากกว่าและต้นทุนในการเลี้ยงเชื้อถูกกว่า Bacillus Subtilis โดยสามารถออกฤทธิ์ในการยับยั้งไม่ให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดีกว่ารวมทั้งป้องกันการเกิดโรคในพืชได้ มากกว่าเดิม และมีประสิทธิภาพในการ ยับยั้งเชื้อรา Collectoticum ที่ก่อให้เกิด โรคกุ้งแห้งในพริกได้ 100% อีกด้วย
“จุลินทรีย์ตัวใหม่ที่ค้นพบนี้จะนำไปศึกษาในห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันชนิด พร้อมทั้งขยายผลการทดลองในแปลงทดสอบด้วย ซึ่งจะ ใช้น้ำแป้งข้าวเจ้า และ แป้งมันสำปะหลังเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อ ดังนั้น น้ำเสียจากโรงงานผลิตเส้นขนมจีน หรือ น้ำทิ้งจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ก็สามารถนำมาเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ตัวนี้ได้ ซึ่งจะเป็นการใช้ประโยชน์จากของเสียได้อีกทางหนึ่ง” ผศ.ประสาทกล่าว
...การพัฒนางานวิจัยในลำดับต่อไป นักวิจัยจะผลิต สารสกัดจากเชื้อจุลินทรีย์ ที่คัดแยกจากขยะหรือของเสีย...ในรูปแบบ ผงแห้ง และ ชนิดน้ำ เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำ ไปใช้ได้ง่าย และ สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ ประหยัดต้นทุน สนใจข้อมูลเพิ่มเติมกริ๊งกร๊างหา ผศ.ประสาท ที่ 0-4336-2006, 08-9422-2207 ในเวลาราชการสะดวกที่สุด.
ไชยรัตน์ ส้มฉุน
จาก http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=125755